เรียงความ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรียงความ คือศิลปะอย่างหนึ่งของการใช้ภาษาเรียบเรียงความคิดให้เป็นเนื้อเรื่อง โดยแสดงความคิด ความรู้สึก จินตนาการ และความเข้าใจ ด้วยภาษาที่ถูกต้อง สละสลวย ดังนั้น ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องศึกษากฎเกณฑ์และฝึกเขียนอยู่เสมอ
ในความหมายที่เฉพาะทางมากขึ้น เรียงความ จะหมายถึงการเขียนที่มีรูปแบบค่อนข้างตายตัว กล่าวคือประกอบด้วย คำนำ เนื้อเรื่อง และบทสรุป ซึ่งแตกต่างจากความเรียงที่มีรูปแบบในการเขียนที่กว้างกว่า ในความหมายนี้ เรียงความที่ดีจะต้องมี
- เอกภาพ คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หมายความว่าไม่ให้เขียนนอกเรื่อง
- สัมพันธภาพ คือ ความสัมพันธ์กัน หมายถึง ข้อความแต่ละข้อความหรือแต่ละย่อหน้าจะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน
- สารัตถภาพ คือ การเน้นสาระสำคัญของย่อหน้าแต่ละย่อหน้า และของเรื่องทั้งหมด โดยใช้ประโยคสั้น ๆ สรุปกินความทั้งหมด
สำหรับโวหารที่ใช้ในการเขียนเรียงความ ได้แก่ บรรยายโวหาร พรรณาโวหาร เทศนาโวหาร อุปมาโวหาร และ สาธกโวหาร
[แก้] เรียงความกับความเรียง
คำสองคำนี้มักถูกใช้สับสนกัน ถ้าพิจารณาในความหมายที่กว้างของเรียงความ ซึ่งหมายถึงกิจกรรมการเรียบเรียงความคิดแล้ว ความเรียงก็จะจัดว่าเป็นเรียงความรูปแบบหนึ่ง ดังที่ฐะปะนีย์ นาครทรรพได้กล่าวไว้ว่า "...ความเรียงนั้นก็คือ เรียงความ อย่างหนึ่งนั่นเอง มีผู้เทียบให้ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Essay"
อย่างไรก็ตาม ถ้ามองในความหมายเฉพาะทางเราจะพบว่าความเรียงนั้นสามารถมีขอบเขต และกลวิธีในการเขียนได้มากกว่า
[แก้] อ้างอิง
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- เรื่องสั้น และเรียงความคืออะไร จากกระปุกแพลนเน็ต
เรียงความ เป็นบทความเกี่ยวกับ ภาษา หรือ ตัวอักษร ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ เรียงความ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ภาษา |