See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
จังหวัดนครศรีธรรมราช - วิกิพีเดีย

จังหวัดนครศรีธรรมราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัดนครศรีธรรมราช
ตราประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ตราผ้าพันคอลูกเสือ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ตราประจำจังหวัด ตราผ้าพันคอลูกเสือ
นครศรีธรรมราช เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อภาษาไทย นครศรีธรรมราช
ชื่ออักษรโรมัน Nakhon Si Thammarat
ชื่อไทยอื่นๆ นคร, เมืองคอน
ผู้ว่าราชการ นายวิชม ทองสงค์
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2547)
ISO 3166-2 TH-80
ต้นไม้ประจำจังหวัด แซะ
ดอกไม้ประจำจังหวัด ราชพฤกษ์
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 9,942.5 ตร.กม.
(อันดับที่ 18)
ประชากร 1,506,997 คน (พ.ศ. 2550)
(อันดับที่ 8)
ความหนาแน่น 151.57 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 25)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000
โทรศัพท์ (+66) 0 7535 6952
โทรสาร (+66) 0 7535 6531
เว็บไซต์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดนครศรีธรรมราช

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดนครศรีธรรมราช (มักเรียกสั้น ๆ ว่า นคร) เป็นจังหวัดในประเทศไทย ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ (รองจากสุราษฎร์ธานี) ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 780 กิโลเมตร จังหวัดที่อยู่ติดกัน (จากทิศใต้ วนตามเข็มนาฬิกา) ได้แก่ สงขลา พัทลุง ตรัง กระบี่ และสุราษฎร์ธานี

ในอดีตมีชื่อเรียกดินแดนแถบนี้หลายชื่อ ที่ตะวันตกนิยมเรียกกันมาจนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ "ลิกอร์" สันนิษฐานว่าชาวโปรตุเกสที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นเป็นผู้เรียกก่อน โดยเพี้ยนมาจากคำว่า "นคร" ส่วนชื่อ "นครศรีธรรมราช" มาจากพระนามของกษัตริย์ผู้ครองนครในอดีต ทรงมีพระนามว่า "พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช" (ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช) มีความหมายว่า "นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม" หรือ "เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่"

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี้ เมืองนครศรีธรรมราชมีฐานะเป็นเมืองชั้นเอกคู่กับเมืองพิษณุโลก มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ระดับเจ้าพระยาเป็นเจ้าเมือง มีบรรดาศักดิ์ตามพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง ว่า เจ้าพระยาศรีธรรมราชชาติเดโชไชยมไหยสุริยาธิบดีอภัยพิรียบรากรมภาหุ

เนื้อหา

[แก้] สภาพทางภูมิศาสตร์

จังหวัดนครศรีธรรมราชอยู่ทางตะวันออกของคาบสมุทรมลายู มีชายฝั่งติดกับอ่าวไทย ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้นอยู่บนเทือกเขาที่สลับซับซ้อน แต่ลาดเอียงลงมาทางทิศตะวันออก ยอดเขาหลวงเป็นจุดที่สูงที่สุดในภาคใต้ มีความสูง 1,835 เมตร และมีชายหาดที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

[แก้] ประวัติศาสตร์

เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน ปี พ.ศ. 2310 ตำแหน่งเจ้าพระยานครศรีธรรมราชว่างอยู่ หลวงสิทธนายเวรมหาดเล็ก (หนู) ซึ่งออกไปรับราชการตำแหน่งปลัดเมืองเป็นผู้รักษาราชการเมืองนครศรีธรรมราช ครั้นทราบว่ากรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ไม่มีเจ้านายปกครองประเทศ หลวงสิทธิจึงตั้งตัวเป็นเจ้าผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชเป็นอิสระอยู่ก๊กหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2312 พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกกองทัพไปปราบ จับตัวเจ้านครได้ และมีพระราชดำริว่าเจ้านครมิได้มีใจกบฏคิดร้ายต่อประเทศ แต่ตั้งตัวขึ้นเนื่องจากบ้านเมืองเป็นจลาจล จึงโปรดเกล้าฯ ให้มารับราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี และให้เจ้านราสุริยวงศ์หลานเธอออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาเจ้านราสุริยวงศ์ถึงแก่พิราลัย พระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระราชดำริว่า เจ้านครได้เข้ามารับราชการมีความจงรักภักดีและได้ถวายธิดาทำราชการมีราชบุตร (คือพระพงษ์นรินทรและพระอินทร์อภัย) เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านครออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราช และสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้านครศรีธรรมราช เจ้าขันธสีมา เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 ขึ้น 3 ค่ำ จุลศักราช 1138(พ.ศ. 2319) ปีวอกอัฐศก

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) มีพระราชดำริว่า พระเจ้านครศรีธรรมราชมีความชราทุพพลภาพ ไม่สามารถปกครองบ้านเมืองได้ จึงโปรดให้ออกจากตำแหน่ง กลับเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ และโปรดให้เจ้าอุปราช (พัฒน์) บุตรเขยเจ้านคร ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อวันอังคาร เดือน 8 แรม 11 ค่ำ จุลศักราช 1146 (พ.ศ. 2327) ปีมะโรงศก แต่โปรดให้มียศเพียงเจ้าพระยาตามประเพณีแต่เดิมเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองนครศรีธรรมราชจึงเป็นเมืองที่เคยมีกษัตริย์ปกครอง และมีฐานะเป็นประเทศราช 8 ปี

มีเกร็ดย่อยคือ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) รับราชการจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) มีความชราภาพ จึงทรงยกขึ้นเป็น เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี ตำแหน่งกิตติมศักดิ์ และทรงตั้งพระบริรักษ์ภูเบศร์ (น้อย) บุตรเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราชคนใหม่ แต่มีเรื่องปรากฏหลักฐานในสมัยนั้นว่า เจ้าพระยานคร (น้อย) นี้ที่จริงเป็นราชบุตรลับของพระเจ้ากรุงธนบุรี เนื่องจากเมื่อครั้งเจ้านครทำราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี และถวายธิดาทำราชการฝ่ายในแก่พระเจ้ากรุงธนบุรี และมีน้องสาวมาอยู่ด้วยในวังคนหนึ่ง ความปรากฏตามพงศาวดารว่า เจ้าพระยาพิชัยราชา เจ้าเมืองสวรรคโลกให้ไปขอ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบก็ทรงพระพิโรธ ว่าเจ้าพระยาพิชัยราชาบังอาจจะเป็นคู่เขยของพระองค์ ให้เอาไปประหารเสีย ต่อมาวงศ์ญาติเจ้านครจึงนำธิดาคนนี้ถวายพระเจ้ากรุงธนบุรีเสีย ต่อมาเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เมื่อครั้งยังเป็นอุปราชเมืองนครอยู่ ภริยาซึ่งเป็นบุตรเจ้านครเสียชีวิต เจ้าพระยานคร (พัฒน์) ทำความชอบได้เข้าเฝ้าครั้งหนึ่ง พระเจ้ากรุงธนบุรีเห็นว่าภริยาเสียชีวิตก็สงสารจึงจะพระราชทานธิดาเจ้านครให้ใหม่ และให้นำตัวธิดาคนเล็กเจ้านครไปพระราชทาน แต่นางในกระซิบว่า ดูเหมือนว่านางจะขาดระดูอยู่ แต่พระเจ้ากรุงธนตรัสว่า "ได้ออกปากให้เขาแล้ว ก็พาไปเถอะ" เมื่อท้าวนางพาธิดาเจ้านครไปส่งนั้น เจ้าอุปราช (พัฒน์) ก็ทราบความลับนั้น มีความยำเกรงพระบารมีก็ต้องรับไว้เป็นท่านผู้หญิงกิตติมศักดิ์อยู่ตลอดอายุ และนางนั้นก็มีบุตรกับเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เพียงคนเดียว คือ เจ้าพระยานคร (น้อย) คนต่อมา

[แก้] หน่วยการปกครอง

[แก้] หน่วยการปกครองส่วนภูมิภาค

การปกครองแบ่งออกเป็น 23อำเภอ-กิ่งอำเภอ 165 ตำบล 1428 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
  2. อำเภอพรหมคีรี
  3. อำเภอลานสกา
  4. อำเภอฉวาง
  5. อำเภอพิปูน
  6. อำเภอเชียรใหญ่
  7. อำเภอชะอวด
  8. อำเภอท่าศาลา
  9. อำเภอทุ่งสง
  10. อำเภอนาบอน
  11. อำเภอทุ่งใหญ่
  12. อำเภอปากพนัง
  1. อำเภอร่อนพิบูลย์
  2. อำเภอสิชล
  3. อำเภอขนอม
  4. อำเภอหัวไทร
  5. อำเภอบางขัน
  6. อำเภอถ้ำพรรณรา
  7. อำเภอจุฬาภรณ์
  8. อำเภอพระพรหม
  9. อำเภอนบพิตำ
  10. อำเภอช้างกลาง
  11. อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
 แผนที่

[แก้] การปกครองส่วนท้องถิ่น

แบ่งออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 เทศบาลนคร 2 เทศบาลเมือง 24 เทศบาลตำบล และ 159 องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีรายชื่อเทศบาลดังนี้

  1. เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
  2. เทศบาลเมืองทุ่งสง
  3. เทศบาลเมืองปากพนัง
  4. เทศบาลตำบลขนอม
  5. เทศบาลตำบลจันดี
  6. เทศบาลตำบลฉวาง
  7. เทศบาลตำบลไม้เรียง
  8. เทศบาลตำบลชะอวด
  1. เทศบาลตำบลเชียรใหญ่
  2. เทศบาลตำบลท่าศาลา
  3. เทศบาลตำบลที่วัง
  4. เทศบาลตำบลท่ายาง
  5. เทศบาลตำบลนาบอน
  6. เทศบาลตำบลทอนหงส์
  7. เทศบาลตำบลพรหมโลก
  8. เทศบาลตำบลพิปูน
  1. เทศบาลตำบลท่าแพ
  2. เทศบาลตำบลบางจาก
  3. เทศบาลตำบลเขาชุมทอง
  4. เทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์
  5. เทศบาลตำบลหินตก
  6. เทศบาลตำบลลานสกา
  7. เทศบาลตำบลสิชล
  8. เทศบาลตำบลหัวไทร
  1. เทศบาลตำบลท้องเนียน
  2. เทศบาลตำบลปากนคร

[แก้] เศรษฐกิจ

[แก้] รายได้ประชากร

เศรษฐกิจโดยทั่วไปของจังหวัดขึ้นอยู่กับภาคเกษตร อาชีพหลัก คือ ทำสวนยางพารา ทำนา ทำไร่ การปลูกผลไม้ ทำสวนมะพร้าว การประมงและการเลี้ยงสัตว์ พัฒนาจากการสำรวจ พบว่า ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี เท่ากับ 59,869 บาท ซึ่งเป็นอันดับที่ 11 ของภาคใต้

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด: พระบรมธาตุมีรัศมีล้อมรอบด้วย 12 นักษัตรโดยในสมัยเจ้าจันทรภาณุทรงมีพระปรีชาสามารถขยายอาณาเขตได้ครอบคลุมเมืองบริวารทั้งหลาย เมืองบริวารทั้งหมดต้องส่งเครื่องราชบรรณาการแก่เจ้าผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช บรรดาเมืองบริวารทั้ง 12 เมืองได้แก่
  1. เมืองสายบุรี ใช้ตราหนู เมืองสายบุรีเป็นเมืองเก่าบนฝั่งแม่น้ำสายบุรี ประกอบด้วยชุมชนเกษตรกรรมบนพื้นราบริมทะเลหลายแห่ง จัดเป็นหัวเมืองที่ 1 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราหนู (ชวด) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอในจังหวัดปัตตานี
  2. เมืองปัตตานี ใช้ตราวัว เมืองตานีเคยเป็นเมืองท่าสำคัญในภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งรู้จักในหมู่พ่อค้าต่างชาติช่วงพุทธศตวรรษที่ 10-18 ในชื่อ "ลังกาสุกะ" จัดเป็นหัวเมืองที่ 2 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราวัว (ฉลู) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดปัตตานี
  3. เมืองกลันตัน ใช้ตราเสือ เมืองกลันตันเป็นชุมชนเก่าแก่ทางตะวันออกของคาบสมุทรมลายู แต่เดิมประชาชนนับถือศาสนาพุทธและฮินดู ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 จึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม จัดเป็นหัวเมืองที่ 3 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราเสือ (ขาล) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย
  4. เมืองปะหัง ใช้ตรากระต่าย เมืองปะหังเป็นชุมชนทางตอนล่างของแหลมมลายู ติดกับไทรบุรีหรือเกดะห์ จัดเป็นหัวเมืองที่ 4 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตรากระต่าย (เถาะ) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งในประเทศมาเลเซีย
  5. เมืองไทรบุรี ใช้ตรางูใหญ่ เมืองไทรบุรีเป็นชุมชนเก่าทางฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและบึงตม เดิมประชาชนนับถือพุทธศาสนา ล่วงถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม จัดเป็นหัวเมืองที่ 5 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตรางูใหญ่ (มะโรง) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งในประเทศมาเลเซีย ชื่อว่า "เกดะห์"
  6. เมืองพัทลุง ใช้ตรางูเล็ก เมืองพัทลุงเป็นชุมชนเก่าแก่แต่ครั้งพุทธศตวรรษที่ 11-13 ได้รับอิทธพลทางพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชอย่างต่อเนื่องทุกยุคสมัย จัดเป็นหัวเมืองที่ 6 ในทำเนียบสิบสองนักษัตร ถือตรางูเล็ก (มะเส็ง) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดพัทลุง
  7. เมืองตรัง ใช้ตราม้า เมืองตรังเป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันตก ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่ควนธานี ต่อมาได้ย้ายไปที่กันตังและทับเที่ยงตามลำดับ จัดเป็นหัวเมืองที่ 7 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราม้า (มะเมีย) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดตรัง
  8. เมืองชุมพร ใช้ตราแพะ เมืองชุมพรเป็นชุมชนเกษตรและท่าเรือบนคาบสมุทรขนาดเล็ก มีประชากรไม่มากนักเนื่องจากดินฟ้าอากาศไม่อำนวยให้ทำมาหากิน จัดเป็นหัวเมืองที่ 8 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราแพะ (มะแม) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดชุมพร
  9. เมืองบันทายสมอ ใช้ตราลิง เมืองบันทายสมอสันนิษฐานว่าเป็นเมืองไชยา ซึ่งเป็นชุมชนใหญ่มาแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๐ เป็นอย่างน้อย มีร่องรอยความเจริญทางเศรษฐกิจและศาสนาพุทธนิกายหินยานและมหายาน รวมทั้งศาสนาฮินดูนิกายไวษณพและนิกายไศวะจำนวนมาก จัดเป็นหัวเมืองที่ 9 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราลิง (วอก) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  10. เมืองสะอุเลา ใช้ตราไก่ เมืองสะอุเลาสันนิษฐานว่าเป็นเมืองท่าทองอุแทหรือกาญจนดิษฐ์ ซึ่งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำท่าทอง และลุ่มคลองกะแดะ เคยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงชั้นเอกและเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญของนครศรีธรรมราช จัดเป็นหัวเมืองที่ 10 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราไก่ (ระกา) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคืออำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  11. เมืองตะกั่วป่า ใช้ตราสุนัข เมืองตะกั่วป่าเคยเป็นเมืองท่าสำคัญทางฝั่งทะเลตะวันตก เป็นแหล่งผลิตดีบุกและเครื่องเทศมาแต่โบราณ จัดเป็นหัวเมืองที่ 11 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราสุนัข (จอ) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคืออำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
  12. เมืองกระบุรี ใช้ตราหมู เมืองกระบุรีเป็นชุมชนเล็ก ๆ บนฝั่งแม่น้ำกระบุรี ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่า และภูเขาสลับซับซ้อน จัดเป็นหัวเมืองที่ 12 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราสุกร (กุน) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอในจังหวัดระนอง
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกราชพฤกษ์ (Cassis fistula)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: แซะ (Millettia atropurpurea)
  • คำขวัญประจำเมือง: เราชาวนครอยู่เมืองพระ มั่นในสัจจะศีลธรรม กอปรกรรมดี มีมานะพากเพียร ไม่เบียดเบียนทำอันตรายผู้ใด
  • คำขวัญประจำจังหวัด: นครศรีธรรมราช เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู
  • อักษรย่อจังหวัด : นศ.

[แก้] ประชากร

อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช 266,668 นอกเขตเทศบาล 146,545 เทศบาลปากนคร 6,151 เทศบาลตำบลบางจาก 1,849 เทศบาลตำบลท่าแพ 4,101 เทศบาลนครนครศรีธรรมราช 108,022

[แก้] ศาสนา

ชาวนครศรีธรรมราชส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธประมาณ 92.08% รองลงมาได้แก่ ศาสนาอิสลาม 7.03% ศาสนาคริสต์ 0.89% นอกจากนั้นเป็นศาสนาอื่น ๆ (ข้อมูลประชากร 1,508,096 คน ณ ตุลาคม 2549)

[แก้] การคมนาคม

ในตัวเมืองนครศรีธรรมราช มีรถสองแถววิ่งบริการรอบเมือง และจากนครศรีธรรมราชไปสู่จังหวัดข้างเคียง สามารถเลือกใช้บริการได้ทั้งรถตู้ รถแท็กซี่ รถโดยสาร และรถไฟ

[แก้] รถยนต์

การเดินทางจากกรุงเทพมายังนครศรีธรรมราช ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 กรุงเทพฯ-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านสุราษฎร์ธานี-ทุ่งสง จนถึงนครศรีธรรมราช หรือถึงอำเภอพุนพิน สุราษฎร์ธานี แล้วใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 401 เลียบชายฝั่งทะเลไปจนถึงนครศรีธรรมราช รวมระยะทาง 780 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางยังอำเภออื่นๆ หรือจังหวัดใกล้เคียงได้ โดยมีระยะทางดังนี้

  • จากอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชไปยังอำเภออื่นๆ
    • อำเภอพรหมคีรี 21 กิโลเมตร
    • อำเภอลานสกา 21 กิโลเมตร
    • อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 22 กิโลเมตร
    • อำเภอท่าศาลา 28 กิโลเมตร
    • อำเภอร่อนพิบูลย์ 32 กิโลเมตร
    • อำเภอปากพนัง 36 กิโลเมตร
    • อำเภอจุฬาภรณ์ 50 กิโลเมตร
    • อำเภอช้างกลาง 50 กิโลเมตร
    • อำเภอเชียรใหญ่ 52 กิโลเมตร
    • อำเภอนบพิตำ 52 กิโลเมตร
    • อำเภอทุ่งสง 55 กิโลเมตร
    • อำเภอสิชล 66 กิโลเมตร
    • อำเภอหัวไทร 66 กิโลเมตร
    • อำเภอฉวาง 71 กิโลเมตร
    • อำเภอชะอวด 71 กิโลเมตร
    • อำเภอนาบอน 72 กิโลเมตร
    • อำเภอพระพรหม 75 กิโลเมตร
    • อำเภอพิปูน 93 กิโลเมตร
    • อำเภอบางขัน 94 กิโลเมตร
    • อำเภอขนอม 100 กิโลเมตร
    • อำเภอทุ่งใหญ่ 102 กิโลเมตร
    • อำเภอถ้ำพรรณรา 103 กิโลเมตร
  • จากนครศรีธรรมราชไปยังจังหวัดใกล้เคียง
    • กระบี่ 336 กิโลเมตร
    • ตรัง 123 กิโลเมตร
    • พัทลุง 112 กิโลเมตร
    • สงขลา 161 กิโลเมตร
    • สุราษฎร์ธานี 134 กิโลเมตร

[แก้] การบริการด้านคมนาคม

  • รถไฟ จากสถานีรถไฟหัวลำโพง มีขบวนรถเร็ว และรถด่วน ไปนครศรีธรรมราช รวมระยะทาง 832 กิโลเมตร
  • รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารทั้งแบบธรรมดา และปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี อำเภอขนอม มีรถวี ไอ พี ปรับอากาศ ชั้น 1 ขนอม-กรุงเทพฯ และกรุงเทพฯ-ขนอม
  • เครื่องบิน สายการบิน นกแอร์ และสายการบินวันทูโก มีบริการเครื่องบินเที่ยวบินไป/กลับนครศรีธรรมราชทุกวัน ก็

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยว

หลักเมือง
หลักเมือง

[แก้] อำเภอเมือง

  • วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
  • ศาลหลักเมือง
  • สวนสาธารณะสมเด็จพระศรีนครินทร์'๘๔ หรือทุ่งท่าลาด
  • เก๋งจีนวัดแจ้ง
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช
  • กำแพงเมืองเก่า
  • เจดีย์ยักษ์
  • สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ร.๙
  • อนุสาวรีย์ไทย
  • หอพระพุทธสิหิงค์ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด
  • วัดสวนหลวง
  • สำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดชายนา
  • จวนออกญาเสนาภิมุข
  • หอพระอิศวร
  • หอพระนารายณ์
  • เสาชิงช้า
  • อนุสาวรีย์พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช
  • สวนสาธารณะศรีธรรมาโศกราช
  • ศาลาโดหก หรือ ศาลาประดู่หก
  • สระล้างดาบศรีปราชญ์
  • สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช

[แก้] อำเภอลานสกา

[แก้] อำเภอพรหมคีรี

[แก้] อำเภอท่าศาลา

[แก้] อำเภอสิชล

[แก้] อำเภอเชียรใหญ่

  • วัดแม่เจ้าอยู่หัว
  • ต้นไทรศักดิ์สิทธิ์
  • ศูนย์ศิลปาชีพเนินธัมมัง
  • ศาลเจ้าทวดปากเชียร
  • วัดเขาแก้ววิเชียร
  • จุดชมวิวบนเขาพระบาท

[แก้] อำเภอนบพิตำ

  • น้ำตกกรุงชิง
  • ล่องแก่งคลองกลาย
  • ถ้ำหงส์
  • น้ำตกยอดเหลือง

[แก้] อำเภอช้างกลาง

  • น้ำตกท่าแพ
  • น้ำตกสวนอาย
  • น้ำตกสวนขัน

[แก้] อำเภอถ้ำพรรณรา

  • วัดถ้ำทองพรรณรา

[แก้] อำเภอขนอม

  • อุทยานแห่งชาติหาดขนอมหมู่เกาะทะเลใต้
  • อ่าวขนอม
  • หาดในเพรา
  • หาดหน้าด่าน
  • หาดในเปร็ด
  • อ่าวท้องหยี่
  • ถ้ำเขาวังทอง
  • วัดกระดังงา
  • วัดธาตุธาราม
  • วัดเจดีย์หลวง
  • โรงไฟฟ้าขนอม - โรงแยกก๊าซขนอม

[แก้] อำเภอปากพนัง

  • พิพิธภัณท์เฉลิมพระเกียรติเพื่อการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง
  • ชายทะเลปากพนังและแหลมตะลุมพุก
  • บ้านรังนก
  • วัดนันทาราม

[แก้] อำเภอร่อนพิบูลย์

[แก้] อำเภอทุ่งสง

[แก้] อำเภอพิปูน

  • น้ำตกกระแนะ

[แก้] อำเภอนาบอน

  • น้ำตกคลองจัง
  • จุดชมวิวเขาเหมน

[แก้] สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง

[แก้] อุทยานแห่งชาติทางบก

[แก้] อุทยานแห่งชาติทางทะเล

[แก้] เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองกะทูน

[แก้] เทศกาลงานประเพณี

  • ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ
  • ประเพณีเทศกาลเดือนสิบ
  • ประเพณีชักพระ
  • เทศกาลมหาสงกรานต์แห่นางดานเมืองนครศรีธรรมราช

[แก้] สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

  • เครื่องถมนคร
  • เครื่องทองเหลือง
  • สร้อยนะโม สร้อยเงิน และสร้อยสามกษัตริย์
  • ตัวหนังตะลุง
  • ผลิตภัณท์ย่านลิเภา
  • ผ้ายกเมืองนคร

[แก้] ห้างสรรพสินค้าในอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช

  • โรบินสัน โอเชี่ยน
  • ท็อป์ ซุปเปอร์
  • เทสโก้ โลตัส สาขานครศรีธรรมราช
  • เทสโก้ โลตัส คุ้มค่า สาขาท่าศาลา
  • ตลาดโลตัส สาขาปากพนัง
  • คาร์ฟูร์
  • แม็คโคร
  • สหไทย สรรพสินค้า
  • ลัคกี้ ดีพาร์ทเมนต์ สโตร์
  • ศูนย์การค้าไทยโฮเต็ล
  • เซ็นเตอร์พอยท์ ท่าวัง
  • โบ๊เบ๊ ท่าวัง
  • พงศ์พลาซ่า

[แก้] โรงแรมในอำเภอเมือง

  • ทวินโลตัส
  • แกรนด์ปาร์ค
  • ไทยโฮเต็ล
  • ทักษิณ
  • มณเฑียร
  • เพชรไพลิน
  • บัวหลวง
  • นครการ์เด้นท์
  • นครโฮเต็ล
  • อุดมโฮเต็ล
  • โชคชัย
  • ไทยหลี
  • ไทยฟ้า
  • นิวศรีทอง
  • เมืองทอง
  • สยามโฮเต็ล
  • สากล
  • เบญจธารา รีสอร์ท
  • ทิวทุ่ง แฮปปี้ อินน์
  • บ่อโพธิ์ รีสอร์ท
  • ทรงไทย รีสอร์ท
  • ราชา
  • หัวถนน รีสอร์ท
  • กะโรมอินน์ โฮเต็ล
  • อินนิน รีโซเทล
  • คารีน่า แมนชั่น
  • วี พี เกสเฮ้าท์
  • สระเรียง แมนชั่น
  • วีพี แมนชั่น
  • ฐานกนก แมนชั่น
  • ศิริพัฒน์ อพาร์ตเม้นท์
  • ท่าม้า เกสเฮ้า

[แก้] สถานบันการศึกษา

[แก้] การอุดมศึกษา

[แก้] รัฐบาล

[แก้] เอกชน

[แก้] การอาชีวศึกษา

[แก้] มัธยมศึกษา

[แก้] อำเภอพิปูน

  • โรงเรียนพิปูนสังฆรักษ์ประชาอุทิศ ตั้งอยู่ที่อำเภอพิปูน
  • โรงเรียนนางเอื้อยวิทยา (ขยายโอกาส) ตั้งอยู่ที่อำเภอพิปูน
  • โรงเรียนจุฬาภรณ์พิชญาคาร (ขยายโอกาส) ตั้งอยู่ที่อำเภอพิปูน

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
จังหวัดนครศรีธรรมราช


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -