สงครามอิรัก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามอิรัก บางครั้งเรียก สงครามอ่าวครั้งที่ 2 เป็นสงครามการโจมตีคุกคามประเทศอิรัก เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบัน นำโดยฝ่ายกองทัพจากสหรัฐอเมริกาภายใต้ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช และกองทัพอังกฤษ ภายใต้นายกรัฐมนตรี โทนี แบลร์ สาเหตุของของการโจมตี เริ่มต้นจากทางสหรัฐอเมริกาได้กล่าวว่าทางอิรักได้ครองครองอาวุธชีวภาพทำลายร้าง ซึ่งจะส่งผลให้ทางอิรักคุกคามประเทศอื่นในภายหลัง ประธานาธิบดีบุชได้กล่าวต่อสื่อมวลชนว่าจะไม่รอการโจมตี แต่จะทำการโจมตีก่อน [1] อย่างไรก็ตามภายหลังจากที่อิรักโดนโจมตี ไม่ปรากฏว่าพบหลักฐานการครอบครองอาวุธชีวภาพแต่อย่างใด ซึ่งฝ่ายกองทัพที่สนับสนุนอย่างออสเตรเลียได้มีการประกาศยอมรับว่า ที่ได้ร่วมสงครามเพราะต้องการส่วนแบ่งครอบครองทรัพยากรน้ำมันในประเทศอิรัก[2] สาเหตุอื่นที่ทางสหรัฐฯได้กล่าวต่อผู้สนับสนุนสงคราม ยังได้แก่ การเชื่อมโยงระหว่าง ซัดดัม ฮุสเซน และ อัลไคดา (ที่โจมตีสหรัฐฯ จากเหตุการณ์ วินาศกรรม 11 กันยายน) และยังรวมไปถึงการที่รัฐบาลอิรักได้ทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงในประเทศอิรัก
สงครามเริ่มขึ้นตั้งแต่ เดือนมีนาคม 2546 โดยกำลังหลักมาจากทางฝ่ายสหรัฐและอังกฤษ โดยมีกองกำลังเสริมจาก ออสเตรเลีย เดนมาร์ก และ โปแลนด์ ซึ่งการโจมตีนี่ส่งผลให้ ซัดดัม ฮุสเซน โดนจับตัว และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ภายหลังจากการจับตัวซัดดัม ทางสหรัฐพยายามที่จะตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐขึ้นในประเทศอิรัก แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ส่งผลต่อมาให้เกิดความไม่เสถียรภาพทางการเมืองในอิรัก และเกิดสงครามกลางเมืองขึ้น [3] การที่สหรัฐไม่มีอำนาจในการควบคุมอิรักทำให้ประเทศที่ร่วมสงครามอย่าง อังกฤษได้ถอนกำลังทหารออกมา [4] อย่างไรก็ตามสาเหตุของสงครามนี้ยังคงเป็นที่โต้เถียงกันอย่างรุนแรง
[แก้] อ้างอิง
- ^ ประกาศของประธานธิบดีบุช (อังกฤษ)
- ^ "กองทัพออสเตรเลียร่วมสงครามเพราะต้องการน้ำมัน", สำนักข่าวบีบีซี, 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 (อังกฤษ)
- ^ กองกำลังป้องกันตนเองสหรัฐอเมริกา 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 (อังกฤษ)
- ^ บริติชถอนกำลังออกจากอิรัก (อังกฤษ)
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
สงครามอิรัก เป็นบทความเกี่ยวกับ การเมือง การปกครอง หรือ กฎหมาย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ สงครามอิรัก ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |