See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
อำเภอพรหมบุรี - วิกิพีเดีย

อำเภอพรหมบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อำเภอพรหมบุรี
แผนที่จังหวัดสิงห์บุรี เน้นอำเภอพรหมบุรี
ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทย อำเภอพรหมบุรี
อักษรโรมัน Amphoe Phrom Buri
จังหวัด สิงห์บุรี
รหัสทางภูมิศาสตร์ 1704
รหัสไปรษณีย์ 16120
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 82.505 ตร.กม.
ประชากร 24,324 คน (พ.ศ. 2549)
ความหนาแน่น 295 คน/ตร.กม.
ที่ว่าการอำเภอ
พิกัด 14°47′28″N, 100°27′13″E

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

พรหมบุรี เป็นอำเภอหนึ่ง ใน 6 อำเภอของจังหวัดสิงห์บุรี

คำขวัญจังหวัด ถิ่นวีรชนคนกล้า คู่หล้าพระนอน นามกระฉ่อนช่อนแม่ลา เทศกาลกินปลาประจำปี
คำขวัญอำเภอ ประเพณีกำฟ้า หัวป่าต้นตำรับอาหารไทยรสเด็ด คูค่ายเป็นเพชรประวัติศาสตร์ นารีพิลาศ สาวบ้านแป้ง
ที่ว่าการอำเภอ หมู่ที่ 3 ตำบลบางน้ำเชี่ยว อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี 16120 หมายเลขโทรศัพท์ 0 3659 9444

เนื้อหา

[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอพรหมบุรีตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

[แก้] การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอพรหมบุรีแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวม 42 หมู่บ้าน ได้แก่

  1. พระงาม (Phra Ngam)
  2. พรหมบุรี (Phrom Buri)
  3. บางน้ำเชี่ยว (Bang Nam Chiao)
  4. บ้านหม้อ (Ban Mo)
  1. บ้านแป้ง (Ban Paeng)
  2. หัวป่า (Hua Pa)
  3. โรงช้าง (Rong Chang)

[แก้] การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอพรหมบุรีประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลปากบาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพรหมบุรีทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบางน้ำเชี่ยว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางน้ำเชี่ยวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพระงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพระงามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านหม้อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแป้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแป้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโรงช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโรงช้างและตำบลหัวป่าทั้งตำบล

[แก้] เศรษฐกิจ

  • 1. อาชีพหลัก ได้แก่
    • 1.1 เกษตรกรรม
    • 1.2 รับจ้าง
  • 2.อาชีพเสริม ได้แก่
    • 2.1 กลุ่มแปรรูปผลิตผลการเกษตร
    • 2.2 ทำที่นอน หมอนหนุน หมอนข้าง
    • 2.3 ทำขนมหวาน ข้าวหลาม
  • 3.จำนวนธนาคาร มี 1 แห่ง ได้แก่

[แก้] สถานที่สำคัญ

สถานที่สำคัญ ๆ ในอำเภอได้แก่

[แก้] คูค่ายพม่า

คูค่ายพม่า ตั้งอยู่บริเวณวัดหลังคู หรือบ้านเจดีย์หัก หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านแป้ง อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ลักษณะเป็นเนินดินยาว รูปร่างคล้ายตัว L กว้างประมาณ 5-15 เมตร ยาวประมาณ 3 เมตร ส่วนหนึ่งของแนวค่ายมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ตัดผ่าน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา หลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า พม่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2127 เมื่อครั้งพระเจ้าเชียงใหม่ยกทัพมาที่เมืองชัยนาท และให้กองทัพหน้าลงมาตั้งค่ายที่ปากน้ำบางพุทรา แขวงเมืองพรหม โดยจะมาสมทบกับเจ้าเมืองพะสิมซึ่งยกมาทางด่านเจดีย์สามองค์ เพื่อรวมกำลังกันเข้าตีกรุงศรีอยุธยา กองทัพไทยได้ต่อสู้จนกองทัพพม่าที่ปากน้ำบางพุทราต้องถอยร่นไปที่เมืองชัยนาท พระเจ้าเชียงใหม่จึงได้โปรดถอยทัพกลับ และทิ้งร่องรอยคูค่ายให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ปัจจุบันได้ปรับปรุงให้เป็นสวนสาธารณะสำหรับผักผ่อนหย่อนใจของประชาชน

[แก้] วัดกุฏีทอง

วัดกุฎีทอง หมู่ที่ 3 ตำบลบางน้ำเชี่ยว อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ภายในวัดมีมณฑป ลักษณะเหมือนเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้บนยอด ภายในเป็นที่ประดิษฐรอยพระพุทธบาทจำลอง นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วิถีชีวิต ประเพณีวัฒธรรมชาวไทยพวน ซึ่งเป็นสถานที่เก็บรักษาจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ชาวไทยพวน เครื่องมือจับปลา เสื้อผ้า เครื่องประดับ ยวดยานพาหนะ ฯลฯ งานประเพณีต่าง ๆ ของชาวไทยพวนจะจัดขึ้นที่วัดกุฎีทองแห่งนี้

[แก้] วัดอัมพวัน

วัดอัมพวัน เป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก สภาพทั่วไปนั้นมีต้นไม้ประมาณ 300 ต้น เป็นไม้ดอกไม้ใบที่ปลูกใหม่ เดิมสภาพพื้นที่จะเป็นที่ที่น้ำท่วมถึง มาบัดนี้ทางวัดได้ทำถนนและคูกั้นน้ำ จึงสามารถป้องกันน้ำไว้ได้ จึงได้มีการปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น

หลักฐานการตั้งวัด จากการสำรวจทางราชการประมาณกาลตั้งแต่ พ.ศ. 2175 การสร้างอุโบสถ ผูกพัทธสีมามาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อรัชกาลที่ 3 ครั้งที่ 2 นี้ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 กว้าง 40 เมตร ยาว 70 เมตร และได้ผูกพัทธสีมา วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2513

ประวัติความเป็นมาของวัด วัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นชื่อเดิมมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา ศิลาจารึกในอุโบสถหลังเก่าจารึกเป็นภาษาจีนว่า คนจีนได้สร้างอุโบสถวัดอัมพวัน สมัยเหม็งเชี้ยว คนจีนได้นำเรือกำปั่นมาทำการค้าขายกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมืองลพบุรี มากับฝรั่งชาติฮอลันดา จอดหน้าวัดอัมพวัน ได้สร้างโบสถ์วัดอัมพวัน สมัยเจ้าอาวาสวัดอัมพวันชื่อ พระครูญาณสังวร อายุ 99 ปี สร้างโบสถ์เสร็จแล้ว ฝรั่งเพื่อนคนจีนได้ขอพระราชทาน พระหน้าปรกหินทั้งสององค์จากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ให้คนจีนเอาไว้ในโบสถ์ จนถึงการสร้างโบสถ์หลังใหม่มาจนถึงทุกวันนี้

อุโบสถหลังเก่าได้ชำรุดและพังลง เมื่อวันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 251 ตรงกับวันแรม 7 ค่ำเดือน 3 ปีจอ เวลา 09.45 น. ได้รื้อถอนเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 251 ตรงกับแรม 7 ค่ำ เดือน 12 เวลา 10.00 น. ด้วยแรงชาวบ้านและรถยกของ ป.พัน 101 มาช่วยกันรื้ออุโบสถ เสร็จเรียบร้อยภายใน 4 วัน

เริ่มก่อสร้างอุโบสถ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 วางศิลาฤกษ์ 14-15 มีนาคม พ.ศ. 2512 สร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2513 รวมเวลาการก่อสร้าง 1 ปี 4 เดือน 15 วัน ผูกพัทธสีมาวันที่ 8-12 เมษายน พ.ศ. 2513

วัดนี้เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ตามลำดับ มาถึง พ.ศ. 2513 กรมการศาสนาได้ยกย่องให้เกียรติ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างมาจนบัดนี้

[แก้] ประเพณีกำฟ้า

ประเพณีกำฟ้าเป็นงานบุญพื้นบ้านของชาวไทยพวนที่บ้านน้ำเชี่ยว และหมู่บ้านโภคาวิวัฒน์ อำเภอพรหมบุรี จัดขึ้นเพื่อเป็นการบูชาระลึกถึงเทพยดา ผู้รักษาฟากฟ้าและบันดาลฝนตกต้องตามฤดูกาล ถือเอาวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันสุกดิบ พิธีกรรมจะกระทำเช่นเดียวกับประเพณีกำฟ้าของชาวไทยพวน จังหวัดลพบุรี และจังหวัดอื่น ๆ


อำเภอในจังหวัดสิงห์บุรี ตราประจำจังหวัดสิงห์บุรี
อำเภอ: เมืองสิงห์บุรี - บางระจัน - ค่ายบางระจัน - พรหมบุรี - ท่าช้าง - อินทร์บุรี
อำเภอพรหมบุรี เป็นบทความเกี่ยวกับ จังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ อำเภอพรหมบุรี ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย
ภาษาอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -