See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
มังกรหยก - วิกิพีเดีย

มังกรหยก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มังกรหยก (อักษรจีนตัวเต็ม: 射鵰英雄傳; อักษรจีนตัวย่อ: 射雕英雄传; พินอิน: shè diāo yīng xióng zhuàn) เป็นนิยายกำลังภายใน แต่งโดยกิมย้ง มีภาคต่อในชุดเดียวกันอีกสองภาค คือ มังกรหยก ภาค 2 และดาบมังกรหยก แต่ชื่อเรื่องภาษาจีนและภาษาอังกฤษนั้นแยกกันเป็นคนละเรื่อง (ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ คือ The Legend of the Condor Heroes หรือ The Eagle-Shooting Heroes)

ฉบับแปลภาษาไทยมีหลายสำนวน ยึดตามฉบับที่ลิขสิทธิ์ถูกต้องแปลโดย น.นพรัตน์ ใช้ชื่อว่า ก๊วยเจ๋งยอดวีรบุรุษ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊คส์ ความยาว 4 เล่มจบ

ได้รับการดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์หลายครั้ง รวมถึงวิดีโอเกมด้วย

ระวังเสียอรรถรส ข้อความด้านล่างนี้กล่าวถึงเนื้อเรื่องหรือฉากจบ

เนื้อหา

[แก้] เนื้อเรื่องย่อ

เรื่องราวเกิดในยุคราชวงศ์ซ้องของประเทศจีน แผ่นดินจีนเสื่อมโทรมในทุกด้าน อาณาประชาราษฎร์ยากแค้นลำเค็ญ ขุนนางฉ้อราษฎร์บังหลวง กดขี่ข่มเหงชาวจีนด้วยกัน เกี่ยวกับการผจญภัยของเด็กหนุ่มชื่อ ก๊วยเจ๋ง ที่เติบโตขึ้นมาในดินแดนของมองโกล และเดินทางกลับสู่ยุทธจักรในประเทศจีน ได้พบกับอึ้งย้ง ยังได้ฝึกวิชาต่างๆมากมาย และได้ขับไล่พวกมองโกล จากแผ่นดินจีน


ก๊วยเซาเทียนและเอี้ยทิซิม พี่น้องร่วมสาบาน ถูกใส่ร้ายป้ายสีว่าเป็นกบฎ พวกเขาต่อต้านการจับกุม เข้าสู้พวกทหารที่กลุ้มรุม กระทั่งก๊วยเซาเทียนเสียชีวิต บ้านเรือนถูกเผาผลาญย่อยยับ เอี้ยทิซิม หลีเพ้ง ภรรยาก๊วยเซ่าเทียน และเปาเสียะย้อ ภรรยาเอี้ยทิซิม หนีกระเซอะกระเซิง ไปคนละทิศละทาง ผู้หญิงทั้งสองกำลังตั้งครรภ์

หลีเพ้งให้กำเนิดก๊วยเจ๋ง ระเหเร่ร่อนไปเติบใหญ่ในแผ่นดินมองโกล ใต้ร่มใบบุญเจงกิสข่านผู้ยิ่งใหญ่

ขณะที่เปาเสียะย้อให้กำเนิดเอี้ยคัง ได้ดีมีสุขในวังไต้กิมก๊กของชาวแมนจู

ทั้งมองโกลและแมนจู ล้วนเป็นศัตรูผู้รุกรานและต้องการยึดครองแผ่นดินตงง้วน

ก๊วยเจ๋งและเอี้ยคังเติบโตขึ้นท่ามกลางสภาพแวดล้อมและการบ่มเพราะที่ต่างกัน จึงมีพฤตินิสัยไปคนละแบบ ก๊วยเจ๋งได้รับการสั่งสอนย้ำเตือนจาก หลีเพ้ง ผู้เป็นมารดา และ เจ็ดประหลาดกังหนำ ผู้เป็นอาจารย์ ให้แก้แค้นแทนบิดา และยึดมั่นในจิตวิญญาณจีน จึงยินยอมสะบั้นไมตรีกับพวกมองโกล ก็ไม่ยินยอมทำร้ายแผ่นดินตงง้วน อันเป็นมาตุภูมิ ขณะที่เอี้ยคัง หลงใหลในลาภยศสรรเสริญ ยินยอมรับศัตรูเป็นบิดา กระทั่งยังกล้าย่ำยีบีฑาชาวชนเชื่อชาติเดียวกัน ...

มังกรหยกถูกนักวิชาการด้านจีนศึกษาจำนวนมากวิเคราะห์ว่าแฝงด้วยเนื้อหาชาตินิยมและเชื้อชาตินิยมของพวกฮั่น

[แก้] ตัวละครในเรื่อง


[แก้] ห้ายอดฝีมือแห่งยุค

  • เฮ้งเตงเอี้ยง (เทพมัชฉิม หรือ กลางอิทธิฤทธิ์) ผู้ก่อตั้งสำนักช้วนจินก่า ได้รับการยอมรับว่ามีฝีมือสูงที่สุดในห้ายอดฝีมือ
  • อึ้งเอี๊ยะซือ (มารบูรพา หรือ ตังเซี้ย- บางฉบับใช้ ภูตบูรพา) เป็นบิดาของอึ้งย้ง และเป็นประมุขเกาะดอกท้อ
  • อั้งชิดกง (ยาจกอุดร หรือปักข่าย- บางฉบับใช้ ขอทานเหนือ หรือ ยาจกเก้านิ้ว) ประมุขพรรคกระยาจก
  • อิดเต็งไต้ซือ (ราชันย์ทักษิณ หรือน่ำเต้- บางฉบับใช้อ๋องแดนใต้,ราชันย์ต้วน) เป็นอดีตจักรพรรดิแซ่ต้วนแห่งไต้ลี้ หรือ ต้าหลี่
  • อาวเอี๊ยงฮง (พิษประจิม หรือไซตั๊ก) จ้าวแห่งการใช้พิษ ผู้อยู่เหนือพิษทั้งปวง

[แก้] นิกายช้วนจินก่า

นักพรตทั้ง 7 แห่งนิกายช้วนจินก่า ซึ่งเป็นศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดฝีมือจากเฮ้งเต็งเอี้ยงคือ

  • เบ้เง็ก ศิษย์คนที่ 1 ของเฮ้งเต็งเอี้ยง และเป็นเจ้าสำนักต่อจากเฮ้งเต็งเอี้ยง
  • คูชู่กี
  • เฮ้งชู่อิด
  • ท่ำชู่ตวน
  • เล่าชูเหียน
  • ฮึ่งไต้ฮง
  • ซุนปุกยี่ นักพรตหญิงแห่งชวนจิน

[แก้] นิกายเม้งก่า

นิกายเม้งก่า (พรรคจรัสหรือพรรครุ่งเรือง) - มีที่มาจากเปอร์เซีย (น่าจะแถวอิหร่าน) บูชาเทพอัคคี แต่เกิดการแก่งแย่งในนิกายทำให้เกือบแตกสลาย ภายหลังได้บ่อกี๋มาเป็นประมุข นิกายจึงเจริญขึ้นและยิ่งใหญ่ในยุทธภพ ภายในนิกายบังคับบัญชาในระบบอาวุโส คือ ประมุข ทูตซ้าย-ขวา สี่ผู้คุมกฎ ได้แก่ มังกรเสื้อม่วง อินทรีคิ้วขาว ราชสีห์ขนทอง ค้างคาวปีกเขียว รองลงมาก็คือ ห้าพเนจร ในด้านกำลังพล มีห้ากองธง และมี “จูหยวนจาง (จูหงวนจัง)” เป็นผู้กุมกำลังพล ภายหลังคนผู้นี้ ได้ทรยศบ่อกี๋ และนำกำลังของนิกายขับไล่มองโกลออกไปจากต้าซ้องได้สำเร็จ แล้วสถาปนาตนเองเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง (เหม็งหรือเม้ง ที่แปลว่า สว่าง ก็ได้) ซึ่งชื่อราชวงศ์ก็มาจากชื่อของนิกายเม้งก่านั่น

[แก้] เพลงประกอบละคร

http://roch.clubdara.com/song_001.php

มังกรหยก เป็นบทความเกี่ยวกับ วรรณคดี วรรณกรรม หรือหนังสือ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ มังกรหยก ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:โลกวรรณศิลป์


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -