อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง | ||
---|---|---|
หน้าปกอัลบั้ม ความหมายของผู้ชายคนหนึ่ง (2531)
|
||
ข้อมูลพื้นฐาน | ||
ชื่อจริง | อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง | |
ชื่อเล่น | กีร์ | |
ฉายา | นักร้องเสียงอมฮอลล์ | |
วันเกิด | 8 มกราคม พ.ศ. 2507 (อายุ 44 ปี) | |
แหล่งกำเนิด | อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี | |
แนวเพลง | ป๊อป, ลูกทุ่ง | |
อาชีพ | นักร้อง, นักการเมือง | |
ปี | พ.ศ. 2531-พ.ศ. 2542 | |
ค่าย | อาร์.เอส. โปรโมชั่น | |
ส่วนเกี่ยวข้อง | อิทธิ พลางกูร พรรคพลังธรรม พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน |
อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง มีชื่อเล่นว่า กีร์ เกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2507 ที่อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ในครอบครัวศิลปิน โดยมีพ่อและแม่เป็นพระเอกและนางเอกลิเกมาก่อน
จบการศึกษามัธยมศึกษา โรงเรียนวัดบวรนิเวศปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และปริญญาโทรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อริสมันต์เมื่อเดินทางเข้ากรุงเทพ ฯได้ขายกางเกงยีนส์อยู่หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง เริ่มมีชื่อเสียงมาจากออกอัลบั้มชุดแรกกับบริษัทอาร์.เอส. โปรโมชั่น ด้วยการชักชวนของอิทธิ พลางกูร ในชุด "ความหมายของผู้ชายคนหนึ่ง" ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2531 ก็โด่งดังทันทีจากเพลง ไม่เจียม, เธอลำเอียง เพราะมีรูปแบบการร้องที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือนด้วยเสียงที่กลั้วอยู่ในลำคอเหมือนออกเสียงไม่ชัด แต่เป็นเอกลักษณ์ส่วนตัว ซึ่งถูกเรียกว่าอมลูกอมฮอลล์ในขณะร้องเพลง จนได้รับฉายาว่า นักร้องเสียงอมฮอลล์ ประกอบกับเนื้อหาของเพลงที่ใช้ภาษาที่แปลกออกไปจากเพลงทั่วไป แต่มีความหมายเฉพาะตัวและสร้างความรู้สึกโรแมนติกได้อย่างประหลาด ซึ่งเจ้าตัวจะเป็นผู้เขียนเนื้อเพลงเอง
จากนั้นอริสมันต์ก็ได้ออกอัลบั้มตามมาอีกหลายชุด เช่น "เจตนายังเหมือนเดิม", "ฝันมีชีวิต", "เวทีนี้ไม่มีพี่เลี้ยง" เป็นต้น ซึ่งประสบความสำเร็จทุกชุดและมีหลายบทเพลงที่เป็นที่รู้จักของแฟนเพลงตราบจนปัจจุบัน เช่น ยอมยกธง, ทัดทาน, ใจไม่ด้านพอ, เวทีนี้ไม่มีพี่เลี้ยง, คนข้างหลัง, รักเธอเสมอใจ เป็นต้น ซึ่งทุกชุดมีอิทธิ พลางกูร เป็นโปรดิวเซอร์ และเนื้อเพลงทั้งหมดอริสมันต์จะเป็นผู้เขียนเอง
และในกลางปี พ.ศ. 2536 ได้แสดงละครโทรทัศน์ทางช่อง 9 ในสังกัดอาร์.เอส. โปรโมชั่น ออกอากาศในวันเสาร์ช่วงบ่าย โดยอริสมันต์เล่นเป็นตัวเอกในเรื่อง ซึ่งเป็นละครเรื่องแรกและเรื่องเดียวของอริสมันต์ตราบจนทุกวันนี้
เนื้อหา |
[แก้] งานการเมือง
ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 อริสมันต์เป็นหนึ่งในผู้ที่เข้าร่วมชุมนุมในเหตุการณ์ ถึงขั้นที่ขึ้นไปปราศรัยและร้องเพลงสนับสนุนผู้ชุมนุม ซึ่งได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ทางสังคมบางส่วนว่า ทำไปเพราะอยากดัง หรือ เพื่อโปรโมตอัลบั้ม ทั้งที่แท้จริงแล้วการทำแบบนั้นไม่น่าเอื้อประโยชน์ต่อการขายเทปได้มากนัก และหลังจากนั้นเพียงหนึ่งเดือน อัลบั้มชุดที่ 4 "สงสัยใจสะเทิ้น" ก็ออกมา แต่เจ้าตัวปฏิเสธว่าไม่ใช่และยืนยันว่าชอบการเมืองมานานแล้ว
ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง ได้ลงเลือกตั้งเป็นครั้งแรกโดยสังกัดพรรคพลังธรรม ในพื้นที่กรุงเทพ ฯ เขตบางกอกน้อย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง อริสมันต์ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งครั้งต่อมาคือในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 โดยสังกัดอยู่ในพรรคเดิมและพื้นที่เดิม จากนั้นในปี พ.ศ. 2541 สมาชิกพรรคพลังธรรมหลายคนได้ย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักไทย อริสมันต์ก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนสมาชิกที่ย้ายไปด้วย และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2548 อริสมันต์ก็ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคไทยรักไทยในแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 56 ของพรรค และมีบทบาทเป็นเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และในวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 อริสมันต์ได้แต่งและร้องเพลงพิเศษที่มีชื่อว่า คนของแผ่นดิน ที่มีเนื้อหาสนับสนุน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
ในคืนวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2550 อริสมันต์ได้ร่วมกับกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลุ่มพีทีวี และ อดีต ส.ส.ไทยรักไทย ที่รวมตัวยกันในนาม แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ ที่ท้องสนามหลวง เคลื่อนย้ายขบวนฝ่าแนวป้องกันของตำรวจไปยังหน้ากองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนิน เมื่อเวลาประมาณ 22.00 น อีกทั้งในคืนวันที่ 18 มิถุนายน ก็ได้ขึ้นรถปราศรัยโดยด่าว่าทหาร และตำรวจที่รักษาความสงบอยู่ด้วย
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 อริสมันต์ลงสมัครส.ส.กรุงเทพมหานคร ในเขต 12 (บางพลัด บางกอกน้อย ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา) สังกัดพรรคพลังประชาชน แต่ไม่ได้รับเลือก
[แก้] หวนคืนสู่วงการบันเทิง
หลังจากปี พ.ศ. 2540 ไปแล้ว ชื่อเสียงและความนิยมของอริสมันต์เริ่มสร่างซาลง และเจ้าตัวก็หันไปมีบทบาทางการเมืองอย่างเต็มรูปแบบ ในปี พ.ศ. 2542 อริสมันต์ได้ออกอัลบั้มเพลงลูกทุ่งขึ้นมาหนึ่งชุด ในชื่อชุดว่า "กังวาลทุ่ง" และในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ก็ได้จัดคอนเสิร์ตของตัวเองขึ้นมาอีกครั้ง ชื่อ "เวทีนี้ยังมีพี่เลี้ยง" ที่อินดอร์ สเตเดี้ยม หัวมาก
[แก้] อาชาครินต์ พงศ์เรืองรอง
ในต้นปี พ.ศ. 2534 ในช่วงที่ชื่อเสียงและความนิยมของอริสมันต์ยังโด่งดังอยู่นั้น อาชาครินต์ พงศ์เรืองรอง ชื่อเล่น ปู น้องชายแท้ ๆ ของอริสมันต์ก็ได้ออกอัลบั้มตามความสำเร็จของพี่ชาย โดยสังกัดในบริษัทอาร์.เอส. โปรโมชั่น เช่นเดียวกัน ซึ่งได้อริสมันต์เป็นผู้เขียนเนื้อเพลงและแต่งทำนองให้ แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเนื้อหาคล้ายคลึงกับเพลงของอริสมันต์เป็นอย่างมาก มีเพลงที่พอรู้จักบ้าง เช่น โตแล้ว, รู้แล้ว เป็นต้น และในปี พ.ศ. 2535 อาชาครินต์ก็ได้แสดงเป็นพระเอกมิวสิควีดีโอของอริสมันต์ในเพลง หัวใจประมาท ในอัลบั้ม สงสัยใจสะเทิ้น ด้วย
[แก้] อัลบั้มทั้งหมด
(เฉพาะอัลบั้มเพลงสากล)
- ความหมายของผู้ชายคนหนึ่ง (มิ.ย. พ.ศ. 2531)
- ความหมายที่ 2 เจตนายังเหมือนเดิม (พ.ศ. 2532)
- ความหมายพิเศษ ฝันมีชีวิต (พ.ศ. 2533) (อัลบั้มพิเศษ)
- ความหมายที่ 3 เวทีนี้ไม่มีพี่เลี้ยง (พ.ศ. 2533)
- ความหมายพิเศษ ผู้ชายฟ้าครามและความรัก (พ.ศ. 2534) (อัลบั้มรวมฮิต)
- ความหมายที่ 4 สงสัยใจสะเทิ้น (มิ.ย. พ.ศ. 2535)
- ความหมายพิเศษ ก่อกองทราย (พ.ศ. 2535) (อัลบั้มรวมฮิต)
- รักเธอเสมอใจ (พ.ศ. 2536)
- รางวัลแห่งรัก (พ.ศ. 2537) (อัลบั้มพิเศษ)
- รักเธอไม่รู้จบ (พ.ศ. 2538)
- รักเธอตลอดเวลา (พ.ศ. 2540)
- สัญญาจากหัวใจ (พ.ศ. 2541)
[แก้] คอนเสิร์ตครั้งสำคัญ
- เข้าข่ายใจสะเทิ้น 8 สิงหาคม พ.ศ. 2535 เอ็มบีเค ฮอลล์ มาบุญครองเซนเตอร์
- อริสมันต์กับคอนเสิร์ตไม่หนักหัวใจ พ.ศ. 2536 เอ็มบีเค ฮอลล์ มาบุญครองเซนเตอร์
- เวทีนี้ยังมีพี่เลี้ยง 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 อินดอร์ สเตเดี้ยม หัวมาก (แต่คอนเสิร์ตได้แสดงไปก่อนหนึ่งวัน คือในวันที่ 23 กรกฎาคม)
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- ฟังเพลงของอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง
- ข่าวคอนเสิร์ตเวทีนี้ยังมีพี่เลี้ยง
- เพลงคนของแผ่นดิน
- ประมวลภาพม็อบบุกหน้า บก.ทบ.
- “อริสมันต์”ขอดัง!ยึดรถปราศรัยไล่ด่าทหารทั่วสนามหลวง