เขตราชเทวี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
เขตราชเทวี เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตวิภาวดี ซึ่งถือเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
เนื้อหา |
[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตพญาไทและเขตดินแดง มีคลองสามเสนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตห้วยขวาง มีถนนรัชดาภิเษก (อโศก-ดินแดง) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตวัฒนาและเขตปทุมวัน มีคลองแสนแสบและคลองมหานาคเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตดุสิต มีทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
[แก้] ที่มาของชื่อเขต
ชื่อเขตตั้งตาม สี่แยกราชเทวี ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนพญาไทกับถนนเพชรบุรี โดยคำว่า ราชเทวี นั้นมาจากชื่อสะพานข้ามคลองประแจจีน (ปัจจุบันถูกถมไปแล้ว) บนถนนพญาไท ก่อนเข้าถนนเพชรบุรี ที่ตั้งชื่อตามพระนาม สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เป็นพระนางเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ว่า สะพานพระราชเทวี
[แก้] ประวัติศาสตร์
พื้นที่เขตราชเทวีเดิมมีฐานะเป็นตำบล 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งพญาไท ตำบลถนนพญาไท ตำบลถนนเพชรบุรี และตำบลมักกะสัน ซึ่งเกิดจากการยุบรวมตำบลเล็ก ๆ เข้าด้วยกัน ขึ้นอยู่กับอำเภอดุสิต และต่อมาในปี พ.ศ. 2509 จึงได้ย้ายมาขึ้นกับอำเภอพญาไท
เมื่อปี พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อำเภอพญาไทเปลี่ยนฐานะเป็นเขตพญาไท ตำบลต่าง ๆ ในท้องที่จึงมีฐานะเป็นแขวง
ต่อมาในท้องที่เขตพญาไทมีความเจริญและมีผู้คนหนาแน่นขึ้น เพื่อประสิทธิภาพในการปกครอง การบริหารราชการ และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยจึงมีประกาศให้แบ่งพื้นที่ 4 แขวงทางทิศใต้ของเขตพญาไทจัดตั้งเป็น เขตราชเทวี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2536 ได้มีการจัดตั้งเขตดินแดงขึ้น โดยนำพื้นที่บางส่วนของแขวงมักกะสันไปรวมด้วย
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
เขตราชเทวีแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง (khwaeng) ได้แก่
1. | ทุ่งพญาไท | (Thung Phaya Thai) | |
2. | ถนนพญาไท | (Thanon Phaya Thai) | |
3. | ถนนเพชรบุรี | (Thanon Phetchaburi) | |
4. | มักกะสัน | (Makkasan) |
[แก้] การคมนาคม
ถนนสายสำคัญของเขตราชเทวี ได้แก่
- ถนนพระรามที่ 6 ตั้งแต่สะพานข้ามคลองมหานาคถึงสะพานข้ามคลองสามเสน
- ถนนบรรทัดทอง ตั้งแต่สะพานข้ามคลองมหานาคถึงแยกเพชรพระราม
- ถนนพญาไท ตั้งแต่สะพานหัวช้างถึงสะพานข้ามคลองสามเสน (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ)
- ถนนเพชรบุรี ตั้งแต่ทางรถไฟสายเหนือถึงแยกอโศก-เพชรบุรี
- ถนนศรีอยุธยา ตั้งแต่ทางรถไฟสายเหนือถึงแยกมักกะสัน
- ถนนราชวิถี ตั้งแต่ทางรถไฟสายเหนือถึงสามเหลี่ยมดินแดง
- ถนนราชดำริ ตั้งแต่สะพานข้ามคลองแสนแสบถึงแยกประตูน้ำ
- ถนนราชปรารภ ตั้งแต่แยกประตูน้ำถึงสามเหลี่ยมดินแดง
- ถนนชิดลม ตั้งแต่สะพานข้ามคลองแสนแสบถึงแยกชิดลม-เพชรบุรี
- ถนนวิทยุ ตั้งแต่สะพานข้ามคลองแสนแสบถึงแยกวิทยุ-เพชรบุรี
- ถนนอโศกมนตรี ตั้งแต่สะพานข้ามคลองแสนแสบถึงแยกอโศก-เพชรบุรี
- ถนนรัชดาภิเษก (อโศก-ดินแดง) ตั้งแต่สะพานข้ามคลองแสนแสบถึงสะพานข้ามคลองสามเสน
- ถนนเลียบบึงมักกะสัน
ถนนสายรองลงไป เช่น ถนนนิคมมักกะสัน ซอยสุขุมวิท 3 (นานาเหนือ) ถนนโยธี ถนนรางน้ำ ถนนกำแพงเพชร 5 เป็นต้น นอกจากนี้ในพื้นที่เขตยังมีสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส 3 สถานี ได้แก่ สถานีราชเทวี สถานีพญาไท และสถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ส่วนการสัญจรทางน้ำก็ยังมีอยู่ คือ เรือด่วนบริการในคลองแสนแสบ ซึ่งเป็นคลองเขตแดนแคบ ๆ ทางทิศใต้
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์สำนักงานเขตราชเทวี
- เว็บไซต์กรุงเทพมหานคร: แหล่งท่องเที่ยวในเขตราชเทวี
- แผนที่เขตราชเทวี
- เว็บไซต์พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย หรือ กูเกิลแมป
- แผนที่ จาก มัลติแมป หรือ โกลบอลไกด์
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
|
||
---|---|---|
ฝั่งธนบุรี | คลองสาน • จอมทอง • ตลิ่งชัน • ทวีวัฒนา • ทุ่งครุ • ธนบุรี • บางกอกน้อย • บางกอกใหญ่ • บางขุนเทียน • บางแค • บางบอน • บางพลัด • ภาษีเจริญ • ราษฎร์บูรณะ • หนองแขม | |
ฝั่งพระนคร | คลองเตย • คลองสามวา • คันนายาว • จตุจักร • ดอนเมือง • ดินแดง • ดุสิต • บางกะปิ • บางเขน • บางคอแหลม • บางซื่อ • บางนา • บางรัก • บึงกุ่ม • ปทุมวัน • ประเวศ • ป้อมปราบศัตรูพ่าย • พญาไท • พระโขนง • พระนคร • มีนบุรี • ยานนาวา • ราชเทวี • ลาดกระบัง • ลาดพร้าว • วังทองหลาง • วัฒนา • สวนหลวง • สะพานสูง • สัมพันธวงศ์ • สาทร • สายไหม • หนองจอก • หลักสี่ • ห้วยขวาง |