พระแม่ธรณี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระแม่ธรณี หรือ แม่พระธรณี หรือ พระศรีวสุนธรา เป็นเทพีแห่งพื้นแผ่นดิน ปรากฏในตำนานทั้งศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพุทธศาสนา
ในคติของศาสนาฮินดูให้ความเคารพนับถือว่าแผ่นดินเป็นสิ่งค้ำจุนสรรพสิ่งทั้งปวงในโลกเปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดหล่อเลี้ยงโลกและแผ่นดิน จึงได้รับยกย่องว่าเป็นเทพจากธรรมชาติองค์หนึ่งเป็นเพศหญิง เรียกนามว่า "ธรณิธริตริ" แปลว่า "ผู้ค้ำจุนพระธรณี" แม้จะมิค่อยมีรูปเคารพอย่างแพร่หลายเช่นเทพองค์อื่นแต่ก็มีผู้ให้ความเคารพนับถือเป็นจำนวนมิใช่น้อย เพราะถือกันว่าพระธรณีสถิตย์อยู่ตามที่ต่าง ๆ ทุกหนทุกแห่ง จะทำการบูชาด้วย ข้าว ผลไม้ และนมด้วยการวางไว้บนก้อนหิน หรือประพรมลงบนพื้นดิน บางแห่งใช้เหล้าเป็นการสังเวยก็มี นอกจากนี้ชาวฮินดูยังมีการขอขมาลาโทษเมื่อจะวางเท้าลงบนพื้นดินก่อนจะลุกขึ้นในตอนเช้า วัวหรือควายที่มีลูกก่อนที่จะให้ลูกกินนมครั้งแรก เจ้าของจะปล่อยน้ำนมของแม่วัวลงบนพื้นดินเสียก่อนทุกครั้งไป ถ้าเป็นพวกชาวนาก็จะขอให้พระธรณีช่วยคุ้มครองผืนนาและวัวควาย แม้ในพระเวทก็มีการขอร้องต่อพระธรณ๊ให้ช่วยพิทักษ์คุ้มครองวิญญาณของคนตาย และต่อมาได้นับถือว่าเป็นเทพแห่งไร่นาด้วย ในแคว้นปัญจาบเชื่อกันว่าพระธรณีจะนอนหลับเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ของทุก ๆ เดือนชาวไร่ชาวนาจะหยุดไม่ทำงานในระยะนี้
เทพแห่งแผ่นดินหรือพระธรณี ไม่ค่อยมีเรื่องราวประวัติความเป็นมาปรากฏมากมายดังเช่นเทพองค์อื่น หรือมีก็สับสน เช่น บางแห่งว่าพระธรณีมีโอรสกับพระนารายณ์องค์หนึ่งคือพระอังคาร บางแห่งว่าพระอังคารเป็นโอรสของพระศิวะกับพระธรณี หรือในคติพราหมณ์พบเพียงว่าเป็นชายาของพระธุรวะหรือดาวเหนือ
ในพุทธศาสนา พระแม่ธรณีปรากฏกายเพื่อบีบน้ำจากมวยผมให้ท่วมพญามารที่รังควาญสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในคืนวันตรัสรู้ ดั่งรายละเอียดตามพระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสว่า
[แก้] ลักษณะของพระแม่ธรณี
ตามที่ปรากฏ โดยมากมักจะเป็นรูปเทวดาผู้หญิง มีรูปร่างอวบใหญ่ ล่ำสันอย่างได้สัดส่วน หรือในบางแห่งจะมีรูปร่างอ้อนแอ้น มีความงามประดุจเทพธิดา นั่งในท่าคุกเข่า แต่ยกเข่าขวาขึ้นสูงกว่าเข่าซ้าย บางแห่งสร้างให้อยู่ในท่ายืน แต่ที่เหมือนกันก็คือมวยผมปล่อยยาว มือขวายกข้ามศีรษะไปจับไว้ที่โคนมวยผม ส่วนมือซ้ายจับมวยผมแสดงท่ากำลังบิดให้สายน้ำไหลออกมาจากมวยผมนั้น ส่วนเครื่องทรงไม่มีแบบแผนที่แน่นอนตายตัว ตามแต่จินตนาการของผู้สร้าง บางแห่งสวมพัตราภรณ์เฉพาะช่วงล่าง แต่บางแห่งทั้งนุ่งผ้าจีบและห่มสไบอย่างสวยงาม ประดับเครื่องถนิมพิมพาภรณ์มีกรอบหน้าและจอนหู เป็นต้น
พระแม่ธรณีเป็นเทวดาอีกองค์หนึ่งที่ได้รับความนิยมบูชาของคนไทย มักเป็นสัญลักษณ์แห่งแผ่นดิน ดั่งปรากฏในวรรณคดีไทย เช่น โคลงของศรีปราชญ์ก่อนถูกประหารที่กล่าวว่า
ธรณีนี่นี้เป็นพยาน... | ||
เป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ เช่น การประปา พรรคประชาธิปัตย์ เป็นต้น
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
|
|
---|---|
เทวาธิบดี | ท้าวจตุโลกบาล (ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักษ์ ท้าวกุเวร) · พระอินทร์ · พระสุยามาธิบดี • สันดุสิตเทพบุตร • พระยาปรนิมิตเทวราช • พระยาวสวัตตีมาราธิราช |
ตรีมูรติ | พระตรีมูรติ • พระนารายณ์ (พระวิษณุ) • พระอิศวร (พระศิวะ) • พระพรหม |
เทวนพเคราะห์ | พระอาทิตย์ • พระจันทร์ • พระอังคาร • พระพุธ • พระพฤหัสบดี • พระศุกร์ • พระเสาร์ • พระราหู • พระเกตุ |
เทวดาอื่นๆ | กามเทพ • พระกฤษณะ • พระพาย • พระพิรุณ • พระอัคนี • พระยม • พระหลักเมือง • พระเสื้อเมือง • พระทรงเมือง • พระกาฬไชยศรี • เจ้าเจตคุปต์ • พระพิฆเนศวร • พระวิศวกรรม • พระเทพบิดร • จตุคามรามเทพ • พระขันทกุมาร• พระไพศรพณ์ |
เทวสตรี | พระแม่กาลี • พระแม่คงคา• พระแม่ทุรคา • พระแม่ธรณี • พระแม่ปารวตี • พระลักษมี • พระสุรัสวดี • พระอุมา |