การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 เป็นการเลือกตั้งทั่วไปที่กำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550[1] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 480 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจำนวน 80 คน
มีการกำหนดวันเลือกตั้งล่วงหน้าทั้งในเขต และนอกเขตวันที่ 15-16 ธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยต้องไปลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัดได้ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ส่วนเลือกตั้งในเขตไม่ต้องลงทะเบียน แต่ไปใช้สิทธิได้
เนื้อหา |
[แก้] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต
วันที่ 26 ตุลาคม 2550 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต[2] จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัด จะพึงมีและจำนวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด มี 400 คนจาก 76 จังหวัด
- เขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตที่มี ส.ส.ได้ไม่เกิน 3 คน
- มีเขตเลือกตั้งเดียว
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 1 คน มี 4 จังหวัด ได้แก่ ระนอง สมุทรสงคราม สิงห์บุรี ตราด
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 2 คน มี 10 จังหวัด ได้แก่ พังงา นครนายก แม่ฮ่องสอน สตูล อ่างทอง ภูเก็ต อุทัยธานี มุกดาหาร ชัยนาท อำนาจเจริญ
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 3 คน มี 17 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ลำพูน ปราจีนบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร อุตรดิตถ์ ยะลา แพร่ น่าน ชุมพร พะเยา ประจวบคีรีขันธ์ หนองบัวลำภู จันทบุรี พัทลุง ตาก สระแก้ว
- มีเขตเลือกตั้งเดียว
- เขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตที่มี ส.ส.ได้เกิน 3 คน
- มี 2 เขตเลือกตั้ง
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 4 คน มี 11 จังหวัด ได้แก่ ยโสธร พิจิตร ระยอง ตรัง สุโขทัย สระบุรี เลย ปัตตานี ฉะเชิงเทรา นครพนม นราธิวาส
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 5 คน มี 9 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ลำปาง นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี พิษณุโลก
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 6 คน มี 7 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี หนองคาย มหาสารคม สุราษฏร์ธานี กาฬสินธุ์ นนทบุรี เพชรบูรณ์
- มี 3 เขตเลือกตั้ง
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 7 คน มี 4 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ สมุทรปราการ สกลนคร ชัยภูมิ
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 8 คน มี 4 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี เชียงราย ร้อยเอ็ด สงขลา
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 9 คน มี 2 จังหว้ด ได้แก่ สุรินทร์ ศรีสะเกษ
- มี 4 เขตเลือกตั้ง
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 10 คน มี 3 จังหว้ด ได้แก่ นครศรีธรรมราช อุดรธานี บุรีรัมย์
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 11 คน มี 3 จังหว้ด ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น อุบลราชธานี
- มี 6 เขตเลือกตั้ง
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 19 คน มี 1 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา
- มี 12 เขตเลือกตั้ง
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 36 คน มี 1 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร
- เขต 1 มี ส.ส.ได้ 3 คน คือ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตบางรัก เขตปทุมวัน เขตราชเทวี
- เขต 2 มี ส.ส.ได้ 3 คน คือ เขตสาทร เขตบางคอแหลม เขตยานนาวา เขตคลองเตย เขตวัฒนา
- เขต 3 มี ส.ส.ได้ 3 คน คือ เขตดินแดง เขตห้วยขวาง เขตวังทองหลาง เขตลาดพร้าว
- เขต 4 มี ส.ส.ได้ 3 คน คือ เขตบางซื่อ เขตหลักสี่ เขตจตุจักร เขตพญาไท
- เขต 5 มี ส.ส.ได้ 3 คน คือ เขตบางเขน เขตสายไหม เขตดอนเมือง
- เขต 6 มี ส.ส.ได้ 3 คน คือ เขตหนองจอก เขตคลองสามวา เขตคันนายาว เขตบึงกุ่ม
- เขต 7 มี ส.ส.ได้ 3 คน คือ เขตบางกะปิ เขตสะพานสูง เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง
- เขต 8 มี ส.ส.ได้ 3 คน คือ เขตสวนหลวง เขตประเวศ เขตบางนา เขตพระโขนง
- เขต 9 มี ส.ส.ได้ 3 คน คือ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตบางกอกใหญ่ เขตจอมทอง
- เขต 10 มี ส.ส.ได้ 3 คน คือ เขตราษฏร์บูรณะ เขตทุ่งครุ เขตบางขุนเทียน เขตบางบอน
- เขต 11 มี ส.ส.ได้ 3 คน คือ เขตภาษีเจริญ เขตบางแค เขตหนองแขม
- เขต 12 มี ส.ส.ได้ 3 คน คือ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนา
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 36 คน มี 1 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร
- มี 2 เขตเลือกตั้ง
[แก้] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน
วันที่ 17 ตุลาคม 2550 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วน[3][4] มี 8 กลุ่มจังหวัด แต่ละกลุ่มมี ส.ส. 10 คน ดังนี้
- กลุ่มที่ 1 มีจำนวน 11 จังหวัด ประชากรรวม 7,615,610 คน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย, แม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่, พะเยา, น่าน, ลำปาง, ลำพูน, แพร่, สุโขทัย, ตาก และกำแพงเพชร
- กลุ่มที่ 2 มีจำนวน 9 จังหวัด ประชากรรวม 7,897,563 คน ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, พิจิตร, ชัยภูม, ขอนแก่น, ลพบุรี, นครสวรรค์ และอุทัยธานี
- กลุ่มที่ 3 มีจำนวน 10 จังหวัด ประชากรรวม 7,959,163 คน ได้แก่ จังหวัดหนองคาย, อุดรธานี, เลย, นครพนม, สกลนคร, หนองบัวลำภู, กาฬสินธุ์, มุกดาหาร, มหาสารคาม และอำนาจเจริญ
- กลุ่มที่ 4 มีจำนวน 6 จังหวัด ประชากรรวม 7,992,434 คน ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด, ยโสธร, อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, สุรินทร์ และบุรีรัมย์
- กลุ่มที่ 5 มีจำนวน 10 จังหวัด ประชากรรวม 7,818,710 คน ได้แก่ นครราชสีมา, นครนายก, ปราจีนบุรี, สระแก้ว, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด และปทุมธานี
- กลุ่มที่ 6 มีจำนวน 3 จังหวัด ประชากรรวม 7,802,639 คน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี และสมุทรปราการ
- กลุ่มที่ 7 มีจำนวน 15 จังหวัด ประชากรรวม 7,800,965 คน ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี, สุพรรณบุรี, นครปฐม, ราชบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, ระนอง, ชัยนาท, สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, สระบุรี, สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
- กลุ่มที่ 8 มีจำนวน 12 จังหวัด ประชากรรวม 7,941,622 คน ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี, พังงา, นครศรีธรรมราช, กระบี่, ภูเก็ต, ตรัง, พัทลุง, สตูล, สงขลา, ปัตตานี, นราธิวาส และยะลา
[แก้] หมายเลขพรรคในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน
หมายเลขประจำพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วน ซึ่งเปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 7-11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[5] (19 พรรคแรกได้จากการจับสลากเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน) [6] หมายเลขเหล่านี้ไม่เหมือนกับ ส.ส.แบบแบ่งเขตที่เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2550[7]
หมายเลข | พรรค |
---|---|
1 | พรรคเพื่อแผ่นดิน |
2 | พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา |
3 | พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย |
4 | พรรคประชาธิปัตย์ |
5 | พรรคพลังเกษตรกร |
6 | พรรครักเมืองไทย |
7 | พรรคแรงงาน |
8 | พรรคเกษตรกรไทย |
9 | พรรคประชาราช |
10 | พรรคนิติศาสตร์ไทย |
11 | พรรคพัฒนาประชาธิปไตย |
12 | พรรคพลังประชาชน |
13 | พรรคชาติไทย |
14 | พรรคดำรงไทย |
15 | พรรคมัชฌิมาธิปไตย |
16 | พรรคชาติสามัคคี |
17 | พรรคความหวังใหม่ |
18 | พรรคประชากรไทย |
19 | พรรคประชามติ |
20 | พรรคไทเป็นไท |
21 | พรรคพลังแผ่นดินไทย |
22 | พรรคมหาชน |
23 | พรรคคุณธรรม |
24 | พรรคราษฎรรักไทย |
25 | พรรคกฤษไทยมั่นคง |
26 | พรรคอยู่ดีมีสุข |
27 | พรรคไทยร่ำรวย |
28 | พรรคเอกราช |
29 | พรรคพลังแผ่นดิน |
30 | พรรคสังคมประชาธิปไตย |
31 | พรรคนำวิถี |
[แก้] สถิติผู้สมัคร ส.ส. แบบสัดส่วน
จากรายงานของ กกต.[5] สรุปได้ว่าพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครครบทั้ง 8 กลุ่มจังหวัด มี 10 พรรค จากทั้งหมด 31 พรรค จำนวนผู้สมัคร ส.ส. แบบสัดส่วนมีจำนวนรวม 1,260 คน ในจำนวนดังกล่าวเป็นผู้ชายร้อยละ 78.57 ที่เหลือเป็นผู้หญิง กลุ่มจังหวัดที่ 6 มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งมากที่สุด (19.05%) กลุ่มจังหวัดที่ 2 มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งน้อยที่สุด (9.52%) ผู้สมัครส่วนใหญ่ (33.33%) มีธุรกิจส่วนตัวหรือค้าขาย ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือต่ำกว่าปริญญาตรี และมีอายุระหว่าง 51-60 ปี รองลงไปคือ 41-50 ปี
[แก้] ผล Exit Poll

หลังจากมีการปิดหีบการเลือกตั้ง ผล Exit Poll จากหน่วยงานต่าง ๆ มีดังนี้
[แก้] สวนดุสิตโพล
+ผล Exit Poll จากสวนดุสิตโพล [8] | |||
พรรค | แบ่งเขต | สัดส่วน | รวม |
---|---|---|---|
พรรคพลังประชาชน | 221 | 35 | 256 |
พรรคประชาธิปัตย์ | 127 | 35 | 162 |
พรรคชาติไทย | 24 | 5 | 29 |
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา | 14 | 1 | 15 |
พรรคเพื่อแผ่นดิน | 8 | 2 | 10 |
พรรคประชาราช | 3 | 1 | 4 |
พรรคมัชฌิมาธิปไตย | 3 | 1 | 4 |
รวม | 400 | 80 | 480 |
[แก้] เอแบคโพล
+ผล Exit Poll จากเอแบคโพล [9] | |||
พรรค | แบ่งเขต | สัดส่วน | รวม |
---|---|---|---|
พรรคพลังประชาชน | 165 | 37 | 202 |
พรรคประชาธิปัตย์ | 111 | 35 | 146 |
พรรคชาติไทย | 46 | 3 | 49 |
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา | 17 | 2 | 19 |
พรรคเพื่อแผ่นดิน | 39 | 3 | 42 |
พรรคประชาราช | 7 | 0 | 7 |
พรรคมัชฌิมาธิปไตย | 15 | 0 | 15 |
รวม | 400 | 80 | 480 |
[แก้] มหาวิทยาลัยรามคำแหง
+ผล Exit Poll จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง [10] | |||
พรรค | แบ่งเขต | สัดส่วน | รวม |
---|---|---|---|
พรรคพลังประชาชน | 218 | 37 | 255 |
พรรคประชาธิปัตย์ | 125 | 34 | 159 |
พรรคชาติไทย | 33 | 5 | 38 |
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา | 13 | 1 | 14 |
พรรคเพื่อแผ่นดิน | 10 | 3 | 13 |
พรรคประชาราช | 1 | 0 | 1 |
พรรคมัชฌิมาธิปไตย | 0 | 0 | 0 |
รวม | 400 | 80 | 480 |
[แก้] ผลการเลือกตั้ง
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 มีดังนี้[11]
พรรค | แบ่งเขต | สัดส่วน | รวม |
---|---|---|---|
พรรคพลังประชาชน | 199 | 34 | 233 |
พรรคประชาธิปัตย์ | 132 | 33 | 165 |
พรรคชาติไทย | 33 | 4 | 37 |
พรรคเพื่อแผ่นดิน | 17 | 7 | 24 |
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา | 8 | 1 | 9 |
พรรคมัชฌิมาธิปไตย | 7 | 0 | 7 |
พรรคประชาราช | 4 | 1 | 5 |
รวม | 400 | 80 | 480 |
[แก้] อ้างอิง
- ^ พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. ๒๕๕๐
- ^ ประกาศ กกต. กำหนดเขตเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต
- ^ กกต. แบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วนแล้ว - ข่าวสำนักงาน กกต.
- ^ ประกาศ กกต. กำหนดเขตเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วน
- ^ 5.0 5.1 สรุปรายงานผลการรับสมัคร ส.ส. แบบสัดส่วน วันที่ 7-11 พ.ย. 50
- ^ ผลการจับสลากหมายเลขประจำพรรค - กปส.
- ^ ผลการจับสลากหมายเลขประจำพรรค - กปส.
- ^ = 1052 Exit Poll ผลการเลือกตั้งทั่วประเทศ ของ สวนดุสิตโพล
- ^ = 1053 Exit Poll ผลการเลือกตั้งทั่วประเทศ ของ เอแบคโพล
- ^ = 1062 Exit Poll ผลการเลือกตั้งทั่วประเทศ ของ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ^ กกต.ประกาศเป็นทางการ พปช.ได้ 233 ปชป.165
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
- จำนวนประชากรผู้มีสิทธิในการเลือกตั้งในแต่ละเขต
- เลือกตั้ง 50 - มติชน
- เลือกตั้ง '50 - กรุงเทพธุรกิจ
- เกาะติดเลือกตั้ง 50 - ผู้จัดการ
- Our Country Vote Election 2007 - The Nation (อังกฤษ)
|
||
---|---|---|
พ.ศ. 2476 - 2500 | 2476 • 2480 • 2481 • ม.ค. 2489 • ส.ค. 2489 • 2491 • 2492 • 2495 • ก.พ. 2500 • ธ.ค. 2500 | ![]() |
พ.ศ. 2501 - 2535 | 2512 • 2518 • 2519 • 2522 • 2526 • 2529 • 2531 • มี.ค. 2535 • ก.ย. 2535 | |
พ.ศ. 2536 - ปัจจุบัน | 2538 • 2539 • 2544 • 2548 • เม.ย. 2549 (โมฆะ) • ต.ค. 2549 (ยกเลิกหลังรัฐประหาร) • 2550 |
เหตุการณ์หลัก | ลำดับเหตุการณ์ | บุคคลหลัก | |||
---|---|---|---|---|---|
จุดเริ่มต้น เหตุการณ์หลัก
การเลือกตั้ง
|
คณะรัฐประหาร/รัฐบาลทหาร (คปค./คมช.)
กลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหาร |