สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราเมศวรบรมไตรโลกนาถบพิตร เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๗๔ ทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๑๙๙๑ ทรงมีพระราชสมัญญาอีกพระนามหนึ่งว่า พระเจ้าช้างเผือก เนื่องจาก เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๑๔ พระองค์ได้ทรงรับช้างเผือก ซี่งนับเป็นช้างเผือกเชือกแรกของกรุงศรีอยุธยา
เนื้อหา |
[แก้] พระราชประวัติ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระราชสมภพที่อยุธยา แต่เติบโตและมีชีวิตในวัยเยาว์ที่พิษณุโลก โดยเป็นพระโอรสในพระเจ้าสามพระยา มีพระราชมารดาเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง พระนามมีความหมายถึง "พระพุทธเจ้า" หรือ "พระอิศวร" มีผู้ที่เข้าใจว่าคงเป็นพระสหายมาตั้งแต่วัยเยาว์ชื่อ "ยุทธิษฐิระ" ซึ่งตอนหลังกลายมาเป็นผู้ชักนำศึกเข้ามา หลังการขึ้นครองราชย์แล้ว ก็เสด็จมาประทับที่อยุธยาในช่วงแรกของการครองราชย์ อีกครึ่งหนึ่งเสด็จมาประทับที่พิษณุโลก เชื่อว่าคงเป็นไปเพื่อการควบคุมดูแลหัวเมืองทางด้านเหนือ และคานอำนาจของอาณาจักรทางเหนือ คือ อาณาจักรล้านนา ซึ่งกำลังมีความเข้มแข็งและต้องการแผ่อำนาจลงมาทางใต้ ในยุคของพระเจ้าติโลกราช
[แก้] พระราชกรณียกิจ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครอง โดยทรงรวมอำนาจจากการปกครองเข้าสู่ศูนย์กลางคือ ราชธานี และแยกฝ่ายทหาร และฝ่ายพลเรือนออกจากกันคือ ฝ่ายทหารมีสมุหพระกลาโหมเป็นหัวหน้า รับผิดชอบ ฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายก เป็นหัวหน้ารับผิดชอบ มีผู้ช่วยคือ จตุสดมภ์ ได้แก่ กรมเวียง กรมวัง กรมพระคลัง และกรมนา ในกรณีที่เกิดศึกสงครามทั้งฝ่ายทหาร และฝ่ายพลเรือนจะต้องนำหน้าในกองทัพร่วมกัน
การปกครองในส่วนภูมิภาค ได้ยกเลิกระบบการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ แต่เดิมที่แบ่งออกเป็นเมืองลูกหลวง หลานหลวง แล้วระบบการปกครองหัวเมืองเสียใหม่ ดังนี้
- หัวเมืองชั้นใน เช่น เมืองราชบุรี นครสวรรค์ นครนายก เมืองฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี เป็นต้น จัดเป็นเมืองจัตวา พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ที่เหมาะสมไปปกครอง แต่สิทธิอำนาจทั้งหมดยังขึ้นอยู่กับองค์พระมหากษัตริย์
- หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร เช่น เมืองพิษณุโลก สุโขทัย นครราชสีมา และทวาย จัดเป็น เมือง เอก โท ตรี พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปเป็นเจ้าเมืองมีอำนาจบังคับบัญชาเป็นสิทธิขาด เป็๋นผู้แทนองค์พระมหากษัตริย์ มีกรมการปกครองในตำแหน่ง เวียง วัง คลัง นา เช่นเดียวกับของทางราชธานี
- เมืองประเทศราช ทางกรุงศรีอยุธยาคงให้เจ้าเมืองของเมืองหลวงนั้นปกครองกันเอง โดยพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเจ้าเมือง เมืองประเทศราชจะต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองกับเครื่องราชบรรณาการทุกรอบสามปี และต้องส่งกองทัพมาช่วยทางราชธานี เมื่อเกิดการสงคราม
สำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่น ให้จัดเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านปกครองดูแล ตำบล มีกำนันเป็นหัวหน้า แขวง มีหมื่นแขวงเป็นหัวหน้า การปกครองท้องถิ่นดังกล่าวได้ใช้สืบทอดมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
มีการแต่งตั้งตำแหน่งข้าราชการให้มีบรรดาศักดิ์ตามลำดับจากต่ำสุดไปสูงสุดคือ ทนาย พัน หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา และเจ้าพระยา มีการกำหนดศักดินาเพื่อเป็นค่าตอบแทนการรับราชการ และได้อาศัยใช้เป็นเกณฑ์กำหนดการมีที่นาและการปรับไหมตามกฎหมาย
ในปี พ.ศ. ๒๐๐๑ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงตั้งกฎมณเฑียรบาล ขึ้นเป็นกฎหมายสำหรับการปกครอง แบ่งออกเป็นสามแผนคือ พระตำรา ว่าด้วยแบบแผนและการพระราชพิธีต่าง ๆ พระธรรมนูญ ว่าด้วยเรื่องตำแหน่งหน้าที่ราชการ พระราชกำหนด เป็นข้อบังคับในพระราชสำนัก
ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งหนังสือมหาชาติคำหลวง นับว่าเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่องแรกของกรุงศรีอยุธยา และเป็นวรรณคดีชั้นเยี่ยมที่ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาภาษา และวรรณคดีของไทย นอกจากนี้ยังมีลิลิตพระลอ ซึ่งเป็นยอดวรรณคดีประเภทลิลิตของไทย
[แก้] เสด็จสวรรคต
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๓๑ เมื่อพระชนมายุ ๕๗ พรรษา ทรงครองราชย์ได้ ๔๐ ปี ยาวนานที่สุดของอาณาจักรอยุธยา และเป็นลำดับ ๓ ของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาประมาณ ๒๐ ปี ที่เหลือทรงประทับที่เมืองพิษณุโลกตลอดรัชกาล
[แก้] ดูเพิ่ม
|
|
---|---|
ราชวงศ์นำถุม (ผาเมือง) | พ่อขุนศรีนาวนำถุม |
ไม่มีราชวงศ์ | ขอมสบาดโขลญลำพง |
ราชวงศ์พระร่วง | พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ • พ่อขุนบานเมือง • พ่อขุนรามคำแหงมหาราช • พญาไสสงคราม • พญาเลอไท • พระยางั่วนำถุม • มหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) • มหาธรรมราชาที่ 2 (ลือไท) • มหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไท) • มหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) • ศรีสัชนาลัย พระยายุทธิษฐิระ |
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ | นครพระพิษณุโลกสองแคว สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ • พระเชษฐาธิราช • พระอาทิตยวงศ์ (พระหน่อพุทธางกูร) • พระไชยราชา |
ราชวงศ์สุโขทัย | พระมหาธรรมราชา (ขุนพิเรนทรเทพ) • พระนเรศวร |
อื่นๆ | พ่อขุนผาเมือง • พระยากำแหงพระราม • พระยาราม (พระอนุชาในพระมหาธรรมราชาที่ 4) • พระมหาเถรศรีศรัทธา • จารึกวัดศรีชุม |