พระเสาร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเสาร์ (เทวนาครี:शनि, ศนิ) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระเสาร์ถูกสร้างขึ้นมาจากพยัคฆ์ (เสือ) ๑๐ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีดำ แล้วเสกได้เป็นพระเสาร์มีสีวรกายดำคล้ำ ทรงพยัคฆ์เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ และแสดงถึงอักษรวรรค ตะ เล็ก (ต ถ ท ธ น)
พระเสาร์เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางรุนแรง นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันเสาร์หรือมีพระเสาร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีกิริยาดุดัน แข็งแรง กล้าได้กล้าเสีย บุคลิกเคร่งขรึม ตามนิทานชาติเวร พระเสาร์เป็นมิตรกับพระราหูและเป็นศัตรูกับพระศุกร์
ในโหราศาสตร์ไทย พระเสาร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๗ และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากพยัคฆ์ ๑๐ ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๐ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันเสาร์ก็คือ ปางนาคปรก
[แก้] อ้างอิง
- อุระคินทร์ วิริยะบูรณะ และคณะ.พรหมชาติ ฉบับหลวง. กรุงเทพฯ:สำนักงาน ลูก ส.ธรรมภักดี, ม.ป.ป.
- เทพย์ สาริกบุตร และคณะ.พรหมชาติ ฉบับราษฎร์. กรุงเทพฯ:สำนักงาน ลูก ส.ธรรมภักดี, ม.ป.ป.
|
|
---|---|
เทวาธิบดี | ท้าวจตุโลกบาล (ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักษ์ ท้าวกุเวร) · พระอินทร์ · พระสุยามาธิบดี • สันดุสิตเทพบุตร • พระยาปรนิมิตเทวราช • พระยาวสวัตตีมาราธิราช |
ตรีมูรติ | พระตรีมูรติ • พระนารายณ์ (พระวิษณุ) • พระอิศวร (พระศิวะ) • พระพรหม |
เทวนพเคราะห์ | พระอาทิตย์ • พระจันทร์ • พระอังคาร • พระพุธ • พระพฤหัสบดี • พระศุกร์ • พระเสาร์ • พระราหู • พระเกตุ |
เทวดาอื่นๆ | กามเทพ • พระกฤษณะ • พระพาย • พระพิรุณ • พระอัคนี • พระยม • พระหลักเมือง • พระเสื้อเมือง • พระทรงเมือง • พระกาฬไชยศรี • เจ้าเจตคุปต์ • พระพิฆเนศวร • พระวิศวกรรม • พระเทพบิดร • จตุคามรามเทพ • พระขันทกุมาร• พระไพศรพณ์ |
เทวสตรี | พระแม่กาลี • พระแม่คงคา• พระแม่ทุรคา • พระแม่ธรณี • พระแม่ปารวตี • พระลักษมี • พระสุรัสวดี • พระอุมา |
|
||||
---|---|---|---|---|
|
||||
ชื่อทิศ |
|
|||
เทวดาประจำทิศ |
|
|||
ไม้มงคล |
|
|||
|
||||
ชื่อทิศ |
|
|||
เทวดาประจำทิศ |
|
|||
ไม้มงคล |
|
|||
|
||||
ชื่อทิศ |
|
|||
เทวดาประจำทิศ |
|
|||
ไม้มงคล |
|
พระเสาร์ เป็นบทความเกี่ยวกับ ความเชื่อ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ พระเสาร์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |