จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพพระราหู ตามคตินิยมอินเดีย
ข้อมูลทั่วไป
กลุ่ม |
เทวนพเคราะห์ และ อสูร |
สัตว์พาหนะ |
สิงโตสีนํ้าเงิน/สีดำ |
พระราหู (เทวนาครี: राहु) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย
[แก้] เทวกำเนิดของพระราหู
กำเนิดของพระราหูมีอยู่ด้วยกัน๒ตำนานด้วยกันคือ ๑.พระราหูถูกสร้างขึ้นมาโดยพระอิศวร หรือพระศิวะจากหัวกะโหลก ๑๒ หัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีทอง แล้วประพรมด้วยน้ำอัมฤตเสกได้เป็นพระราหู มีสีวรกายสีนิลออกไปทางทองแดง ทรงสุบรรณ (ครุฑ) เป็นพาหนะ มีวิมานสีนิลอยู่ในอากาศ ประจำอยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ(ทิศพายัพ) และแสดงถึงเศษวรรคที่ ๑ (ย ร ล ว) ๒.พระราหูเป็นโอรสของท้าววิประจิตติและนางสิงหิกาหรือนางสิงหะรา เมื่อเกิดมามีกายเป็นยักษ์และมีหางเป็นนาค
พระราหูเป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางลุ่มหลงมัวเมา พระราหูเป็นมิตรกับพระเสาร์และเป็นศัตรูกับพระพุธอันมีเหตุตามนิทานชาติเวร
ในอดีตชาติ พระราหูได้เกิดมาเป็นน้องร่วมท้องเดียวกันกับเทวดานพเคราะห์อีก๒องค์ คือ พระอาทิตย์ และพระจันทร์ โดยพระราหูเกิดเป็นน้องสุดท้อง ครั้งหนึ่ง พระราหูได้ร่วมทำบุญถวายพระที่มารับบิณฑบาตร่วมกับพี่ทั้ง๒คน พระอาทิตย์ตักบาตรในครั้งนั้นด้วยภาชนะทอง พระจันทร์ตักบาตรด้วยภาชนะเงิน ส่วนพระราหูตักบาตรด้วยภาชนะที่ทำมาจากกะลามะพร้าว เมื่อทั้ง๓พี่น้องได้มาเกิดเป็นเทวดานพเคราะห์ พระอาทิตย์จึงมีรัศมีและวรรณะเปล่งปลั่งดุจทองคำ พระจันทร์มีรัศมีและวรรณะเป็นสีขาวสว่างดุจเงิน และพระราหูมีรัศมีและวรรณะเป็นสีนิลออกไปทางทองแดง (แต่ในบางตำราก็ว่ากายของพระราหูนั้นมีสีดำบ้าง สีทองบ้าง แตกต่างกันไป)
[แก้] สาเหตุที่พระราหูมีกายเพียงครึ่งท่อน
มีเรื่องเล่าว่า เมื่อครั้งที่เหล่าเทวดาได้ทำพิธีกวนเกษียรสมุทรเพื่อให้ได้น้ำอัมฤตนั้นมีทั้งเทวดาและยักษ์ทั้งหลายเข้าร่วมทำพิธี พระราหูได้แอบอยู่ในกลีบเมฆ เมื่อทำพิธีสำเร็จพระราหูจึงรีบลอบดื่มน้ำอัมฤตที่เกิดขึ้นนั้น พระอาทิตย์และพระจันทร์ได้เห็นเข้าจึงรีบเอาความนั้นไปทูลบอกพระนารายณ์หรือพระวิษณุ พระนารายณ์ทราบจึงขว้างจักรตัดไปถูกกลางตัวพระราหูขาดกลายเป็นสองท่อน แต่ด้วยว่าน้ำอัมฤตที่พระราหูได้ดื่มนั้นไหลไปจนถึงกลางตัวพระราหูแล้วพอดี ครึ่งบนของพระราหูที่ถูกตัดออกจึงกลายเป็นอมตะ ส่วนครึ่งร่างนั้นได้กลายมาเป็นพระเคราะห์องค์ที่๙แห่งเหล่าเทวดานพเคราะห์ซึ่งก็คือ พระเกตุ จากนั้นเมื่อครั้งใดที่พระราหูได้พบเจอพระอาทิตย์หรือพระจันทร์ พระราหูก็จะจับมากลืนกินด้วยความโกรธแค้นที่เทวดาทั้งสององค์นำเรื่องไปทูลพระนารายณ์ แต่อมไว้ในปากได้ไม่นานก็ต้องคายออกมาเพราะทนความร้อนและรัศมีของเทวดานพเคราะห์ทั้งสองไม่ได้ เกิดเป็นเหตุของปรากฏการณ์สุริยุปราคาและจันทรุปราคาตามคติความเชื่อของคนโบราณ
ในโหราศาสตร์ไทย พระราหูถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๘ และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากหัวกะโหลก ๑๒ หัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๒
[แก้] อ้างอิง
- อุระคินทร์ วิริยะบูรณะ และคณะ.พรหมชาติ ฉบับหลวง. กรุงเทพฯ:สำนักงาน ลูก ส.ธรรมภักดี, ม.ป.ป.
- เทพย์ สาริกบุตร และคณะ.พรหมชาติ ฉบับราษฎร์. กรุงเทพฯ:สำนักงาน ลูก ส.ธรรมภักดี, ม.ป.ป.
ทิศทาง และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับทิศทาง |
|
|
ชื่อทิศ |
พายัพ (ตกเฉียงเหนือ) |
อุดร (เหนือ) |
อิสาณ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) |
|
เทวดาประจำทิศ |
|
ไม้มงคล |
|
|
|
ชื่อทิศ |
|
เทวดาประจำทิศ |
|
ไม้มงคล |
|
|
|
ชื่อทิศ |
หรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) |
ทักษิณ (ใต้) |
อาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) |
|
เทวดาประจำทิศ |
|
ไม้มงคล |
|
|
พระราหู เป็นบทความเกี่ยวกับ ความเชื่อ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ พระราหู ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |