จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอเชียนเกมส์ 1994 เป็นการแข่งขัน เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 12 จัดขึ้นที่ ฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม ถึง 16 ตุลาคม พ.ศ. 2537 มีประเทศเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 42 ประเทศ และมีกีฬาแข่งขันทั้งหมด 34 ชนิด โดยสนามแข่งขันที่ใช้เป็นหลัก คือ ฮิโรชิมา บิ๊ก อาร์ช มีมาสคอทหรือสัญลักษณ์เป็นนกพิราบคู่ ตัวผู้ ตัวเมีย เป็นการสื่อถึงสันติภาพ นับเป็นครั้งแรกด้วยที่การแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติใช้มาสคอทเป็นคู่
สำหรับการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ของนักกีฬาทีมชาติไทย ปรากฏว่าสามารถได้เพียงเหรียญทองเดียวจากมวยสากลสมัครเล่นในรุ่นเฟเธอร์เวทจากสมรักษ์ คำสิงห์ แต่ต่อมาภายหลังจบการแข่งขันได้มีมติให้เพิ่มอีก 2 เหรียญทองจากกีฬาว่ายน้ำจากรัฐพงษ์ ศิริสานนท์ เนื่องจากมีนักกีฬาคนเดิมที่ได้เหรียญไปนั้นถูกตรวจสอบใช้สารกระตุ้น และพิธีเปิดการแข่งขันมีนักร้องไทยร่วมในการแสดงด้วยคือ กุ้งนาง ปัทมสูตร แต่การถ่ายทอดทางทีวีที่ถ่ายกลับมาไม่ทัน และในพิธีปิดการแข่งขัน การส่งมอบธงจัดการแข่งขันต่อให้ไทย ในปี พ.ศ. 2541 หรือ ค.ศ. 1998 มีนายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นตัวแทนของรัฐบาลไทยรับต่อ
[แก้] กีฬา
[แก้] สรุปเหรียญการแข่งขัน
การแข่งขันกีฬาของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย |
กีฬาแชมเปี้ยนแห่งภาคตะวันออกไกล |
มะนิลา 1913 • เซี่ยงไฮ้ 1915 • โตเกียว 1917 • มะนิลา 1919 • เซี่ยงไฮ้ 1921 • โอซากา 1923• มะนิลา 1925• เซี่ยงไฮ้ 1927• โตเกียว 1930 • มะนิลา 1934 • โอซากา 1938 (ยกเลิก) |
เอเชียนเกมส์ |
นิวเดลี 1951 • มะนิลา 1954 • โตเกียว 1958 • จาการ์ตา 1962 • กรุงเทพมหานคร 1966 • กรุงเทพมหานคร 1970 • เตหะราน 1974 • กรุงเทพมหานคร 1978 • นิวเดลี 1982 • โซล 1986 • ปักกิ่ง 1990 • ฮิโรชิมา 1994 • กรุงเทพมหานคร 1998 • ปูซาน 2002 • โดฮา 2006 • กว่างโจว 2010 • อินชอน 2014 |
เอเชียนเกมส์ฤดูหนาว |
ซัปโปะโระ 1986 • ซัปโปะโระ 1990 • ฮาร์บิน 1996 • กังวอน 1999 • อะโอะโมะริ 2003 • ฉางชุน 2007 • อัลมาตี 2011 • 2015 |
เอเชียนอินดอร์เกมส์ |
กรุงเทพมหานคร 2005 • มาเก๊า 2007 • ฮานอย 2009 • 2011 |
เอเชียนบีชเกมส์ |
บาหลี 2008 • มุสแคท 2010 • ไหหยาง 2012 • โบราคาย 2014 |
เอเชียนเกมส์ระดับภูมิภาค |
กีฬาภูมิภาคเอเชียกลาง • กีฬาภูมิภาคเอเชียตะวันออก • กีฬาภูมิภาคเอเชียใต้ • ซีเกมส์ • กีฬาภูมิภาคเอเชียตะวันตก |