จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มะละกอขณะออกผล
อันดับ |
Brassicales |
วงศ์ |
Caricaceae |
สกุล |
Carica |
สปีชีส์ |
C. papaya |
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
'Carica papaya' L. |
มะละกอ (Papaya) เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง สูงประมาณ 5-10 เมตร มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม นิยมนำมารับประทานทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ ฯลฯ หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ได้
[แก้] ลักษณะทั่วไป
มะละกอเป็นไม้ล้มลุก (บางครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น) ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว 5-9 แฉก เกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น ภายในก้านใบและใบมียางเหนียวสีขาวอยู่ มะละกอบางต้นอาจมีดอกเพียงเพศเดียว แต่บางต้นอาจมีดอกได้ทั้งสองเพศก็ได้ ผลเป็นรูปรี อาจหนักได้ถึง 9 กิโลกรัม ผลดิบมีสีเขียว และมีน้ำยางสีขาวสะสมอยู่ที่เปลือก ส่วนผลสุก เนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม มีเมล็ดสีดำเล็ก ๆ อยู่ภายในกินไม่ได้
[แก้] ประโยชน์
นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม ฯลฯ หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้
- สำหรับสารอาหารในมะละกอนั้น มีดังต่อไปนี้
เนื้อมะละกอสุก
สารอาหาร |
ปริมาณสารอาหารต่อมะละกอสุก 100 กรัม |
โปรตีน |
0.5 กรัม |
ไขมัน |
0.1 กรัม |
แคลเซียม |
24 มิลลิกรัม |
ฟอสฟอรัส |
22 มิลลิกรัม |
เหล็ก |
0.6 มิลลิกรัม |
โซเดียม |
4 มิลลิกรัม |
ไทอะมีน |
0.04 มิลลิกรัม |
ไรโบฟลาวิน |
0.04 มิลลิกรัม |
ไนอะซิน |
0.4 มิลลิกรัม |
กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี) |
70 มิลลิกรัม |
[แก้] อ้างอิง
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น