กบฏนักมวย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กบฏนักมวย (Boxer Rebellion, อักษรจีนตัวเต็ม:義和團起義, อักษรจีนตัวย่อ: 义和团起义)
ในสมัยศตวรรษที่ 19 จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ชิงทรงเห็นชาวต่างชาติได้เข้ามาค้าขายในประเทศจีนนานเข้าชาวต่างชาติก็เริ่มเข้ามามีอิทธิพลในจีนและได้ส่งกำลัง อาวุธที่ทันสมัยและมิชชันนารีเข้าไปเผยแพร่ศาสนาคริสต์ด้วยเนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดกบฏนักมวยขึ้นโดยได้ทำการลอบสังหารมิชชันนารีชาวตะวันตก ประณามชาวต่างชาติ กบฏนักมวยได้รับการสนับสนุนจากราชวงศ์ชิงมากซึ่งหลังจากปราบกบฏนักมวยได้ไมนานก็เกิดการโค่นล้มราชวงศ์ชิงขึ้น
เนื้อหา |
[แก้] จุดเริ่มต้นของสงคราม
กบฏนักมวยได้เกิดขึ้นในเมืองชานตงในปี 1898 และเริ่มตอบโต้ชาวเยอรมันในชิงต่าวและจับกุมชาวอังกฤษในเหวยไห่แต่ก็พ่ายแพ้กับกองกำลังนานาชาติ ความอ่อนแอของจีนได้แสดงให้เห็นหลังจากแพ้สงครามจีน-ญี่ปุ่นในปี 1895 และความวุ่นวายก็เกิดขึ้นที่หมู่บ้านเล็กๆแห่งหนึ่งในเมืองชานตงเนื่องจากปัญหาที่ดินของวัดพุทธและโบสถ์คริสต์โรมันคาทอลิกมิชชันนารีจึงร้องเรียนว่าที่ดินผืนนี้เป็นของตนมาแต่เดิมแล้ว การที่มีการสร้างโบสถ์ในที่ดินผืนนี้ทำให้ชาวบ้านไม่พอใจอย่างมากจึงทำลายโบสถ์จึงก่อกบฏนักมวยขึ้น
[แก้] การเกิดจลาจลในจีน
หากการที่มีมิชชันนารีมาแพร่ศาสนาคริสต์ไม่มีในกฎหมายจีนต่อไปจะสร้างความไม่พอใจให้กับชาวจีน เบนจามิน บรูมฮอลส์มีวิธีที่หลักแหลมที่จะดำเนินการทำพิธีกรรมศาสนาในโบสถ์โรมันคาทอลิกต่อไปโดยได้รับความช่วยเหลือจากพระชาวฝรั่งเศสในกรุงปักกิ่ง
เนื่องจากจีนแพ้สงครามจีน-ญี่ปุ่น จักรพรรติกวางซีจึงทรงทำการปฏิรูปร้อยวัน ทำให้พระนางซูสีไทเฮาทรงเข้ายึดพระราชอำนาจแล้วนำจักรพรรดิกวางซีขังไว้ และร่วมมือกับกบฏนักมวยซึ่งมีความคิดอนุรักษ์นิยมเช่นเดียวกับพระนาง จนประมาณเดือนกรกฎาคม ปี 1900 กบฏนักมวยได้ต่อสู้กับกองกำลังนานาชาติในเมืองเทียนจินและกรุงปักกิ่ง ทางสถานทูตสหราชอาณาจักร,ฝรั่งเศส,เบลเยี่ยม,เนเธอร์แลนด์,สหรัฐอเมริกา,รัสเซียและญี่ปุ่นที่อยู่ในสถานทูตในกรุงปักกิ่งได้นำกำลังมาปิดล้อมพระราชวังต้องห้ามการกระทำเช่นนี้ทำให้กบฏนักมวยสังหารบาทหลวงชาวเยอรมันชื่อ Klemens Freiherr von Kettelerในวันที่ 20 มีนาคม ปี1900 พระนางซูสีไทเฮาประกาศสงครามกับชาวต่างชาติในวันที่ 21 มีนาคม ปี 1900 เพื่อเป็นการต่อต้านอำนาจของชาวต่างชาติแต่พวกข้าหลวงตามหัวเมืองกลับปฏิเสธสงครามและพวกปัญญาชนในเมืองเซี่ยงไฮ้ก็ยังได้ให้ความช่วยเหลือข้าหลวงในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีนที่ต่อต้านการประกาศสงครามด้าย
ส่วนกองกำลังนานาชาติได้ทำการป้องกันบริเวณสถานทูตของตนจากการโอบล้อมจากกบฏนักมวยภายใต้คำสั่งของบาทหลวงชาวอังกฤษ เรื่องราวเกิดขึ้นเมือกบฏนักมวยบุกเข้าไปในกรุงปักกิ่งได้สังหารชาวจีนที่เป็นคริสเตียนกว่าหนึ่งหมื่นคนและจับกุมชาวต่างช่าติไปเป็นเชลยจำนวนมากเรื่องการจลาจลจำนวนมากได้ลงในหนังสือพิมพ์ทั้งในจีน ญี่ปุ่น ยุโรปและอเมริกาจำนวนมาก แต่เชลยทั้งหมดก็ถูกปลดปล่อยโดยกองอำลังนานาชาติในที่สุด
[แก้] กองกำลังนานาชาติ
[แก้] การเสริมกำลัง
กองทัพเรือของชาวต่างชาติได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อทัพเรือ 8 ประเทศรวมตัวกันในชายฝั่งทะเลทางตอนเหนือของจีนในปลายเดือนเมษายนปี 1900 จนในวันที่ 31 พฤษภาคม ปี1900ได้เรียกร้องสิทธิชาวต่างชาติที่สถานทูตในกรุงปักกิ่งและได้ส่งทหารเรือ 435 นายจาก 5 ประเทศที่ฐานทัพที่เตากูไปกรุงปักกิ่ง
[แก้] การเข้าไปแทรกแทรงครั้งแรก
ในสถานการณ์ที่เลวร้ายกองกำลังนานาชาติที่อยู่บนเรือประมาณ 2,000 คนภายใต้คำสั่งของนายพลเอ็ดเวิร์ดซีมัวร์ได้ส่งกำลังไปกรุงปักกิ่งโดยการเดินทางจากท่าเรือเตากูไปเมืองเทียนจินนั้นได้รับความร่วมมืออย่างดีจากข้าหลวงเมืองเทียนจินเป็นอยางดีแต่การเดินทางจากเทียนจินไปกรุงปักกิ่งนั้นมีการตรวจตราชาวต่างชาติอย่างเข้มงวด ถึงอย่างไรก็ตามนายพลซีมัวร์ก็ยังเดินหน้าต่อไปและสามารถนำทหารเดินเท้าไปกรุงปักกิ่งสำเร็จจนได้
ถึงอย่างไรก็ดีกองทัพของเข้าก็ถูกล้อมและทางรถใฟหลายสายก็ถูกทำลายนายพลซีมัวร์จึงตัดสินใจถอยทัพกลับเมืองเทียนจินในวันที่ 26 มิถุนายน ปี1900 ในที่สุด
[แก้] การเข้าไปแทรกแทรงครั้งที่ 2
หลังจากนายพลซีมัวร์ถอยทัพกลับเมืองเทียนจินแล้วทางกองกำลังนานาชาติก็สร้างกำลังทหารขึ้นมาใหม่และในวันที่ 17 กรกฎาคม ปี 1900 กองกำลังนานาชาติได้สร้างป้อมปราการขึ้นใกล้เมืองเทียนจินและท่าเรือเตากูขึ้น กองกำลังนานาชาติภายใต้คำสั่งของนายพลอัลเฟรด แกสลีประมาณ 45,000 คน ญี่ปุ่น (20,840), รัสเซีย (13,150), สหราชอาณาจักร (12,020), ฝรั่งเศส (3,520), สหรัฐอเมริกา (3,420), เยรมนี (900), อิตาลี (80), ออสเตรีย-ฮังการี (75)ได้ยึดเมืองเทียนจินในวันที่ 14 กรกฎาคม ปี 1900