หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
-
บทความนี้เกี่ยวกับนามปากกาของ ม.ล.ปิ่น มาลากุล สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ปิ่นหทัย (แก้ความกำกวม)
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล | |
|
|
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2500 – พ.ศ. 2512 |
|
สมัยก่อนหน้า | พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ |
---|---|
สมัยถัดไป | นายสุกิจ นิมมานเหมินท์ |
|
|
ดำรงตำแหน่ง 21 กันยายน พ.ศ. 2500 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 |
|
สมัยก่อนหน้า | พลเรือเอก หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ศาสตระรุจิ) |
สมัยถัดไป | นางอุไรวรรณ เทียนทอง |
|
|
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2480 – พ.ศ. 2487 |
|
สมัยก่อนหน้า | ไม่มี |
สมัยถัดไป | นายสนั่น สุมิตร |
|
|
เกิด | 24 ตุลาคม พ.ศ. 2446 บ้านถนนอัษฎางค์ กรุงเทพมหานคร |
ถึงแก่อสัญกรรม | 5 ตุลาคม พ.ศ. 2538 (91 ปี) |
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล (24 ตุลาคม พ.ศ. 2446 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2538) บุคคลสำคัญของโลกและศิลปินแห่งชาติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและผู้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติ
หม่อมหลวงปิ่นเกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2446 ณ บ้านถนนอัษฎางค์ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 6 ใน 13 คน ของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) และท่านผู้หญิงเสงี่ยม พระเสด็จสุเรนทราธิบดี (เสงี่ยม มาลากุล ณ อยุธยา (นามสกุลเดิม วสันตสิงห์)) ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งสิ้น 8 คน ได้แก่
- หม่อมหลวงปก มาลากุล
- หม่อมหลวงปอง เทวกุล (สมรสกับหม่อมเจ้าสุรวุฒิประวัติ เทวกุล)
- หม่อมหลวงเปนศรี มาลากุล
- หม่อมหลวงปนศักดิ์ มาลากุล
- หม่อมหลวงป้อง มาลากุล
- หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
- หม่อมหลวงเปี่ยมสิน มาลากุล
- หม่อมหลวงปานตา วสันตสิงห์ (สมรสกับนายเมืองเริง วสันตสิงห์)
[แก้] ประวัติการศึกษา
ปี พ.ศ. 2450 เมื่อหม่อมหลวงปิ่นมีอายุได้ 4 ขวบ ท่านได้เริ่มเรียนหนังสือที่บ้านกับครูแฉล้ม (แฉล้ม คุปตารักษ์) ต่อมาได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมัธยมราชบูรณะ (ปัจจุบันคือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย) และต่อมาในปี พ.ศ. 2457 หม่อมหลวงปิ่นก็เข้าศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง
ในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นนักเรียนมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง ไม่ได้เรียนที่โรงเรียนอีก แต่ปลายปีนั้นก็ยังคงมาสอบไล่และสามารถสอบผ่านชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งทำให้เลื่อนไปเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แต่ก็ไม่ได้มาเรียนหรือมาสอบอีกเลย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ได้รับทุนของกระทรวงธรรมการ จึงออกไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ โดยไปเข้าเรียนที่ The School of Oriental and African Studies, University of London (SOAS) หรือวิทยาลัยบูรพศึกษาและอาฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน และได้รับประกาศนียบัตรวิชาภาษาและวรรณคดีบาลีและสันสกฤต แล้วได้ย้ายไปศึกษาต่อที่คณะบูรพคดีศึกษา (Faculty of Oriental Studies) สถาบันตะวันออกของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประสบความสำเร็จโดยได้ปริญญาตรี (B.A.) เกียรตินิยมสาขาบูรพคดีศึกษา (Oriental Studies) วิชาเอกภาษาบาลีและสันสกฤต ในปี พ.ศ. 2471
ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทจนสำเร็จการศึกษา ได้รับปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต (M.A.) ระหว่างที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ท่านสังกัดวิทยาลัยบเร๊สโนส (Brasenose College) และในปี พ.ศ. 2498 ท่านก็ได้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นแรก)
[แก้] รับราชการ
ในปีพ.ศ. 2455 ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กที่พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมาได้เป็นอาจารย์ประจำกองแบบเรียนกรมวิชาการ อาจารย์พิเศษคณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปีพ.ศ. 2474 ในปีพ.ศ. 2475 เป็นอาจารย์โท อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังได้เป็นหัวหน้าแผนกฝึกหัดครูมัธยม คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนมัธยมหอวังในปีพ.ศ. 2477 อีกด้วย
หม่อมหลวงปิ่นได้เป็นอาจารย์เอก อันดับ 1 และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2480 5 ปีต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมสามัญศึกษาอีกตำแหน่งหนึ่งอีกด้วย ในปี พ.ศ. 2487 ท่านได้พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและเป็นที่ปรึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและทำงานในหน้าที่เลขาธิการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในปี พ.ศ. 2489 ท่านดำรงตำแหน่งเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และในปี พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2496 ท่านได้เป็นรักษาการอธิบดีกรมวิชาการ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2497 ได้เป็นรักษาการอธิบดีกรมการฝึกหัดครู รักษาการอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา ศาสตราจารย์พิเศษในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2500 ถึง 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่พ.ศ. 2500 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นเวลายาวนานถึง 12 ปีเศษ
[แก้] การก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาขึ้น เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2480 โดยนักเรียนเริ่มเรียนในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2481 โดยมี ฯพณฯ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียน ในปีแรกๆ โรงเรียนได้เจริญขึ้นเป็นลำดับ เช่น ทางด้านวิชาการมีผลเป็นที่น่าพอใจ การสร้างตึก 2 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2482 และต่อมาได้สร้างตึก 3 ไปจนจดถนนอังรีดูนังต์ ในเวลานี้นอกจากผลงานทางด้านวิชาการจะเป็นที่น่าพอใจแล้ว นักเรียนยังได้แสดงความสามารถในการเล่นกีฬาต่างๆ ที่หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้นำเข้ามาในโรงเรียน เช่น ฮอกกี้ รักบี้ และฟุตบอล เข้าเกณฑ์ที่กล่าวได้ว่า "เรียนก็เด่น เล่นก็ดี กีฬาเลิศ"
นอกจากนี้หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ยังมีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ในการดำเนินการศึกษา ให้แก่นักเรียนเตรียมอุดมศึกษา ด้วยเล่งเห็นว่า โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนที่มุ่งเตรียมเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา จึงจัดสหศึกษาของวัยรุ่นด้วยความรอบคอบระมัดระวัง โดยการเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ ควบคู่คุณธรรมดังที่ท่านเคยกล่าวไว้ว่า
" อันอำนาจใดใดในโลกนี้
ไม่เห็นมีเปรียบปานการศึกษา
สร้างคนหาค่ามิได้ในโลกา
ขึ้นจากผู้ที่หาค่าไม่มีฯ "
" อันตึกงามกับสนามกว้างสร้างขึ้นได้
มีเงินหยิบโยนให้ก็เสร็จสรรพ์
แต่งามจิตใจกว้างนั้นต่างกัน
การอบรมเท่านั้นเป็นปัจจัยฯ "
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้วางระเบียบและข้อปฏิบัติงานไว้อย่างเหมาะสม นับเป็นประโยชน์แก่การศึกษา เป็นอย่างดียิ่ง เช่น
- มีแผนทะเบียนเป้นศูนย์กลางขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการประสานงานฝ่ายวิชาการและ การปกครอง
- จัดทำทะเบียนประวัติย่อของนักเรียนที่เข้าเรียนแต่ปีแรก
- มีสถิติการเรียนและการสอบต่างๆ บันทึกไว้เพื่อให้ทราบพฤติกรรมของนักเรียน
- วางระเบียบให้มีรางวัลคะแนนรวมให้แก่นักเรียนที่ได้คะแนนยอดเยี่ยม
- มีการจารึกนามนักเรียนที่ได้คะแนนยอดเยี่ยมไว้ที่แผ่นเกียรติยศการศึกษาเป็นตัวอักษรสีทอง ไว้ในห้องประชุมของโรงเรียน (ปัจจุบันคือห้อง 111 ตึก 2)
- นอกจากนี้ท่านยังได้คิดการแข่งขันกีฬา ให้เฉพาะโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเรียกว่า การแข่งขันวิ่งสามสระ เป็นกีฬาที่หญิงชายเล่นร่วมกันได้
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้ยื่นใบลาออกจากการเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแก่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อราวเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2487 ดังนี้
[แก้] ชีวิตสมรส
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลสมรสกับท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา (นามสกุลเดิม ไกรฤกษ์) แต่ไม่มีบุตรธิดา
[แก้] บั้นปลายชีวิต
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2538 สิริอายุได้ 91 ปี 11 เดือน 11 วัน และเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ท่านได้รับการประกาศเชิดชูเกียรติจากองค์การยูเนสโกยกย่องท่านเป็น "นักการศึกษาดีเด่นของโลก ในสาขาวรรณกรรมและสื่อสาร" ถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวเตรียมอุดมทุกคน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา อันเชิญรูปปั้น ฯพณฯ ศ.หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล จากหอวชิราวุธานุสรณ์ มาประดิษฐาน ห้อง 57 ตึก 1 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2545
ในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นวาระครบรอบ 100 ปีของ ฯพณฯ ศ. ม.ล. ปิ่น มาลากุล โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาจึงดำริที่จะจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระคุณของท่าน นับแต่นี้ต่อไปก็จะมีเพียงการสานต่อแนวความคิดของ ฯพณฯ ให้ปรากฏเป็นผลสมเจตจำนง อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อประโยชน์ของเยาวชน และสังคมไทยตลอดไป
[แก้] อ้างอิง
สมัยก่อนหน้า | หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล | สมัยถัดไป | |||
---|---|---|---|---|---|
พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ |
|
นายสุกิจ นิมมานเหมินท์ | |||
พลเรือเอก หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ศาสตระรุจิ) |
|
นางอุไรวรรณ เทียนทอง | |||
ไม่มี |
|
สนั่น สุมิตร |
|
||
---|---|---|
เสนาบดี กระทรวงธรรมการ |
||
รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงธรรมการ |
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี · พระยาพหลพลพยุหเสนา · พระสารสาสน์ประพันธ์ · สินธุ์ กมลนาวิน |
|
รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ |
แปลก พิบูลสงคราม · ประยูร ภมรมนตรี · ทวี บุณยเกตุ · พระตีรณสารวิศวกรรม · เดือน บุนนาค · พระยาศราภัยพิพัฒ · เสนีย์ ปราโมช · มังกร พรหมโยธี · สวัสดิ์ ส. สวัสดิเกียรติ · เลียง ไชยกาล · มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ · ปิ่น มาลากุล · สุกิจ นิมมานเหมินท์ · อภัย จันทวิมล · เกรียง กีรติกร · ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ · นิพนธ์ ศศิธร · ประชุม รัตนเพียร · ศิริ สิริโยธิน · ภิญโญ สาธร · บุญสม มาร์ติน · สิปปนนท์ เกตุทัต · เกษม ศิริสัมพันธ์ · ชวน หลีกภัย · มารุต บุนนาค · มานะ รัตนโกเศศ · เทียนชัย สิริสัมพันธ์ · สมบุญ ระหงษ์ · สัมพันธ์ ทองสมัคร · สุขวิช รังสิตพล · ชิงชัย มงคลธรรม · ชุมพล ศิลปอาชา · ปัญจะ เกสรทอง · สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล · เกษม วัฒนชัย · ทักษิณ ชินวัตร · สุวิทย์ คุณกิตติ · ปองพล อดิเรกสาร · อดิศัย โพธารามิก · จาตุรนต์ ฉายแสง · วิจิตร ศรีสอ้าน · สมชาย วงศ์สวัสดิ์ |
|
||
---|---|---|
2495-2501 |
แปลก พิบูลสงคราม· หลวงสุนาวินวิวัฒ · หลวงยุทธศาสตร์โกศล · หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล |
|
2545-ปัจจุบัน |
อุไรวรรณ เทียนทอง · อนุรักษ์ จุรีมาศ · ไขศรี ศรีอรุณ · อนุสรณ์ วงศ์วรรณ |
|
|
---|---|
ทัศนศิลป์ |
(2528) เฟื้อ หริพิทักษ์ · (2529) คำหมา แสงงาม · ประสงค์ ปัทมานุช · ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ · แสงดา บันสิทธิ์ · เห้ง โสภาพงศ์ · (2530) ชิต เหรียญประชา · โหมด ว่องสวัสดิ์ · พยอม สีนะวัฒน์ · (2531) เฉลิม นาคีรักษ์ · พูน เกษจำรัส · พิมาน มูลประมุข · (2532) สนิท ดิษฐพันธุ์ · (2533) ทวี นันทขว้าง · (2534) สวัสดิ์ ตันติสุข · (2535) ประยูร อุลุชาฎะ (น. ณ ปากน้ำ) · (2536) พินิจ สุวรรณะบุณย์ · (2538) จิตต์ จงมั่นคง · (2539) ชำเรือง วิเชียรเขตต์ · (2540) กมล ทัศนาญชลี · (2541) ประหยัด พงษ์ดำ · ชลูด นิ่มเสมอ · (2542) ดำรง วงศ์อุปราช · อินสนธิ์ วงศ์สาม · มานิตย์ ภู่อารีย์ · (2543) จักรพันธุ์ โปษยกฤต · (2544) ถวัลย์ ดัชนี · (2545) ประกิต บัวบุศย์ · (2546) พิชัย นิรันต์ · (2547) ไพบูลย์ มุสิกโปดก · สันต์ สารากรบริรักษ์ · (2548) ทวี รัชนีกร · ประเทือง เอมเจริญ · (2549) เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ · นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน · สมถวิล อุรัสยะนันทน์ · (2550) เดชา วราชุน · ยรรยง โอฬาระชิน · |
ทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) |
(2529) สมภพ ภิรมย์ · (2530) มิตรารุณ เกษมศรี · (2532) ประเวศ ลิมปรังษี · (2537) ภิญโญ สุวรรณคีรี · (2541) อาวุธ เงินชูกลิ่น · สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา · (2543) ฤทัย ใจจงรัก · (2544) ประดิษฐ์ ยุวพุกกะ · (2545) นิธิ สถาปิตานนท์ · (2546) วนิดา พึ่งสุนทร · (2547) จุลทัศน์ กิติบุตร · (2548) เดชา บุญค้ำ · (2550) กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา · |
ศิลปะการแสดง |
(2528) มนตรี ตราโมท · แผ้ว สนิทวงศ์เสนี · (2529) ทองมาก จันทะลือ · กั้น ทองหล่อ · ไพฑูรย์ กิตติวรรณ · เฉลิม บัวทั่ง · เปลื้อง ฉายรัศมี · ชูศรี สกุลแก้ว · ท้วม ประสิทธิกุล · ทองหล่อ ทำเลทอง · พวงร้อย อภัยวงศ์ · เจียร จารุจรณ · (2530) ยก ชูบัว · ชิ้น ศิลปบรรเลง · วิจิตร คุณาวุฒิ · เจริญใจ สุนทรวาทิน · เฉลย ศุขะวณิช · ไชยลังกา เครือเสน · (2531) หวังดี นิมา · ประสิทธิ์ ถาวร · บุญยงค์ เกตุคง · เสรี หวังในธรรม · จำเรียง พุธประดับ · กรี วรศะริน · สมาน กาญจนะผลิน · สง่า อารัมภีร · (2532) ฉิ้น อรมุต · สวลี ผกาพันธุ์ · ประสิทธิ์ พยอมยงค์ · ประเวศ กุมุท · หยัด ช้างทอง · (2533) สุเทพ วงศ์กำแหง · สุวรรณี ชลานุเคราะห์ · บัวผัน จันทร์ศรี · สมชาย อาสนจินดา · (2534) พยงค์ มุกดา · เพ็ญศรี พุ่มชูศรี · เคน ดาเหลา · บุญยัง เกตุคง · (2535) จูเลี่ยม กิ่งทอง · ผ่องศรี วรนุช · คำ กาไวย์ · ส่องชาติ ชื่นศิริ · แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ · (2536) ขาเดร์ แวเด็ง · ชาลี อินทรวิจิตร · ฉวีวรรณ ดำเนิน · สุดจิตต์ อนันตกุล · จำเนียร ศรีไทยพันธุ์ · (2537) ประยูร ยมเยี่ยม · อัศนี ปราโมช · (2538) ชาย เมืองสิงห์ · เปรื่อง ชื่นประโยชน์ · คำผาย นุปิง · สร้อย ดำแจ่ม · แจ้ง คล้ายสีทอง · สวง ทรัพย์สำรวย · อำนวย กลัสนิมิ · (2539) ขวัญจิต ศรีประจันต์ · จันทร์สม สายธารา · รวงทอง ทองลั่นธม · พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ · สมควร กระจ่างศาสตร์ · บุญเลิศ นาจพินิจ · สาคร ยังเขียวสด · ใหญ่ วิเศษพลกรัง · (2540) อิ่ม จิตภักดี · พินิจ ฉายสุวรรณ · มาลัยวัลย์ บุณยะรัตเวช · ไวพจน์ เพชรสุพรรณ · สมพงษ์ พงษ์มิตร · สุรพล โทณะวณิก · บุญเพ็ง ไฝผิวชัย · (2541) ศิริวัฒน์ ดิษยนันทน์ · ชัยชนะ บุญนะโชติ · ชรินทร์ นันทนาคร · เบ็ญจรงค์ ธนโกเศศ · ปิยะพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา · จุรี โอศิริ · ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง · เจ้าเครือแก้ว ณ เชียงใหม่ · (2542) ชินกร ไกรลาศ · ชลธี ธารทอง · มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา · แท้ ประกาศวุฒิสาร · สัมพันธ์ พันธุ์มณี · เชื้อ ดนตรีรส · สมพันธ์ โชตนา · สัมพันธ์ พันธุ์มณี · (2543)มงคล แสงสว่าง · (2544) หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล · (2545) จิรัส อาจณรงค์ · (2546) พร้อม บุญฤทธิ์ · (2547) ไพรัช สังวริบุตร · จินตนา สุขสถิตย์ · ราฆพ โพธิเวส · (2548) วิเชียร คำเจริญ · ฉลาด ส่งเสริม · มานพ ยาระณะ · สำราญ เกิดผล · ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ · (2549) กาหลง พึ่งทองคำ · เกียรติพงศ์ กาญจนภี · สุชาติ ทรัพย์สิน · (2550) ชาญ บัวบังศร · นครินทร์ ชาทอง · |
วรรณศิลป์ |
(2528) คึกฤทธิ์ ปราโมช · (2529) กัณหา เคียงศิริ · อบ ไชยวสุ · (2530) ปิ่น มาลากุล · (2531) สุกัญญา ชลศึกษ์ · (2532) อังคาร กัลยาณพงศ์ · (2533) ศักดิชัย บำรุงพงศ์ · (2534) อาจินต์ ปัญจพรรค์ · สุวัฒน์ วรดิลก · (2535) คำสิงห์ ศรีนอก · (2536) เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ · ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา · (2538) รงค์ วงษ์สวรรค์ · ทวีป วรดิลก · (2539) ศรีฟ้า มหาวรรณ · (2540) ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ · (2541) วสิษฐ เดชกุญชร · (2542) สุภา สิริสิงห · (2543) อัศศิริ ธรรมโชติ · (2544) คำพูน บุญทวี · (2545) สุจิตต์ วงษ์เทศ · (2546) กรุณา กุศลาสัย · (2547) วินิตา ดิถียนต์ · ชาติ กอบจิตติ · (2548) สถาพร ศรีสัจจัง · ประยอม ซองทอง · (2549) มณี พยอมยงค์ · ระวี ภาวิไล · (2550) โกวิท เอนกชัย · |
ปิ่น มาลากุล · สนั่น สุมิตร · สงวน เล็กสกุล · บุญเลื่อน เครือตราชู · สุชาดา ถิระวัฒน์ · พรรณชื่น รื่นศิริ · พรรณี กาญจนวสิต · สมพงศ์ ธรรมอุปกรณ์ · อัศวิน วรรณวินเวศร์ · พรรณี เพ็งเนตร · พิศวาส ยุติธรรมดำรง |