มนตรี ตราโมท
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ครู มนตรี ตราโมท | |
---|---|
ครูมนตรี ตราโมท |
|
ชื่อจริง | ครู มนตรี ตราโมท |
เกิด | 17 มิถุนายน พ.ศ. 2443 ประเทศไทย |
เสียชีวิต | พ.ศ. 2538 (95 ปี) ประเทศไทย |
งาน-อาชีพ | นักดนตรีไทย |
สัญชาติ | ชาวไทย |
เชื้อชาติ | ชาวไทย |
ผลงาน | เพลงไทยมากกว่า 200 เพลง เช่น ต้อยตลิ่ง, ตำราและคำอธิบายทางดนตรีไทยในสารานุกรมไทย, |
สังกัด | กรมศิลาปากร, ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม |
วุฒิสูงสุด | อักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
เกียรติประวัติ | ศิลปินแห่งชาติ |
ศาสนา | พุทธ |
ครูมนตรี ตราโมท นักดนตรีไทย และศิลปินแห่งชาติ
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติ
ครูมนตรี ตราโมท เป็นบุตรนายยิ้ม และนางทองอยู่ เกิดที่บ้านท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2443 เดิมชื่อ "บุญธรรม"
ในสมัยที่มีการประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการตั้งชื่อบุคคล ท่านจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "มนตรี" เมื่อ 15 เมษายน พ.ศ. 2485 สำหรับนามสกุล "ตราโมท" เป็นนามสกุลที่ พระองค์เจ้าคำรบ ประทานให้ มีสำเนียงล้อ "ปราโมช" ของพระองค์ท่าน
ครูมนตรีรับการศึกษาที่โรงเรียนประจำจังหวัดสุพรรณบุรี (ปรีชาพิทยากร) สอบได้ชั้นมัธยมปีที่ 3 เหตุที่ท่านมีโอกาสได้เป็นนักดนตรีไทยก็เพราะว่าบ้านของท่านอยู่ใกล้วัดสุวรรณภูมิ ซึ่งมีวงปี่พาทย์ฝึกซ้อมกันอยู่เป็นประจำ ท่านจึงได้ยินเสียงเพลงปี่พาทย์อยู่เสมอจนจำทำนองเพลงได้เป็นตอนๆ
เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมปีที่ 3 แล้ว จึงคิดที่จะเรียนต่อที่กรุงเทพฯ แต่ท่านมีโรคภัยไข้เจ็บรบกวนตลอดเวลา จึงเรียนไม่ทันเพื่อนฝูง เลยหมดกำลังใจที่จะเรียนต่อ ในเวลานั้น ครูสมบุญซึ่งเป็นนักฆ้องจึงชวนให้หัดปี่พาทย์ ซึ่งครูมนตรีก็มีใจรักอยู่แล้วจึงฝึกฝนด้วยความมานะพยายาม จนมีความคล่องแคล่วพอควร ท่านได้เป็น นักดนตรีปี่พาทย์ อยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ประมาณ 2 ปี ต่อมาราวปี พ.ศ. 2456 ท่านได้ย้ายไปอยู่ที่จังหวัดสมุทรสงคราม ที่บ้านครูสมบุญ สมสุวรรณ ซึ่งมีทั้งปี่พาทย์และแตรวง ท่านจึงได้มีโอกาสฝึกหัดทั้งสองอย่าง
เมื่ออายุได้ 17 ปี ได้สมัครเข้ารับราชการในกรมพิณพาทย์ทอง กรมมหรสพ กรมมหาดเล็ก ที่กรมพิณพาทย์หลวง ท่านได้เรียนฆ้องวงใหญ่จากหลวงบำรุงจิตเจริญ (ธูป สาตนะวิลัย) และเรียนกลองแขก จากพระพิณบรรเลงราช (แย้ม ประสานศัพท์)
ท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดสุวรรณภูมิ จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อ พ.ศ. 2476
ครูมนตรี มีฝีมือทางการบรรเลงฆ้องวง แต่เพื่อให้ท่านมีฝีมือในเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เจ้ากรมพิณพาทย์หลวง จึงให้ครูมนตรีเปลี่ยนเป็นครูตีระนาดทุ้ม ท่านได้รับเลือกให้เข้าประจำอยู่ในวงข้าหลวงเดิม ซึ่งเป็นวงที่จะต้องตามเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานทุกแห่ง ทำให้ท่านเป็นผู้กว้างขวางในวงสังคมสมัยนั้น
ท่านรับราชการอยู่ที่แผนกปี่พาทย์หลวงได้ไม่นาน ก็เกิดการโอนวงปี่พาทย์และโขนละครไปสังกัดอยู่กับกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2478 ท่านจึงย้ายไปประจำโรงเรียนศิลปากร แผนกนาฏดุริยางค์ (ปัจจุบันคือวิทยาลัยนาฏศิลป์)
หน้าที่การงานของครูมนตรี เจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับจนเลื่อนเป็นชั้นเอก ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งศิลปินพิเศษ เมื่อ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 นับเป็นศิลปินคนแรกของกรมศิลปากรที่ได้รับชั้นพิเศษ
เมื่อท่านเกษียณอายุ กรมศิลปากรพิจารณาเห็นว่าท่านมีความรู้ ความสามารถในด้านวิชาการศิลปดุริยางค์ไทย จึงจ้างไว้ช่วยราชการต่อมาอีก 5 ปี จากนั้นก็จ้างในฐานะลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยกับคีตศิลป์ไทย ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร
นอกจากการทำงานประจำในหน้าที่ที่กรมศิลปากรแล้ว ท่านยังเป็นอาจารย์พิเศษสอนตามมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง
ท่านได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตในประเภทวิจิตรศิลป์ สำนักศิลปกรรม ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2524
ด้านชีวิตครอบครัว มีความสุขราบรื่นตลอดมา มีทายาท 4 คน
ครูมนตรีถึงแก่อนิจกรรม เมื่อ พ.ศ. 2538
[แก้] ผลงาน
นอกจากท่านจะมีฝีมือในการบรรเลงดนตรีแล้ว ท่านยังมีความสามารถในการแต่งเพลงอีกด้วย ท่านแต่งเพลงมาแล้วมากมาย มากกว่า 200 เพลง ตั้งแต่ พ.ศ. 2463 เป็นต้นมา มีทั้งเพลง 3 ชั้น เพลงเถา เพลงประวัติศาสตร์ เพลงระบำและเพลงเบ็ดเตล็ด เคยมีผู้รวบรวมไว้ได้ถึง 200 กว่าเพลง นอกจากท่านจะแต่งเพลงดังกล่าวมาแล้ว ท่านยังเคยแต่งเพลงประกวดทั้งบทร้องและทำนองเพลงและได้รับรางวัล 1 เพลงนั้นชื่อว่า "เพลงวันชาติ" เมื่อ พ.ศ. 2483
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า ครูมนตรี ตราโมทเป็นครูผู้ประกอบพิธีไหว้ครู และครอบประสิทธิ์ประสาทวิชาวิชาดนตรีไทยของกรมศิลปากร นอกจากท่านจะกระทำพิธีให้แก่กองการสังคีตและวิทยาลัยนาฏศิลป์ ทั้งในส่วนกลางและต่างจังหวัดแล้ว ท่านยังทำพิธีไหว้ครูดนตรีไทยให้แก่หน่วยราชการ สถานศึกษาและเอกชนทั่วไป
ครูมนตรีนอกจากจะมีความรู้และความสามารถในการแต่งเพลงและการบรรเลงดนตรีไทยแล้ว ท่านยังมีความรู้ทางโน๊ตสากลและดนตรีสากลอีกด้วย ซึ่งยิ่งช่วยเพิ่มความรู้ทางดนตรีไทยและการแต่งเพลงมากขึ้น
ครูมนตรีรักการอ่านหนังสือทำให้ท่านมีความรู้กว้างขวาง ท่านชอบโคลงมาก ท่านจึงแต่งโคลงไว้มากมาย นอกจากนี้หนังสือประเภทสารคดีที่เกี่ยวกับวิชาการทางด้านศิลปะ ท่านก็ได้แต่งไว้หลายเรื่อง อาทิเช่น "ดุริยางค์ศาสตร์ไทยภาควิชาการ" "การละเล่นของไทย" "ศัพท์สังคีต" นอกจากนี้ก็มีเรื่องสั้นๆ ที่ท่านเขียนไว้ในหนังสือต่างๆ เช่น เรื่องปี่พาทย์ไทย ปี่พาทย์มอญ ปี่พาทย์ชวา เครื่องสายไทย ดุริยเทพดนตรีกับชีวิต วงดนตรีประกอบการแสดงโขน ฯลฯ
ท่านยังได้เขียนอธิบายความหมายของคำต่างๆ ในหนังสือสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถานและเขียนเรื่องดนตรีไทยในหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนไทย เล่ม 1 ในพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในโอกาสฉลอง 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ กรมศิลปากรจัดพิมพ์ หนังสือหลายเล่ม ท่านก็ได้มีส่วนเขียนเรื่องดนตรีไทย ภาพกลางลงพิมพ์ในหนังสือชุดศิลปกรรมไทย หมวด "นาฏดุริยางคศิลป์ยุคกรุงรัตนโกสินทร์" ด้วย
ผลงานทางด้านข้อเขียนของครูมนตรี ที่ท่านภาคภูมิใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อทางราชการสร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่จังหวัดสุพรรณบุรีแล้วเสร็จ ได้จัดให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากเรียบเรียงข้อความที่จะจารึกเทิดทูนพระวีรเกียรติประวัติของพระองค์ โดยใช้ถ้อยคำแต่น้อยกินความมาก เพื่อให้พอเหมาะกับขนาดแผ่นจารึกที่ฐานพระราชานุสาวรีย์ ผลการคัดเลือกปรากฏว่า ข้อความของครูมนตรีได้รับการพิจารณาให้จารึกในแผ่นศิลาดังกล่าว
ครูมนตรี เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ท่านเคยได้รับเกียรติให้เป็นกรรมการมากมายหลายคณะ เช่น
- กรรมการตัดสินเพลงชาติ
- กรรมการศิลปะของสภาวัฒนธรรม
- ประธานกรรมการการรับรองมาตรฐานวิทยาลัยเอกชน สาขาดุริยางคศิลปะของทบวงมหาวิทยาลัย
- รองประธานกรรมการตัดสิน การอ่านทำนองเสนาะ
- กรรมการตัดสินคำประพันธ์เรื่องเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- ที่ปรึกษาคณะกรรมการจัดทำแบบเรียนวิชาดนตรีศึกษา ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
- ฯลฯ
[แก้] เกียรติประวัติ
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ประถมาภรณ์ช้างเผือก
- ทุติยจุลจอมเกล้า
- เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
- เหรียญรัตนาภรณ์ชั้นที่ 3 ในรัชกาลปัจจุบัน
- เกียรติคุณในฐานะบัณฑิต
- ได้รับพระราชทานปริญญาอักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2523
- ได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2524
- ได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2526
- ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตในประเภทวิจิตรศิลป์ สำนักศิลปกรรม ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2524
- การประกาศรางวัล
- ศิลปินแห่งชาติ สาขาดนตรีไทย พ.ศ. 2528 (ครูมนตรี ตราโมท เป็นผู้ที่มีความสามารถในด้านดนตรีและเพลงไทยเป็นเยี่ยมหาผู้ใดเทียบมิได้ สมควรที่จะได้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาดนตรีไทยอย่างแท้จริง)
- นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ. 2529
- วาทะเชิดชู
บทกลอนของ สุระ พิริยะพงศ์
คีตดนตรีมิเลือนหู นาฏโขนครูมิเลือนเห็น ตรึงจิตติดซาบล้างหยาบเย็น สมเป็นการศิลป์กล่อมวิญญาณ์ คือรากฝากแฝงต้นแยงหยัด ฉายชัดแดนดินศิลป์สง่า ทุกความตามเขียนขอเวียนมา บูชา "มนตรี ตราโมท" เทอญ
[แก้] อ้างอิง และแหล่งข้อมูลอื่น
- ศิลปินแห่งชาติ มนตรี ตราโมท
- ทำเนียบศิลปินแห่งชาติ
- เรื่อง“ครูมนตรี ตราโมท”
- เรื่อง”เพลงชื่นชุมนุมกลุ่มดนตรี”
- บ้านครูมนตรี ตราโมท ดุริยางคศิลปิน (บ้านโสมส่องแสง)
|
|
---|---|
ทัศนศิลป์ |
(2528) เฟื้อ หริพิทักษ์ · (2529) คำหมา แสงงาม · ประสงค์ ปัทมานุช · ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ · แสงดา บันสิทธิ์ · เห้ง โสภาพงศ์ · (2530) ชิต เหรียญประชา · โหมด ว่องสวัสดิ์ · พยอม สีนะวัฒน์ · (2531) เฉลิม นาคีรักษ์ · พูน เกษจำรัส · พิมาน มูลประมุข · (2532) สนิท ดิษฐพันธุ์ · (2533) ทวี นันทขว้าง · (2534) สวัสดิ์ ตันติสุข · (2535) ประยูร อุลุชาฎะ (น. ณ ปากน้ำ) · (2536) พินิจ สุวรรณะบุณย์ · (2538) จิตต์ จงมั่นคง · (2539) ชำเรือง วิเชียรเขตต์ · (2540) กมล ทัศนาญชลี · (2541) ประหยัด พงษ์ดำ · ชลูด นิ่มเสมอ · (2542) ดำรง วงศ์อุปราช · อินสนธิ์ วงศ์สาม · มานิตย์ ภู่อารีย์ · (2543) จักรพันธุ์ โปษยกฤต · (2544) ถวัลย์ ดัชนี · (2545) ประกิต บัวบุศย์ · (2546) พิชัย นิรันต์ · (2547) ไพบูลย์ มุสิกโปดก · สันต์ สารากรบริรักษ์ · (2548) ทวี รัชนีกร · ประเทือง เอมเจริญ · (2549) เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ · นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน · สมถวิล อุรัสยะนันทน์ · (2550) เดชา วราชุน · ยรรยง โอฬาระชิน · |
ทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) |
(2529) สมภพ ภิรมย์ · (2530) มิตรารุณ เกษมศรี · (2532) ประเวศ ลิมปรังษี · (2537) ภิญโญ สุวรรณคีรี · (2541) อาวุธ เงินชูกลิ่น · สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา · (2543) ฤทัย ใจจงรัก · (2544) ประดิษฐ์ ยุวพุกกะ · (2545) นิธิ สถาปิตานนท์ · (2546) วนิดา พึ่งสุนทร · (2547) จุลทัศน์ กิติบุตร · (2548) เดชา บุญค้ำ · (2550) กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา · |
ศิลปะการแสดง |
(2528) มนตรี ตราโมท · แผ้ว สนิทวงศ์เสนี · (2529) ทองมาก จันทะลือ · กั้น ทองหล่อ · ไพฑูรย์ กิตติวรรณ · เฉลิม บัวทั่ง · เปลื้อง ฉายรัศมี · ชูศรี สกุลแก้ว · ท้วม ประสิทธิกุล · ทองหล่อ ทำเลทอง · พวงร้อย อภัยวงศ์ · เจียร จารุจรณ · (2530) ยก ชูบัว · ชิ้น ศิลปบรรเลง · วิจิตร คุณาวุฒิ · เจริญใจ สุนทรวาทิน · เฉลย ศุขะวณิช · ไชยลังกา เครือเสน · (2531) หวังดี นิมา · ประสิทธิ์ ถาวร · บุญยงค์ เกตุคง · เสรี หวังในธรรม · จำเรียง พุธประดับ · กรี วรศะริน · สมาน กาญจนะผลิน · สง่า อารัมภีร · (2532) ฉิ้น อรมุต · สวลี ผกาพันธุ์ · ประสิทธิ์ พยอมยงค์ · ประเวศ กุมุท · หยัด ช้างทอง · (2533) สุเทพ วงศ์กำแหง · สุวรรณี ชลานุเคราะห์ · บัวผัน จันทร์ศรี · สมชาย อาสนจินดา · (2534) พยงค์ มุกดา · เพ็ญศรี พุ่มชูศรี · เคน ดาเหลา · บุญยัง เกตุคง · (2535) จูเลี่ยม กิ่งทอง · ผ่องศรี วรนุช · คำ กาไวย์ · ส่องชาติ ชื่นศิริ · แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ · (2536) ขาเดร์ แวเด็ง · ชาลี อินทรวิจิตร · ฉวีวรรณ ดำเนิน · สุดจิตต์ อนันตกุล · จำเนียร ศรีไทยพันธุ์ · (2537) ประยูร ยมเยี่ยม · อัศนี ปราโมช · (2538) ชาย เมืองสิงห์ · เปรื่อง ชื่นประโยชน์ · คำผาย นุปิง · สร้อย ดำแจ่ม · แจ้ง คล้ายสีทอง · สวง ทรัพย์สำรวย · อำนวย กลัสนิมิ · (2539) ขวัญจิต ศรีประจันต์ · จันทร์สม สายธารา · รวงทอง ทองลั่นธม · พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ · สมควร กระจ่างศาสตร์ · บุญเลิศ นาจพินิจ · สาคร ยังเขียวสด · ใหญ่ วิเศษพลกรัง · (2540) อิ่ม จิตภักดี · พินิจ ฉายสุวรรณ · มาลัยวัลย์ บุณยะรัตเวช · ไวพจน์ เพชรสุพรรณ · สมพงษ์ พงษ์มิตร · สุรพล โทณะวณิก · บุญเพ็ง ไฝผิวชัย · (2541) ศิริวัฒน์ ดิษยนันทน์ · ชัยชนะ บุญนะโชติ · ชรินทร์ นันทนาคร · เบ็ญจรงค์ ธนโกเศศ · ปิยะพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา · จุรี โอศิริ · ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง · เจ้าเครือแก้ว ณ เชียงใหม่ · (2542) ชินกร ไกรลาศ · ชลธี ธารทอง · มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา · แท้ ประกาศวุฒิสาร · สัมพันธ์ พันธุ์มณี · เชื้อ ดนตรีรส · สมพันธ์ โชตนา · สัมพันธ์ พันธุ์มณี · (2543)มงคล แสงสว่าง · (2544) หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล · (2545) จิรัส อาจณรงค์ · (2546) พร้อม บุญฤทธิ์ · (2547) ไพรัช สังวริบุตร · จินตนา สุขสถิตย์ · ราฆพ โพธิเวส · (2548) วิเชียร คำเจริญ · ฉลาด ส่งเสริม · มานพ ยาระณะ · สำราญ เกิดผล · ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ · (2549) กาหลง พึ่งทองคำ · เกียรติพงศ์ กาญจนภี · สุชาติ ทรัพย์สิน · (2550) ชาญ บัวบังศร · นครินทร์ ชาทอง · |
วรรณศิลป์ |
(2528) คึกฤทธิ์ ปราโมช · (2529) กัณหา เคียงศิริ · อบ ไชยวสุ · (2530) ปิ่น มาลากุล · (2531) สุกัญญา ชลศึกษ์ · (2532) อังคาร กัลยาณพงศ์ · (2533) ศักดิชัย บำรุงพงศ์ · (2534) อาจินต์ ปัญจพรรค์ · สุวัฒน์ วรดิลก · (2535) คำสิงห์ ศรีนอก · (2536) เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ · ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา · (2538) รงค์ วงษ์สวรรค์ · ทวีป วรดิลก · (2539) ศรีฟ้า มหาวรรณ · (2540) ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ · (2541) วสิษฐ เดชกุญชร · (2542) สุภา สิริสิงห · (2543) อัศศิริ ธรรมโชติ · (2544) คำพูน บุญทวี · (2545) สุจิตต์ วงษ์เทศ · (2546) กรุณา กุศลาสัย · (2547) วินิตา ดิถียนต์ · ชาติ กอบจิตติ · (2548) สถาพร ศรีสัจจัง · ประยอม ซองทอง · (2549) มณี พยอมยงค์ · ระวี ภาวิไล · (2550) โกวิท เอนกชัย · |