แจ็กเดอะริปเปอร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แจ็กเดอะริปเพอร์ (Jack the Ripper) เป็นสมญาของฆาตกรต่อเนื่องที่ออกทำฆาตกรรมในย่าน "ไวท์แชเปล" ซึ่งเป็นถิ่นยากจนใกล้นครลอนดอนในช่วงครึ่งปีหลังของ พ.ศ. 2431 ชื่อสมญาได้มาจากข่าวที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ต่างๆ ที่ลงข่าวจดหมายลึกลับที่เขียนถึงสำนักข่าวกลางโดยผู้เขียนที่อ้างตนว่าเป็นฆาตกร ถึงแม้จะมีการสืบสวนและมีทฤษฎีที่น่าเชื่อถือมากมาย แต่ก็ไม่สามารถบ่งบอกโฉมหน้าที่แท้จริงของฆาตกรได้เลย
ตำนานเล่าขานเกี่ยวกับฆาตกรแจ็กเดอะริปเพอร์ได้กลายเป็นขนมผสมน้ำยา ระหว่างการค้นคว้าวิจัยอย่างจริงจังทางประวัติศาสตร์ ทฤษฎีสมรู้ร่วมคิดและนิทานพื้นบ้าน การขาดหลักฐานยืนยันที่แน่ชัดทำให้เกิดมีคำว่า "นักริปเพอร์วิทยา" มาใช้เรียกนักประวัติศาสตร์และนักสืบสมัครเล่นที่ศึกษาคดีอันโด่งดังนี้เพื่อกล่าวหาหรือพาดพิงถึงบุคคลต่างๆ ว่าคือตัวริปเพอร์ หนังสือพิมพ์ซึ่งมียอดขายเพิ่มสูงมากในช่วงนี้โทษว่าเป็นเพราะความล้มเหลวของตำรวจที่ไม่สามารถจับกุมคนร้ายได้ ทำให้ฆาตกรฮึกเหิมได้ใจและท้าทาย เหตุการณ์จึงเกิดต่อเนื่องเรื่อยมา ในบางครั้งตำรวจมาถึงที่เหตุเกิดเพียง 2-3 นาที แต่กลับไม่ได้ตัวคนร้าย
เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายเกือบทั้งหมดเป็นผู้หญิงที่ออกหาเงินเป็นครั้งคราวด้วยการเป็นโสเภณี ฆาตกรรมส่วนใหญ่เกิดในที่สาธารณะหรือกึ่งสาธารณะ เหยื่อทุกรายถูกเชือดคอ หลังจากนั้นซากศพจะถูกหั่นตรงช่วงท้องและบางครั้งที่อวัยวะเพศ คาดกันว่าเหยื่อจะถูกรัดคอให้เงียบเสียงก่อนลงมือฆ่า มีหลายกรณีที่มีการตัดอวัยวะภายในออก จึงมีผู้อนุมานว่าฆาตกรอาจเป็นศัลยแพทย์หรือไม่ก็คนขายเนื้อ ซึ่งยังหาข้อสรุปไม่ได้
เนื้อหา |
[แก้] เหยื่อผู้เคราะห์ร้าย
หญิงถูกฆาตกรรมหลายรายยังที่เป็นที่ถกเถียงกันทั้งชื่อและจำนวน แต่รายที่ชี้ได้ชัดว่ากระทำโดยแจ็กเดอะริปเพอร์มีไม่มาก
[แก้] เหยื่อที่เป็นที่ยอมรับได้แน่นอน 5 ราย
เหยื่อที่เป็นที่ยอมรับทางกฎหมายว่าเป็นฝีมือของแจ็กเดอะริปเพอร์แน่นอนมี 5 ราย มีชื่อเรียกกันว่า "5 เหยื่อบัญญัติ" (Canonical five)ที่ได้จากผลสรุปของการสอบสวนจากหลายฝ่ายจากการที่ศพทั้งหมดมีลักษณะการถูกกระทำเกือบเหมือนกัน เหตุที่ทำให้เป็นที่เชื่อถือได้ในขณะนั้น มาจากความเห็นของหัวหน้าตำรวจชุดสอบสวนกลางคือ เซอร์เมลวิลล์ แมกนอเทน ที่ให้ไว้เมื่อ พ.ศ. 2437 ซึ่งเพิ่งเปิดเผยเมื่อ พ.ศ. 2502 ความจริงแมกนอเทนเข้าร่วมการสอบสวนหลังเกิดเหตุแล้ว 1 ปี โดยไม่มีนักสืบอื่นร่วม ทำให้ "นักริปเพอร์วิทยา" ต้องแยกเอาศพ 2 รายออกจากรายการเดิมที่มี 7 รายเหลือเพียง 5 ราย
การฆ่าเหยื่อบัญญัติทั้ง 5 ทำตอนกลางคืนในที่มืดในวันหยุดหรือใกล้วันสุดสัปดาห์ มีลักษณะช่วงเวลาใกล้เคียงแต่ไม่ตรงกัน เกิดในที่ที่เปลี่ยวแต่สาธารณชนเข้าถึงได้ด้วยการนัดหมาย หรือเป็นที่ที่มีคนไปในช่วงสุดสัปดาห์ มีเพียงรายเดียวที่เกิดในเขตลอนดอนและเกิดบนถนน นอกจากนี้ ลักษณะการกระทำของฆาตกรเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ความความโด่งดังของการประโคมข่าว
ความยากในการบ่งชี้ว่าลักณะอย่างใดที่เป็นฝีมือของแจ็กเดอะริปเพอร์อยู่ตรงช่วงเวลาที่มีการฆาตกรรมสตรีซึ่งมากอยู่แล้วในยุคนั้น แต่ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ถ้าเป็นแจ็กเดอะริปเพอร์ คอเหยื่อจะถูกเชือดลึกมาก จะต้องมีการหั่นหรือสับช่วงท้องและอวัยวะเพศ มีการเชือดเอาอวัยวะภายในออกและมีการเฉือนใบหน้าด้วยมีดเป็นริ้วๆ..
[แก้] เหยื่อที่อาจใช่ฝีมือของแจ็กเดอะริปเพอร์
ยังมีบัญชีแนบท้ายรายชื่อ "5 เหยื่อบัญญัติ" ที่อาจเป็นฝีมือของแจ็กเดอะริปเพอร์อีก 13 รายโดยถือเอาความคล้ายคลึงในการเข้าจู่โจมทำร้ายหรือฆ่า แต่เหยื่อเหล่านี้มีหลักฐานการกระทำไม่ครบถ้วนและละเอียดชัดเจน
[แก้] การสืบสวน
กรณีแจ็กเดอะริปเพอร์ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าในเทคนิคการสอบสวนและนิติเวชศาสตร์มากที่สุดหลังเหตุการณ์
วิธีการด้านนิติเวชสมัยใหม่ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่เป็นที่รู้จักของตำรวจนครบาลในสมัยวิกตอเรีย แนวคิดเกี่ยวกับแรงกระตุ้นหรือแรงดลใจให้ลงมือกระทำการฆ่าของฆาตกรต่อเนื่องยังไม่เป็นที่เข้าใจกันแต่อย่างใด ตำรวจในสมัยนั้นเข้าใจเพียงเพียงแรงจูงใจอาชญากรรมที่มีต้นจากความต้องการทางเพศเท่านั้น
[แก้] สื่อ
ฆาตกรรมแจ็กเดอะริปเพอร์มีผลต่อชีวิตแบบใหม่ของชาวอังกฤษ แม้ฆาตกรรมต่อเนื่องแจ็กเดอะริปเพอร์จะไม่ใช่กรณีแรก แต่ก็ได้ทำให้สื่อทั่วโลกแตกตื่นแพร่กระจายข่าวนี้อย่างครึกโครม การมียอดจำหน่ายสูงขึ้นมาก ประกอบกับการออกกฎหมายใหม่ลดค่าอากรแสตมป์ทำให้ราคาหนังสือพิมพ์ต่อฉบับลดลงมากจากการพิมพ์จำนวนมหาศาล ทำให้เกือบทุกคนซื้ออ่านได้ เรื่องราวลึกลับน่ากลัวที่ยังจับใครไม่ได้จึงเป็นข่าวที่เพิ่มยอดขายได้สูง หลายคนถึงกับกล่าวว่าชื่อ "แจ็กเดอะริปเพอร์" เป็นชื่อที่หนังสือพิมพ์เป็นผู้ตั้งขึ้นเอง
การแพร่หลายของข่าวที่ประโคมแบบใหม่ทำให้เกิดกรณีฆาตกรรมต่อเนื่องที่คล้ายคลึงกันที่เกิดขึ้นในระยะหลังมีรูปแบบทำนองเดียวกันเช่น "ฆาตกรรัดคอบอสตัน" (the Boston Strangler) "ขุนขวานนิวออร์ลีน" (Axeman of New Orleans) นักซุ่มยิงเบลท์เวย์" (Beltway Sniper) รวมทั้งฆาตกรรัดคอเชิงเขา" (Hillside Strangler) เป็นต้น
ต้นเหตุสำคัญที่อาจเป็นไปได้ในกรณี "แจ็กเดอะริปเพอร์" ที่ได้กล่าวถึง คือการปล่อยละเลยไม่เหลียวแลย่านคนยากจนมากในสมัยนั้นจากชนชั้นสูงผู้ดูแลบ้านเมือง ดังย่านที่เป็นที่เกิดเหตุจึงมีผู้เรียกร้องความสนใจให้บ้านเมืองเข้ามาช่วยเหลือปรับปรุงให้มีสภาพดีขึ้นบ้าง จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอร์ เป็นผู้หนึ่งที่เขียนจดหมายเชิงประชดถึงกรณีดังกล่าวผ่านหนังสือพิมพ์
[แก้] ผู้ต้องสงสัย
มีความคืบหน้ามากในการพยายามบ่งชี้ตัวฆาตกรแจ็กเดอะริปเพอร์ว่าเป็นใคร มีการพาดพิงหรืออนุมานกันไว้หลายคนแต่จนถึงบัดนี้ก็ยังหาหลักฐานที่หนักแน่นมาเป็นข้อสรุปไม่ได้
[แก้] แจ็กเดอะริปเพอร์ในวัฒนธรรมสมัยใหม่
มีการนำกรณีหรือชื่อของ "แจ็กเดอะริปเพอร์" มาสร้างเป็นนวนิยายหลายเรื่อง ตั้งเป็นชื่อวงดนตรีบ้าง ชื่อเพลงบ้างทั้งโดยตรงและใช้ชื่อสถานที่ที่มีการอ้างอิงแพร่หลายในข่าวที่เป็นที่รู้จักบ้าง เช่น พิงค์ดอท บอบ ไดลาน จูดาส พรีสท์และสกรีมมิง ลอร์ด ซัทช์ ต่างร้องและอัดเพลงจำหน่ายในชื่อ แจ็กเดอะริปเพอร์
มีหลายบริษัทที่เอาแจ็กเดอะริปเพอร์มาทำตุ๊กตาและของเล่นขาย จนบางครั้งได้รับการประท้วงจากสังคม ในปี พ.ศ. 2549 วารสารประวัติศาสตร์ บีบีซี. ลงคะแนนเสียงโดยผู้อ่านให้กรณี "แจ็กเดอะริปเพอร์" เป็นประวัติศาสตร์ที่เลวร้ายที่สุดของอังกฤษ
ถึงปัจจุบันมีหนังสือที่ไม่ใช่นวนิยายเกี่ยวกับแจ็กเดอะริปเพอร์มากถึง 150 เล่มทำให้แจ็กเดอะริปเพอร์เป็นคดีฆาดกรรมจริงที่มีผู้นำไปเขียนมากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่แล้ว แม้ขณะนี้ก็ยังมีวารสารเกี่ยวกับแจ็กเดอะริปเพอร์ตีพิมพ์จำหน่ายพร้อมกัน 6 ฉบับในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
[แก้] อ้างอิง
- The Complete History of Jack the Ripper by Philip Sugden, ISBN 0-7867-0276-1
- The Ultimate Jack the Ripper Sourcebook by Stewart P. Evans and Keith Skinner, ISBN 0-7867-0768-2
- Jack the Ripper: The Facts by Paul Begg, ISBN 1-86105-687-7
- The Complete Jack the Ripper by Donald Rumbelow, ISBN 0-425-11869-X
- Ripperology by Robin Odell, ISBN 0-87338-861-5
- The Jack the Ripper A-Z by Paul Begg, Martin Fido and Keith Skinner, ISBN 0-7472-5522-9
- The Mammoth Book of Jack the Ripper by Maxim Jakubowski and Nathan Braund (editors), ISBN 0-7867-0626-0
- Casebook: Jack the Ripper by Stephen P. Ryder (editor)
- Vanderlinden, Wolf (April 2005). "'Considerable Doubt' and the Death of Annie Chapman". Ripper Notes.
- DiGrazia, Christopher-Michael (March 2000). "Another Look at the Lusk Kidney". Ripper Notes.