พระโพธิสัตว์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของ ประวัติพุทธศาสนา |
|
ศาสดา | |
จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา | |
พ้นทุกข์ / ความดับทุกข์ | |
ไตรสรณะ | |
ความเชื่อและการปฏิบัติ | |
ศีล · ธรรม ศีลห้า · เบญจธรรม · ศีลแปด บทสวดมนต์และพระคาถา |
|
คัมภีร์และหนังสือ | |
พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก |
|
นิกาย | |
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน | |
สังคมพุทธศาสนา | |
เมือง · ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล | |
ดูเพิ่มเติม | |
ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา หมวดหมู่พุทธศาสนา |
|
สถานีย่อย |
---|
พระโพธิสัตว์ หมายถึง บุคคลที่บำเพ็ญบารมีหรือกระทำความดีต่างๆ เพื่อให้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล มีพระโพธิสัตว์เป็นจำนวนมากตามความเชื่อในฝ่ายเถรวาท และมหายาน แต่มีความแตกต่างกันไป
เนื้อหา |
[แก้] คำศัพท์
โพธิสัตว์ มีภาษาต่างๆ มีดังนี้
- สันสกฤต = โพธิสตฺตฺว
- บาลี = โพธิสตฺต
- ภาษาจีน = 菩萨
- ญี่ปุ่น = 菩薩 (bosatsu)
- เกาหลี = 보살 (bosal)
- ทิเบต = changchub sempa (byang-chub sems-dpa')
- เวียดนาม = Bồ Tát
- อักษรโรมัน โดยทั่วไป สะกด "Bodhisattva"
[แก้] บารมี ๓o ทัศ
บารมี หมายถึง การกระทำที่ประเสริฐ การกระทำที่ประกอบด้วยกุศลเจตนาคุณงามความดีที่ควรกระทำ คุณงามความดีที่ได้บำเพ็ญมา คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่ เป็นธรรมส่วนหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งช่วย เหลือเกื้อกูลให้ผู้ปฏิบัติได้ถึงซึ่งโพธิญาณ
บารมีที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญ คือ
- 1. ทานบารมี หมายถึง การสละออก การให้ต่างๆ
- 2. ศีลบารมี หมายถึง การรักษาศีลให้เป็นปกติ ถ้าเป็นฆราวาสก็ถือศีล 5 ถ้าเป็นนักบวชก็ถือศีล 8 ขึ้นไป
- 3. เนกขัมมะบารมี หมายถึง การออกบวช (หากฆราวาสถือศีล๘ ก็นับเป็นเนกขัมบารมีได้เช่นกัน เพราะเป็นการกระทำเพื่อละกาม)
- 4. ปัญญาบารมี หมายถึง การกระทำเพื่อเพิ่มปัญญา
- 5. วิริยะบารมี หมายถึง การกระทำที่ใช้ความเพียรเป็นที่ตั้ง สัมมัปปธานหรือความเพียรที่ถูกต้อง มี 4 อย่างคือ
- o สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น
- o ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
- o ภาวนาปธาน เพียรทำบุญให้เกิดขึ้น
- o อนุรักขนาปธาน เพียรรักษาการทำบุญไว้ต่อเนื่อง
- 6. ขันติบารมี หมายถึง การอดทนอดกลั้นต่อสิ่งต่างๆ
- 7. สัจจะบารมี หมายถึง การรักษาคำพูด ไม่กลับกลอก แม้ว่าจะต้องสละบางสิ่งเพื่อรักษาคำพูดไว้
- 8. อธิษฐานบารมี หมายถึง การตั้งมั่นในปรารถนา ตั้งจิตมั่นต่อคำอธิษฐาน
- 9. เมตตาบารมี หมายถึง มีความรักต่อสัตว์ทั้งหลายในโลกอย่างเท่าเทียม ประดุจมารดารักบุตร
- 10. อุเบกขาบารมี หมายถึง การวางเฉย การปล่อยวางในสิ่งที่ผิดพลาด ในสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ วางเฉยในความทุกข์ของตน
ซึ่งในแต่ละบารมีนั้นแบ่งย่อยเป็น 3 ขั้น ได้แก่
- บารมีขั้นต้น คือ เนื่องด้วยวัตถุ และทรัพย์นอกกาย เช่น การสละทรัพย์ช่วยผู้อื่น จัดเป็น ทานบารมี รักษาศีลแม้ว่าจะต้องสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง จัดเป็น ศีลบารมี หรือ ยอมถือบวชโดยไม่อาลัยในทรัพย์สิน จัดเป็น เนกขัมบารมี เป็นต้น
- บารมีขั้นกลางหรืออุปบารมี คือ เนื่องด้วยเลือดเนื้อ อวัยวะ เช่น การสละเลือดเนื้ออวัยวะแก่ผู้อื่น จัดเป็น ทานอุปบารมี การใช้ปัญญารักษาอวัยวะเลือดเนื้อของผู้อื่น จัดเป็น ปัญญาอุปบารมี การมีความเพียรจนไม่อาลัยในเลือดเนื้อหรืออวัยวะ จัดเป็น วิริยะอุปบารมี มีเมตตาต่อผู้ที่จะมาทำร้ายเลือดเนื้ออวัยวะของตน จัดเป็น เมตตาอุปบารมี หรือ มีความอดทนอดกลั้นต่อผู้ที่จะมาทำลายอวัยวะของตน จัดเป็น ขันติอุปบารมี เป็นต้น
- บารมีขั้นสูงสุดหรือปรมัตถบารมี คือ เนื้องด้วยชีวิต เช่น การสละชีวิตเป็นทานแก่ผู้อื่น จัดเป็น ทานปรมัตถบารมี ยอมสละแม้ชีวิตเพื่อจะรักษาคำพูด จัดเป็น สัจจปรมัตถบารมี ตั้งจิตไม่หวั่นไหวต่อคำอธิษฐานแม้จะต้องเสียชีวิต จัดเป็น อธิษฐานปรมัตถบารมี หรือ วางเฉยต่อผู้ที่จะมาทำร้ายชีวิตของตน จัดเป็น อุเบกขาปรมัตถบารมี เป็นต้น
ดังนั้น จึงรวมเป็นบารมี 30 ทัศ
[แก้] จริยธรรม 10 ประการของพระโพธิสัตว์
- พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า ร่างกายจะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
- พระโพธิสัตว์ ครองชีพโดยไม่ปรารถนาว่าจะไม่มีภัยอันตราย
- พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีอุปสรรคในการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์
- พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีมารขัดขวางการปฏิบัติภารกิจ
- พระโพธิสัตว์ ถือว่าทำงานให้นานที่สุด โดยไม่ปรารถนาจะให้สำเร็จผลเร็ว
- พระโพธิสัตว์ คบเพื่อน โดยไม่ปรารถนาจะได้รับผลประโยชน์จากเพื่อน
- พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาว่า จะให้คนอื่นต้องตามใจตนเองเสมอไปทุกอย่าง
- พระโพธิสัตว์ ทำความดีกับคนอื่น โดยไม่ปรารถนาสิ่งตอบแทน
- พระโพธิสัตว์ เห็นลาภแล้ว ไม่ปรารถนาว่าจะได้รับ
- พระโพธิสัตว์ เมื่อถูกใส่ร้ายป้ายสี ติเตียนนินทาแล้ว ไม่ปรารถนาที่จะตอบโต้
[แก้] คุณสมบัติของพระโพธิสัตว์มีอยู่ 3 ข้อใหญ่
- มหาปรัชญาหรือปัญญาอันยิ่งใหญ่ หมายความว่าจะต้องเป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้งในสัจธรรม ไม่ตกเป็นทาสของกิเลส
- มหากรุณา หมายความว่าจะต้องเป็นผู้มีจิตกรุณาต่อสัตว์ทั้งหลายอย่างปราศจากขอบเขต พร้อมที่จะสละตนเองเพื่อช่วยสัตว์ให้พ้นทุกข์
- มหาอุปาย หมายความว่าพระโพธิสัตว์จะต้องมีวิธีการชาญฉลาดในการแนะนำ อบรมสั่งสอนผู้อื่นให้เข้าถึงสัจธรรม
คุณสมบัติทั้งสามข้อนี้ เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ข้อแรกเป็นการบำเพ็ญประโยชน์ตนให้ถึงพร้อม ส่วนข้อหลัง 2 ข้อเป็นการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น
[แก้] มหาปณิธาน 4
- เราจะละกิเลสให้หมด
- เราจะศึกษาสัจธรรมให้จบ
- เราจะช่วยโปรดสัตว์ทั้งหลายให้สิ้น
- เราจะบรรลุพระพุทธภูมิอันประเสริฐสุด
[แก้] รายนามพระโพธิสัตว์
|
|
[แก้] อ้างอิง
- ผาสุข อินทราวุธ. พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กทม. โรงพิมพ์อักษรสมัย. 2543. หน้า 83-84