See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
ฮิปฮอป - วิกิพีเดีย

ฮิปฮอป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฮิปฮอป (แร็ป)
แนวเพลงแม่แบบ: จาเมกันแด๊นส์ฮอลล์ การร้องไปตามจังหวะอาร์แอนด์บี ดิสโก้ และ ฟังก์
แหล่งกำเนิดแนวเพลง: ปลายทศวรรษที่ 60/ต้นทศวรรษที่ 70: คิงสตัน, จาเมก้า - ต้นทศวรรษที่ 70 เซาธ์บรองซ์, นิวยอร์ก
เครื่องดนตรี: เทิร์นเทเบิ้ล, การแร็ป, ดรัมแมชชีน, แซมเปลอ, เครื่องสังเคราะห์เสียง, บีทบ็อกซ์
กระแสความนิยม: ตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 80 ในสหรัฐอเมริกา, ได้รับความนิยมทั่วโลกต้นทศวรรษที่ 90 และมียอดขายดีที่สุดต้นศตวรรษที่ 20
แนวเพลงที่ได้รับอิทธิพล: ทริปฮ็อป, กริม
แนวเพลงย่อย
แอบสแตรกต์ - อัลเทอร์เนทีฟ - Chopped and screwed - คริสเตียน - Conscious - ครังก์ - แกงสตา - จี-ฟังก์ - ฮาร์ดคอร์ - ฮอร์เรอร์คอร์ - ไฮฟี - Instrumental - แจ๊สแร็ป - ละตินแร็ป - ม็อบบ - เนิร์ดคอร์ - โอลด์สคูล - ป็อปแร็ป - สแน็ป
แนวเพลงผสม
คันทรีแร็ป - อีเลคโทรฮ็อป - ฟรีสไตล์ - ฮิปเฮาส์ - ฮิปไลฟ์ - เกตโตเทค - ฮิปฮอปโซล - ไมอามีเบส - นีโอโซล - นิวแจ็กสวิง - เรกกา - แร็ปคอร์ - เรกเกตัน - เออร์เบิร์น พาซิฟิกา

ฮิป ฮอป (Hip Hop) (อาจเขียนเป็น ฮิป-ฮอป (Hip-hop) หรือ ฮิปฮอป (Hiphop)) มีความหมายถึงในด้านดนตรีแนวฮิปฮอป ที่เป็นที่นิยมสำหรับวัยรุ่นอเมริกาและทั่วโลก จนถูกยกระดับให้เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งมีรากฐานการพัฒนามาจากชาวแอฟริกัน-อเมริกัน และ ชาวละติน โดยในช่วงยุค 70' หลังจากที่ดนตรีดิสโก้ที่พัฒนามาจาก แนวเพลงฟังค์ ในแบบของโมทาวน์ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทำให้มีการเปิดแผ่นเพลงในคลับต่าง ๆ และด้วยการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี เกิดการสร้าง loop, beat ใหม่ ๆ ขึ้นมา ดนตรีฮิปฮอป จึงถือกำเนิดขึ้น

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

คำว่า ฮิปฮอป มักถูกยกเครดิตให้กับ Keith Cowboy แร็ปเปอร์วง Grandmaster Flash & The Furious Five ถึงแม้ว่าในยุคนั้นศิลปินอย่าง LoveBug Starski, Keith Cowboy, และ DJ Hollywood จะถูกเรียกในนามของ "Disco Rap" แต่เครดิตก็มักยกให้กับ Keith Cowboy

ในช่วงยุค 70' เมื่อวัยรุ่นในย่านละแวกใกล้เคียงต้องการจะจัดงานปาร์ตี้ รื่นเริง (block party) ดนตรีฮิปฮอปจึงได้รับการแพร่ขยายเป็นที่รู้จัก ซึ่งฮิปฮอปก็ไม่ได้ถูกจำกัดแค่ว่าเป็นแนวดนตรีชนิดหนึ่งอีกต่อไป แต่ยังได้รับการยกระดับให้เป็น วัฒนธรรมอย่างหนึ่งด้วย โดย วัฒนธรรมฮิปฮอปจะเกิดขึ้นได้โดยต้องมีปัจจัย 4 อย่าง คือ

  • กราฟฟิตี (graffiti) เป็นการเพนท์ พ่น กำแพง ความหมายเพื่อการเชื้อเชิญ แขก หรือสาว ๆ ในละแวกนั้นว่า งานปาร์ตี้เริ่มที่ไหนเมื่อไหร่
  • ดีเจ (DJ) ซึ่งมาจากคำว่า disc jockey ทำหน้าที่เป็นผู้เปิดแผ่นเพลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในงานปาร์ตี้
  • บี-บอย (B-Boy) - เป็นกลุ่มคนที่มาเต้นในช่วงระหว่างที่ดีเจกำลังเซ็ทแผ่นเพลง เพื่อเป็นการคั่นเวลา ซึ่งลักษณะการเต้น เราจะเรียกว่าเบรกแดนซ์ (break dance)
  • เอ็มซี (MC) เป็นแร็ปเปอร์ซึ่งหลังจากที่ ดีเจ เซ็ทแผ่นเรียบร้อยแล้ว MC จะทำหน้าที่ดำเนินงาน และงานปาร์ตี้ก็ได้เริ่มขึ้น
DJ Grandmaster Flash ดีเจฮิปฮอปที่มีชื่อเสียง
DJ Grandmaster Flash ดีเจฮิปฮอปที่มีชื่อเสียง
บี-บอย ในงานเอ็มทีวี สตรีท เฟสติวัล
บี-บอย ในงานเอ็มทีวี สตรีท เฟสติวัล
กราฟฟิตี หนึ่งในองค์ประกอบของฮิปฮอป
กราฟฟิตี หนึ่งในองค์ประกอบของฮิปฮอป

ตอนต้นยุค 70s เริ่มจากดีเจในสมัยนั้นที่เป็นส่วนในการเล่นดนตรีแนวเบรก-บีท (break-beat) ซึ่งเป็นที่นิยมในการเต้นรำในสมัยนั้น DJ Kool Herc และ Grandmaster Flash ได้แยกการดีเจออกมาโดยเน้นเพื่อให้เป็นการเต้นรำได้ตลอดทั้งคืน เบรก-บีทนั้นก็พัฒนามาจากเพลงฟังก์ที่มีพวกเครื่องเล่นเพอร์คัชชันเล่นอยู่ด้วย และนี่ก็เป็นการพัฒนาของดีเจ รวมถึงคัตติง (cutting) ด้วย

การแร็ปนั้น พวก MC ตอนแรกจะพูดเพื่อโปรโมทให้ดีเจในงานปาร์ตี้ต่าง ๆ แต่เริ่มมีการพัฒนาโดยการใส่เนื้อร้องลงไป โดยเนื้อหาอาจจะเกี่ยวกับชีวิต เรื่องรอบตัว ยาเสพติด เซ็กส์ โดย Melle Mel มักถูกยกเครดิตว่าเป็น MC คนแรก

ปลายยุค 70s ดีเจหลายคนได้ออกแผ่น โดยมีการแร็ปลงจังหวะเพลง เพลงที่ดัง ๆ มีอย่าง "Supperrappin" ของ Grandmaster Flash & The Furious Five, "The Breaks" ของ Kurtis Blow และ "Rapper's Delight" ของ The Sugar Hill Gang เป็นต้น

จนกระทั่งในปี 1983 ฮิปฮิอปถูกย้ำให้ชัดเจนขึ้นเมื่อ Afrika Bambaataa and the Soulsonic Force ได้ออกแผ่นที่ชื่อว่า "Planet Rock" แทนที่จะเป็นการแร็ปในจังหวะดิสโก้ Bambaataa ได้ใช้เสียงอีเลคโทรนิกแบบใหม่ขึ้นมาแทน โดยเทคโนโลยีซินธิไซเซอร์สมัยนั้น จนกระทั่ง ฮิปฮอปเข้าสู่กระแสหลัก เป็นที่นิยมอย่างมากในยุค 90s ซึ่งในปัจจุบันมีศิลปินแนวฮิปฮอปอยู่จำนวนมาก

[แก้] รายชื่อศิลปินแนวฮิปฮอป ระดับต้น ๆ [1]

  • Afrika Bambaataa
  • Beastie Boys
  • Kurtis Blow
  • Boogie Down Productions
  • Busta Rhymes
  • De La Soul
  • Eric B. & Rakim
  • The Fugees
  • Grandmaster Flash
  • KRS-One
  • LL Cool J
  • Marley Marl
  • The Notorious B.I.G.
  • Public Enemy
  • Run-D.M.C.
  • N.W.A.
  • Dr. Dre
  • Ice Cube
  • 2Pac
  • Nas

[แก้] ฮิปฮอปในประเทศไทย

ในประเทศไทยแนวฮิปฮอปยังไม่ได้อยู่ในกระแสหลัก มีศิลปินบุกเบิกอย่าง โจอี้บอย ก้านคอคลับ และเพื่อนที่แยกกันออกทำงาน อย่าง ขันเงิน ไทยเทเนี่ยม

[แก้] รายชื่อศิลปินแนวฮิปฮอปในประเทศไทย

  • โจอี้ บอย (Joey Boy)
  • ไทยเทเนี่ยม (Thaitanium)
  • ดาจิม (Dajim)
  • ที (บี เอ็ม ที) ผู้บุกเบิกฮิปฮอปของไทย หนึ่งในกลุ่ม aacrew ที่เคยเป็นดูโอคู่กับขันในชื่อ ขันที ที่ทำอัลบั้มเดี่ยว โดยมีศิลปิน aj เป็นโปรดิวเซอร์ และออกอัลบั้มอีกครั้งในปี 2550 กับ เจ เจตริน
  • สิงห์เหนือ เสือใต้
  • บี-คิง (B-King) ในยุคหนึ่ง 2547-2549 เป็น ผู้เชี่ยวชาญการแร็ปสด และ แร็ปในสไตล์ เร็กเก้ ฮิปฮอป คล้ายโจอี้บอย เข้าวงการฮิปฮอปโดยการประกวดร้องเพลงแร็พของค่ายก้านคอคลับ และได้เข้าร่วมออกอัลบั้มรวมเพลงใต้ดิน และออกอัลบั้มกับค่ายอาร์เอส โปรโมชั่น มีเพลงเด่น คือ แช่ง และ oh no! และมีอัลบั้มที่ 2 ในปีถัดมา ปัจจุบันแยกตัวออกมาทำซิงเกิ้ล โดยมี ขันเงิน ไทเทเนี่ยม ทำดนตรีให้
  • Du Ja Da สองเพื่อนรักที่มีอายุเป็นรุ่นเดียวกับโจอี้บอยและไทเทเนี่ยม และเป็นผู้นิยมสเก็ตบอร์ด ออกอัลบั้ม t-hop กับค่ายเบเกอรี่ และมาออกอัลบั้มเต็ม กับ Sony Thai
  • Asian Embassy มีสมาชิกชื่อ Turbo - El nono ปี 2005 ออกอัลบั้มในค่ายโซนีมิวสิก ซึ่งเคยทำอัลบั้มรวมศิลปิน หรือ compilation ชื่ออัลบั้ม wtf1 ของค่าย ปลิ้นเรคคอร์ด 2547 โดยมี ไฟไฟ เป็นโปรดิวเซอร์ของอัลบั้ม wtf1 ปัจจุบัน Turbo ยังคงทำเพลงในนาม Asian Embassy ส่วน El nono ได้ยินเสียงของเขาล่าสุดในอัลบั้ม One Love ของ Tata Young และอัลบั้มใหม่ของ Asian Embassy ที่จะออกปลายปี 2551
  • Silksounds
  • Rastafari ศิลปินฮิปฮอป - เร็กเก้ ในสังกัดของไทเทเนี่ยม กำลังจะมีผลงานในปี 2551
  • Southside Phuket ศิลปินในสังกัดของไทเทเนี่ยม มีผลงานออกมาแล้ว 2 ชุด เพลงเด่น ๆ คือ ต่อยกับเพื่อนกุมั้ย
  • PsyCho & Lil’Mario ไซโค - ลิล มาริโอ้ เป็นศิลปินในค่าย NYU โดยการนำของ ดีเจ ดิ๊ก อิท ออล โปรดิวเซอร์คู่บุญของดาจิม ไซโคเคยอยู่วง Pheonic13th (อ่านว่า ฟีนิคเทอทีน) ซึ่งเคยทำอัลบั้ม รวมศิลปินชื่ออัลบั้ม wtf1 ของค่าย ปลิ้นเรคคอร์ด ลิล มาริโอ้ เป็นนักแสดงจากภาพยนตร์เรื่อง รักแห่งสยาม ที่ออกฉายในปี 2550
  • 038 family วงที่มีการรวมตัวกันในภาคตะวันออก รวม mc ฝีปากจัด มาทำอัลบัมแนว gangster มีผลงานเด่น ๆ ออกมา 2 ชุด ในปี 2550 และ 2551
  • nmc
  • newschool

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -