งู
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชื่อวิทยาศาสตร์ | 'Naja naja' L., 1768 |
งู (Snake) เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง ไม่มีขา ไม่มีเปลือกตา มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัว ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น จัดอยู่ในชั้น Reptilia, ตระกูล Squamata, ตระกูลย่อย Serpentes โดยทั่วไปแล้วงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่นงูจงอาง สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืน[1]
โดยทั่วไปจะออกลูกเป็นไข่ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านโลหิต (Vipers) ซึ่งจะออกลูกเป็นตัว เช่นงูแมวเซา ธรรมชาติโดยทั่วไปของงู จะทำการลอกคราบเป็นระยะเวลา และจะบ่อยครั้งเมื่องูยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งภายหลังจากการลอกคราบของงู จะทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนัง มีสีสันสดใสรวมทั้งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว
ภายในประเทศไทยมีงูจำนวนมากตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ทั่วทุกภูมิภาพของประเทศไทยสามารถพบเห็นงูได้มากกว่า 180 ชนิด โดยเป็นงูที่มีพิษจำนวน 46 ชนิด และสามารถจำแนกงูที่มีพิษออกได้อีก 2 ประเภทคือ
- งูที่มีพิษ โดยอาศัยอยู่บนบก จำนวน 24 ชนิด
- งูที่มีพิษ โดยอาศัยอยู่ในทะเล จำนวน 22 ชนิด
ซึ่งโดยรวมแล้วงูที่มีพิษนั้น ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ งูที่มีพิษต่อระบบประสาทและงูที่มีพิษต่อระบบโลหิต
[แก้] วิวัฒนาการ
งูเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีวิวัฒนาการมาจากสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibians) โดยส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตอยู่ภายในน้ำ อาศัยชีวิตบนบกบ้างในช่วงระยะเวลาหนึ่ง มีความสัมพันธ์ทางด้านสายของการวิวัฒนาการร่วมกับสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น ๆ ที่จัดอยู่ใน ชั้น Reptilia ที่แบ่งออกเป็น 4 ลำดับ ดังนี้
- ลำดับ Testudines
- สัตว์เลื้อยคลานในลำดับนี้ได้แก่ เต่าชนิดต่าง ๆ (Turtles และ Tortoises)
- ลำดับ Crocodylia
- สัตว์เลื้อยคลานในลำดับนี้ได้แก่ จระเข้ (Crocodiles, Alligators และ Gavial)
- ลำดับ Rhynchocephalia
- สัตว์เลื้อยคลานในลำดับนี้ได้แก่ ตัว Tuatara ของนิวซีแลนด์
- ลำดับ Squmata
- สามารถแบ่งลำดับของสัตว์เลื้อยคลานใน ลำดับ Squmata ได้ 3 วงศ์ด้วยกัน ดังนี้
- Suborder Lacertilia ได้แก้สัตว์เลื้อยคลานประเภทจิ้งจก (Lizards) ซึ่งมีจำนวนมาก ประมาณ 3,000 ชนิด
- Suborder Amphisbaenia มีจำนวนประมาณ 130 ชนิด
- Suborder Serpentes ได้แก่สัตว์เลื้อยคลานประเภทงู (Snakes) ซึ่งมีจำนวนมาก ประมาณ 2,700 ชนิด
[แก้] ลักษณะทั่วไป
ลักษณะโดยทั่วไปของงูคือ มีลำตัวที่กลมยาว สามารถบิดโค้งงอร่างกายได้ ไม่มีหูและไม่มีขา เคลื่อนไหวร่างกายด้วยการเลื้อยด้วยอก งูบางชนิดมีติ่งงอกออกมาคล้ายกับเล็บขนาดเล็ก (Small horn-sheathed claws) ติ่งเล็ก ๆ นี้จะอยู่บริเวณช่องสำหรับเปิดอวัยวะเพศ ลักษณะเฉพาะตั้งแต่ศีรษะ คอ อก ช่องท้องรวมทั้งหาง มีความเหมือนที่ไม่แตกต่างกัน [2] สามารถแบ่งแยกงูได้โดยการใช้ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลาง ในแต่ละส่วนของขนาดลำตัวเป็นตัวกำหนด ซึ่งในส่วนของขนาดลำตัวจะเป็นส่วนที่มีขนาดใหญ่โตที่สุด
ลักษณะลำตัวของงู จะมีลักษณะเป็นทรงกระบอกตัน โดยมีภาพตัดขวางของลำตัวในหลากหลายรูปแบบ เช่น ภาพตัดขวางในรูปแบบวงกลม ภาพตัดขวางในรูปแบบวงรี ในลักษณะแนวตั้งหรือแนวนอน รวมทั้งภาพตัดขวางในรูปบบรูปสามเหลี่ยม ซึ่งลักษณะของภาพตัดขวางที่มีความแตกต่างกันนี้เอง จะเป็นตัวกำหนดแหล่งที่อยู่อาศัยของงูในแต่ละชนิด[2]
ภายในประเทศไทยและอินโด-มลายูมีงูอยู่จำนวนมากกว่า 100 ชนิด เช่นงูหลาม งูเหลือมซึ่งเป็นงูที่มีขนาดใหญ่ สามารถเจริญเติบโตจนมีความยาวได้ถึง 10 เมตร ซึ่งงูชนิดนี้เป็นงูที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกับอนาคอนดา ซึ่งเป็นงูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
งูมีจำนวนมากมายหลากหลายชนิด โดยปกติงูจะมีอยู่ชุกชุม สามารถพบเห็นได้ทั่วไปเกือบทั่วทั้งประเทศไทย นอกจากพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศไทย ซึ่งจำนวนประชากรของงูลดน้อยลงเป็นอย่างมาก ซึ่งชนิดของงูนั้นขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและสภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยด้วย เช่นพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่รกชื้น
[แก้] อ้างอิง
- ^ ลักษณะธรรมชาติของงู
- ^ 2.0 2.1 ไพบูลย์ จินตกุล, งูพิษในประเทศไทย, สำนักพิมพ์มติชน, 2547, หน้า 32
|
|
---|---|
งูไม่มีพิษ | งูดินลายขีด • งูดินหัวเหลือง • งูดินหัวขาว • งูดินธรรมดา • งูดินโคราช • งูดินเมืองตรัง • งูดินใหญ่ • งูก้นขบ • งูแสงอาทิตย์ • งูหลาม • งูเหลือม • งูหลามปากเป็ด • งูงวงช้าง • งูผ้าขี้ริ้ว • งูพงอ้อเล็ก • งูพงอ้อหัวขาว • งูพงอ้อหลากหลาย • งูพงอ้อท้องเหลือง • งูขอนไม้ • งูกินทากลายขวั้น • งูกินทากเกล็ดสัน • งูกินทากสีน้ำตาล • งูกินทากมลายู • งูกินทากจุดดำ • งูกินทากจุดขาว • งูกินทากหัวโหนก • งูลายสาบตาโต • งูรังแหหลังศร • งูรังแหหัวแดง • งูหัวศร • งูคอขวั้นปลายหัวดำ • งูคอขวั้นหัวลายสามเหลี่ยม • งูคอขวั้นหัวดำ • งูปล้องฉนวนบ้าน • งูปล้องฉนวนลายเหลือง • งูปล้องฉนวนสร้อยเหลือง • งูปล้องฉนวนเมืองเหนือ • งูปล้องฉนวนสีน้ำตาล • งูปล้องฉนวนภูเขา • งูสายทองลายแถบ • งูสายทองคอแหวน • งูสายทองมลายู • งูปล้องฉนวนบอร์เนียว • งูปล้องฉนวนธรรมดา • งูปล้องฉนวนมลายู • งูปี่แก้วลายกระ • งูปี่แก้วสีจาง • งูปี่แก้วหลังจุดวงแหวน • งูปี่แก้วธรรมดา • งูคุด • งูงอดเขมร • งูปี่แก้วหัวลายหัวใจ • งูงอด • งูปี่แก้วใหญ่ • งูปี่แก้วภูหลวง |
งูมีพิษอ่อน | งูเขียวกาบหมาก • งูกาบหมากหางนิล • งูทางมะพร้าวธรรมดา • งูทางมะพร้าวแดง • งูทางมะพร้าวดำ • งูสิงธรรมดา • งูสิงหางลาย • งูสิงหางดำ • งูสิงทอง • งูสายม่านแดงหลังลาย • งูสายม่านเกล็ดใต้ตาใหญ่ • งูสายม่านหลังทอง • งูสายม่านคอขีด • งูสายม่านพระอินทร์ • งูสายม่านลายเฉียง • งูควนขนุน • งูดงคาทอง • งูแม่ตะงาวรังนก • งูเขียวดง • งูเขียวดงลาย • งูปล้องทอง • งูต้องไฟ • งูแส้หางม้า • งูแส้หางม้าเทา • งูกระ • งูเขียวหัวจิ้งจก • งูเขียวหัวจิ้งจกมลายู • งูเขียวปากแหนบ • งูสายน้ำผึ้ง • งูหมอก • งูม่านทอง • งูเขียวดอกหมาก • งูเขียวพระอินทร์ • งูดอกหมาก • งูลายสอเกล็ดใต้ตาสอง • งูลายสอลายสามเหลี่ยม • งูลายสาบท้องสามขีด • งูลายสาบท่าสาร • งูลายสาบมลายู • งูลายสาบดอกหญ้า • งูลายสอใหญ่ • งูลายสอธรรมดา • งูลายสาบคอแดง • งูลายสาบจุดดำขาว • งูลายสาบเขียวขวั้นดำ • งูลายสอลาวเหนือ • งูลายสอสองสี • งูลายสอหมอบุญส่ง • งูปลิง • งูไซ • งูสายรุ้ง • งูสายรุ้งดำ • งูสายรุ้งลาย • งูหัวกะโหลก • งูปากกว้างน้ำเค็ม • งูเปี้ยว • งูปลาตาแมว • งูกระด้าง • งูปลาหลังม่วง • งูปลาหลังเทา |
งูมีพิษร้ายแรง | งูสามเหลี่ยม • งูทับสมิงคลา • งูสามเหลี่ยมหัวหางแดง • งูเห่า • งูเห่าพ่นพิษสยาม • งูเห่าพ่นพิษสีทอง • งูจงอาง • งูพริกท้องแดง • งูพริกสีน้ำตาล • งูปล้องหวายหัวดำ • งูปล้องหวายหัวเทา • งูปล้องหวายลายขวั้นดำ • งูสมิงทะเลปากเหลือง • งูสมิงทะเล • งูชายธงลายข้าวหลามตัด • งูทากลาย • งูกระรังหัวโต • งูชายธงท้องขาว • งูคออ่อนหัวโต • งูทากลายท้องขาว • งูเสมียนรังหัวสั้น • งูคออ่อนหัวเข็ม • งูชายธงหลังดำ • งูอ้ายงั่ว • งูแสมรังเหลืองลายคราม • งูแสมรังหางขาว • งูแสมรังลายเยื้อง • งูฝักมะรุม • งูแสมรังเทา • งูแสมรังปล้องหัวเล็ก • งูแสมรังท้องเหลือง • งูแสมรังหัวเข็ม • งูแสมรังลายวงแหวน • งูทะเลอ่าวเปอร์เซีย • งูทะเลจุดขาว • งูแมวเซา • งูกะปะ • งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง • งูเขียวหางไหม้ตาโต • งูเขียวหางไหม้ท้องเขียว • งูเขียวไผ่ • งูเขียวหางไหม้ลายเสือ • งูหางแฮ่มกาญจน์ • งูแก้วหางแดง • งูเขียวหางไหม้สุมาตรา • งูปาล์ม • งูเขียวตุ๊กแก • งูหางแฮ่มภูเขา |
งู เป็นบทความเกี่ยวกับ สัตว์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ งู ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:โลกของสัตว์ |