ชลธี ธารทอง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชลธี ธารทอง เป็นนักแต่งเพลงลูกทุ่งชื่อดังระดับตำนาน โดยมีผลงานเป็นที่รู้จักและคุ้นหูคนไทยมากมาย และได้สร้างนักร้องชื่อดังหลายคนประดับวงการลูกทุ่งไทย ชลธี ธารทอง ได้รับการประกาศให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง(นักแต่งเพลงลูกทุ่ง)ปี 2542
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติ
ชลธี ธารทอง มีชื่อจริงว่า สมนึก ทองมา เกิดเมื่อ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2480 [1] ที่ จ.ชลบุรี พ่อมีอาชีพรับจ้างเร่ร่อนไปทั่ว แม่เจ็บท้องคลอดตอนกำลังเกี่ยวข้าว และตกเลือดตายตั้งแต่อายุ 6 เดือน ตอนเขาเกิด แม้แต่ผ้าขี้ริ้วที่จะนำมาทำผ้าอ้อมก็ยังไม่มี ชีวิตในวัยเด็กนั้นยากจน ชลธีเข้าเรียนชั้นประถม 1 ที่โรงเรียนวัดแก้วศิลาราม ที่ชลบุรี มาต่อชั้นประถม 4 ที่โรงเรียนวัดโคกขี้หนอน ที่ชลบุรี จบการศึกษาชั้นมัธ ยมศึกษาจากโรงเรียนประชาสงเคราะห์ อ.พานทอง จ.ชลบุรี จากนั้นก็ย้ายมาอยู่กับญาติที่ราชบุรี เขาเคยผ่านงานมาหลากหลาย ทั้งทำนา ทำไร่ ขุดดินเผาถ่าน ช่างไม้ ก่อสร้าง นักมวย ลิเกนักพากษ์หนัง หางเครื่อง กรรมกร และนักร้อง
[แก้] เข้าสู่วงการ
ชลธีสนใจการร้องเพลงลูกทุ่งมาตั้งแต่เล็ก และเคยเป็นนักร้องเพลงเชียร์รำวงของวงดาวทอง เชียร์รำวงชื่อ ดังอีกวงของยุคนั้น ต่อมาสมัครเข้าเป็นนักร้องในวงดนตรีของสุรพล สมบัติเจริญ ราชาเพลงลูกทุ่งไทย และได้ขึ้นเวทีในวันที่มาสมัคร แต่เนื่องจากไม่มี่ที่พักในกรุงเทพฯ ต้องเดินทางไปกลับต่างจังหวัด(ราชบุรี)ขณะเดียวกันก็ไม่ชำนาญเส้นทางในกรุงเทพ จึงมาเข้าวงสายตลอด 3 วันถัดมา จึงถูกไล่ออก
จากนั้นก็มีผู้ชักชวนให้มาอยู่กับวงลิเก และพากษ์หนัง ก่อนจะบวช หลังจากสึกก็มาเป็นหางเครื่องอยู่กับวงเทียนชัย สมญาประเสริฐ ที่มีนักร้องดังอย่าง ผ่องศรี วรนุช ซึ่งเป็นภรรยารวมอยู่ด้วย แต่ลาออกจากวงเพราะถูกกล่าวหาว่าขโมยทองของนักร้องในวงระหว่างที่รถของคณะเกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำ
ต่อมา ได้สมัครประกวดร้องเพลงที่จัดโดยวงรวมดาวกระจายของครูสำเนียง ม่วงทองโดยใช้เพลงที่เขาแต่งขึ้นเอง ซึ่งเขาก็ชนะ และครูสำเนียงรับให้มาอยู่ร่วมคณะ แต่ไม่ได้ขึ้นร้องเพราะนักร้องเต็ม และครูสำเนียงเป็นคนตั้งชื่อให้เขาว่า ชลธี ธารทอง เพราะเป็นคนเมืองชลฯ หลังจากอยู่มาปีครึ่ง ชลธี จึงได้ขึ้นร้องเพลง และต่อมาได้อัดแผ่นเสียงรวม 4 เพลง แต่ไม่ดังซักเพลง ระหว่างนั้น ถ้ามีเวลาว่า เขาก็ ได้ศึกษาวิชาแต่งเพลงอย่างเป็นกิจจะลักษณะจากครูสำเนียง และก็ได้นำความรู้ความสามารถในการเขียนโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน มาใช้ในการแต่งเพลง
ระหว่างที่อยู่วงรวมดาวนี้เอง ที่เพลงพอหรือยัง ถูกศรคีรี ศรีประจวบของชลธี ถูกนำไปร้องจนประ สบความสำเร็จ แต่ไม่มีใครเชื่อว่าเขาเป็นคนแต่ง เพราะเพลงนี้เกิดขึ้นหลังจากที่เขาไปหลงรักสาวร่วมคณะรวมดาวกระจาย และก็อกหัก เลยแต่งเพลงนี้นำมาร้องแก้กลุ้ม พอดีมีนักร้องชายในวงอีกคนเกิดชอบ ก็มาขอไปร้องบนเวที ต่อมานักร้องคนนั้นโดนไล่ออก และได้ไปอยู่กับวงศรคีรี และเมื่อศรคีรีได้ยินเพลงนี้จึงถามว่าใครแต่ง นักร้องคนนั้นได้บอกว่าเขาแต่งเอง ศรคีรีจึงขอเอามาอัดแผ่นเสียงโดยใช้ชื่อคนแต่งว่าศรคีรี เมื่อชลธี ธารทอง ออกมา ทักท้วง ศรคีรี ก็ได้มาอธิบายจนเป็นที่เข้าใจกันทุกฝ่าย
ครั้งที่อยู่กับวงรวมดาวกระจาย ชลธีมีโอกาสบันทึกเสียง 4 เพลง แต่ไม่ดังสักเพลง ต่อมาชลธี ถูกไล่ออกจากวงรวมดาว ในข้อกล่าวหาดังแล้วแยกวง ซึ่งไม่เป็นความจริง จากนั้นก็มีนายทุนออกเงินตั้งวงให้ ชื่อวง " สุรพัฒน์ " แต่ก็ไปไม่รอด ขณะที่เพลงของเขาก็ขายไม่ค่อยได้เพราะคนไม่รู้จักชื่อเสียง ก็พอดีกับศรคีรีมาขอให้ช่วยแต่งเพลงให้ แต่พอเขาแต่งเพลงชุดนั้นเสร็จ ศรคีรีก็มาประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตเสียก่อน ชลธีจึงตัดสินใจหันหลังให้วงการเพลง และหอบครอบครัวไปช่วยพ่อตาแม่ยายทำไร่ข้าวโพดที่แก่งเสือเต้น แต่ก่อนจะไปจากกรุงเทพฯ เขาบังเอิญไปพบกับเด็กล้างรถที่ปั้มน้ำมันแห่งหนึ่งแถวบุคคโล ซึ่งมีเสียงถูกใจ จึงได้มอบเพลง 2 เพลงที่กะจะให้ศรคีรีกับเด็กคนนั้นไปโดยไม่คิดเงิน ต่อมาเด็กคนนั้นก็คือสายัณห์ สัญญา ที่โด่งดังจากเพลง"ลูกสาวผู้การ" และ "แหม่มปลาร้า"ที่เขามอบให้ในวันนั้น
เมื่อสายัณห์ โด่งดัง เขาจึงถูกมนต์ เมืองเหนือเรียกตัวกลับกรุงเทพเพื่อให้มาแต่งเพลง ลูกศิษย์คนต่อมาของเขาก็คือ เสกศักดิ์ ภู่กันทอง ที่โด่งดังจากเพลง"ทหารอากาศขาดรัก" จากนั้นชลธี ก็ตั้งหน้าตั้งตาผลิตผลงานและสรรหานักร้องคุณภาพออกมาประดับวงการอยู่เนืองๆ จนประสบความสำเร็จอย่างมาก และ ในที่สุดก็ได้รับฉายาจาก "ยิ่งยง สะเด็ดยาด" คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ เดลี่นิวส์ ว่า " เทวดาเพลง "
ชลธี ธารทองเคยหันมาจับธุรกิจทำวงดนตรีลูกทุ่ง โดยทำวงให้กับ สุริยัน ส่องแสง แต่ปรากฏว่า นัก ร้องนำถูกยิงตายเสียก่อน เขาเลยต้องเป็นหนี้ยกใหญ่
บทเพลงของชลธี ธารทองมีจุดเด่นในการเลือกสรรถ้อยคำในลักษณะของกวีนิพนธ์มาใช้ในการแต่งเพลง เนื้อหามีสาระส่งเสริมคุณค่าวิถีชีวิตไทย ท่วงทำนองเพลงมีความไพเราะตรึงใจผู้ฟัง บทเพลงมีความดีเด่นในศิลปะการประพันธ์ที่ใช้ฉันทลักษณ์หลายรูปแบบ เป็นนักแต่งเพลงที่แต่งทั้งคำร้องและทำนองเพลงเอง ผลงานเพลงล้วนแต่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของนักฟังเพลง สร้างนักร้องลูกทุ่งให้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมากอาทิ สายัณห์ สัญญา, ยอดรัก สลักใจ, เสกศักดิ์ ภู่กันทอง, วิลัย พนม,สดใส รุ่งโพธิ์ทอง, เสรีย์ รุ่งสว่าง, เอกพจน์ วงศ์นาค, บุษบา อธิษฐาน, สุนารี ราชสีมา ,ดำรง วงศ์ทอง, นพรัตน์ ไม้หอมเป็นต้น
[แก้] ผลงาน
ชลธี ธารทองมีผลงานการประพันธ์เพลงมากกว่า 2,000 เพลงที่เป็นที่รู้จักกันดีก็อย่างเช่น
- พอหรือยัง (ศรคีรี ศรีประจวบ)
- อีสาวทรานซิสเตอร์ (อ้อยทิพย์ ปัญญาธร)
- ไอ้หนุ่มตังเก (ไพรวัลย์ ลูกเพชร)
- หนาวใจที่ชายแดน (ไพรวัลย์ ลูกเพชร)
- สำรวยลืมคำ (ไพรวัลย์ ลูกเพชร)
- ล้นเกล้าเผ่าไทย (สายัณห์ สัญญา)
- จำปาลืมต้น (สายัณห์ สัญญา )
- ไอ้หนุ่มรถไถ (สายัณห์ สัญญา )
- คาถามัดใจ(สายัณห์ สัญญา )
- ปิดห้องร้องไห้(สายัณห์ สัญญา)
- นางฟ้ายังอาย(สายัณห์ สัญญา)
- พบรักปากน้ำโพ (สายัณห์ สัญญา)
- คำสั่งเตรียมพร้อม(สายัณห์ สัญญา)
- แหม่มปลาร้า (สายัณห์ สัญญา)
- ลูกสาวผู้การ (สายัณห์ สัญญา )
- กินอะไรถึงสวย (สายัณห์ สัญญา )
- แฟนฉันไม่ต้องหล่อ (สุนารี ราชสีมา )
- เทพธิดาผ้าซิ่น (เสรีย์ รุ่งสว่าง )
- จดหมายจากแม่ (เสรีย์ รุ่งสว่าง)
- หนุ่มทุ่งกระโจมทอง (เสรีย์ รุ่งสว่าง)
- เรียกพี่ได้ไหม (เสรีย์ รุ่งสว่าง )
- จดหมายจากแนวหน้า (ยอดรัก สลักใจ )
- ล่องเรือหารัก(ยอดรัก สลักใจ)
- ทหารอากาศขาดรัก (เสกศักดิ์ ภู่กันทอง)
- หน้าอย่างเธอจะรักใครจริง (สดใส รุ่งโพธิ์ทอง )
- วันนี้สวยกว่าเมื่อวาน (สุริยัน ส่องแสง )
- กินข้าวกับน้ำพริก (ผ่องศรี วรนุช)
- จำปาคืนต้น (ผ่องศรี วรนุช)
- สาวปากน้ำโพ (ผ่องศรี วรนุช )
งานเขียน
- หนังสือ "ชลธี ธารทอง เทวดาเพลง" (2547)
[แก้] เกียรติยศ
- แผ่นเสียงทองคำพระราชทาน 1 รางวัล จากเพลง“อีสาวทรานซิสเตอร์” ปี 2525
- รางวัลเสาอากาศทองคำ 3 รางวัล จากเพลง “น้ำตาอีสาน”ปี 2518 ,“ใต้ถุนธรณี” ปี 2521และ "ห่มธงนอนตาย” ปี 2529
- รางวัลงานกึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทยภาค 1-2 รวมจำนวน 7 รางวัล จากเพลง "ไอ้หนุ่มตังเก" , "ไม้เรียวครู" , " สาวใต้ไร้คู่" และ "อีสาวทรานซิสเตอร์" ปี 2532 และจากเพลง “ล้นเกล้าเผ่ไทย" , "เทพธิดาผ้าซิ่น" และ แรงงานข้าวเหนียว ปี 2534
- รางวัลชนะเลิศเพลงประเพณีสงกรานต์ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ 1 รางวัล ปี 2533
- รางวัลลูกทุ่งดีเด่นส่งเสริมวัฒนธรรมไทย 3 รางวัล จากเพลง" หนาวใจชายแดน" , "พบรักนครพนม" และ"จงทำดี”
- โล่เกียรติคุณงานมหกรรมเพลงอาเซียนที่ประเทศมาเลเซียจากเพลง"อีสาวทรานซิสเตอร์" ปี 2524
- ได้รับเกียรติให้นำผลงานเพลง "ล้นเกล้าเผ่าไทย" แสดงในงาน 60 ปี เล่าขานตำนานลูกทุ่งไทย
[แก้] อ้างอิง
- ^ จากหนังสือ เจนภพ จบกระบวนวรรณ. เพลงลูกทุ่ง, TK Park Music Library ชุดดนตรีไทย -- กรุงเทพ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, พ.ศ. 2550. (ISBN 978-974-8218-83-0) ระบุว่าเกิดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2480
|
|
---|---|
ทัศนศิลป์ |
(2528) เฟื้อ หริพิทักษ์ · (2529) คำหมา แสงงาม · ประสงค์ ปัทมานุช · ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ · แสงดา บันสิทธิ์ · เห้ง โสภาพงศ์ · (2530) ชิต เหรียญประชา · โหมด ว่องสวัสดิ์ · พยอม สีนะวัฒน์ · (2531) เฉลิม นาคีรักษ์ · พูน เกษจำรัส · พิมาน มูลประมุข · (2532) สนิท ดิษฐพันธุ์ · (2533) ทวี นันทขว้าง · (2534) สวัสดิ์ ตันติสุข · (2535) ประยูร อุลุชาฎะ (น. ณ ปากน้ำ) · (2536) พินิจ สุวรรณะบุณย์ · (2538) จิตต์ จงมั่นคง · (2539) ชำเรือง วิเชียรเขตต์ · (2540) กมล ทัศนาญชลี · (2541) ประหยัด พงษ์ดำ · ชลูด นิ่มเสมอ · (2542) ดำรง วงศ์อุปราช · อินสนธิ์ วงศ์สาม · มานิตย์ ภู่อารีย์ · (2543) จักรพันธุ์ โปษยกฤต · (2544) ถวัลย์ ดัชนี · (2545) ประกิต บัวบุศย์ · (2546) พิชัย นิรันต์ · (2547) ไพบูลย์ มุสิกโปดก · สันต์ สารากรบริรักษ์ · (2548) ทวี รัชนีกร · ประเทือง เอมเจริญ · (2549) เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ · นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน · สมถวิล อุรัสยะนันทน์ · (2550) เดชา วราชุน · ยรรยง โอฬาระชิน · |
ทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) |
(2529) สมภพ ภิรมย์ · (2530) มิตรารุณ เกษมศรี · (2532) ประเวศ ลิมปรังษี · (2537) ภิญโญ สุวรรณคีรี · (2541) อาวุธ เงินชูกลิ่น · สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา · (2543) ฤทัย ใจจงรัก · (2544) ประดิษฐ์ ยุวพุกกะ · (2545) นิธิ สถาปิตานนท์ · (2546) วนิดา พึ่งสุนทร · (2547) จุลทัศน์ กิติบุตร · (2548) เดชา บุญค้ำ · (2550) กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา · |
ศิลปะการแสดง |
(2528) มนตรี ตราโมท · แผ้ว สนิทวงศ์เสนี · (2529) ทองมาก จันทะลือ · กั้น ทองหล่อ · ไพฑูรย์ กิตติวรรณ · เฉลิม บัวทั่ง · เปลื้อง ฉายรัศมี · ชูศรี สกุลแก้ว · ท้วม ประสิทธิกุล · ทองหล่อ ทำเลทอง · พวงร้อย อภัยวงศ์ · เจียร จารุจรณ · (2530) ยก ชูบัว · ชิ้น ศิลปบรรเลง · วิจิตร คุณาวุฒิ · เจริญใจ สุนทรวาทิน · เฉลย ศุขะวณิช · ไชยลังกา เครือเสน · (2531) หวังดี นิมา · ประสิทธิ์ ถาวร · บุญยงค์ เกตุคง · เสรี หวังในธรรม · จำเรียง พุธประดับ · กรี วรศะริน · สมาน กาญจนะผลิน · สง่า อารัมภีร · (2532) ฉิ้น อรมุต · สวลี ผกาพันธุ์ · ประสิทธิ์ พยอมยงค์ · ประเวศ กุมุท · หยัด ช้างทอง · (2533) สุเทพ วงศ์กำแหง · สุวรรณี ชลานุเคราะห์ · บัวผัน จันทร์ศรี · สมชาย อาสนจินดา · (2534) พยงค์ มุกดา · เพ็ญศรี พุ่มชูศรี · เคน ดาเหลา · บุญยัง เกตุคง · (2535) จูเลี่ยม กิ่งทอง · ผ่องศรี วรนุช · คำ กาไวย์ · ส่องชาติ ชื่นศิริ · แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ · (2536) ขาเดร์ แวเด็ง · ชาลี อินทรวิจิตร · ฉวีวรรณ ดำเนิน · สุดจิตต์ อนันตกุล · จำเนียร ศรีไทยพันธุ์ · (2537) ประยูร ยมเยี่ยม · อัศนี ปราโมช · (2538) ชาย เมืองสิงห์ · เปรื่อง ชื่นประโยชน์ · คำผาย นุปิง · สร้อย ดำแจ่ม · แจ้ง คล้ายสีทอง · สวง ทรัพย์สำรวย · อำนวย กลัสนิมิ · (2539) ขวัญจิต ศรีประจันต์ · จันทร์สม สายธารา · รวงทอง ทองลั่นธม · พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ · สมควร กระจ่างศาสตร์ · บุญเลิศ นาจพินิจ · สาคร ยังเขียวสด · ใหญ่ วิเศษพลกรัง · (2540) อิ่ม จิตภักดี · พินิจ ฉายสุวรรณ · มาลัยวัลย์ บุณยะรัตเวช · ไวพจน์ เพชรสุพรรณ · สมพงษ์ พงษ์มิตร · สุรพล โทณะวณิก · บุญเพ็ง ไฝผิวชัย · (2541) ศิริวัฒน์ ดิษยนันทน์ · ชัยชนะ บุญนะโชติ · ชรินทร์ นันทนาคร · เบ็ญจรงค์ ธนโกเศศ · ปิยะพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา · จุรี โอศิริ · ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง · เจ้าเครือแก้ว ณ เชียงใหม่ · (2542) ชินกร ไกรลาศ · ชลธี ธารทอง · มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา · แท้ ประกาศวุฒิสาร · สัมพันธ์ พันธุ์มณี · เชื้อ ดนตรีรส · สมพันธ์ โชตนา · สัมพันธ์ พันธุ์มณี · (2543)มงคล แสงสว่าง · (2544) หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล · (2545) จิรัส อาจณรงค์ · (2546) พร้อม บุญฤทธิ์ · (2547) ไพรัช สังวริบุตร · จินตนา สุขสถิตย์ · ราฆพ โพธิเวส · (2548) วิเชียร คำเจริญ · ฉลาด ส่งเสริม · มานพ ยาระณะ · สำราญ เกิดผล · ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ · (2549) กาหลง พึ่งทองคำ · เกียรติพงศ์ กาญจนภี · สุชาติ ทรัพย์สิน · (2550) ชาญ บัวบังศร · นครินทร์ ชาทอง · |
วรรณศิลป์ |
(2528) คึกฤทธิ์ ปราโมช · (2529) กัณหา เคียงศิริ · อบ ไชยวสุ · (2530) ปิ่น มาลากุล · (2531) สุกัญญา ชลศึกษ์ · (2532) อังคาร กัลยาณพงศ์ · (2533) ศักดิชัย บำรุงพงศ์ · (2534) อาจินต์ ปัญจพรรค์ · สุวัฒน์ วรดิลก · (2535) คำสิงห์ ศรีนอก · (2536) เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ · ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา · (2538) รงค์ วงษ์สวรรค์ · ทวีป วรดิลก · (2539) ศรีฟ้า มหาวรรณ · (2540) ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ · (2541) วสิษฐ เดชกุญชร · (2542) สุภา สิริสิงห · (2543) อัศศิริ ธรรมโชติ · (2544) คำพูน บุญทวี · (2545) สุจิตต์ วงษ์เทศ · (2546) กรุณา กุศลาสัย · (2547) วินิตา ดิถียนต์ · ชาติ กอบจิตติ · (2548) สถาพร ศรีสัจจัง · ประยอม ซองทอง · (2549) มณี พยอมยงค์ · ระวี ภาวิไล · (2550) โกวิท เอนกชัย · |