เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา หรือ เมืองอยุธยา เป็นเทศบาลนครขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ 10 ตำบล คือ ในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยในอดีตเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงเก่าของประเทศไทย คือ กรุงศรีอยุธยา ซึ่งปัจจุบัน ยังหลงเหลือโบราณสถานที่น่าสนใจ ภายในตัวเมืองอยุธยา
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติ
เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลเมืองกรุงเก่า ซึ่งได้จัดตั้งตามพระบรมราชโองการประกาศให้ใช้ในพระราชบัญญัติการจัดตั้งสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 127 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 สุขาภิบาลเมืองกรุงเก่า ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอรอบกรุงเก่า ซึ่งในปัจจุบันคืออำเภอพระนครศรีอยุธยา และมีเขตการปกครองในเขตรับผิดชอบ 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลหัวรอ ตำบลหอรัตนไชย ตำบลท่าวาสุกรี ตำบลคลองสวนพลู ตำบลกระมัง ต่อมา พ.ศ. 2478 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะสุขาภิบาลกรุงเก่าเป็นเทศบาลเมืองนครศรีอยุธยา พร้อมทั้งได้มีการขยายเขตตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองนครศรีอยุธยาพ .ศ. 2481 พ.ศ. 2499 และ พ.ศ. 2505 ตามลำดับ และในปี พ.ศ. 2542 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเทศบาลเมืองนครศรีอยุธยาเป็น เทศบาลนครนครศรีอยุธยา
ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา
[แก้] ภูมิอากาศและภูมิประเทศ
เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่บนที่มีสภาพเป็นเกาะและเคยเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงเก่ามาก่อนมีแม่น้ำไหลผ่าน 3 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี เมื่อก่อสร้างกรุงศรีอยุธยาได้มีการขุดคูเขื่อนจากหัวรอไปบรรจบแม่น้ำบางกะจะที่บริเวณป้อมเพชร ทำให้ที่ตั้งของตัวเมืองและเทศบาลมีสภาพเป็นเกาะมีแม่น้ำล้อมรอบ ลักษณะดินเป็นดินปนทรายน้ำซึมได้ง่าย คูคลองในเขตเทศบาลจึงเก็บน้ำไว้ได้ไม่นาน ในฤดูร้อนน้ำจะแห้ง สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม
[แก้] สัญลักษณ์ประจำนครพระนครศรีอยุธยา
[แก้] ตราเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา
ดวงตราของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาเป็นประสาทภายในประสาทมีหอยสังข์ประดิษฐ์อยู่บนพานแว่นฟ้าและประสาทอยู่ใต้ต้นหมัน
[แก้] ความหมายของดวงตราเทศบาล
มาจากตำนานการสร้างเมืองนครศรีอยุธยา ซึ่งเล่ากันว่าในปี พ.ศ. 1890 โรคห่าระบาดผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก พระเจ้าอู่ทองจึงอพยพย้ายผู้คนออกจากเมืองเดิมมาตั้งเมืองใหม่ที่ตำบลหนองโสน ซึ่งมีแม่น้ำล้อมรอบ ระหว่างที่พักเขตราชวัติฉัตรธงตั้งศาลเพียงตากระทำพิธีกลบมิตรสุมเพลิง ปรับพื้นที่เพื่อตั้งพระราชวังอยู่นั้น ปรากฏว่าเมื่อขุดมาถึงใต้ต้นหมันได้พบหอยสังข์ทักษิณาวรรตบริสุทธิ์ พระเจ้าอู่ทองทรงโสมนัสในศุภนิมิตนั้น จึงสร้างปราสาทน้อยขึ้นเป็นที่ประดิษฐานหอยสังข์ดังกล่าว
[แก้] คำขวัญพระนครศรีอยุธยา
ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา
[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต
เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่ 14.84 ตารางกิโลเมตร มีเขตการปกครองในความรับผิดชอบ 10 ตำบล คือ
- ประตูชัย
- หอรัตนไชย
- ท่าวาสุกรี
- หัวรอ
- กระมัง
- บ้านเกาะ
- คลองสระบัว
- คลองสวนพลู
- เกาะเรียน
[แก้] ประชากร
จำนวนประชากรในเขตเทศบาลมีทั้งสิ้น 60,923 คน จำนวน 16,512 หลัง มีความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 4,300 คนต่อตารางกิโลเมตร
[แก้] การศึกษา
โรงเรียนในสังกัดมีทั้งหมด 8 โรงเรียน ได้แก่
- โรงเรียนเทศบาลวัดเขียน
- โรงเรียนชุมชนป้อมเพชร
- โรงเรียนเทศบาลวัดตองปุฯ
- โรงเรียนเทศบาลสรรพสามิตฯ
- โรงเรียนเทศบาลวัดศาลาปูน
- โรงเรียนเทศบาลวัดรัตนชัย
- โรงเรียนเทศบาลวัดแม่นางปลื้ม
- โรงเรียนเทศบาลวัดป่าโค
[แก้] การคมนาคม
[แก้] จากเทศบาลนครนครศรีอยุธยา สู่เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการเปลี่ยนชื่อ เทศบาลนครนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ด้วยเทศบาลนครนครศรีอยุธยา ประสงค์ขอเปลี่ยนชื่อ เพื่อความเหมาะสมและสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตเทศบาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติของเทศบาล (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงให้เปลี่ยนชื่อเทศบาลนครนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาประกาศ ณ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2548 นายสมชาย สุนทรวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา
- เว็บไซต์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
|
|
---|---|
เทศบาลนคร | ขอนแก่น - เชียงราย - เชียงใหม่ - ตรัง - นครปฐม - นครราชสีมา - นครศรีธรรมราช - นครสวรรค์ - นนทบุรี - ปากเกร็ด - พิษณุโลก - พระนครศรีอยุธยา - ภูเก็ต - ยะลา - ระยอง - ลำปาง - สงขลา - สมุทรปราการ - สมุทรสาคร - สุราษฎร์ธานี - หาดใหญ่ - อุดรธานี - อุบลราชธานี |
ฐานะเทียบเท่า | กรุงเทพมหานคร • เมืองพัทยา |