See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
รัฐฟูนาน - วิกิพีเดีย

รัฐฟูนาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้ต้องการเก็บกวาด ตรวจสอบ ปรับปรุง แก้ไขรูปแบบ เพิ่มแหล่งอ้างอิง ใส่หมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือภาษาที่ใช้ ในส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนด้วยกัน เพื่อให้ได้ตามมาตรฐานวิกิพีเดียไทย
คุณสามารถช่วยแก้ไขได้ โดยการตรวจสอบและปรับปรุงบทความนี้

กรุณาเปลี่ยนไปใช้ป้ายข้อความอื่น เพื่อระบุสิ่งที่ต้องการตรวจสอบ หรือแก้ไข
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ วิธีแก้ไขหน้าพื้นฐาน คู่มือการเขียน และ นโยบายวิกิพีเดีย เมื่อบทความนี้ได้รับการแก้ไขตามนโยบายแล้ว ให้นำป้ายนี้ออก

รัฐฟูนาน เป็นรัฐโบราณที่มีอิทธิพลเหนือดินแดน แห่งลุ่มน้ำแม่โขง แม่น้ำเจ้าพระยา ก่อตั้งขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 7 กษัตริย์องค์แรกคือพราหมณ์โกณฑิญญะ ซึ่งมีเชื้อสายจากอินเดีย ได้มีมเหสีคือ "นางพญาขอม"

ประวัติศาสตร์ไทย

ก่อนประวัติศาสตร์
บ้านเชียง ~ 5000 ปีที่แล้ว
บ้านเก่า ~ 4500 ปีที่แล้ว
ยุคประวัติศาสตร์
ทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 5 - 15
คันธุลี / พานพาน พ.ศ. 994 - 1201
ละโว้ พ.ศ. 1191 - 1470
ศรีวิชัย พ.ศ. 1202 - 17??
หริภุญชัย พ.ศ. 1206 - 1836
โยนกนาคพันธุ์ พ.ศ. 1315 - 1582
เงินยางเชียงแสน พ.ศ. 1445 - 1804
สงครามสามนคร พ.ศ. 1467 - 1470
ละโว้-อโยธยา พ.ศ. 1470 - 1893
สุโขทัย พ.ศ. 17?? - 2017
เพชรบุรี พ.ศ. 17?? - ????
ล้านนา พ.ศ. 1802 - 2482
นันทบุรี พ.ศ. 1825 - ????
นครศรีธรรมราช พ.ศ. 1830 - ????
อยุธยา พ.ศ. 1893 - 2310
- ชุมนุมสุกี้พระนายกอง พ.ศ. 2310
- ชุมนุมเจ้าพิษณุโลก พ.ศ. 2310 - 2311
- ชุมนุมนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2310 - 2312
- ชุมนุมเจ้าพิมาย พ.ศ. 2310 - 2311
- ชุมนุมเจ้าพระฝาง พ.ศ. 2310 - 2313
- ชุมนุมพระเจ้าตาก พ.ศ. 2310
ธนบุรี พ.ศ. 2310 - 2325
รัตนโกสินทร์
- ปฏิรูปการปกครอง
พ.ศ. 2325 - ปัจจุบัน
พ.ศ. 2475
ไม่สามารถระบุเวลาได้
เวียงปรึกษา ศรีจนาศะ
นครภูกามยาว ศรีโคตรบูรณ์
ลังกาสุกะ หลั่งยะสิว
ตามพรลิงค์
อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
เขมรัฐเชียงตุง ไทมาว (โกสัมพี)
หอคำเชียงรุ่ง น่านเจ้า
ร่มขาวเชียงทอง ล้านช้าง
สิบสองเจ้าไท ฟูนัน
รามัญประเทศ หงสาวดีตองอู
สถานีย่อย
สารานุกรมประเทศไทย ประเทศไทย สารานุกรมประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์

เนื้อหา

[แก้] อาณาจักรฟูนาน ( Funan )

ฟูนานเป็นรัฐที่รุ่งเรืองอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1 – 6 ที่ตั้งของรัฐอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งประเทศกัมพูชา เวียดนามตอนใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย บางตอนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และภาคใต้ของไทย ลงมาถึงแหลมมลายู ฟูนานรวมตัวกันเป็นรัฐแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นรัฐชลประทานภายในแผ่นดินที่ประชาชนดำรงชีพด้วยการเกษตร โดยใช้น้ำจากระบบชลประทานที่พัฒนาเป็นอย่างดี นอกจากนั้น ฟูนานยังมีเมืองท่าสำหรับจอดเรือและค้าขายต่างประเทศ ฟูนาน จึงมีรายได้จากการค้าขาย การเดินเรืออีกด้วย


เรื่องราวของรัฐฟูนาน ทราบจากบันทึกของชาวจีนที่เดินทางมาแถบนี้ ได้เขียนเล่าถึงความมั่งคั่ง ความเป็นอยู่ในชุมชนที่มีระเบียบ มีคุณธรรม มีการปกครองระบอบกษัตริย์ มีเมืองต่าง ๆ มาขึ้นด้วยหลายเมือง มีวัฒนธรรมแท้ ๆ ของตนเอง มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศ ทั้งในทวีปเอเชียด้วยกัน และโลกตะวันตก ชาวพื้นเมืองเป็นชนชั้นสูง เป็นพวกมาลาโยโพลีนีเซียน ชนชั้นล่างเป็นพวกเนกริโตและเมลานีเซียน ฟูนานมีประวัติความเป็นมา เริ่มจากการรวมตัวกันของผู้คน เป็นชุมชนเล็กขนาดหมู่บ้าน จากหมู่บ้านพัฒนาขึ้นมาเป็นรัฐ วิธีการพัฒนาจากสังคมเผ่าเป็นสังคมรัฐมีปัจจัยและขั้นตอนหลายประการ


[แก้] การพัฒนาสังคมเผ่ามาเป็นสังคมรัฐ

สังคมดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสังคมเผ่า (Tribal Society) ต่อมาพัฒนาเป็นสังคมรัฐ (Social State) เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 1 เป็นต้นมา ตัวอย่าง คือ ฟูนาน เดิมเป็นหมู่บ้าน ต่อมาขยายออกไปเพราะมีประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงต้องขยายที่เพาะปลูกให้พอกินพอใช้กับจำนวนชุมชนที่ขยายขึ้น ได้พยายามหาเทคนิควิทยา ( Technology ) มาช่วย เช่น ขุดคูคลองกั้นน้ำ เพื่อให้อยู่ดีและมีอาหารพอเพียงต่อมาเริ่มมีโครงร่างของสังคมดีขึ้น จึงพัฒนามาเป็นรัฐ เหตุที่ฟูนานพัฒนาเป็นรัฐได้นั้น มีผู้แสดงความเห็นไว้ เช่น เคนเนธ อาร์ ฮอลล์ กล่าวว่า เป็นเพราะฟูนานมีการพัฒนาในเรื่องการเพาะปลูกอย่างมาก และที่สำคัญอีก คือ ฟูนานมีเมืองท่าที่เป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเล พร้อมทั้งได้ยกข้อคิดเห็นของ โอ.ดับบลิว.โวลเดอร์ (O.W.Wolter) ที่กล่าวถึงการพัฒนาการจากสังคมเผ่าเป็นสังคมรัฐว่า เป็นเพราะลักษณะทางการค้า และสภาพภูมิศาสตร์เอื้ออำนวย โดยเฉพาะที่เมืองออกแก้ว (Oc-EO) เมืองท่าของฟูนานที่เรือต่าง ๆ ผ่านมาต้องแวะด้วย เมืองออกแก้วเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการผลิตเพิ่มขึ้นในดินแดน เพื่อสนองความต้องการสินค้าของคนที่แวะมาเมืองท่า และการชลประทานในฟูนานก็เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกทำให้ฟูนานขยายตัวเป็นรัฐขึ้นมา และเป็นรัฐแรกในภูมิภาคนี้ ส่วนเรื่องการเข้ามาของชาวอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ น่าจะเริ่มที่พ่อค้าเข้ามาก่อน โดยมาติดต่อกับผู้ปกครอง แล้วพราหมณ์จึงตามเข้ามาทีหลัง และไม่เชื่อว่า ฟูนานจะกว้างใหญ่ถึงขนาดเป็นอาณาจักร (Kingdom) ได้แสดงให้เห็นถึงความผิดพลาดในการใช้คำศัพท์ ทั้งนี้ เพราะส่วนใหญ่ข้อมูลได้มาจากจีน จีนมองดูบ้านเมืองในแถบนี้ด้วยสายตาของคนจีน และนำเอาคำศัพท์ของจีนมาใช้ เช่นเดียวกับชาวตะวันตก ที่ใช้คำว่า “Kingdom” หมายถึง อาณาจักรในแนวคิด และแบบของยุโรป ซึ่งเทียบกันไม่ได้กับสภาพจริงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการศึกษาโดยละเอียด ในเนื้อหาของบันทึกหลักฐานทางโบราณคดี และสภาพแวดล้อมแล้ว ฟูนานยังไม่เหมาะที่จะใช้กับคำว่า อาณาจักรหรือจักรวรรดิได้ ฟูนานขณะนั้นเป็นเพียงการรวมเผ่าต่าง ๆ เข้าด้วยกัน มีหัวหน้าใหญ่ซึ่งได้มาโดยการยกย่องหัวหน้าเผ่าบางคนขึ้นมาโดยดูจากความสามารถส่วนตัว หัวหน้าใหญ่คนนี้ก็จะมีอำนาจอยู่ในชั่วอายุของตนเองเท่านั้น เมื่อตายไปแล้วอำนาจก็สิ้นสุด ไม่ตกทอดถึงทายาท


[แก้] การเกษตรกรรม

โอ.ดับบลิว.โวลเดอร์ กล่าวว่า พัฒนาการของฟูนานมีที่มาจากการที่รัฐสร้างโครงสร้างชลประทานขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการผลิตในทางเกษตรกรรม โดยเฉพาะข้าวที่รัฐฟูนานดึงเข้ามายังส่วนกลางในรูปของส่วยอากร เพื่อสร้างความมั่งคั่ง และมั่นคงทางการเมืองให้แก่รัฐและกลุ่มชนชั้นปกครอง ขณะเดียวกัน มีนักวิชาการท่านหนึ่ง ได้ค้านแนวความคิดเรื่องโครงสร้างชลประทานขนาดใหญ่ดังกล่าว คือ ดับบลิว.เจ.แวนเลอ (W.J.Van Liere)3 กล่าวว่าไม่มีร่องรอยที่แสดงให้เห็นว่า โครงสร้างชลประทานขนาดใหญ่จะมีผลไปถึงการเพาะปลูก ตรงข้ามโครงสร้างดังกล่าว เป็นเรื่องของศาสนาที่ค้ำจุนฐานะของกษัตริย์ในลัทธิเทวราช และอาจเป็นคูคลองป้องกันเมืองก็ได้ ส่วนการปลูกข้าวยังอาศัยฤดูกาลทางธรรมชาติ ตลอดจนการชลประทานขนาดเล็กที่ราษฎรทำเอง เรียกว่า ชลประทานราษฎร์

[แก้] ความเจริญและความเสื่อม

หลักฐานของจีนกล่าวว่า ฟูนานตั้งขึ้นโดยพราหมณ์โกณธิญญะ (Kaundinya) ผู้มีอิทธิพลเหนือชาวพื้นเมืองและได้แต่งงานกับเจ้าหญิงนาคี (Nagi) ของแคว้นนี้ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 1 ฟูนานอยู่ในลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ เมืองหลวงชื่อ วยาธปุระ (Vyadhapura) แปลว่า เมืองของกษัตริย์นายพราน (The city of the hunter king) ชื่อของฟูนานเทียบกับภาษาเขมร คือ พนม บนม หรือภูเขา ผู้ปกครองของฟูนาน เรียกว่า กูรุง บนม (Kurung Bnam) คือ เจ้าแห่งภูเขา (King of the Mountain) วยาธปุระ อยู่ใกล้เขาบาพนม (Ba Phnom) และมีเมืองท่าชายทะเลที่สำคัญ คือ เมืองออกแก้ว4 มีแม่น้ำสายยาว 200 กิโลเมตรต่อเชื่อมเมืองท่าออกแก้วกับเมืองวยาธปุระ เนื่องจากเมืองหลวงตั้งอยู่ส่วนสูงสุดของสามเหลี่ยม ปากแม่น้ำโขง ใกล้ภูเขาบาพนม ตรงที่แม่น้ำทะเลสาบไหลมารวมกัน จึงช่วยระบายน้ำในทะเลสาบไปยังพื้นที่ทางทิศตะวันตก ซึ่งช่วยในการเพาะปลูกได้ดี สถานที่ตั้งทางด้านยุทธศาสตร์ของฟูนาน ทำให้สามารถควบคุมช่องแคบเดินเรือที่เชื่อมฝั่งทะเลของอ่าวไทยเข้ากับทะเลอันดามันและเมืองท่าต่าง ๆ ของจีนทางตอนใต้ เห็นได้ชัดว่า ได้ให้ความมั่งคั่ง และอิทธิพลทางการเมืองอย่างสำคัญยิ่ง ทำให้ฟูนานมีอำนาจปกครองเหนือเมืองลังกาสุคะ (Langkasuka มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองปัตตานี้) และเมืองตามพรลิงก์ (Tambralinga มีเมืองหลวงอยู่ที่นครศรีธรรมราชหรือไชยา) เมืองทั้งสองตั้งอยู่สองฝั่งเส้นทางเดินเรือค้าขายที่สำคัญ ฟูนานยังมีอำนาจเหนือเจนละ ซึ่งอยู่ตอนเหนือของฟูนาน ฟูนานปกครองเหนือดินแดนในอินโดจีนส่วนใหญ่ถึงห้าศตวรรษ

การขนส่งภายในฟูนานใช้ทางน้ำเป็นสำคัญ ประชากรอาศัยอยู่ริมฝั่งน้ำ ปลูกบ้านแบบใต้ถุนสูง กีฬาที่โปรดปราน คือ การชนไก่ ชนหมู ภาษีอากรจ่ายเป็นทอง เงิน ไข่มุก น้ำหอม ฟูนานได้ติดต่อค้าขายกับตะวันตกด้วย เพราะจากการขุดค้นได้พลรากฐานของอาคารหลายแห่งที่เมืองออกแก้ว ได้พบหลักฐานความสัมพันธ์ระหว่างฟูนานกับตะวันตก เช่น เหรียญโรมันต่าง ๆ มีรูปจักรพรรดิโรมัน แหวนจารึกภาษาอินเดีย สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 2 – 5 หินสลักรูปต่าง ๆ ที่ได้แบบมาจากกรีก


[แก้] ลักษณะของวัฒนธรรม

ลักษณะของวัฒนธรรมที่เมืองออกแก้ว เป็นแบบผสมกันระหว่างวัฒนธรรมพื้นเมืองและวัฒนธรรมอินเดีย เช่น ประเพณีการบูชาภูเขาอันศักดิ์สิทธิ์ และเจ้าหญิงธิดาพญานาคของชาวฟูนาน ได้สืบทอดต่อมาเป็นธรรมเนียมที่กษัตริย์กัมพูชาทรงปฏิบัติ ส่วนลักษณะของสถาปัตยกรรมเป็นแบบวัฒนธรรมอินเดีย ได้แก่ โบราณสถานของกัมพูชาสมัยก่อนนครวัด นอกจากนั้น มีพระพุทธรูปแบบคุปตะ ภาพปั้นพระวิษณุสวมมาลาทรงกระบอก และภาพปั้นพระหริหระ ล้วนแสดงให้เห็นว่า ประติมากรชาวฟูนานได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมจากอินเดียสมัยราชวงศ์ปาลวะ และราชวงศ์คุปตะ ทั้งศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู มีภาษาสันสกฤต ซึ่งเห็นได้จากบันทึกของชาวฟูนานที่บันทึกไว้คราวมีงานเฉลิมฉลองรัชกาลพระเจ้าโกณธิญญะที่ 2 (สวรรคต ค.ศ. 434) และรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 (ครองราชย์ ค.ศ. 478 – 514) ที่มีประเพณีการจัดงานต่าง ๆ ซึ่งนอกจากจะแสดงถึงอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียแล้ว ยังปรากฏคำลงท้ายพระนามกษัตริย์ฟูนานว่า “วรมัน” ภาษาสันสกฤต แปลว่า “ผู้อยู่ใต้การอุปถัมภ์” ที่อยู่ในวรรณะกษัตริย์ของอินเดียนิยมใช้กัน สิ่งเหล่านี้ ล้วนแสดงให้เห็นอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียที่มีต่อรัฐฟูนาน ฟูนานมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน ดังนั้น เรื่องราวของฟูนานจึงปรากฏในบันทึกของจีน ที่กล่าวไว้ว่า เมืองต่าง ๆ ในฟูนานมีกำแพงล้อมรอบ มีปราสาทราชวัง และบ้านเรือนราษฎรชาวฟูนานมีผิวดำ ผมหยิก เดินเท้าเปล่า ทำการเพาะปลูก ชอบการแกะสลักเครื่องประดับเครื่องประดับ การสลักหิน มีตัวอักษรใช้ลักษณะคล้ายกับอักษรของพวก “ฮู้” (อยู่ในเอเชียตอนกลาง ใช้อักษรแบบอินเดีย) มีทาสเชลยศึก มีการค้าทองคำ ค้าเงิน ค้าไหน ทำแหวน สร้อยมือทองคำ ถ้วยชามเงิน การพิจารณาคดีความใช้แบบจารีตนครบาล เช่น ล้วงหยิบ แหวนทองเหลือง หรือไข่ในน้ำเดือด ใช้โซ่ร้อนจัดคล้องมือ แล้วเดินไป 7 ก้าว หรือดำน้ำพิสูจน์ เป็นต้น มีแหล่งน้ำใช้ร่วมกัน มีการทดน้ำ เพื่อการเพาะปลูก สถาปัตยกรรมเป็นแบบหลังคา เป็นชั้นเล็ก ๆ จำนวนมาก ตกแต่งด้วยช่องเล็กช่องน้อยครอบอยู่

[แก้] จากบันทึกของชาวจีน

เรื่องราวของฟูนานได้ทราบจากบันทึกของชาวจีนชื่อ คังไถ่ ซึ่งเดินทางมากับคณะทูตจีน ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 3 นักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตกนำมากล่าวอ้างอิงกันมากแต่ปัจจุบันได้มีนักวิชาการนำบันทึกของคังไถ่มาวิเคราะห์กันใหม่ และได้แสดงความคิดเห็นคัดค้านข้อมูลเกี่ยวกับฟูนาน โดยยกเหตุผลมาสนับสนุนข้อคัดค้านของตน ดังได้กล่าวมาแล้ว ในเรื่องพัฒนาการของสังคมเผ่าเป็นสังคมรัฐ และยังมีอีกหลายประเด็นที่ เคนเนธ อาร์.ฮอลล์ กล่าวไว้รวมทั้งตำนานเกี่ยวกับการเข้ามาตั้งฟูนาน โดยพราหมณ์โกณธิญญะมาแต่งงานกับเจ้าหญิงนาคีว่าเป็นเรื่องของการใช้ตำนานเพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์น่ายินดีและเพื่อสถานภาพของกษัตริย์ ความเห็นนี้ตรงกับ มิสตัน ออสบอร์น ที่กล่าวว่า “เรื่องดังกล่าวเป็นตำนานเล่ากันมา เป็นการบิดเบือน เพื่อหวังผลทางปฏิบัติอย่างสูง สำหรับคนระดับที่เป็นผู้ปกครองของรัฐนี้” ฟูนานรับวัฒนธรรมอินเดียทั้งรูปแบบการปกครอง สังคม วัฒนธรรม อิทธิพลวัฒนธรรมอินเดีย มีอยู่มากในชนระดับสูง ส่วนชาวบ้านทั่วไปยังยึดมั่นในขนบประเพณีสังคมดั้งเดิมของตนอยู่ ฟูนานมีลักษณะเป็นรัฐชลประทาน มีการชลประทานเพื่อปลูกข้าว โดยการขุดคูคลองทำนบกักเก็บน้ำ แล้วระบายไปยังไร่นาต่าง ๆ ขณะเดียวกัน ก็มีเมืองท่าชื่อเมืองออกแก้ว เป็นแหล่งนำรายได้ผลประโยชน์มาสู่รัฐอีกทางหนึ่ง นำความอุดมสมบูรณ์มาให้ด้วย ฟูนานยั่งยืนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่6 จึงตกอยู่ใต้การปกครองของรัฐเจนละ สาเหตุแห่งความพ่ายแพ้ หรือความเสื่อมสลายนี้ มิได้มีหลักฐานแน่ชัด จากพงศาวดารราชวงศ์ถัง ซึ่งคณะทูตชาวจีนที่เดินทางไปยังดินแดนแถบฟูนาน ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 กล่าวเพียงว่า ได้พ่ายแพ้แก่พวกเจนละ กษัตริย์ฟูนานต้องหนีไปทางใต้ ฟูนานเป็นรัฐที่เรืองอำนาจแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถรักษาเกียรติภูมิอันยิ่งใหญ่ เป็นที่ระลึกแก่คนรุ่นหลัง เห็นได้จากเหตุการณ์หลังจากที่รัฐเจนละเข้าครอบครองฟูนานแล้ว กษัตริย์ของเจนละทุกพระองค์ได้รับเอาเรื่องราวของราชวงศ์ฟูนานเป็นของตนด้วย และสมัยต่อมา คือ สมัยนครวัด กษัตริย์ทุกพระองค์ที่นครวัดถือว่าพระองค์สืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์แห่งเมืองวยาธปุระทั้งสิ้น จึงกล่าวได้ว่า รัฐฟูนานน่าจะมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการช่วยแพร่ขยายอารยธรรมอินเดียในอินโดจีน และเป็นรัฐที่เป็นรากฐานของประเทศกัมพูชา

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
รัฐฟูนาน


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -