กั้น ทองหล่อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นายกั้น ทองหล่อ (พ.ศ. 2455 - พ.ศ. 2531) ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หนังตะลุง) เมื่อพ.ศ. 2529
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติ
กั้น ทองหล่อ เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 ที่บ้านเลขที่ 234 หมู่ที่ 2 บ้านน้ำกระจาย ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 5 คน ของนายคง และนางประชุม ทองหล่อ บิดาเป็นชาวบ้านน้ำกระจาย ส่วนมารดาเป็นชาวบ้านควนฝาละมี จังหวัดพัทลุง
กั้น ทองหล่อ อ่านเขียนตัวอักษรได้ก่อนเข้าเรียน พอทางการเปิดโรงเรียนประชาบาลขึ้นที่บ้านน้ำกระจาย เมื่อพ.ศ. 2467 กั้น ทองหล่อ ได้เข้าเรียนด้วย เรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 เมื่ออายุ 16 ปี และเข้าเรียนต่อชั้น ม.1 ที่โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา แต่เรียนได้ปีเดียวก็ออกจากโรงเรียน เพราะสนใจและมีความต้องการที่จะไปประกอบอาชีพเล่นหนังตะลุง
ต่อมา กั้น ทองหล่อ เกิดท้อถอยในการแสดงหนังตะลุง และอยากเข้ารับราชการ จึงบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดน้ำกระจาย เรียนทางธรรมอยู่สองปี ก็สอบนักธรรมโทได้ จึงลาสิกขามาเป็นครู บรรจุที่โรงเรียนน้ำกระจาย เป็นครูอยู่ได้ไม่ถึงปีก็ลาออกจากครูไปแสดงหนังตะลุงอีก เพราะชาวบ้านเห็นว่าหนังตะลุงดี ๆ แถบนั้นหายากมาก ผู้ที่เป็นตัวตั้งตัวตีอย่างแข็งขันให้ครูกั้นลาออกคือ หนังเอียด ปากพน ซึ่งมีศักดิ์เป็นอา อยู่บ้านเขาตก อำเภอกำแพงเพชร (ปัจจุบันคือ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา)
กั้น ทองหล่อ แสดงหนังตะลุงครั้งแรกเมื่ออายุ 18 ปี ชาวบ้านเรียกหนังกั้นว่า "หนังเด็ก" พออายุ 22 ปี ได้อุปสมบทที่วัดน้ำกระจาย ขณะที่เป็นภิกษุอยู่นั้นสามารถเทศน์มหาชาติได้ทั้ง 13 กัณฑ์ บวชได้พรรษาเดียวก็ลาสิกขา และประกอบอาชีพเป็นนายหนังตะลุงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
หนังกั้น ทองหล่อ มีภรรยาสามคน คือ นางฉิ้น มีบุตร 1 คน นางกิ้มเลี่ยน มีธิดา 1 คน และนางซุ้ยเหียง มีบุตร 2 คน ธิดา 1 คน หนังกั้นถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 อายุได้ 76 ปี
[แก้] ผลงาน
หนังกั้น ทองหล่อ รักษาศิลปะในการแสดงหนังตะลุงแบบโบราณมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรี รูปหนังตะลุง และแนวการแสดง เรื่องที่ใช้แสดงหนังกั้นประพันธ์ขึ้นเองทั้งสิ้น ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุด คือเรื่องยอดชายนายนาบุญ การว่ากลอนก็เป็นกลอนปฏิภาณ แต่ละเรื่องที่แสดงจึงไม่มีกลอนซ้ำ รวมจำนวนครั้งที่หนังกั้นแสดง ทั้งในประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ประมาณ 6,000 ครั้ง
หนังกั้น ทองหล่อ เป็นผู้ริเริ่มในการปรับปรุงการเล่นดนตรีแบบเล่นย้อนทับ (เล่นดนตรีให้เข้ากับเพลงปี่ แล้วเชิด แล้วหยุดนิ่ง) และนำเครื่องขยายเสียงมาใช้ในการเล่นหนัง หนังกั้นสามารถพากย์เสียงตามลักษณะของรูปหนังได้ไม่ซ้ำกันเลยไม่น้อยกว่า 14 เสียง และเป็นนายหนังที่มีลูกศิษย์มากที่สุด ซึ่งจะเห็นได้จากเมื่อการจัดงานพิธีไหว้ครูแก่หนังกั้น ที่บ้านน้ำกระจาย เมื่อปี พ.ศ. 2503 มีลูกศิษย์มาร่วมพิธีเป็นจำนวนมากกว่า 100 คน ลูกศิษย์หนังกั้นมาเล่นหนังฉลองถึงสามวันสามคืน
เมื่อพ.ศ. 2527 หนังกั้น ทองหล่อ ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรหลักที่ให้ความรู้เรื่องหนังตะลุงและประสบการณ์การเล่นหนังตะลุง ในการสัมมนาหนังตะลุง 14 จังหวัดภาคใต้ ที่วิทยาลัยครูสงขลา (ตอนนี้เป็น สถาบันราชภัฎสงขลา) และเป็นประธานที่ปรึกษาชมรมหนังตะลุงจังหวัดสงขลา เมื่อพ.ศ. 2528
[แก้] ประวัติการแสดงหนังที่สำคัญ
ประวัติการแสดงหนังที่สำคัญของหนังกั้น ทองหล่อ มีดังนี้คือ
- หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แสดงที่จังหวัดยะลาเป็นเวลา 6 เดือนเต็ม
- เล่นหนังตะลุงต้อนรับจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในโอกาสที่มาตรวจราชการที่ภาคใต้ ที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา (ตำหนักเขาน้อย) ได้รับของขวัญจาก จอมพล ป. ดังนี้ คือ ผ้าเช็ดหน้าปักชื่อ ป.พิบูลสงคราม จำนวน 20 ผืน พระใบมะขาม 20 องค์ จอหนังที่ระลึก 1 ผืน และเงินสดจำนวน 5,000 บาท
- ในปีพ.ศ. 2502 ได้แสดงถวายสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ทอดพระเนตร ในเรือพระที่นั่ง เรือรบหลวงจันทบุรี ที่บริเวณเกาะหนู เมื่อเรือพระที่นั่งจอดที่จังหวัดสงขลา
- ในปีพ.ศ. 2502 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้แสดงถวายหน้าพระที่นั่ง ณ ตำหนักเขาน้อย เนื่องในคราวเสด็จเยี่ยมราษฎรจังหวัดภาคใต้
[แก้] เกียรติคุณที่ได้รับ
เกียรติคุณที่ หนังกั้น ทองหล่อ ได้รับมีดังนี้
- พ.ศ. 2524 สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒสงขลา ได้เสนอชื่อให้เข้ารับรางวัลดีเด่น ในการผลิตผลงานเพื่อมวลชนประเภทชาวบ้าน โดยได้รับโล่เกียรติคุณจาก ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2524 ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ
- พ.ศ. 2529 ได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็นศิลปินพื้นบ้านดีเด่น สาขาหนังตะลุง และได้เข้ารับพระราชทานโล่เชิดชูเกียรติ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2529
- พ.ศ. 2530 ได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (หนังตะลุง) ประจำปีพุทธศักราช 2529 และได้รับเข้ารับพระราชทานโล่เชิดชูเกียรติ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530
- พ.ศ. 2530 ได้รับเสนอชื่อให้เข้ารับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาดนตรีและศิลปะการแสดง จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530
|
|
---|---|
ทัศนศิลป์ |
(2528) เฟื้อ หริพิทักษ์ · (2529) คำหมา แสงงาม · ประสงค์ ปัทมานุช · ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ · แสงดา บันสิทธิ์ · เห้ง โสภาพงศ์ · (2530) ชิต เหรียญประชา · โหมด ว่องสวัสดิ์ · พยอม สีนะวัฒน์ · (2531) เฉลิม นาคีรักษ์ · พูน เกษจำรัส · พิมาน มูลประมุข · (2532) สนิท ดิษฐพันธุ์ · (2533) ทวี นันทขว้าง · (2534) สวัสดิ์ ตันติสุข · (2535) ประยูร อุลุชาฎะ (น. ณ ปากน้ำ) · (2536) พินิจ สุวรรณะบุณย์ · (2538) จิตต์ จงมั่นคง · (2539) ชำเรือง วิเชียรเขตต์ · (2540) กมล ทัศนาญชลี · (2541) ประหยัด พงษ์ดำ · ชลูด นิ่มเสมอ · (2542) ดำรง วงศ์อุปราช · อินสนธิ์ วงศ์สาม · มานิตย์ ภู่อารีย์ · (2543) จักรพันธุ์ โปษยกฤต · (2544) ถวัลย์ ดัชนี · (2545) ประกิต บัวบุศย์ · (2546) พิชัย นิรันต์ · (2547) ไพบูลย์ มุสิกโปดก · สันต์ สารากรบริรักษ์ · (2548) ทวี รัชนีกร · ประเทือง เอมเจริญ · (2549) เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ · นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน · สมถวิล อุรัสยะนันทน์ · (2550) เดชา วราชุน · ยรรยง โอฬาระชิน · |
ทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) |
(2529) สมภพ ภิรมย์ · (2530) มิตรารุณ เกษมศรี · (2532) ประเวศ ลิมปรังษี · (2537) ภิญโญ สุวรรณคีรี · (2541) อาวุธ เงินชูกลิ่น · สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา · (2543) ฤทัย ใจจงรัก · (2544) ประดิษฐ์ ยุวพุกกะ · (2545) นิธิ สถาปิตานนท์ · (2546) วนิดา พึ่งสุนทร · (2547) จุลทัศน์ กิติบุตร · (2548) เดชา บุญค้ำ · (2550) กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา · |
ศิลปะการแสดง |
(2528) มนตรี ตราโมท · แผ้ว สนิทวงศ์เสนี · (2529) ทองมาก จันทะลือ · กั้น ทองหล่อ · ไพฑูรย์ กิตติวรรณ · เฉลิม บัวทั่ง · เปลื้อง ฉายรัศมี · ชูศรี สกุลแก้ว · ท้วม ประสิทธิกุล · ทองหล่อ ทำเลทอง · พวงร้อย อภัยวงศ์ · เจียร จารุจรณ · (2530) ยก ชูบัว · ชิ้น ศิลปบรรเลง · วิจิตร คุณาวุฒิ · เจริญใจ สุนทรวาทิน · เฉลย ศุขะวณิช · ไชยลังกา เครือเสน · (2531) หวังดี นิมา · ประสิทธิ์ ถาวร · บุญยงค์ เกตุคง · เสรี หวังในธรรม · จำเรียง พุธประดับ · กรี วรศะริน · สมาน กาญจนะผลิน · สง่า อารัมภีร · (2532) ฉิ้น อรมุต · สวลี ผกาพันธุ์ · ประสิทธิ์ พยอมยงค์ · ประเวศ กุมุท · หยัด ช้างทอง · (2533) สุเทพ วงศ์กำแหง · สุวรรณี ชลานุเคราะห์ · บัวผัน จันทร์ศรี · สมชาย อาสนจินดา · (2534) พยงค์ มุกดา · เพ็ญศรี พุ่มชูศรี · เคน ดาเหลา · บุญยัง เกตุคง · (2535) จูเลี่ยม กิ่งทอง · ผ่องศรี วรนุช · คำ กาไวย์ · ส่องชาติ ชื่นศิริ · แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ · (2536) ขาเดร์ แวเด็ง · ชาลี อินทรวิจิตร · ฉวีวรรณ ดำเนิน · สุดจิตต์ อนันตกุล · จำเนียร ศรีไทยพันธุ์ · (2537) ประยูร ยมเยี่ยม · อัศนี ปราโมช · (2538) ชาย เมืองสิงห์ · เปรื่อง ชื่นประโยชน์ · คำผาย นุปิง · สร้อย ดำแจ่ม · แจ้ง คล้ายสีทอง · สวง ทรัพย์สำรวย · อำนวย กลัสนิมิ · (2539) ขวัญจิต ศรีประจันต์ · จันทร์สม สายธารา · รวงทอง ทองลั่นธม · พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ · สมควร กระจ่างศาสตร์ · บุญเลิศ นาจพินิจ · สาคร ยังเขียวสด · ใหญ่ วิเศษพลกรัง · (2540) อิ่ม จิตภักดี · พินิจ ฉายสุวรรณ · มาลัยวัลย์ บุณยะรัตเวช · ไวพจน์ เพชรสุพรรณ · สมพงษ์ พงษ์มิตร · สุรพล โทณะวณิก · บุญเพ็ง ไฝผิวชัย · (2541) ศิริวัฒน์ ดิษยนันทน์ · ชัยชนะ บุญนะโชติ · ชรินทร์ นันทนาคร · เบ็ญจรงค์ ธนโกเศศ · ปิยะพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา · จุรี โอศิริ · ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง · เจ้าเครือแก้ว ณ เชียงใหม่ · (2542) ชินกร ไกรลาศ · ชลธี ธารทอง · มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา · แท้ ประกาศวุฒิสาร · สัมพันธ์ พันธุ์มณี · เชื้อ ดนตรีรส · สมพันธ์ โชตนา · สัมพันธ์ พันธุ์มณี · (2543)มงคล แสงสว่าง · (2544) หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล · (2545) จิรัส อาจณรงค์ · (2546) พร้อม บุญฤทธิ์ · (2547) ไพรัช สังวริบุตร · จินตนา สุขสถิตย์ · ราฆพ โพธิเวส · (2548) วิเชียร คำเจริญ · ฉลาด ส่งเสริม · มานพ ยาระณะ · สำราญ เกิดผล · ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ · (2549) กาหลง พึ่งทองคำ · เกียรติพงศ์ กาญจนภี · สุชาติ ทรัพย์สิน · (2550) ชาญ บัวบังศร · นครินทร์ ชาทอง · |
วรรณศิลป์ |
(2528) คึกฤทธิ์ ปราโมช · (2529) กัณหา เคียงศิริ · อบ ไชยวสุ · (2530) ปิ่น มาลากุล · (2531) สุกัญญา ชลศึกษ์ · (2532) อังคาร กัลยาณพงศ์ · (2533) ศักดิชัย บำรุงพงศ์ · (2534) อาจินต์ ปัญจพรรค์ · สุวัฒน์ วรดิลก · (2535) คำสิงห์ ศรีนอก · (2536) เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ · ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา · (2538) รงค์ วงษ์สวรรค์ · ทวีป วรดิลก · (2539) ศรีฟ้า มหาวรรณ · (2540) ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ · (2541) วสิษฐ เดชกุญชร · (2542) สุภา สิริสิงห · (2543) อัศศิริ ธรรมโชติ · (2544) คำพูน บุญทวี · (2545) สุจิตต์ วงษ์เทศ · (2546) กรุณา กุศลาสัย · (2547) วินิตา ดิถียนต์ · ชาติ กอบจิตติ · (2548) สถาพร ศรีสัจจัง · ประยอม ซองทอง · (2549) มณี พยอมยงค์ · ระวี ภาวิไล · (2550) โกวิท เอนกชัย · |