โอห์ม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โอห์ม (ohm) (สัญลักษณ์ : Ω) เป็นหน่วยเอสไอ (SI) ของค่าอิมพีแดนซ์ทางไฟฟ้า ในกรณีของกระแสสลับ หรือค่าความต้านทานไฟฟ้า ในกรณีของกระแสตรง ตั้งชื่อตามจอร์จ โอห์ม นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน
เนื้อหา |
[แก้] นิยาม
โอห์ม เป็นค่าความต้านทานที่ก่อให้เกิดความต่างศักย์ค่า 1 โวลต์ เมื่อกระแส 1 แอมแปร์ไหลผ่าน
- 1 Ω = 1 V/A = 1 m²·kg·s–3·A–2
[แก้] ที่มา
จอร์จ โอห์ม นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้า ในตัวนำโลหะ โดยแสดงไว้เป็นกฎความสัมพันธ์ เรียกว่า กฎของโอห์ม
หน่วยดังกล่าว ถูกเสนอขึ้นเป็นครั้งแรกว่า โอห์ม โดย Charles Tilston Bright และ Latimer Clark เมื่อ ค.ศ. 1861 โดยในบันทึกเมื่อค.ศ. 1864 เขียนเป็น ohmad ครั้นเมื่อ ค.ศ. 1872 สมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของอังกฤษ ได้เพิ่ม โอห์ม เข้ามาในระบบหน่วยวัด cgs (เซนติเมตร กรัม วินาที) และมีการใช้โอห์มที่สมาคมปรับปรุงขึ้นใหม่ มาใช้ในหน่วยเอสไอ เมื่อ ค.ศ. 1946
[แก้] คำอธิบาย
นิยามจากกฎของโอห์ม อุปกรณ์จะมีมีค่าความต้านทาน 1 โอห์ม หากแรงดันไฟฟ้า 1 โวลต์ ก่อให้เกิดกระแส 1 แอมแปร์ไหลผ่าน (R = V/I) ในขณะเดียวกัน อุปกรณ์ที่มีกำลัง 1 วัตต์ โดยมีกระแส 1 แอมแปร์ไหลผ่าน ก็จะมีค่าความต้านทาน 1 โอห์ม (R = P / I 2).
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
[แก้] ดูเพิ่ม
- กฎของโอห์ม
- ตัวต้านทาน
- abohm
- โมห์
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- ตำราของจอร์จ ซิมอน โอห์ม ที่หอสมุดมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์นูเรนแบร์ก
- Official SI brochure
- NIST Special Publication 811
- ประวัติของโอห์ม sizes.com
โอห์ม เป็นบทความเกี่ยวกับ เทคโนโลยี หรือ สิ่งประดิษฐ์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ โอห์ม ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |