โทมัส ฮอบส์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) (5 เมษายน พ.ศ. 2131 (ค.ศ. 1588) - 4 ธันวาคม พ.ศ. 2222 (ค.ศ. 1679)) เป็นนักปรัชญาการเมือง ชาวอังกฤษ ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังจากผลงานที่สำคัญคือหนังสือชื่อ Leviathan ที่เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2194 หนังสือเล่มนี้กลายเป็นฐานประเด็นในแนวปรัชญาการเมืองตะวันตกในสมัยต่อมาในเกือบทุกแนว
ถึงแม้ว่าทุกคนได้รู้จักโทมัส ฮอบส์จากงานเขียนกี่ยวกับปรัชญาการเมืองตะวันตกก็จริง แต่ที่จริงแล้วฮอบส์ได้สร้างผลงานที่เป้นประโยชน์ไว้อีกหลายด้าน เช่น ประวัติศาสตร์ เรขาคณิต เทววิทยา จริยธรรม รวมทั้งด้านปรัชญาทั่วๆ ไปอีกหลายเรื่อง และที่เป็นที่รู้จักในปัจจุบันว่า รัฐศาสตร์ (political science) นอกจากนี้สิ่งที่ฮอบบส์เชื่อที่ว่า "มนุษย์นั้นโดยธรรมชาติมีการร่วมมือกันก็โดยมุ่งผลประโยชน์ส่วนตัว" ซึ่งข้อคิดนี้ได้รับการพิสูจน์ในทฤษฎีของ ปรัชญามานุษยวิทยาต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน
เนื้อหา |
[แก้] ชีวิตในวัยเยาว์และการศึกษา
โทมัส ฮอบส์ เกิดที่วิลท์ไชร์ ประเทศอังกฤษ เป็นบุตรของพระราชาคณะแห่งชาร์ลตัน และ เวสต์พอร์ตซึ่งหนีออกจากประเทศอังกฤษเนื่องจากการกลัวโทษแขวนคอและปล่อยลูก 3 คนทิ้งไว้ให้พี่ชายชื่อฟรานซิสดูแล ฮอบบส์ได้เข้าเรียนในโรงเรียนโบสถ์ตั้งแต่อายุ 4 ขวบ และเรียนต่อในชั้นที่สูงขึ้นตามลำดับ ฮอบส์เป็นนักเรียนดีและได้เข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยที่เฮิร์ทฟอร์ดคอลเลจ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดเมื่อ พ.ศ. 2146 ที่มหาวิทยาลัย ฮอบส์ได้เป็นครูกวดวิชาให้กับบุตรชายของวิลเลียม คาเวนดิช บารอนแห่งฮาร์ดวิกซึ่งกลายเป็นมิตรภาพกับครอบครัวนี้อย่างต่อเนื่องกันไปชั่วชีวิต
ฮอบบส์กลายเป็นคู่หูของวิลเลียมผู้เยาว์ ได้ร่วม "การท่องเที่ยวครั้งใหญ่" (en:Grand tour -ประเพณีของคนอังกฤษชั้นสูงวัยหนุ่มระหว่างประมาณ พ.ศ. 2200 - พ.ศ. 2360 เพื่อท่องยุโรปแผ่นดินใหญ่เพื่อเรียนรู้ แสวงหาและสัมผัสกับปรัชญาและวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ ที่รุ่งเรืองในที่นั้น) ฮอบบส์ได้สัมผัสกับวิทยาศาสตร์และวิธีการคิดเชิงวิฤติของยุโรปซึ่งแตกต่างกับ "ปรัชญาเชิงอัสสมาจารย์" (scholastic philosophy) ที่ได้เขาเคยเรียนที่ออกซ์ฟอร์ดซึ่งมุ่งเรียนอย่างจริงจังทางกรีกคลาสสิกและละติน
แม้ว่าฮอบส์จะมีโอกาสได้คลุกคลีกับนักปรัชญามีชื่อเช่น เบน จอนสัน และ ฟรานซิส เบคอนมานานแต่ก็ไม่ได้สนใจด้านปรัชญาจนกระทั่งถึงหลังจาก พ.ศ. 2172 คาเวนดิชซึ่งได้เลื่อนเป็นเอร์ลแห่งเดวอนไชร์ผู้เป็นนายจ้างฮอบส์ได้เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2171 และภริยาหม้ายของคาเวนดิชได้บอกเลิกจ้างเขา แต่ในเวลาต่อมาฮอบบส์ก็ได้งานใหม่เป็นครูกวดวิชาให้กับลูกของเซอร์เกอร์วาส คลิฟตันซึ่งส่วนใหญ่ทำงานในปารีสและจบลงเมื่อ พ.ศ. 2174 เนื่องจากการได้พบกับครอบครัวคาเวนดิชอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้เป็นงานกวดวิชาให้กับลูกชายของนักเรียนเก่า ในช่วงต่อมาอีก 7 ปี ฮอบส์ได้เพิ่มพูนความรู้ด้านปรัชญาไปพร้อมกับงานกวดวิชาซึ่งทำให้เขาเกิดความอยากรู้อยากอภิปรายเกี่ยวปรัชญามากขึ้นและได้กลายเป็นนักอภิปรายปรัชญาหลักที่เป็น "ขาประจำ" ในยุโรป และจากปี พ.ศ. 2180 เป็นต้นมา ฮอบส์ได้ถือว่าตนเองเป็นนักปรัชญาและผู้รอบรู้
[แก้] ที่ปารีส
ที่ปารีสฮอบส์ได้ศึกษาลัทธิปรัชญาในหลายๆ ด้านและได้ทดลองเข้าถึงปัญหาด้วยแนวทางฟิสิกส์ ได้พยายามไปถึงการวางระบบความคิดที่ละเอียดบรรจงขึ้นซึ่งได้กลายเป็นงานที่ฮอบบ์ได้อุทิศชีวิตให้ ฮอบส์ได้ทำศาสตรนิพนธ์หลายเรื่อง เช่นเกี่ยวกับลัทธิที่เป็นระบบเกี่ยวกับร่างกายเพื่อแสดงให้เห็นว่าปรากฏการณ์ทางกายภาพสามารถอธิบายอาการเคลื่อนไหวได้อย่างไร ฮอบบ์ได้แยกเอา มนุษย์ ออกจากอาณาจักรของธรรมชาติและพืชพรรณ ในอีกศาสนตรนิพนธ์หนึ่ง ฮอบบ์ได้แสดงให้เห็นว่าการเคลื่อนไหวเฉพาะบางอย่างของร่างกายเนื่องมาจากผลของปรากฏการณ์ผัสสาการ (ศัพท์ปรัชญา = sensation) ความรู้ วิภาพ (ความชอบ = affection) และกัมมภาวะ (ความดูดดื่ม, กิเลส = passion) และสุดท้ายในศาสตรนิพนธ์อันลือชื่อ ฮอบบ์แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ถูกผลักดันเข้าสังคมได้อย่างไรและตั้งประเด็นว่าจะต้องออกกฎระเบียบใช้บังคับหากไม่ต้องการให้มนุษย์ต้องตกสู่ "ความเหี้ยมโหดและความทุกข์ระทม" ทำให้ฮอบบ์เสนอการรวมปรากฏการณ์ที่ว่าแยกกันของ ร่างกาย" มนุษย์และ รัฐ เข้าเป็นหนึ่งเดียว
โทมัส ฮอบบ์กลับบ้านเมื่อ พ.ศ. 2180 ในขณะที่อังกฤษกำลังเกิดสงครามกลางเมืองสู้กันระหว่างบิชอปซึ่งมีผลกระทบต่องานศึกษาค้นคว้าทางปรัชญา แต่ฮอบส์ก็สามารถเขียนศาสตรนิพนธ์เรื่อง "Human Nature" และ "De Corpore Politico" แล้วเสร็จและตีพิมพ์ร่วมกันภายหลังใน 10 ปีต่อมาในชื่อ "The Element Of Law"
ในปี พ.ศ. 2183 ฮอบส์ได้หนีกลับไปฝั่งเศสอีกครั้งด้วยรู้ว่าการเผยแพร่ศาสตรนิพนธ์ที่เขาเขียนขึ้นกำลังให้ร้ายแก่ตัวเอง คราวนี้ฮอบส์ไม่ได้กลับบ้านอีกเป็นเวลา 11 ปี ฮอบส์ได้เขียนหนังสืออื่นๆ อีกหลายเล่มเกี่ยวกับปรัชญาการเมือง เขาเกิดในยุคเดียวกับ เดส์การตส์ และเขียนบทวิจารณ์ตอบบทหนึ่งของหนังสือ "การครุ่นคิด" ของเดส์การตส์ซึ่งตีพิมพ์เมื่อพ.ศ. 2184 งานเขียนหลายๆ เรื่องของฮอบส์ได้ส่งให้เขามีชื่อเสียงมากขึ้นในวงวิชาการด้านปรัชญา
[แก้] เลอไวอะทัน -
"เลอไวอะทัน" (Leviathan) (พ.ศ. 2194) เป็นศาสตรนิพนธ์ชิ้นเอกด้านปรัชญาทางการเมืองที่ฮอบส์ใช้เผยแพร่ "ลัทธิพื้นฐานของสังคมกับรัฐบาลที่ชอบธรรม" ซึ่งเนื้อหาของหนังสือนี้ได้กลายเป็นต้นตำหรับของงานวิชาการทางปรัชญาด้าน "สัญญาประชาคม" และในหนังสือ "สภาวะตามธรรมชาติของมวลมนุษย์" ในเวลาต่อมา ซึ่งว่าในขณะที่คนๆ หนึ่งที่อาจแข็งแรงหรือฉลาดกว่าใครๆ แต่เมื่อกำลังจะถูกฆ่าให้ตาย ในฐานะมนุษย์ตามสภาวะตามธรรมชาติ เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็จะต่อสู้ทุกวิถีทาง ฮอบส์ถือว่าการต่อสู้ป้องกันตัวเพื่อเอาชีวิตรอดจากสิ่งใดก็ตามในโลกเป็นสิทธิ์และความจำเป็นตามธรรมชาติของมนุษย์
เลอไวอะทันเป็นงานที่ฮอบส์เขียนขึ้นในระหว่างความยากลำบากของสงครามกลางเมืองของอังกฤษที่เต็มไปด้วยความยุ่งเหยิงที่มีการเรียกร้องให้มีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความไม่ลงรอยที่นำไปสู่สงครามกลางเมือง มีการยอมให้ใช้อำนาจมากไปบ้างเพื่อรักษาสันติภาพ ด้วยสภาวะความยุ่งเหยิงทางการเมืองขณะนั้นทำให้ทฤษฎีทางการเมืองของฮอบส์ที่ว่า องค์อธิปัตย์ หรือ อำนาจอธิปไตยควรมีอำนาจในการควบคุมพลเรือน ทหาร ตุลาการ และศาสนาได้รับการยอมรับ
ฮอบส์แสดงออกมาอย่างเปิดเผยว่าองค์อธิปัตย์จะต้องมีอำนาจครอบคลุมไปถึงศรัทธาและลัทธิ และว่าถ้าไม่ทำเช่นนั้นย่อมเป็นการนำไปสู่ความแตกแยกในที่สุด
[แก้] ฮอบบีเซียน (Hobbesian)
คำว่า ฮอบบีเซียน ในภาษาอังกฤษสมัยใหม่บางครั้งหมายถึงสถานการณ์ของการแข่งขันที่ไม่มีการควบคุม มีแต่ความเห็นแก่ตัวและไร้อารยธรรม เป็นความหมายที่นิ่งแล้ว แต่ก็เพี้ยนไม่ตรงความเป็นจริงด้วยเหตุผล 2 ประการคือ ประการแรกเลอไวอะทันได้พรรณาสถานการณ์นี้ไว้จริงแต่เพื่อเพียงใช้สำหรับการวิจารณ์ อีกประการหนึ่งฮอบส์และเป็นหนอนหนังสือเป็นกระดากที่จะชี้แจง อีกความหมายหนึ่งที่ใช้เกือบทันทีหลังการตีพิมพ์คือ "อำนาจคือธรรม"
[แก้] ชีวิตบั้นปลาย
ฮอบส์ได้พยายามตีพิมพ์ผลงานด้านคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ที่ไม่ค่อยดีนักไปพร้อมๆ กับงานด้านปรัชญา ในช่วงของ ยุคปฏิสังขรณ์ (The Restoration) (การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ ราชวงศ์สกอตแลนด์ และราชวงศ์ไอร์ริชโดยพระเจ้าชาร์ลที่ 2 กษัตริย์หนุ่มของอังกฤษ) ชื่อเสียงของฮอบส์ได้โด่งดังขึ้นจนพระเจ้าชาร์ล ที่ 2 ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของฮอบส์เมื่อครั้งยังเป็นปรินซ์ออฟเวลล์ลี้ภัยอยู่ในปารีสจำได้ จึงมีรับสั่งให้ฮอบส์เข้ารับราชการในราชสำนักและพระราชทานบำนาญแก่ฮอบส์ปีละ 100 ปอนด์
พระเจ้าชาร์ลต้องช่วยปกป้องฮอบส์จากการถูกกล่าวหาว่าเขียนหนังสือหมิ่นศาสนาและไม่ยอมรับว่าพระเจ้ามีตัวตนจากซึ่งเกิดจากความพยายามของรัฐสภาที่จะออกกฎหมายเพื่อเอาผิดฮอบส์ แม้จะเอาผิดฮอบส์ไม่ได้ แต่ก็มีผลทำให้ฮอบส์ไม่กล้าตีพิมพ์งานของเขาในอังกฤษอีก
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2222 ฮอบส์ป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ ตามด้วยภาวะเส้นเลือดในสมองแตกจนเป็นอัมพาต ฮอบส์เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 4 ธันวาคมปีนั้น ด้วยวัย 91 ปี ศพได้รับการฝังที่สนามของโบสถ์อัลท์ฮักนาล ในเดวอนไชร์ ประเทศอังกฤษ
โทมัส ฮอบส์ มีอายุยืนยาวมาก มีชีวิตอยู่ตรงกับระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชา และสมเด็จพระเพทราชาในสมัยอยุธยาซึ่งในช่วงนั้นมีกษัตริย์อยุธยาครองราชย์รวมแล้วถึง 12 รัชกาล
[แก้] ดูเพิ่ม
|
|
---|---|
ก่อนโสกราตีส • เธลีส • โสกราตีส • เพลโต • อริสโตเติล • เอพิคิวเรียน • ลัทธิสโตอิก • โพลตินัส • พีร์โร • ออกัสตินแห่งฮิปโป • โบอีเทียส • อัลฟาราบี • แอนเซล์มแห่งแคนเทอเบอรี • ปีแยร์ อาเบลา • อะเวร์โรอีส • ไมมอนิดีส • โทมัส อควีนาส • แอลเบอร์ทัส แมกนัส • ดันส์ สโกตัส • รามอง ยูย์ • วิลเลียมแห่งออกคัม • โจวันนี ปีโก เดลลา มีรันโดลา • มาร์ซีลีโอ ฟีชีโน • มิเชล เดอ มงตาญ • เรอเน เดส์การตส์ • โทมัส ฮอบส์ • แบลส ปาสกาล • บารุค สปิโนซา • จอห์น ล็อก • นีโกลา มาลบรองช์ • กอทท์ฟรีด ไลบ์นิซ • จัมบัตติสตา วีโก • ชูเลียง โอเฟรย์ เดอ ลา เมตรี • จอร์จ บาร์กลีย์ • มองเตสกิเออร์ • เดวิด ฮูม • วอลแตร์ • ชอง-ชาก รุสโซ • เดนี ดีเดโร • โยฮันน์ แฮร์เดอร์ • อิมมานูเอิล คานท์ • เจเรอมี เบนทัม • ฟรีดิช ชไลเออร์มาเคอร์ • โยฮันน์ กอทท์ลีบ ฟิคเทอ • G.W.F. เฮเกิล • ฟรีดิช ฟอน เชลลิง • ฟรีดิช ฟอน ชเลเกิล • อาเธอร์ โชเพนเฮาเออร์ • เซอเรน เคียร์เคอกอร์ • เฮนรี เดวิด ทอโร • ราล์ฟ วอลโด เอเมอร์สัน • จอห์น สจวร์ต มิลล์ • คาร์ล มาร์กซ • มีฮาอิล บาคูนิน • ฟรีดิช นีทเชอ • วลาดีมีร์ โซโลวีฟ • วิลเลียม เจมส์ • วิลเฮล์ม ดิลเทย์ • C. S. เพิร์ซ • กอทท์ลอบ เฟรเก้ • เอดมุนด์ ฮุสเซิร์ล • อองรี แบร์ซง • แอนสท์ คัสซิเรอร์ • จอห์น ดิวอี • เบนาเดตโต โกรเช • โคเซ ออร์เตกา อี กัสเซต • แอลฟริด นอร์ท ไวต์เฮด • เบอร์ทรานด์ รัสเซิลล์ • ลุดวิก วิทท์เกนสไตน์ • แอนสท์ บลอค • เกออร์ก ลูคัช • มาร์ติน ไฮเดกเกอร์ • รูดอล์ฟ คาร์นาพ • ซีโมน แวย • มอรีซ แมร์โล-ปงตี • ฌอง ปอล ซาร์ตร์ • ไอย์น แรนด์ • ซีโมน เดอ โบวัวร์ • จอร์จ บาไตลล์ • ธีโอดอร์ อดอร์โน • มักซ์ ฮอร์คไฮเมอร์ • ฮานนาห์ อเรนดท์ • กอร์เนลีอุส กาสโตรีอาดิส
|