รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าฯ ในกรุงเทพฯ และพื้นที่ต่อเนื่อง |
|
สายเฉลิมพระเกียรติฯ 1 (สายสุขุมวิท) | |
สายเฉลิมพระเกียรติฯ 2 (สายสีลม) | |
สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) | |
สายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (กำลังก่อสร้าง) | |
สายสีม่วง (โครงการ) | |
สายสีส้ม (โครงการ) | |
สายสีแดงเข้ม (โครงการ) | |
สายสีแดงอ่อน (โครงการ) | |
สายสีเหลือง (โครงการ) | |
สายสีน้ำตาล (โครงการ) | |
สายสีชมพู (โครงการ) | |
แก้ |
โครงการ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือ แอร์พอร์ตเรลลิงก์ หรือ แอร์พอร์ตลิงก์ เป็นโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนระบบพิเศษ สำหรับอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร ที่จะมาใช้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้สามารถเดินทางได้ในเวลาอันรวดเร็วและเชื่อถือได้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินการก่อสร้าง โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง ในวงเงินรวม 30,000 ล้านบาท
เนื้อหา |
[แก้] รูปแบบการให้บริการและส่วนบริการ
สำนักบริหารโครงการระบบรถไฟฟ้า การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการระบบขนส่ง ทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง เพื่อเชื่อมเส้นทางระหว่างเมืองหลวงไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทาง 28.6 ก.ม. (17.77 ไมล์) โดยใช้รถไฟฟ้าความเร็วสูงแบบทางคู่ ยกระดับขนานไปตามแนวเส้นทางรถไฟทางไกลสายตะวันออก เพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารท้องถิ่นตลอดเส้นทาง รวมทั้งผู้โดยสารอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมีรูปแบบการให้บริการและส่วนบริการเสริมเป็น 3 ลักษณะ
[แก้] รถไฟฟ้าด่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ให้บริการผู้โดยสารด้วยรถไฟฟ้าปรับอากาศความเร็วสูง วิ่งตรงระหว่างสถานีมักกะสัน-อโศก ถึง สถานีสุวรรณภูมิ ภายในเวลา 15 นาที
[แก้] รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ให้บริการผู้โดยสาร วิ่งรับ-ส่งระหว่างทางเริ่มต้นที่สถานีพญาไท ราชปรารภ มักกะสัน-อโศก รามคำแหง หัวหมาก บ้านทับช้าง ลาดกระบัง ผ่าน 7 สถานี สู่ปลายทางที่สถานีสุวรรณภูมิ ภายในเวลา 28 นาที
[แก้] สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง
สถานีแห่งเดียวที่ผู้โดยสารสามารถนำสัมภาระมาเช็คอินเข้าสู่บริการขนถ่ายสัมภาระไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ ได้โดยสะดวก
[แก้] ขอบเขตงาน
[แก้] งานโยธาและงานโครงสร้าง
- โครงสร้างทางยกระดับ
- สถานียกระดับ 7 แห่ง
- สถานีใต้ดิน (งานสถาปัตยกรรม และสิ่งอำนวยความสะดวก)
- อาคารสถานีรับส่งผู้โดยสารท่าอากาศยานในเมือง
- โครงสร้างรองรับย่านจอดสับเปลี่ยนรถ
- โรงซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ
- สิ่งอำนวยความสะดวกในอาคาร เช่น บันไดเลื่อน ลิฟท์ ฯลฯ
- งานถนนและปรับปรุงพื้นที่ต่อเชื่อม
[แก้] งานระบบรางและงานระบบไฟฟ้า-เครื่องกล
- ระบบรางรถไฟฟ้า/แนวราง
- ระบบอาณัติสัญญาณและควบคุมการเดินรถ
- ระบบโทรคมนาคม
- ระบบจ่ายกำลังขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้า
- ระบบจำหน่ายตั๋วอัติโนมัติ
- ระบบชานชาลาประตูอัติโนมัติ
- อุปกรณ์ซ่อมบำรุงรักษาในโรงซ่อมบำรุง
- ระบบการตรวจบัตรโดยสารและระบบขนถ่ายกระเป๋า
[แก้] งานจัดหาตู้รถโดยสารไฟฟ้า
- รถไฟฟ้าด่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 16 ตู้
- รถไฟฟ้าท่าอากาาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 15 ตู้
[แก้] ผู้รับเหมาก่อสร้างและที่ปรึกษา
[แก้] ผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการ
- บริษัท บี กริม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
- B.Grimm MBA Hongkong Ltd.
- บริษัท Siemens Aktiengesellschaft จำกัด
- บริษัท ซีเมนต์ จำกัด
- บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
[แก้] บริษัทที่ปรึกษาและควบคุมงานก่อสร้าง
- บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด
- บริษัท ไทย เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด
- บริษัท แปซิฟิค คอนซัลแทนส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
- บริษัท โชติจินดา มูเซล คอนซัลแตนท์ จำกัด
- DE-Consult Deutsche Eisenbahn - Consulting GmbH
- บริษัท วิสิทธิ์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด
- บริษัท ดีไซน์ คอนเซป จำกัด
[แก้] ความคืบหน้า
- ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ดำเนินงานแล้วเสร็จร้อยละ 44 มีกำหนดเปิดให้บริการในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
- ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ดำเนินงานแล้วเสร็จร้อยละ 70 และขยายกำหนดเปิดให้บริการไปเป็นภายในปี พ.ศ. 2552
- วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550 บริษัท ซีเมนส์ จำกัด ได้ส่งมอบ ขบวนรถด่วน (SA-Express) ล็อตแรก ให้กับทาง รฟท. จำนวน 8 ตู้
- ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 ดำเนินงานแล้วเสร็จร้อยละ 78.5 และกำหนดเปิดให้บริการในช่วงต้นปี พ.ศ. 2552 [1]
- ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 ดำเนินการแล้วเสร็จร้อยละ 84 เริ่มทดสอบระบบเดินรถได้ภายในปี 2551 และกำหนดเปิดให้บริการในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 [2]
[แก้] อ้างอิง
- ^ http://enews.mcot.net/view.php?id=3507
- ^ http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=320001 แอร์พอร์ตลิงก์ คืบหน้าแล้วร้อยละ 84
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- สำนักบริหารโครงการระบบรถไฟฟ้า (เชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) การรถไฟแห่งประเทศไทย
- คลังภาพความคืบหน้าการก่อสร้าง
- เอกสารและสื่อ การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อการแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็น ต่อการดำเนินโครงการสร้างรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง วันอังคารที่ 26 ธันวาคม 2549 ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
- สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)
- การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)
- โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยาย
- รถไฟไทย.คอม
- Bangkok Suvarnabhumi Airport Rail Link
- วุ่นรถแอร์พอร์ตลิงก์เข้ามาต.ค.นี้
- ร.ฟ.ท.-คมนาคม เล็งถกแนวทางบริหาร “แอร์พอร์ตลิงก์ มักกะสัน”
|
|
---|---|
รายชื่อสถานี | เชียงราก · รังสิต · หลักหก · ดอนเมือง · การเคหะดอนเมือง · หลักสี่ · ทุ่งสองห้อง · บางเขน · วัดเสมียนนารี · สถานีขนส่งจตุจักร · ชุมทางบางซื่อ · ประดิพัทธ์ · สามเสน · ราชวิถี · ยมราช · พญาไท · ราชปรารภ · สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง - มักกะสัน (อโศก) · รามคำแหง · หัวหมาก · บ้านทับช้าง · ลาดกระบัง · ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ |
ดูเพิ่ม | รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ · โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง · กรุงเทพมหานคร · สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร |