See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
วัดศรีชุม สุโขทัย - วิกิพีเดีย

วัดศรีชุม สุโขทัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระอจนะ วัดศรีชุม เป็นที่เลื่องลือว่ามีเอกลักษณ์และมนต์เสนห์เฉพาะตัว
พระอจนะ วัดศรีชุม เป็นที่เลื่องลือว่ามีเอกลักษณ์และมนต์เสนห์เฉพาะตัว

พิกัดภูมิศาสตร์
17.0270782° N 99.6932888° E

วิกิแมเปีย
กูเกิล
วิกิแมเปีย มีภาพถ่ายทางอากาศของ:
วัดศรีชุม สุโขทัย

วัดศรีชุม หรือ วัดฤๅษีชุม เป็นโบราณสถานในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ตัววัดเป็นโบราณสถานตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ นอกกำแพงเมืองสุโขทัย วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่ซึ่งมีนามว่า "พระอัจนะ" องค์พระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในมณฑป พระพุทธอจนะ เป็นที่เลื่องลือถึงความศักดิ์สิทธิ์และมีมนต์เสน่ห์และเอกลักษณ์ชวนให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมและสักการะอย่างไม่ขาดสาย ในปัจจุบันทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ไม่ห่างจากตัวโบราณสถานนัก มีวัดสร้างใหม่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษา ใช้ชื่อว่าวัดศรีชุมเช่นเดียวกัน

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

พระอจนะ วัดศรีชุม มุมมองจากด้านบนมณฑป
พระอจนะ วัดศรีชุม มุมมองจากด้านบนมณฑป

"วัดศรีชุม" คำว่า "ศรี" มาจากคำเรียกพื้นเมืองเดิมของไทยว่า "สะหลี" ซึ่งหมายถึง ต้นโพธิ์ ดังนั้นชื่อ ศรีชุม จึงหมายถึงดงของต้นโพธิ์ แต่ในหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาที่เขียนในสมัยอยุธยาตอนปลาย ไม่เข้าใจความหมายนี้แล้ว จึงเรียกสถานที่นั้นว่า "ฤๅษีชุม"

วัดศรีชุมนั้น สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยปรากฏอยู่ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ว่า " เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยนี้...............มีพระอจนะ มีปราสาท" พระประธานในมณฑปจึงมีชื่อว่า "พระอจนะ"

สมเด็จพระนเรศวรทรงกระทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒนสัตยาปลุกปลอบใจขวัญทหาร ปฐมเหตุแห่งตำนาน "พระพูดได้" ( ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรดารารามฯ อยุธยา )
สมเด็จพระนเรศวรทรงกระทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒนสัตยาปลุกปลอบใจขวัญทหาร ปฐมเหตุแห่งตำนาน "พระพูดได้" ( ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรดารารามฯ อยุธยา )

พระมณฑปกว้างด้านละ 32 เมตร สูง 15 เมตร ผนังหนา 3 เมตร ผนังด้านซ้ายเจาะเป็นทางทำบันได ในผนังขึ้นไปถึงหลังคา ตามฝาผนังอุโมงค์มีภาพเขียนเก่าแก่แต่เลอะเลือนเกือบหมด ภาพเขียนนี้มีอายุเกือบ 700 ปี เพดานผนังมีแผ่นหินชนวนสลักภาพลายเส้นเป็นเรื่องในชาดกต่างๆ มีจำนวน 50 ภาพ เรียงประดับต่อเนื่องกัน ทั้งหมดนี้ถือได้ว่าเป็นงานจิตรกรรมไทยที่เก่าแก่ที่สุด

ในสมัยอยุธยา เมื่อครั้งสมเด็จสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประกาศอิสรภาพในปี พ.ศ. 2127 ที่เมืองแกลง ทำให้หัวเมืองต่าง ๆ ยกเลิกการส่งส่วยให้กับพม่า แต่ยังมีเมืองเชลียง ( สวรรคโลก) ที่ไม่ยอมทำตามพระราชโองการของพระองค์ พระองค์จึงนำทัพเสด็จมาปราบเมืองเชลียง และได้มีการมาชุมนุมทัพที่วัดศรีชุมแห่งนี้ก่อนที่จะไปตีเมืองเชลียง และด้วยการรบในครั้งนั้นเป็นการรบระหว่างคนไทยกับคนไทยด้วยกัน ทำให้เหล่าทหารไม่มีกำลังใจในการรบไม่อยากรบ สมเด็จพระนเรศวรจึงได้วางแผนสร้างกำลังใจให้กับทหารโดยการให้ทหาร คนหนึ่งปีนบันไดขึ้นไปทางด้านหลังองค์พระ และพูดให้กำลังใจแก่เหล่าทหาร ทำให้ทหารเกิดกำลังใจที่จะต่อสู้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดตำนานพระพูดได้ที่วัดศรีชุมแห่งนี้ และพระนเรศวรยังได้มีการทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาขึ้นที่วัดแห่งนี้ด้วย

ตามหลักฐานระบุว่าวัดแห่งนี้ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าลิไท และมีการดูแลบูรณะเรื่อยมา สันนิษฐานว่าวัดนี้ได้ถูกทิ้งร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย จนกระทั่งในสมัย รัชกาลที่ 9 ได้มีโครงการบูรณปฏิสังขรณ์ ในปี พ.ศ. 2495 โดยเริ่มมีการบูรณะพระพุทธรูปพระอจนะ โดยศาสตราจารย์์ศิลป์ พีระศรี และอาจารย์เขียน ยิ้มสิริ วัดจึงอยู่ในสภาพที่เห็นในปัจจุบัน

[แก้] สภาพโบราณสถาน

ภาพจิตรกรรมจำหลักลายเส้นบนหินชนวน เรื่องชาดก ประดับผนังมณฑปวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย
ภาพจิตรกรรมจำหลักลายเส้นบนหินชนวน เรื่องชาดก ประดับผนังมณฑปวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย

วัดศรีชุม เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองสุโขทัย สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ในวัดปรากฏโบราณสถานขนาดใหญ่ลักษณะมณฑปรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่เต็มมณฑป ซึ่งสันนิษฐานว่าในอดีตตัวมณฑปน่าจะมีหลังคาคล้ายโดม ตัวมณฑปนั้นตั้งอยู่บนฐานสูง ด้านหน้าเปิดเป็นช่องเห็นพระพักตร์พระพุทธรูปงดงามแต่ไกล

ตัวโบราณสถานประกอบด้วยอาคารหลัก 2 หลัง หลังแรกเป็นมณฑปรูปสี่เหลี่ยมกว้าง 32 คูณ 32 ม. สูง 15 ม. ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปที่มีชื่อว่า พระอจนะ ในด้านหน้า เป็นวิหารหลวงมี 6 ห้อง ปรากฏในศิลาจารึกว่า “เบื้องตีนนอน” อยู่ทางทิศเหนือ จะมีพระพุทธรูปใหญ่ “เบื้องหัวนอน” จะอยู่ทางทิศใต้ สมัยพ่อขุนรามคำแหงโปรดให้สร้างมณฑปครอบพระพุทธรูปไว้ และในสมัยพระเจ้าลิไทโปรดให้ก่อผนังใหม่อีกข้างให้ห่างจากผนังเดิม 1 เมตร 50 ซ.ม. โดยช่องว่างให้ทำบันได ทำอุโมงค์ขึ้นไปทางด้านหลังองค์พระ ผนังของอุโมงค์นี้โปรดให้ไปแกะหินชนวนจากเจดีย์เก้ายอดที่วัดมหาธาตุที่แกะ สลักเป็นเรื่องราวชาดก 550 พระชาติ และในส่วนที่แกะหินชนวนโปรดให้สร้างพระสาวกปางลีลากระทำอัญชลีขึ้นแทน ในการสร้างมณฑปที่มีผนัง 2 ชั้นนั้นได้รับอิทธิพลศิลปะโปโลนนารวะของลังกา ซึ่งแพร่หลายมากในสมัยปรกมพาหุ ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงนิยมสร้างพระอัฏฐารส และสมัยพระยาลิไทนิยมสร้างพระสาวกลีลา

[แก้] พระอจนะ

มณฑปวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย ถ่ายเมื่อครั้งการก่อนบูรณะ ภาพถ่ายคาดว่าถ่ายเมื่อต้นรัชสมัยรัชกาลที่ 5
มณฑปวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย ถ่ายเมื่อครั้งการก่อนบูรณะ ภาพถ่ายคาดว่าถ่ายเมื่อต้นรัชสมัยรัชกาลที่ 5

"พระอจนะ" คำว่า อจนะ มีผู้ให้ความหมายพระอจนะว่าหมายถึงคำในภาษาบาลีว่า “อจละ” ซึ่งแปลว่า “ผู้ไม่หวั่นไหว มั่นคง” “ผู้ที่ควรแก่การเคารพกราบไหว้” พระอจนะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ วัสดุปูนปั้น แกนในก่ออิฐและศิลาแลง หน้าตักกว้าง 11.30 เมตร สูง 15 เมตร องค์พระพุทธรูปมีขนาดใหญ่เต็มวิหาร ศิลปะแบบสุโขทัย

[แก้] ศิลาจารึกวัดศรีชุม

ศิลาจารึกวัดศรีชุมเรียกว่า ศิลาจารึกหลักที่ 2 ทำด้วยหินดินดานเป็นรูปใบเสมา กว้าง 67 เซนติเมตร สูง 275 เซนติเมตร หนา 8 เซนติเมตร ด้านที่หนึ่งจารึกอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย มี 107 บรรทัด ด้านที่สองมี 95 บรรทัด มีอายุประมาณ ปี พ.ศ. 1880 - 1910 นายพลโทพระยาสโมสรสรรพการ เมื่อครั้งเป็นที่หลวงสโมสรพลการ พบที่อุโมงค์วัดศรีชุม เมืองเก่าสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 2430 ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

[แก้] ความสำคัญของวัด

1. วัดศรีชุมมีการวางผังที่แปลกกว่าวัดทั่วไป ที่ใช้มณฑปที่มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานเป็นประธานของวัดเปรียบเป็นอุเทสิกเจดีย์และมีพระวิหารต่อออกมาแบบที่เป็นที่นิยมในสมัยนั้น นักโบราณคดีให้ความเห็นว่ามณฑปพระอจนะน่าจะสร้างโดยมีคติเป็นพระคันธกุฎี คือที่ประทับของพระพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาล

2. วัดนี้เป็นสถานที่พบศิลาจารึกหลักที่ 2 หรือศิลาจารึกวัดศรีชุม พูดถึงความเป็นมาของราชวงศ์พระร่วง และราชวงศ์ผาเมืองและการตั้งเมืองสุโขทัย ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่ยืนยันความเป็นของแท้ดั้งเดิมของจารึกหลักที่หนึ่งในคราวที่มีกรณีข้อกล่าวหาว่าจารึกหลักหนึ่งเป็นของปลอม

3. แผ่นหินที่แกะมาจากเจดีย์วัดมหาธาตุจารึกเป็นรูปบุคคล และรูปอาคาร เป็นหลักฐานชั้นสำคัญที่ทำให้เรารู้ว่าอาคารและบุคคลในสุโขทัยเป็นอย่างไร

4. วัดศรีชุมถือเป็นสัญลักษณ์ทางการท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดสุโขทัย

[แก้] การเดินทาง

วิหารและมณฑปวัดศรีชุมในปัจจุบันแวดล้อมไปด้วยต้นไม้ร่มรื่น
วิหารและมณฑปวัดศรีชุมในปัจจุบันแวดล้อมไปด้วยต้นไม้ร่มรื่น

ตั้งอยู่บนถนนจรดวิถีถ่อง ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยมาตามทางหลวงหมายเลข 12 (สุโขทัย-ตาก) ประมาณ 12 กม. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 06.00-21.00 น. นักท่องเที่ยวชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 30 บาท และเวลา 9.00-21.00 น. โบราณสถานต่างๆ ถูกสาดส่องด้วยแสงไฟ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ททท. ภาคเหนือ เขต 3 โทร 0 5525 2742-3



[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

Commons
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
วัดศรีชุม สุโขทัย


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -