บิกแบง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
- สำหรับชื่อวงดนตรีเกาหลี ดูที่ บิ๊กแบง (วงดนตรีเกาหลี)
ในวิชาจักรวาลวิทยา บิกแบง (Big Bang - การระเบิดครั้งใหญ่) เป็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่กล่าวถึงการก่อกำเนิด วิวัฒนาการ และรูปร่างของเอกภพ แนวคิดรวบยอด คือ การนำความรู้จากทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป กับผลจากการสังเกตการณ์ที่พบว่าดาราจักรทั้งหลายต่างกำลังเคลื่อนที่ออกจากกัน มาคาดหมายสภาพของเอกภพทั้งในอดีตและอนาคต สิ่งที่พบ คือ ในอดีตเอกภพมีอุณหภูมิและความหนาแน่นสูงกว่าปัจจุบัน. เรานำคำว่า "บิกแบง" มาใช้ทั้งในความหมายแคบ ๆ ที่หมายถึงการระเบิดใหญ่ อันเป็นเวลาที่เอกภพเริ่มขยายตัว และในความหมายทั่วไปที่หมายถึงแบบจำลองการกำเนิด และวิวัฒนาการของเอกภพที่กำลังได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้อง
บิกแบง คือแบบจำลองของเอกภพในวิชาจักรวาลวิทยาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากการสังเกตการณ์ที่แตกต่างกันจำนวนมาก หลังจากเอ็ดวิน ฮับเบิลค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 1929 ว่า ระยะห่างของกาแลกซี่มีสัดส่วนที่เปลี่ยนแปลงสัมพันธ์กับเรดชิฟต์ (redshift) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่าเอกภพกำลังขยายตัว หากเอกภพในปัจจุบันกำลังขยายตัว แสดงว่าก่อนหน้านี้ เอกภพย่อมมีขนาดเล็กกว่า หนาแน่นกว่า และร้อนกว่าที่เป็นอยู่ แนวคิดนี้มีการพิจารณาอย่างละเอียดย้อนไปจนถึงระดับความหนาแน่นและอุณหภูมิที่จุดสูงสุด และผลสรุปที่ได้ก็สอดคล้องอย่างยิ่งกับผลจากการสังเกตการณ์
คำว่า "บิกแบง" ที่จริงเป็นคำล้อเลียนที่เกิดจากนักดาราศาสตร์ชื่อ เฟรด ฮอยล์ ซึ่งเขาดูหมิ่นและตั้งใจจะทำลายความน่าเชื่อถือของทฤษฎีที่เขาเห็นว่าไม่มีทางเป็นจริง[1] อย่างไรก็ดี การค้นพบคอสมิกไมโครเวฟในปี ค.ศ. 1964 ยิ่งทำให้ไม่สามารถปฏิเสธทฤษฎีบิกแบงได้
[แก้] อ้างอิง
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- จักรวาลวิทยา จาก Open Directory Project
- Cosmic Journey: A History of Scientific Cosmology. สถาบันฟิสิกส์อเมริกัน.
- Feuerbacher, Björn; Ryan Scranton (2006). หลักฐานของบิกแบง
- Misconceptions about the Big Bang. Scientific American (มีนาคม 2005).
- ไม่กี่ไมโครวินาทีแรก. Scientific American (พฤษภาคม 2006).
- การขยายตัวของเอกภพ - แบบจำลองมาตรฐานของบิกแบง. มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ, astro-ph (กุมภาพันธ์ 2008).
บิกแบง เป็นบทความเกี่ยวกับ ดาราศาสตร์ หรือ จักรวาลวิทยา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ บิกแบง ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ดาราศาสตร์ |