รถดีเซลราง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถดีเซลราง (diesel railcar) เป็นรถโดยสารที่มีเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องด้วยตนเอง เดิมมีการรถไฟได้นำรถชนิดนี้มาใช้งานในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2470 ซึ่งเป็นเครื่องกลไอน้ำ สร้างโดย บริษัทบอลด์วิน สหรัฐอเมริกา รถดีเซลรางรุ่นแรกๆ ที่นำมาใช้บริการรับส่งผู้โดยสารชานเมืองในปี พ.ศ. 2475 นั้น มีหมายเลข 11 ถึง 16 เป็นรถที่ประกอบด้วยรถกำลัง 1 คัน และรถพ่วงสำหรับผู้โดยสารล้วนอีก 1 คัน
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง รถดีเซลรางรุ่นใหม่ๆ ได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะสูง มีความคล่องตัวในการใช้งานและสามารถพ่วงต่อกันคราวละหลายชุดได้ โดยแต่ละชุดเครื่องยนต์ทำงานพร้อมกับคันที่มีคนควบคุมที่ต้นขบวน
รถดีเซลรางมีคุณสมบัติที่เหนือกว่าขบวนรถซึ่งใช้รถลากจูงหลายประการ คือ ขบวนการดีเซลรางเร่งความเร็วและหยุดได้เร็วกว่า จึงทำให้ใช้เวลาในการเดินทางน้อยกว่าและเมื่อถึงปลายทาง พนักงานขับรถเปลี่ยนไปขับท้ายขบวนก็สามารถออกรถได้ทันที ไม่ต้องเปลี่ยนตั้งหัวขบวนใหม่เช่นการใช้รถจักร นอกจากนั้นยังสามารถพ่วงติดต่อกันได้ไม่จำกัด เพราะรถทุกชุดขับเคลื่อนด้วยตัวเอง รถที่เป็นตัวกำลังจะทำงานสัมพันธ์กันทุกเครื่องยนต์ ทำให้เฉลี่ยนกำลังขับเคลื่อนออกไปตลอดขบวนขึ้นทางลาดชันได้ดีกว่า
นอกจากความคล่องตัวแล้ว รถดีเซลรางยังสะดวกในการจัดทำขบวนรถสั้นๆ เพียงชุดเดียว (2 คัน) ให้พอเหมาะกับสภาพการโดยสาร (รถคันกำลัง จุที่นั่ง 78 คน ยืน 35 คน และคันพ่วงมี 84 ที่นั่ง ยืน 35 คน) ในแง่ความปลอดภัยของผู้โดยสาร รถทุกคันมีประตูขึ้นลง เปิดปิดโดยระบบอัตโนมัติที่พนักงานขับรถจะเป็นผู้ควบคุม
เนื้อหา |
[แก้] ดีเซลรางในประเทศไทย
เมื่อปี พ.ศ. 2503 การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้จัดซื้อรถดีเซลรางมาใช้เพื่อการศึกษาจำนวน 3 ชุด ปรากฏผลเป็นที่น่าพอใจ จึงได้จัดหาเพิ่มเติมอีก 20 ชุดในปี พ.ศ. 2506 เป็นชุดที่ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลใต้ท้องรถ จึงมีที่สำหรับบรรทุกผู้โดยสารได้เต็มที่ สามารถทำความเร็วได้ถึง 85 กม./ชม.
ปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทย นำรถดีเซลรางมาใช้ขนส่งผู้โดยสารในหลายเส้นทาง เช่น
- ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศที่ 3/4 กรุงเทพ - สวรรคโลก - กรุงเทพ
- ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศที่ 9/10 กรุงเทพ - เชียงใหม่ - กรุงเทพ
- ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศที่ 11/12 กรุงเทพ - เชียงใหม่ - กรุงเทพ
- ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศที่ 21/22 กรุงเทพ - อุบลราชธานี - กรุงเทพ
- ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศที่ 39/40 กรุงเทพ - สุราษฏร์ธานี - กรุงเทพ
- ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศที่ 41/42 กรุงเทพ - ยะลา - กรุงเทพ
- ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศที่ 43/44 กรุงเทพ - สุราษฏร์ธานี - กรุงเทพ
- ขบวนรถด่วนดีเซลรางที่ 71/74 กรุงเทพ - ศรีสะเกษ - กรุงเทพ[1]
- ขบวนรถด่วนดีเซลรางที่ 73/72 กรุงเทพ - ศีขรภูมิ - กรุงเทพ[2]
- ขบวนรถด่วนดีเซลรางที่ 77/76 กรุงเทพ - หนองคาย - กรุงเทพ [3]
- ขบวนรถด่วนดีเซลรางที่ 75/78 กรุงเทพ - อุดรธานี - กรุงเทพ [4]
- ขบวนรถเร็วที่ 105/106 กรุงเทพ - ศิลาอาสน์ - กรุงเทพ
- ขบวนรถธรรมดาที่ 261/262 กรุงเทพ - หัวหิน - กรุงเทพ
- ขบวนรถธรรมดาที่ 279/280 กรุงเทพ - อรัญประเทศ - กรุงเทพ
- ขบวนรถชานเมืองที่ 355/356 กรุงเทพ - สุพรรณบุรี - กรุงเทพ
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 401/402 ลพบุรี - พิษณุโลก - ลพบุรี
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 403/410 พิษณุโลก - ศิลาอาสน์ - พิษณุโลก
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 407/408 นครสวรรค์ - เชียงใหม่ - นครสวรรค์
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 409 อยุธยา - ลพบุรี
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 415/418 นครราชสีมา - ป้ายหยุดรถตลาดหนองคาย - นครราชสีมา
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 417/416 นครราชสีมา - อุดรธานี - นครราชสีมา
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 419/420 นครราชสีมา - อุบลราชธานี - ลำชี
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 421/422 นครราชสีมา - อุบลราชธานี - ลำชี
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 423/424 ลำชี - สำโรงทาบ - นครราชสีมา
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 425/426 ลำชี - อุบลราชธานี - นครราชสีมา
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 427/428 นครราชสีมา - อุบลราชธานี - นครราชสีมา
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 429/430 นครราชสีมา - ชุมทางบัวใหญ่ - นครราชสีมา
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 431/432 ชุมทางแก่งคอย - ขอนแก่น - ชุมทางแก่งคอย [5]
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 433/434 ชุมทางแก่งคอย - ชุมทางบัวใหญ่ - ชุมทางแก่งคอย
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 437/438 ชุมทางแก่งคอย - ลำนารายณ์ - ชุมทางแก่งคอย
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 439/440 ชุมทางแก่งคอย - ชุมทางบัวใหญ่ - ชุมทางบัวใหญ่
- ขบวนรถนำเที่ยวที่ 909/910 กรุงเทพ - น้ำตกไทรโยคน้อย - กรุงเทพ
- ขบวนรถนำเที่ยวที่ 911/912 กรุงเทพ - สวนสนประดิพัทธ์ - กรุงเทพ
- ขบวนรถในเส้นทางสายวงเวียนใหญ่ - มหาชัย ทุกขบวน
- ขบวนรถในเส้นทางสายบ้านแหลม - แม่กลอง ทุกขบวน
เป็นต้น
[แก้] รูปภาพ
ด้านข้างของ ขบวนรถด่วนพิเศษ ดีเซลรางนั่งปรับอากาศที่ 9 กรุงเทพ - เชียงใหม่ ขณะวิ่งผ่าน ชานชาลารางที่ 2 สถานีรถไฟอยุธยา |
ขบวนรถด่วนพิเศษ ดีเซลรางนั่งปรับอากาศที่ 40 สุราษฏร์ธานี - กรุงเทพ ขณะกำลังเข้าจอดเทียบ ที่ชานชาลารางที่ 1 สถานีรถไฟหัวหิน |
[แก้] เชิงอรรถ
- ^ ขบวนที่ 71 วิ่งเวลากลางวัน ขบวนที่ 74 วิ่งเวลากลางคืน
- ^ ขบวนที่ 72 วิ่งเวลากลางวัน ขบวนที่ 73 วิ่งเวลากลางคืน
- ^ ขบวนที่ 77 ใช้เส้นทางชุมทางแก่งคอย - นครราชสีมา - ชุมทางบัวใหญ่, ขบวนที่ 76 ใช้เส้นทางชุมทางบัวใหญ่ - ลำนารายณ์ - ชุมทางแก่งคอย
- ^ ขบวนที่ 75 ใช้เส้นทางชุมทางแก่งคอย - ลำนารายณ์ - ชุมทางบัวใหญ่, ขบวนที่ 78 ใช้เส้นทางชุมทางบัวใหญ่ - นครราชสีมา - ชุมทางแก่งคอย
- ^ ขบวนที่ 431/432 ใช้เส้นทางชุมทางแก่งคอย - นครราชสีมา - ชุมทางบัวใหญ่
[แก้] ดูเพิ่ม
แบ่งตามประเภทขบวน | รถด่วนพิเศษ · รถด่วน · รถเร็ว · รถธรรมดา · รถชานเมือง · รถท้องถิ่น · รถนำเที่ยว · รถสินค้า |
แบ่งตามประเภทหน่วย | ตู้โดยสาร · รถดีเซลราง · รถจักรไอน้ำ · รถจักรดีเซลไฟฟ้า |