See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
มหาวิหารกลอสเตอร์ - วิกิพีเดีย

มหาวิหารกลอสเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลิงก์ข้ามภาษาที่แทรกในบทความนี้ ผู้เขียนอาจใส่ไว้เพื่อความสะดวกสำหรับผู้อ่านและผู้ร่วมปรับปรุงแก้ไขบทความ ให้โยงไปถึงบทความที่เกี่ยวข้องในภาษาอื่นเพื่อการตรวจสอบหรืออ่านเพิ่มเติม เนื่องจากคำ หรือวลีนั้นๆ ยังไม่มีคำแปลหรือคำอธิบายที่เหมาะสมในภาษาไทย เมื่อหมดความจำเป็นแล้ว ลิงก์ข้ามภาษาจะถูกตัดออกหรือเปลี่ยนเป็นข้อความที่ไม่มีลิงก์แทน ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานวิกิพีเดียไทย

มหาวิหารกลอสเตอร์ (ภาษาอังกฤษ:Gloucester Cathedral) เป็นมหาวิหารที่ตั้งอยู่ตอนเหนือของเมืองกลอสเตอร์ ประเทศอังกฤษ แต่เดิมเป็นอารามสำนักสงฆ์ (monastery) ที่อุทิศให้ นักบุญปีเตอร์ เมื่อราวปี ค.ศ. 678 หรือ 679 มาจนกระทั่งเปลี่ยนเป็นมหาวิหาร (cathedral) เมื่อปีค.ศ. 1541

วิวจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของมหาวิหารกลอสเตอร์เมื่อปี ค.ศ. 1828
วิวจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของมหาวิหาร
กลอสเตอร์เมื่อปี ค.ศ. 1828

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

วิวจากทางตะวันตกของมหาวิหารกลอสเตอร์ 2004
วิวจากทางตะวันตกของมหาวิหารกลอสเตอร์ 2004
ระเบียงคดที่แสดงให้เห็นถึงเพดานโค้งใบพัด
ระเบียงคดที่แสดงให้เห็นถึงเพดานโค้งใบพัด

เมื่อปีค.ศ. 1072 พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งประเทศอังกฤษ แต่งตั้งให้เซอร์โล (Serlo) พระจากมงแซง-มีแชล (ประเทศฝรั่งเศส) มาปกครองมหาวิหารนี้ ตอนนั้นอารามอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมมาก [1] เซอร์โลทุ่มตัวสร้างวัดขึ้นมาใหม่จนเป็นที่เห็นกันทุกวันนี้ ต่อมาท่านก็ได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นอธิการ (Dean) ของ มหาวิหารเอ็กซีเตอร์ (Exeter Cathedral) วอลเตอร์ กลอสเตอร์ (Walter Gloucester) นักประวัติศาสตร์ของวัดได้เป็นเจ้าอาวาสเมื่อปี ค.ศ. 1381 มหาวิหารกลอสเตอร์เดิมขึ้นอยู่กับเขตวัดวูสเตอร์ (Worcester) จนถึงปี ค.ศ. 1541 จากนั้นก็ย้ายไปขึ้นกับเขตทูกสบรี (Tewkesbury) โดยมีจอห์น เวคแมน (John Wakeman) เป็นบาทหลวง เขตทูกสบร๊ครอบคลุมไปถึงบางพื้นของแขวงแฮรฟอร์ดเชอร์ (Herefordshire) และ แขวงวิลท์เชอร์ (Wiltshire)

มหาวิหารนี้เป็นมหาวิหารที่เดิมสร้างแบบโรมาเนสก์แต่ต่อมาต่อเติมเป็นแบบกอธิคที่สวยงามมาก ภายในมีบานหน้าต่างประดับกระจกสี (Stained glass windows) ในช่องเล็กๆของบานหนึ่งซึ่งทำเมื่อปี ค.ศ. 1350 มีรูปคล้ายคนเล่นกอล์ฟ เชื่อกันว่าเป็นหลักฐานชิ้นแรกที่กล่าวถึงกีฬาเล่นกอล์ฟ รูปนี้ทำขี้นก่อนรูปที่พบสกอตแลนด์ ประมาณ 300 ปี[2] นอกจากนั้นก็ยังมีรูปคนเล่นฟุตบอลซึ่งเชื่อกันว่าเป็นรูปการเล่นฟุตบอลที่เป็นหลักฐานเก่าที่สุดจากยุคกลาง

[แก้] การก่อสร้างและสถาปัตยกรรม

ตัววัดเดิมเป็นวัดแบบโรมาเนสก์ หรือ นอร์มัน (Norman) ตามที่เรียกกันที่ประเทศอังกฤษ การต่อเติมภายหลังเป็นแบบกอธิคหลายยุค ตัววัดลึก 420 ฟุต กว้าง 144 ฟุต มีหอกลางที่ต่อเติมเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 15 สูง 225 ฟุต ข้างบนมียอดสี่ยอด ตัววัดด้านในเป็นเพดานสมัยอังกฤษตอนต้น มีห้องใต้ดินสำหรับเก็บศพ (crypt) แบบโรมาเนสก์อยู่ภายใต้บริเวณทำพิธี (choir) ห้องใต้ดินของมหาวิหารนี้เป็นเพียงหนึ่งในสี่ของสถานที่แบบเดียวกันนี้ที่หลงเหลืออยู่ในประเทศอังกฤษ อีกสามแห่งอยู่ที่ มหาวิหารวูสเตอร์ (Worcester Cathedral) มหาวิหารวินเชสเตอร์ (Winchester Cathedral) และมหาวิหารแคนเตอร์บรี (Canterbury Cathedral) จากนั้นก็มีหอประชุมสงฆ์

ระเบียงคด (cloister) ด้านใต้เป็นสถาปัตยกรรมแบบเพอร์เพ็นดิคิวลาร์ (Perpendicular) ซึ่งเป็นสมัยหนึ่งของกอธิค เพดานเป็นโค้งใบพัด (fan-vaulted) เหมือนกับทางด้านเหนือ ภายในตัววัด ทางด้านใต้เป็นลักษณะที่เรียกว่าเด็คคอเรทีฟกอธิค (Decorated Gothic) บริเวณที่ทำพิธีเป็นลวดลายเพอร์เพ็นดิคิวลาร์ทำทับงานเดิมที่เป็นแบบโรมาเนสก์ มีชาเปลประกบทั้งสองข้าง ระหว่างชาเปลสองชาเปลนี้เป็น en:Lady chapelLady chapel หน้าต่างทางด้านตะวันออกเป็นแบบเด็คคอเรทีฟแต่งด้วยกระจกสีสมัยยุคกลาง

สิ่งที่สวยงามที่สุดภายในวัดนี้คือซุ้มที่ฝังพระศพของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 ที่ถูกปลงพระชนม์ที่ปราสาทบาร์คลี (Berkeley Castle) มหาวิหารนี้มั่งคั่งขึ้นมาด้วยรายได้จากนักแสวงบุญที่มาถวายความเคารพที่ฝังพระศพนี้ อีกอย่างหนึ่งที่น่าดูคืออนุสรณ์ที่ทำจากไม้บอกโอค (bog oak) ของโรเบิร์ต เคอธอส (Robert Curthose) ผู้เป็นพระโอรสองค์โตของ พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์คนสำคัญของวัด

ระหว่างปี ค.ศ. 1873–1890 และ ปี ค.ศ.1897 ทางมหาวิหารมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่โดยเซอร์จอร์จ กิลเบิร์ต สก็อต (George Gilbert Scott)

[แก้] ทางเดินกลาง ทางเดินข้าง

โถงทางเดินกลางรายด้านแนวเสาโรมานาสก์สูงกว่า 9 เมตรเป็นเสาเดิมของวัด ภายในกลวงถมด้วยวัสดุก่อสร้าง ตอนล่างของเสาจะออกสีแดงซึ่งเป็นผลจากการความร้อนจากหลังคาที่ร่วงลงมาหลังจากเกิดไฟไหม้สองครั้ง หลังคาเดิมเป็นไม้เมื่อสร้างหลังคาใหม่ครั้งสุดท้ายจึงเปลี่ยนวัสดุก่อสร้างเป็นหิน ทรงเพดานเป็นแบบกอธิคอังกฤษยุคแรก โค้งจึงยังไม่แหลมมาก

สิ่งที่น่าสนใจของมหาวิหารคือโถงทางเดินข้างที่กระหนาบทางเดินกลางด้านเหนือเป็นของเดิมตั้งแต่สร้างวัดเป็นแบบโรมาเนสก์สังเกตได้จากหน้าต่างเป็นโค้งมนแต่งรอบโค้งบนด้วยรอยหยัก แต่ทางเดินข้างด้านใต้เป็นแบบกอธิครายด้วยหน้าต่างโค้งแหลม สาเหตที่เป็นคนละแบบเพราะทางเดินด้านใต้ทรุดเพราะสร้างบนที่ซึ่งเดิมเคยเป็นคูของโรมัน เมื่อกำแพงทรุดก็เป็นอันตรายที่อาจจะดึงตัวมหาวิหารตามไปด้วย ถ้ายืนมองจากมุมหนึ่งจะเห็นได้ว่ากำแพงด้านตะวันออกของวัดจะเอียงไปทางด้านนอกมหาวิหาร จึงจำเป็นต้องสร้างและเสริมใหม่เป็นแบบกอธิคตกแต่ง (Decorative Gothic) ซึ่งจะเห็นได้จากรูปดอกไม้ตกแต่งรอบหน้าต่าง ว่ากันว่าในวันหนึ่งๆ ช่างแกะหินจะแกะได้เพียง 5 ดอก เมื่อดูแต่ละหน้าต่างจะมีดอกไม้ตกแต่งเป็นร้อยแสดงให้เห็นถึงความอุตสาหะของผู้ก่อสร้างสมัยนั้น

ด้านนี้มีหน้าต่างประดับกระจกสีที่น่าสนใจสองหน้าต่างหนึ่งเป็นรูปพิธีสวมมงกุฏของพระเจ้าเฮนรีที่ 3 ผู้ยังทรงพระเยาว์ที่มหาวิหารนี้ และเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษองค์เดียวที่สวมมงกุฏที่มหาวิหารนี้ พระเจ้าเฮนรีที่ 3เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าจอห์น แห่งอังกฤษ เหนือพระเศียรมิได้เป็นมงกุฏแต่เป็นที่รัดแขนของพระมารดา เพราะเกวียนเครื่องราชภัณฑ์ไปล่มลงในหนองที่ทางตะวันออกของอังกฤษจึงไม่มีอะไรเหลือ

หน้าต่างประดับกระจกสีทางด้านตะวันออกอีกบานหนึ่งเป็นรูปการสร้างอนุสรณ์ที่ฝังพระศพ และการฝังพระศพของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 โดยสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ผู้เป็นพระราชโอรสที่มหาวิหารนี้

[แก้] บริเวณสวดมนต์และร้องเพลงสวด

ประตูเข้าด้านข้าง
ประตูเข้าด้านข้าง

บริเวณนี้อยู่หลังฉากหินมหึมาแยกจากโถงกลางมาเป็นบริเวณสงฆ์ บริเวณนี้ได้รับการปรับปรุงครั้งใหญ่โดยเปลี่ยนจากแบบโรมานาสก์เดิมเป็นสถาปัตยกรรมแบบเพอร์เพ็นดิคิวลาร์ (Perpendicular Gothic) ซึ่งเป็นสมัยหนึ่งของกอธิคที่เน้นแนวดิ่ง เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 14 ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 เพื่อให้สมพระเกียรติกับการเป็นสถานที่ที่เป็นที่ฝังพระศพพระราชบิดา โครงสร้างเดิมที่เป็นโรมานาสก์มิได้ถูกรื้อทั้งหมดทิ้งแต่ “ปะหน้า” ด้านบริเวณสงฆ์ด้วยกอธิค ฉะนั้นถ้าออกไปทางด้านนอกบริเวณสงฆ์ (ทางเดินรอบบริเวณสวดมนต์) จะเห็นว่าหน้าต่างที่เห็นด้านในเป็นกอธิคด้านนอกจะยังคงเป็นโรมานาสก์ ภายในบริเวณสวดมนต์มีหน้าต่างประดับกระจกสีรอบด้านทำให้มีแสงส่องผ่านกระจกสีเข้ามาได้ทั่วถึงทำให้มีลักษณะโปร่ง เพดานประดับด้วยปุ่มหินนับร้อย แต่ชิ้นที่สำคัญที่สุดเป็นรูปพระเยซูประทานพร ล้อมรอบด้วยชิ้นนางฟ้าเทวดาเล่นดนตรี

ครึ่งทางด้านใต้เป็นที่นั่งของนักร้องเพลงสวดและนักบวชที่แกะสลักเสลาอย่างสวยงาม ภายใต้ที่นั่งเป็นเก้าอี้อิง (Misericord) ซึ่งเป็นคันยื่นออกมาราวหกนิ้วเมื่อพบม้านั่ง พระในนิกายเบ็นเนดิคตินต้องสวดมนต์วันละแปดหน เวลาสวดก็ต้องยืนทำให้บางครั้งเมื่อย ฉะนั้นภายใต้เก้าอี้พับจะมีที่รองนั่งสั้นๆ ยื่นออกมา กล่าวกันว่าใช้สำหรับให้พระเอนเวลาเมื่อยจะได้ไม่เห็นว่านั่ง การแกะสลักภายใต้ที่นั่งจะพบมากที่สุดในประเทศอังกฤษ ส่วนใหญ่ถูกทำลายไปมาก ลักษณะการแกะสลักก็น่าสนใจเพราะจะไม่เป็นศิลปะศาสนาแต่จะเป็นศิลปะชาวบ้านและเป็นการแสดงความมีอารมณ์ขันของช่างสลักไม้ เช่นอาจจะทำเป็นรูปสามีภรรยาตบตีกัน ภาพเงือก ภาพผู้หญิงทำอาหาร ภาพการเก็บเกี่ยว แต่ละอันๆ ก็จะไม่ซ้ำกัน

นอกจากนั้นในบริเวณนี้ยังมีบัลลังก์บาทหลวง แต่สิ่งที่แปลกกว่ามหาวิหารคือมหาวิหารกลอสเตอร์มีที่นั่งตรงกันข้ามกับบาทหลวงแต่มีขนาดใหญ่กว่าที่นั่งของบาทหลวง ที่ทำขึ้นเพื่อแสดงความขอบคุณต่อนายกเทศมนตรีของเมืองกลอสเตอร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่สามารถพูดหว่านล้อมให้ทหารของกองทัพของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ (Oliver Cromwell) ย้ายม้าไปผูกนอกมหาวิหาร ไม่เช่นนั้นมหาวิหารก็คงจะเสียหายมากกว่านั้น

ด้านเหนือของบริเวณสวดมนต์เป็นฉากแท่นบูชาขนาดใหญ่สร้างในสมัยฟื้นฟูกอธิคในสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย อยู่หน้าบานกระจกประดับสีที่ใหญ่ที่สุดในมหาวิหารที่เรียกว่า The Great East Window

[แก้] คูหาสวดมนต์พระแม่มารี

มองจาก Lady chapel เข้าไปในบริเวณพิธี
มองจาก Lady chapel เข้าไปในบริเวณพิธี

ด้านหลังของบริเวณสวดมนต์และร้องเพลงสวดเป็นทางเดินรอบ (Ambulatory) จากทางเดินออกไปมีคูหาสวดมนต์สามคูหาๆ ที่สำคัญที่สุดอยู่ตรงกลางเรียกว่า Lady chapel เป็นคูหาสวดมนต์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งสำหรับคูหาสวดมนต์แบบนี้ในอังกฤษ ตัวคูหามีหน้าต่างกระจกล้อมรอบจนไม่มีกำแพงดูเหมือนเรือนกระจก

[แก้] ระเบียง

ระเบียงคดทางด้านเหนือของมหาวิหารเป็นสถาปัตยกรรมแบบเพอร์เพ็นดิคิวลาร์ (Perpendicular) ซึ่งเป็นสมัยหนึ่งของกอธิคที่เน้นเส้นดิ่ง รอบระเบียงเป็นซุ้มโค้งสลักด้วยหินอย่างวิจิตรตลอดทั้งสี่ด้าน ตังระเบียงล้อมรอบลานสี่เหลี่ยม เพดานเป็นโค้งใบพัด (fan-vaulted) ซึ่งเป็นลักษณะเอกลักษณ์ของอังกฤษ ทางด้านเหนือของระเบียงเป็นหอประชุมสงฆ์ ซึ่งเป็นที่ประชุมอ่านพระคัมภีร์ประจำวันเป็นบทบท (Chapter) ในสมัยโบราณ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อห้อง ทางด้านนี้เคยเป็นทางเข้าหอที่พระพำนักอยู่แต่มาถูกทำลายในสมัย พระเจ้าเฮนรีที่ 8 พร้อมกับโรงฉันของพระ ทางด้านเหนือของระเบียงเป็นซุ้มแคบยาวเกือบตลอดแนวภายในมีรางตลอดซึ่งใช้เป็นบริเวณซักล้าง ทางด้านใต้มีคูหาเล็กๆตลอดแนวใช้เป็นที่ที่นักบวชทำกิจกรรมต่างๆ

[แก้] หน้าต่างประดับกระจกสี

สิ่งที่เด่นที่สุดของมหาวิหารกลอสเตอร์คือหน้าต่างประดับกระจกสีแบบเพอร์เพ็นดิคิวลาร์ซึ่งมีรอบมหาวิหารแต่ที่สำคัญคือบานใหญ่มหึมา 5 บานและหน้าต่างโดย ทอมัส เด็นนี (Thomas Denny)

  • ด้านหน้าหรือด้านตะวันตก
  • ด้านแขนกางเขนด้านใต้
  • ด้านแขนกางเขนด้านเหนือ
  • ด้านหลังหรือด้านตะวันออกหลังคูหาสวดมนต์พระแม่มารี หน้าต่างด้านนี้เสียหายมากจนต้องเอามาประกอบแบบหาที่ปะเข้าไปโดยไม่เป็นรูปอะไรแน่นอนผลที่ออกมาจึงเป็นกึ่งแอ็บสแตร็ค
  • กลางบริเวณพิธี หน้าต่างนี้ใหญ่ขนาดสนามเทนนิส สร้างเมื่อปีค.ศ. 1350 เป็นหน้าต่างที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษในสมัยนั้น บานกระจกแบ่งเป็นห้าชั้นๆแรกเป็นตราตระกูล ชั้นบนถัดไปเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ ถัดไปเป็นพระเยซูยกมือทำเครื่องหมายประทานพร พระแม่มารีและสาวก ถัดขึ้นไปเป็นเทวดา
  • หน้าต่างโดย ทอมัส เด็นนีอยู่ภายในคูหาสวดมนต์เล็กทางด้านใต้ เป็นบานหน้าต่างกระจกสีสีน้ำเงินสดเป็นส่วนใหญ่ที่ทำเมื่อปีค.ศ. 1992 เป็นเรื่องพระเจ้าสร้างโลกสองบานประกบรูปกลางซึ่งเป็นรูปพระเยซูกับนักบุญทอมัส คูหาสวดมนต์นี้ยังใช้เป็นที่สวดมนต์ตอนเช้าทุกวัน

[แก้] ออร์แกน

รายละเอียดของออร์แกนจาก National Pipe Organ Register (ภาษาอังกฤษ)

[แก้] ที่ฝังศพและอนุสรณ์

ที่ฝังพระศพของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2
ที่ฝังพระศพของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2

[แก้] ที่ฝังพระศพของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2

อนุสรณ์ที่ฝังศพที่สวยงามที่สุดภายในวัดนี้คือซุ้มที่ฝังพระศพของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2ที่สร้างโดยพระราชโอรส พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระราชบิดาผู้ถูกปลงพระชนม์อย่างทารุณที่ปราสาทบาร์คลี (Berkeley Castle) มหาวิหารนี้มั่งคั่งขึ้นมาด้วยรายได้จากนักแสวงบุญที่มาสักการะที่ฝังพระศพนี้

[แก้] ที่ฝังพระศพของโรเบิร์ต เคอธอส

โรเบิร์ต เคอธอส (Robert Curthose) เป็นพระโอรสองค์โตของ พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แต่มิได้ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษต่อจากพระราชบิดา ได้เป็นเพียงดยุคแห่งนอร์มังดีที่เป็นตำแหน่งเดิมของพระราชบิดา เมื่อ โรเบิร์ต เคอธอสมีชีวิตอยู่ก็มีความประสงค์อยากจะฝังร่างของท่านเองเมื่อตายไปที่มหาวิหารกลอสเตอร์ อนุสรณ์ของโรเบิร์ต เคอธอสทำจากไม้บอกโอค (bog oak) ทาสีอย่างสวยงามตั้งอยู่ทางด้านเหนือนอกบริเวณพิธีติดกับฉากแท่นบูชาเอก แต่ว่าร่างของโรเบิร์ตเองว่ากันว่าถูกฝังไว้ภายในหอประชุมสงฆ์ภายในระเบียง

[แก้] ที่ฝังพระศพของพระเจ้าออสริคแห่งเมอร์เซีย

ทางด้านเหนือนอกบริเวณพิธีติดกับฉากแท่นบูชาเอกเป็นอนุสรณ์พระเจ้าออสริคแห่งเมอร์เซีย (Prince Osric of Mercia) ผู้เป็นผู้สร้างมหาวิหาร เป็นรูปพระเจ้าออสริคนอนราบอุ้มมหาวิหารในมือซ้าย รูปคล้ายกันนี้อีกรูปหนึ่งอยู่ด้านขวาของทางเข้ามหาวิหารด้านใต้คู่กับบาทหลวงเซอร์โลทางด้านซ้ายผู้เป็ผู้มีบทบาทสำคัญในการบูรณะมหาวิหาร

[แก้] เหตุการณ์สำคัญ

ที่ฝังพระศพของโรเบิร์ต เคอธอส
ที่ฝังพระศพของโรเบิร์ต เคอธอส
  • 678-9 เริ่มมีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานใกล้วัดระหว่างสมัยแซ็กซอนนำโดย Osric of the Hwicce น้องสาวของ Hwicce เป็นแอ็บเบส (Abbess) องค์แรก
  • 1017 พระนิกายเบ็นเนดิคตีน (Benedictine monk) เข้ามาปกครองวัดหลังจากที่พระเซ็กคิวล่า (Secular priests) ถูกไล่ออกจากวัด
  • 1072 เซอร์โลได้รับแต่งตั้งโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ให้มาเป็นเจ้าอาวาส
  • 1089 โรเบิร์ต เดอ โลซินยา (Robert de Losinga) บาทหลวงแห่งแฮรฟอร์ด (Hereford) วางศิลาฤกษ์
  • 1100 ได้รับการสถาปนา (consecrate) เป็นวัดเซนต์ปีเตอร์
  • 1216 พระราชพิธีสวมมงกุฏพระเจ้าเฮนรีที่ 3
  • 1327 พระราชพิธีฝังพระศพพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2
  • 1331 ซ่อมบริเวณทำพิธีของพระแบบเพอร์เพ็นดิคิวลาร์
  • 1373 แอ็บบ็อตฮอร์ตัน (Horton) เริ่มสร้างระเบียง มาเสร็จเอาสมัยแอ็บบ็อตฟรูสเตอร์ (Frouster)
  • 1420 แอ็บบ็อตมอร์เว้นท์ (Morwent) ปฏิสังขรณ์ด้านตะวันตก
  • 1450 แอ็บบ็อตซีโบรค (Sebrok) ต่อเติมหอ มาเสร็จโดยโรเบิร์ต ทัลลี (Robert Tully)
  • 1470 แอ็บบ็อตแฮนลี (Hanley) ปฏิสังขรณ์ Lady Chapel มาเสร็จเอาสมัยแอ็บบ็อตฟาร์ลี (Farley)
  • 1540 อารามถูกยุบตามพระราชกฤษฎีกายุบอาราม (Dissolution of the Monasteries) ของพระเจ้าเฮนรีที่ 8
  • 1541 พระเจ้าเฮนรีที่ 8 สถาปนาอารามที่ถูกยุบไปขึ้นเป็นมหาวิหาร
  • 1616-21 วิลเลียม ลาวด์ (William Laud holds) เป็นอธิการ
  • 1649-60 ตำแหน่งอธิการถูกยุบแต่ถูกตั้งใหม่โดย พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2
  • 1735-52 บาทหลวงมาร์ติน เบ็นสัน (Martin Benson) ปฏิสังขรณ์มหาวิหารครั้งใหญ่
  • 1847-73 บูรณะปฏิสังขรณ์สมัยวิคตอเรีย โดย สถาปนิก เอฟ เอส วอลเลอร์ (F.S.Waller) และ เซอร์จอร์จ กิลเบิร์ต สก็อต
  • 1968 ปูหลังคาใหม่
  • 1994 เสร็จการปฏิสังขรณ์หอ
  • 2000 ฉลองครบรอบ 900 ปึ

[แก้] เกร็ดน่ารู้

มหาวิหารกลอสเตอร์ใช้เป็นฉากถ่ายภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ตอนที่หนึ่ง สอง และหก เมื่อปี ค.ศ. 2000

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ [1]
  2. ^ http://www.foreteevideo.co.uk/Gloucester.html

[แก้] ข้อมูลเพิ่มเติม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
มหาวิหารกลอสเตอร์

[แก้] สมุดภาพ

ภาษาอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -