ถวัลย์ ดัชนี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถวัลย์ ดัชนี (27 กันยายน พ.ศ. 2482 - ) จิตรกร ช่างเขียนรูป แห่งดอยสูงเชียงราย ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) เมื่อพ.ศ. 2544 เกิดที่อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย
[แก้] ชีวิตวัยเยาว์และการศึกษา
ถวัลย์ ดัชนี ศึกษาชั้นมูลและระดับประถมที่โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม ต่อมาบิดาย้ายมาปฏิบัติงานสรรพสามิตที่อำเภอเมืองพะเยา จึงเรียนต่อชั้นประถมที่โรงเรียนบุญนิธิซึ่งตั้งอยู่ริมชายกว๊านพะเยา และชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนพะเยาพิทยาคม เมื่อบิดาย้ายกลับเชียงรายจึงเข้าเรียนจนจบชั้นชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนสามัคคีวิทยาคมจนจบชั้นมัธยมปีที่ 6 ของสมัยนั้น
ถวัลย์มีแววด้านการวาดรูปมาตั้งแต่ชั้นมูลและชั้นประถม สามารถวาดตัวละครรามเกียรติ์ได้เกือบทุกตัว นอกจากจะมีความจำเป็นเลิศสามารถจำชื่อเพื่อนร่วมชั้นได้ทุกชั้นปีทั้งที่เชียงรายและพะเยาแล้ว เมื่อถวัลย์มีอายุ 8-9 ขวบก็มีความคิดแผลงๆ จำเรื่องนายมั่นนายคงจากละครวิทยุปลุกใจยุคปลายและหลังสงคราม เที่ยวชักชวนเพื่อนกรีดเลือดสาบานไปอยู่ดงพญาเย็นด้วยกันเมื่อโตขึ้นเป็นต้น
เมื่อจบชั้นมัธยม 6 ที่เชียงราย ถวัลย์ก็ได้รับทุนมาเรียนต่อที่ โรงเรียนเพาะช่าง และได้เป็นนักเรียนดีเด่น ด้วยฝีมือการวาดรูปที่แม่นยำ เฉียบคม ฉับไว จึงเป็นหนึ่งในนักเรียนเพาะช่างดีเด่นด้านจิตรกรรม ที่ผลงานได้รับการคัดเลือกไปแสดงในหอศิลป์แห่งชาติ นครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น หลังจากนั้น ถวัลย์ ดัชนี จึงเข้าศึกษาต่อที่คณะจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร และได้เป็น "ศิษย์รุ่นท้ายๆ ของ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี"
ตอนเรียนอยู่ที่ศิลปากรในชั้นปีที่ 1 ถวัลย์ ดัชนี ทำคะแนนการวาดรูปได้ถึง 100+ แต่เมื่อขึ้นปี 2 เขากลับทำได้แค่ 15 คะแนน เพราะเหตุผลที่ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ให้ไว้ว่า ปลาของนายไม่มีกลิ่นคาว นกของนายแหวกว่ายไปในอากาศไม่ได้ ม้าของนายไม่สามารถที่จะควบหรือวิ่งทะยานออกไปได้ นายเป็นเพียงแค่นักลอกรูป มันไม่ใช่งานศิลปะ
[แก้] การค้นหาและการพบตัวเอง
คำวิจารณ์ของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีดังกล่าวนี้ทำให้ถวัลย์ ดัชนี เปลี่ยนแปลงการทำงานทุกอย่างใหม่หมด เมื่อคิดและดำรงอยู่ในวิถีทางแห่งศิลปะได้แล้ว เขาจึงได้รับการสนับสนุนจากศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ให้สอบชิงทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ด้านสาขาจิตรกรรมฝาผนัง อนุสาวรีย์ ผังเมือง และในระดับปริญญาเอก สาขาอภิปรัชญา และสุนทรียศาสตร์ ที่ราชวิทยาลัยศิลปะอัมสเตอร์ดัม ที่แห่งนี้เองที่ถวัลย์ได้เรียนร่วมชั้นเดียวกันกับนักเรียนต่างชาติ ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีศิลปินแห่งชาติเกิดขึ้น 3 คนจากสถาบันแห่งนี้ นั่นคือ ศิลปินแห่งชาติของอินโดนีเซีย ด้านการแกะสลัก, ศิลปินแห่งชาติของอเมริกา ชาวสวิตเซอร์แลนด์ นามว่า Giger (ไกเกอร์ หรือ กีเกอร์ ถ้าอ่านแบบเยอรมัน) ซึ่งเป็นศิลปินที่วาดรูปออกแนวอวกาศและเป็นผู้ออกแบบเอเลี่ยน [[1]] และศิลปินแห่งชาติของไทย ถวัลย์ ดัชนี
เมื่อกลับมาถึงประเทศไทย เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น รูปเขียนขนาดใหญ่ของเขาหลายรูปถูกนักเรียนกรีดทำลาย ด้วยเหตุที่ว่างานของเขานั้นดูหมิ่นพระพุทธศาสนา ทำใหถวัลย์ ดัชนี เลิกแสดงผลงานในประเทศไทยไปนานหลายปี กว่าคนไทยจะยอมรับได้ เขาก็ต้องเดินตากแดดตากฝนนานอยู่ถึง สามสิบกว่าปี ในปัจจุบันผลงานของเขาได้รับการยอมรับ และได้รับการยกย่องชื่นชมว่าเป็นงานศิลปะชั้นเลิศ อีกทั้งเป็นที่นิยมในหมู่นักสะสมงานศิลปะทั่วไปอีกด้วย
ถวัลย์ ดัชนี ได้ฝากศิลปะไทยจิตวิญญาณตะวันออกของเขา ไว้ในหลายๆ ที่ในโลก "ผลงานบางส่วนถูกเขียนขึ้นในปราสาทที่มีถึง 500 ห้อง ในประเทศเยอรมนี ซึ่งมีชื่อว่าปราสาทกอททอฟ (Gottorf Castle) " ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายที่ปราสาทนี้ไม่เปิดให้ใครได้เข้าชมแล้ว เพราะอากาศที่หนาวเย็นจะทำให้มีหยดน้ำมาเกาะบนกำแพง ทำให้ภาพเสียหาย แต่รายการโทรทัศน์ที่ได้เข้าไปถ่ายทำเป็นรายการสุดท้ายนั่นคือ รายการชีพจรลงเท้า
ยามว่างจากการเขียนรูป ถวัลย์ ดัชนีจะเดินไปในป่าเพื่อหาเขากวางที่ผลัดแล้วมาเก็บไว้ เพื่อเป็นเครื่องลับจินตนาการให้เฉียบคมอยู่ตลอดเวลา
|
|
---|---|
ทัศนศิลป์ |
(2528) เฟื้อ หริพิทักษ์ · (2529) คำหมา แสงงาม · ประสงค์ ปัทมานุช · ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ · แสงดา บันสิทธิ์ · เห้ง โสภาพงศ์ · (2530) ชิต เหรียญประชา · โหมด ว่องสวัสดิ์ · พยอม สีนะวัฒน์ · (2531) เฉลิม นาคีรักษ์ · พูน เกษจำรัส · พิมาน มูลประมุข · (2532) สนิท ดิษฐพันธุ์ · (2533) ทวี นันทขว้าง · (2534) สวัสดิ์ ตันติสุข · (2535) ประยูร อุลุชาฎะ (น. ณ ปากน้ำ) · (2536) พินิจ สุวรรณะบุณย์ · (2538) จิตต์ จงมั่นคง · (2539) ชำเรือง วิเชียรเขตต์ · (2540) กมล ทัศนาญชลี · (2541) ประหยัด พงษ์ดำ · ชลูด นิ่มเสมอ · (2542) ดำรง วงศ์อุปราช · อินสนธิ์ วงศ์สาม · มานิตย์ ภู่อารีย์ · (2543) จักรพันธุ์ โปษยกฤต · (2544) ถวัลย์ ดัชนี · (2545) ประกิต บัวบุศย์ · (2546) พิชัย นิรันต์ · (2547) ไพบูลย์ มุสิกโปดก · สันต์ สารากรบริรักษ์ · (2548) ทวี รัชนีกร · ประเทือง เอมเจริญ · (2549) เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ · นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน · สมถวิล อุรัสยะนันทน์ · (2550) เดชา วราชุน · ยรรยง โอฬาระชิน · |
ทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) |
(2529) สมภพ ภิรมย์ · (2530) มิตรารุณ เกษมศรี · (2532) ประเวศ ลิมปรังษี · (2537) ภิญโญ สุวรรณคีรี · (2541) อาวุธ เงินชูกลิ่น · สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา · (2543) ฤทัย ใจจงรัก · (2544) ประดิษฐ์ ยุวพุกกะ · (2545) นิธิ สถาปิตานนท์ · (2546) วนิดา พึ่งสุนทร · (2547) จุลทัศน์ กิติบุตร · (2548) เดชา บุญค้ำ · (2550) กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา · |
ศิลปะการแสดง |
(2528) มนตรี ตราโมท · แผ้ว สนิทวงศ์เสนี · (2529) ทองมาก จันทะลือ · กั้น ทองหล่อ · ไพฑูรย์ กิตติวรรณ · เฉลิม บัวทั่ง · เปลื้อง ฉายรัศมี · ชูศรี สกุลแก้ว · ท้วม ประสิทธิกุล · ทองหล่อ ทำเลทอง · พวงร้อย อภัยวงศ์ · เจียร จารุจรณ · (2530) ยก ชูบัว · ชิ้น ศิลปบรรเลง · วิจิตร คุณาวุฒิ · เจริญใจ สุนทรวาทิน · เฉลย ศุขะวณิช · ไชยลังกา เครือเสน · (2531) หวังดี นิมา · ประสิทธิ์ ถาวร · บุญยงค์ เกตุคง · เสรี หวังในธรรม · จำเรียง พุธประดับ · กรี วรศะริน · สมาน กาญจนะผลิน · สง่า อารัมภีร · (2532) ฉิ้น อรมุต · สวลี ผกาพันธุ์ · ประสิทธิ์ พยอมยงค์ · ประเวศ กุมุท · หยัด ช้างทอง · (2533) สุเทพ วงศ์กำแหง · สุวรรณี ชลานุเคราะห์ · บัวผัน จันทร์ศรี · สมชาย อาสนจินดา · (2534) พยงค์ มุกดา · เพ็ญศรี พุ่มชูศรี · เคน ดาเหลา · บุญยัง เกตุคง · (2535) จูเลี่ยม กิ่งทอง · ผ่องศรี วรนุช · คำ กาไวย์ · ส่องชาติ ชื่นศิริ · แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ · (2536) ขาเดร์ แวเด็ง · ชาลี อินทรวิจิตร · ฉวีวรรณ ดำเนิน · สุดจิตต์ อนันตกุล · จำเนียร ศรีไทยพันธุ์ · (2537) ประยูร ยมเยี่ยม · อัศนี ปราโมช · (2538) ชาย เมืองสิงห์ · เปรื่อง ชื่นประโยชน์ · คำผาย นุปิง · สร้อย ดำแจ่ม · แจ้ง คล้ายสีทอง · สวง ทรัพย์สำรวย · อำนวย กลัสนิมิ · (2539) ขวัญจิต ศรีประจันต์ · จันทร์สม สายธารา · รวงทอง ทองลั่นธม · พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ · สมควร กระจ่างศาสตร์ · บุญเลิศ นาจพินิจ · สาคร ยังเขียวสด · ใหญ่ วิเศษพลกรัง · (2540) อิ่ม จิตภักดี · พินิจ ฉายสุวรรณ · มาลัยวัลย์ บุณยะรัตเวช · ไวพจน์ เพชรสุพรรณ · สมพงษ์ พงษ์มิตร · สุรพล โทณะวณิก · บุญเพ็ง ไฝผิวชัย · (2541) ศิริวัฒน์ ดิษยนันทน์ · ชัยชนะ บุญนะโชติ · ชรินทร์ นันทนาคร · เบ็ญจรงค์ ธนโกเศศ · ปิยะพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา · จุรี โอศิริ · ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง · เจ้าเครือแก้ว ณ เชียงใหม่ · (2542) ชินกร ไกรลาศ · ชลธี ธารทอง · มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา · แท้ ประกาศวุฒิสาร · สัมพันธ์ พันธุ์มณี · เชื้อ ดนตรีรส · สมพันธ์ โชตนา · สัมพันธ์ พันธุ์มณี · (2543)มงคล แสงสว่าง · (2544) หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล · (2545) จิรัส อาจณรงค์ · (2546) พร้อม บุญฤทธิ์ · (2547) ไพรัช สังวริบุตร · จินตนา สุขสถิตย์ · ราฆพ โพธิเวส · (2548) วิเชียร คำเจริญ · ฉลาด ส่งเสริม · มานพ ยาระณะ · สำราญ เกิดผล · ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ · (2549) กาหลง พึ่งทองคำ · เกียรติพงศ์ กาญจนภี · สุชาติ ทรัพย์สิน · (2550) ชาญ บัวบังศร · นครินทร์ ชาทอง · |
วรรณศิลป์ |
(2528) คึกฤทธิ์ ปราโมช · (2529) กัณหา เคียงศิริ · อบ ไชยวสุ · (2530) ปิ่น มาลากุล · (2531) สุกัญญา ชลศึกษ์ · (2532) อังคาร กัลยาณพงศ์ · (2533) ศักดิชัย บำรุงพงศ์ · (2534) อาจินต์ ปัญจพรรค์ · สุวัฒน์ วรดิลก · (2535) คำสิงห์ ศรีนอก · (2536) เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ · ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา · (2538) รงค์ วงษ์สวรรค์ · ทวีป วรดิลก · (2539) ศรีฟ้า มหาวรรณ · (2540) ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ · (2541) วสิษฐ เดชกุญชร · (2542) สุภา สิริสิงห · (2543) อัศศิริ ธรรมโชติ · (2544) คำพูน บุญทวี · (2545) สุจิตต์ วงษ์เทศ · (2546) กรุณา กุศลาสัย · (2547) วินิตา ดิถียนต์ · ชาติ กอบจิตติ · (2548) สถาพร ศรีสัจจัง · ประยอม ซองทอง · (2549) มณี พยอมยงค์ · ระวี ภาวิไล · (2550) โกวิท เอนกชัย · |