See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
พุทธศาสนาในประเทศมาเลเซีย - วิกิพีเดีย

พุทธศาสนาในประเทศมาเลเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ส่วนหนึ่งของ
พุทธศาสนา


ประวัติพุทธศาสนา
ศาสดา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา
พ้นทุกข์ / ความดับทุกข์
ไตรสรณะ

พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์

ความเชื่อและการปฏิบัติ
ศีล · ธรรม
ศีลห้า · เบญจธรรม · ศีลแปด
บทสวดมนต์และพระคาถา
คัมภีร์และหนังสือ
พระไตรปิฎก
พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก
นิกาย
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน
สังคมพุทธศาสนา
เมือง · ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล
ดูเพิ่มเติม
ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา
หมวดหมู่พุทธศาสนา
สารานุกรมพระพุทธศาสนา สถานีย่อย

อดีตประเทศมาเลเซียเคยได้รับอิทธิพลของศาสนาฮินดู-พุทธมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัย แต่ต่อมาเมื่อศาสนาอิสลามได้เข้ามาแพร่หลายอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 20 ในรัชสมัยของพระเจ้าปรเมศวรเป็นต้นมาทำให้พุทธศาสนาหมดความสำคัญไป ในระยะเวลาหนึ่ง

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เชื่อกันว่าพระพุทธศาสนาได้แผ่สู่มาเลเซียตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 3 โดยนิกายเถรวาทซึ่งไม่แพร่หลายเท่าใดนัก ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 12 อิทธิพลของอาณาจักรศรีวิชัย จึงได้มีพุทธศาสนาแบบมหายาน แผ่ขยายมาถึงมาเลเซีย

พ.ศ. 1837 ภายใต้การปกครองของอาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งแผ่อำนาจลงทางคาบสมุทรมลายู และได้นครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางอำนาจหัวเมืองมลายูทั้งหลาย แต่เนื่องจากประชาชนในแถบนี้ นับถือพุทธศาสนาแบบมหายานมาหลายร้อยปีแล้ว พุทธศาสนาแบบเถรวาทจึงไม่ค่อยมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตความเชื่อของคนบริเวณนี้มากนัก ซึ่งจะปรากฏแต่รูปพระโพธิสัตว์ หรือรูปเคารพตามแบบมหายานโดยมาก

ความรุ่งเรืองของพุทธศาสนาในมาเลเซียเริ่มขึ้นได้ไม่นาน พระเจ้าปรเมศวร แห่งอาณาจักรมะละกา ทรงอภิเษกกับ เจ้าหญิงแห่งปาไซ ที่เป็นมุสลิม พระองค์จึงละทิ้งศาสนาฮินดู-พุทธ และเข้ารีตศาสนาอิสลาม ในขณะที่ประชาชนเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอยู่ ต่อมาในรัชกาลของสุลต่านมัลโม ชาห์ ซึ่งทรงมีความเลื่อมใสในศาสนาอิสลาม ทำให้ราษฎรเข้ารีตศาสนาอิสลามตามพระองค์

[แก้] ชาวจีน และชาวไทยพุทธ

แต่เนื่องจากมีชาวไทยที่อาศัยอยู่ในสามรัฐทางภาคเหนือของมาเลเซีย ได้แก่ รัฐเกดะห์ รัฐกลันตัน และรัฐปะลิส เป็นเวลายาวนาน จนได้รับรองสถานะเทียบเท่าชาวมาเลย์ แต่ชนชาวไทย จะแสดงถึงความเป็นไทย คือ ความเป็นพุทธเถรวาท ซึ่งมีพิธีกรรม และสถาปัตยกรรมทางศาสนาเหมือนกันกับชาวพุทธในประเทศไทย โดยมีชาวจีนให้ความอุปถัมภ์วัดทางการเงิน และช่วยเหลืองานต่างๆ ช่วงเทศกาลงานบุญ แต่ชาวไทยพุทธมีบทบาทในการดูแลศาสนามากกว่า เช่น การบวชของชาวไทยจะยาวนานกว่าชาวจีน จนสามารถแยกได้ว่า กลุ่มใดเป็นกลุ่มชาวไทย และชาวจีนในมาเลเซีย ส่วนวัดวาอารามของชาวสยามจะอยู่แถบชนบท มีสถาปัตยกรรมเป็นแบบไทย พิธีกรรมเป็นแบบชาวไทย คือเน้นการทำบุญเป็นหลัก ซึ่งผู้ที่จะบริจาคให้วัดจะเป็นชาวจีนโดยมาก ดังนั้นวัดไทยหลายๆวัดที่มีชาวจีนอุปถัมภ์จะมีรูปเคารพเจ้าแม่กวนอิม หรือเทพเจ้าจีน ไว้เพื่อยึดเหนี่ยวศรัทธาของชาวจีน ในแต่ละชุมชน จะมีสำนักสงฆ์ไว้ เพื่อให้เป็นที่พำนักของพระสงฆ์ ที่หมุนเวียนกันมาจำพรรษาโปรดญาติโยม แต่ที่วัดใหญ่จะมีพระสงฆ์ไม่ต่ำกว่า 5 รูป โดยพระสงฆ์ที่บวชนานๆ และพระสงฆ์ที่บวชระยะสั้นๆอยู่จำพรรษาในวัดนั้นๆ ชาวจีนส่วนมาก จะให้ความนับถือพระที่เก่งทางไสยศาสตร์ และสมุนไพร บางครั้งก็นิมนต์ไปประกอบพิธีทางศาสนาที่บ้านของตน

[แก้] การปกครองคณะสงฆ์

การปกครองของคณะสงฆ์นั้น จะขึ้นกับคณะสงฆ์ไทยภายใต้พระสังฆราชองค์เดียวกัน โดยมีเจ้าคณะรัฐในประเทศมาเลเซียเป็นผู้ปกครอง แต่การแต่งตั้งผู้นำคณะสงฆ์จะผ่านการรับรองจากสุลต่านแห่งรัฐซึ่งถือว่า เป็นอัครศาสนูปถัมภก โดยมีฐานะเป็นผู้ปกป้องพระพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการทางศาสนา ทำให้พระพุทธศาสนาเข้มแข็ง ที่จะดำรงอยู่ท่ามกลางสังคมมุสลิมได้ และชาวมุสลิม ก็ต้องยอมรับการมีอยู่ชาวสยาม และวัดพุทธด้วย นอกจากนี้ก็ยังมีพระสงฆ์ที่บวชระยะยาวมาเล่าเรียนในไทย และพระสงฆ์ไทย ก็เปิดการสอบนักธรรมในประเทศมาเลเซีย เพื่อเปิดโอกาส ให้พระที่ไม่มีโอกาสได้มาเรียนในไทยได้สอบปริยัติธรรมกันภายใต้มาตรฐานการดูแลของพระสงฆ์ไทย และวัดได้รับการยกเว้นการเสียภาษีที่ดิน พระสงฆ์ในมาเลเซียไม่มีนิตยภัตเหมือนอย่างพระไทย

[แก้] การเผยแผ่พระศาสนา

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาก็มีอุปสรรคอยู่ เพราะมีสภาการศาสนาชาวมุสลิม (Muslim Religious Council) คอยบริหาร และดูแลผลประโยชน์ของชาวมุสลิม ฉะนั้นการชักจูงชาวมาเลย์ที่ไม่ใช่ชาวจีนให้มานับถือพระพุทธศาสนา จะทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้ทางลบจากอำนาจรัฐซึ่งเป็นมุสลิม มีความพยายามเรียกร้องให้แต่ละศาสนามีอำนาจปกครองบริหารตนเองเหมือนในประเทศไทยอยู่หลายครั้ง แต่ก็ถูกปฏิเสธจากทางภาครัฐ พระสงฆ์ในประเทศมาเลเซียไม่สามารถออกบิณฑบาตได้เนื่องจากรัฐบาลมาเลเซียได้ประกาศกฏอัยการศึกเฉพาะกาลไว้ ทำให้เกิดการต่อต้านรัฐบาลอย่างรุนแรงจากศาสนิกชนอื่นๆที่ไม่ใช่อิสลาม ปัจจุบันนี้ คณะสงฆ์มาเลย์ยังขาดบุคลากรที่ต้องการบวชนาน ๆ ทำให้บางวัดต้องปิดตัวลง เพราะไม่มีพระจำพรรษา และจะเปิดอีกครั้งเมื่อมีพระจำพรรษาเพียงพอ แต่ก็ได้พยายามแก้ปัญหาด้วยการแบ่งพระไปจำพรรษาสามเดือน ตามคำขอของชาวบ้านที่มีพระจำนวนน้อย

[แก้] พุทธศาสนาในปัจจุบัน

ในปัจจุบัน การนับถือพระพุทธศาสนาในมาเลเซียมีอยู่เฉพาะในบรรดาผู้ที่รับเชื้อสายมาจาก ชาวจีน ลังกา พม่า และชาวไทยและมีวัดและสำนักสงฆ์ตั้งอยู่ในบางแห่ง เช่น ที่เมืองกัวลาลัมเปอร์และรัฐปีนัง มีวัดไทยตั้งอยู่และมีพระสงฆ์ไทยไปจำพรรษาอยู่ที่นั่น วัดไทยที่กัวลาลัมเปอร์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503 ด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซีย เรียกชื่อว่า วัดเชตวัน สร้างเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยสวยงาม วัดไทยที่ปีนัง ชื่อ วัดชัยมังคลาราม เป็นวัดไทยที่เก่าแก่ ยังไม่ทราบปีที่สร้างแน่นอน วัดนี้มีปูชนียสถานสำคัญ เช่น พระพุทธไสยาสน์ และวิหารพระพุทธเจดีย์ ซึ่งถือว่าใหญ่ที่สุดในเกาะปีนัง และวัดบุปผาราม เป็นวัดไทย เบื้องต้นวัดนี้ถูกชาวบ้านยึดครองนานถึง 11 ปี 6 เดือน มีพระเถระสู้คดีจนได้กลับเป็นวัดไทยทุกวันนี้ วัดพม่าเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดของเถรวาท คือสร้างมานานกว่า 120 ปี มีพระพม่าอยู่ประจำ มีวัดศรีลังกาอยู่ตรงข้าม เดิมเป็นวัดเดียวกัน ภายหลังถนนตัดแบ่งกลาง และวัดเกะก์ โละก์ ชี บนเขาอาเยร์ ฮิตัม เป็นวัดจีนแบบมหายาน ไม่ห่างจากเขาปีนังมาก มีธรรมชาติสวยงาม และเป็นที่ท่องเที่ยวที่นิยมมากในปีนัง ส่วนพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่ยาวที่สุดในประเทศมาเลเซียอยู่ที่ วัดโพธิวิหาร ในกลันตัน และยังมีวัดพุทธไทยอีกจำนวนมากระหว่างตุมปัตกับปาสิรมัส และบางหมู่บ้านก็จัดงานฉลองเทศกาลต่างๆของไทย เช่น วันสงกรานต์ และในรัฐกลันตันนี้ ชาวมาเลย์มุสลิม และชาวไทยพุทธก็อยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

  • ปฏิทินพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2548
  • มูฮัมเมด ยูซอฟฟ์ อิสมาอิล, วัดสยามในกลันตัน, วรสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 2 ฉบับที่ 1, หน้า 11
  • ทรงวิทย์ แก้วศรี, พุทธสถานในนานาประเทศ, หน้า 378-379
ภาษาอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -