โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าฯ ในกรุงเทพฯ และพื้นที่ต่อเนื่อง |
|
สายเฉลิมพระเกียรติฯ 1 (สายสุขุมวิท) | |
สายเฉลิมพระเกียรติฯ 2 (สายสีลม) | |
สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) | |
สายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (กำลังก่อสร้าง) | |
สายสีม่วง (โครงการ) | |
สายสีส้ม (โครงการ) | |
สายสีแดงเข้ม (โครงการ) | |
สายสีแดงอ่อน (โครงการ) | |
สายสีเหลือง (โครงการ) | |
สายสีน้ำตาล (โครงการ) | |
สายสีชมพู (โครงการ) | |
แก้ |
โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พื้นที่โครงการส่วนใหญ่อยู่บนเขตทางของการรถไฟแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่ในการบริการขนส่งผู้โดยสารที่อยู่อาศัยในพื้นที่ชานเมืองเข้าสู่กรุงเทพมหานคร ด้วยระบบรางที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อป้อนผู้โดยสารเข้าสู่โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และกรุงเทพมหานคร ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีอยู่แล้ว และยังจะสร้างเพิ่มเติมอีกในอนาคต
เนื้อหา |
[แก้] รูปแบบโครงการ
เป็นระบบขนส่งมวลชนทางราง ที่มีรูปแบบการเดินรถของการรถไฟแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน ได้แก่ ขบวนรถไฟทางไกล รถชานเมือง และรถสินค้า ที่ลากจูงด้วยหัวรถจักรดีเซล เดินรถร่วมกับระบบรถไฟฟ้าชานเมือง โดยติดตั้งระบบการป้องกันขบวนรถอัตโนมัติ (Automatic Train Protection – ATP) เพิ่มเติมเพื่อให้ขบวนรถทั้งสองระบบเดินรถร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
[แก้] เส้นทางของระบบรถไฟชานเมือง
แบ่งเป็นเส้นทาง 5 ช่วง
- บางซื่อ-รังสิต
- บางซื่อ-ตลิ่งชัน
- บางซื่อ-หัวลำโพง
- บางซื่อ-มักกะสัน
- หัวลำโพง-มหาชัย
ซึ่งในภายหลัง โครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีแดงนี้ ได้แยกออกเป็นสายสีแดงเข้ม และสายสีแดงอ่อน ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 7 กันยายน 2547 โดยให้กระทรวงคมนาคมเร่งรัดดำเนินการในสายทางที่มีความจำเป็นเร่งด่วน
[แก้] รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม
- ช่วงบางซื่อ-รังสิต ตามเส้นทางรถไฟสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทาง 24.6 กิโลเมตร
- ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 11.0 กิโลเมตร
- ช่วงหัวลำโพง-มหาชัย ระยะทาง 36.0 กิโลเมตร
[แก้] รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน
- ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ตามเส้นทางรถไฟสายใต้ ระยะทาง 14.7 กิโลเมตร
- ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน ตามเส้นทางรถไฟสายตะวันออก ระยะทาง 7.6 กิโลเมตร
- Airport Link (มักกะสัน-สุวรรณภูมิ) ระยะทาง 28.0 กิโลเมตร (ปัจจุบันได้แยกโครงการออกจากรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนแล้ว)
[แก้] สถานะปัจจุบันของโครงการ
จากมติคณะรัฐมนตรี 22 พฤษภาคม 2550 ได้อนุมัติโครงการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงรังสิต – บางซื่อ – ตลิ่งชัน ประกอบด้วย ช่วงบางซื่อ – รังสิต ระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร วงเงิน 52,220 ล้านบาท และ ช่วงบางซื่อ – ตลิ่งชัน ระยะทางประมาณ 15 กม. วงเงิน 13,133 ล้านบาท
[แก้] สถานะปัจจุบันของโครงการ(2)
นายไชยา ยิ้มวิไล โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในวันนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบการรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วง รังสิต - บางซื่อ- ตลิ่งชัน โครงการระบบรถไฟชานเมืองช่วงบางซื่อ- รังสิต ซึ่งโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วง รังสิต -บางซื่อ- ตลิ่งชัน คาดว่าจะสามารถประกวดราคาได้ในเดือนมีนาคม 2551 ลงนามในสัญญาก่อสร้างเดือนกันยายน 2551 ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี ระหว่างเดือนตุลาคม 2551 ถึง เดือนตุลาคม 2555 นอกจากนี้ ยังรับทราบโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดงช่วง บางซื่อ -รังสิต ว่าในขณะนี้มีผลการดำเนินงานผ่านไปแล้วร้อยละ 80 คาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาได้ประมาณเดือนเมษายน 2551 และจะเริ่มงานก่อสร้างได้ประมาณเดือนพฤษภาคม 2551 และก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณเดือนมิถุนายน 2554
[แก้] อ้างอิง
|
|
---|---|
รายชื่อสถานี | รังสิต · หลักหก · ดอนเมือง · การเคหะดอนเมือง · หลักสี่ · ทุ่งสองห้อง · บางเขน · วัดเสมียนนารี · สถานีขนส่งจตุจักร · ชุมทางบางซื่อ · ประดิพัทธ์ · สามเสน · ราชวิถี · ยมราช · มหานาค · หัวลำโพง · ตลาดน้อย · คลองสาน · วงเวียนใหญ่ · ตลาดพลู · คลองต้นไทร · จอมทอง · วัดไทร · วัดสิงห์ · จอมทอง · การเคหะธนบุรี · รางสะแก · รางโพธิ์ · สามแยก · พรมแดน · ทุ่งสีทอง · บางน้ำจืด · คอกควาย · บ้านขอม · คลองจาก · มหาชัย |
ดูเพิ่ม | รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม · โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง · กรุงเทพมหานคร · สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร |
|
|
---|---|
รายชื่อสถานี | ถนนกาญจนาภิเษก · บ้านฉิมพลี · ตลิ่งชัน · ชัยพฤกษ์ · บางบำหรุ · ภาณุรังสี · บางกรวย · สะพานพระรามหก · บางซ่อน · บางซื่อ · ประดิพัทธ์ · สามเสน · ราชวิถี · ยมราช · พญาไท · ราชปรารภ · มักกะสัน (อโศก) · รามคำแหง · หัวหมาก · บ้านทับช้าง · ลาดกระบัง · ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ |
ดูเพิ่ม | รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน · โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง · กรุงเทพมหานคร · สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร |