ผลงานของโทมัส ฮอบส์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผลงานของโทมัส ฮอบส์
Leviathan ของโธมัส ฮอบส์กำเนิดขึ้นมาจากที่เขานำความคิดที่เกิดสงครามกลางเมือในอังกฤษมาใช้แนววิธีทางเรขาคณิตให้เป็นไปตามแนวคิดของเขาตามเหตุผลจนนักปรัชญาท่านอื่นยากจะโต้เถียงได้ ในบทนี้จะนำความคิดของโธมัส ฮอบส์มาปรับในวิธีการเรขาคณิตตามแนวคิดของ สมบัติ จันทรวงศ์ จากหนังสือ ปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ เขาได้สังเกตจากากรศึกษา Leviathan ของฮอบส์ พิจารณ์จากการใช้เหตุผลและขึ้นตอนต่าง ๆ ล้วนเป็นไปตามครรลองแห่งเรขาคณิตทั้งสิ้น จึงนำความคิดของฮอบส์ดังกล่าวมาประยุกต์ อาศัยวิธีการพิสูจน์ตามแนวเรขาคณิตอย่างจริงจัง แต่ฮอบส์เองก็ไม่ได้พิสูจน์ตามในทฤษฎีของสมบัติ จันทรวงศ์ มี 16 ข้อ สมบัติ จันทรวศ์ ได้เสนอทฤษฎี 16 ข้อในหัวข้อ 1.3 ของบทนี้ เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นตามฮอบส์ที่นำวิธีทางเรขาคณิตมาเป็นแนวความคิดของฮอบส์ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
1. หนังสือ Leviathan ของโธมัส ฮอบส์ Leviathan เป็นหนังสือที่ลือชื่อที่สุดของฮอบส์ เมื่อตีพิมพ์ออกใน ค.ศ. 1651 ฮอบส์ปรารภว่าเขียนขึ้นเพราะสมัยนั้นบ้านเมืองไม่มีขื่อไม่มีแป ทั้งนี้เราต้องรู้ว่าในช่วงนั้นอังกฤษได้เผชิญกับสงครามกลางเมือง พวกที่ถือตัวว่ายึดเอาความบริสุทธิ์ทางคริสศาสนา(Puritans)ได้เรียกร้องต้องการความยุติธรรมทางการเมือง จนเกิดการรบพุ่งประหัตประหารกันขึ้น(ส. ศิวรักษ์, 2546 : หน้า 91) 1.1 วิธีการของฮอบส์ใน Leviathan สิ่งที่เป็นปัญหาสำหรับผู้ที่อยู่ห่างจากแวดวงของรัฐศาสตร์ประการแรกก็คือ Leviathan ว่าหมายถึงอะไร และปัญหารองลงมาก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญาการเมือง (Political) กับวิชาเรขาคณิต (Geometry) สำหรับปัญหาแรก Leviathan เป็นงานเขียนทางปรัชญาการเมืองที่ทรงความสำคัญยิ่งจากศตวรรษที่ 17 ถึงปัจจุบัน Leviathan เขียนขึ้นโดยชาวอังกฤษชื่อ โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) ในศตวรรษดังกล่าว และนามของฮอบส์ก็โด่งดังขึ้นมาก็เพราะหนังสือเล่มนี้ Leviathan กล่าวถึงเรื่องต่าง ๆ ซึ่งสรุปได้สั้นที่สุดจากชื่อรองของหนังสือเล่มนี้ คือว่าด้วย สสาร, รูปแบบ และอำนาจของรัฐทั้ง ศาสนจักรและอาณาจักร ตามตัวอักษรอันปรากฏอยู่บนปกของหนังสือนี้ และ Leviathan เป็นที่รวมความคิดทางการเมือง และปรัชญาของฮอบส์ไว้อย่างน่าสนใจ ปัญหาประการที่สองก็คือความเกี่ยวพันระหว่างคณิตศาสตร์กับปรัชญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาการเมือง ซึ่งควรจะหาข้อยุติเสียก่อนในที่นี้ว่า ปรัชญาการเมืองคืออะไรกันแน่ เราอาจจะเริ่มจากการแยกศัพท์เป็น “ปรัชญา” และ “การเมือง” แล้วก็ค่อย ๆ สรุปลงมาเป็นความหมายก็ได้ แต่ในที่นี้ไม่ประสงค์จะเน้นหนักในเรื่องของศัพท์แสงต่าง ๆ จึงขอเสนอข้อยุติเสียเลยว่าปรัชญาการเมือง นั้นหมายถึง ความพยายาม ที่จะแทนที่ ความเห็น ในเรื่องธรรมชาติของการเมืองด้วยความรู้ ในเรื่องธรรมชาติของสิ่งการเมืองและระเบียบทางการเมืองที่ถูกที่ดีด้วย ในเรื่องของความพยายามที่จะศึกษาปรัชญาการเมืองนั้น เราอาจใช้วิธีต่าง ๆ ได้หลายวิธีการในการแยกข้อแตกต่างระหว่างความเห็น (Opinion) และความรู้ (Knowledge) ตามคติของโสเกรตีส ซึ่งก็คือว่า ความเห็น นั้นอาจมีได้มากหลาย และอาจผิดพลาดได้ แต่ความรู้นั้นในแต่ละกิจการย่อมมีความรู้แท้จริงอยู่อย่างเดียว และไม่มีการผิดพลาด หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือ แท้ที่จริงแล้ว ความรู้ ก็คือ สัจจะคือความจริง (Truth) นั่นเอง ในบรรดาวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการศึกษาหาสัจจะคือความจริง เช่น ตรรกวิทยา คือการคิดหาเหตุผลว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ (Logic) และการศึกษาทางประวัติศาสตร์นั้น คณิตศาสตร์ก็เป็นศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับในความเป็นวิทยาศาสตร์ก็ได้มีส่วนอย่างสำคัญในการศึกษาปรัชญาแต่โบราณ นี้คือวิธีการที่ฮอบส์ศึกษาพัฒนาความคิดของตน และพยายามนำเสนอประชาชนถึง Leviathan อันเป็นเป้าหมายอุดมคติของเขาในท้ายที่สุด เพราะผู้ศึกษาส่วนใหญ่ก็ล้วนมองเห็นและเข้าใจ ฮอบส์เอาอย่างง่าย ๆ จากข้อเสนอของเขาในหนังสือ Leviathan เล่มนี้เท่านั้น ทั้งที่อันที่จริง ก่อนจะมาเป็น Leviathan ฮอบส์ได้ใช้ความพยายามอย่างมากที่จะทดแทนความเห็นด้วยความรู้ เขาเชื่อว่าสิ่งที่เขาคิดนั้นเป็นสัจจะ (Truth) และเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในการนี้เขาได้ใช้วิธการในทางคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะ เรขาคณิต เพื่อสร้างองค์อธิปัตย์ขึ้นให้ประชาชนได้รู้จัก และทำให้คนส่วนใหญ่ต้องประสบความลำบากในการโต้ตอบกับความคิดของเขามาก แนวความคิดและวิธการของฮอบส์ในการสร้าง Leviathan เป็นสิ่งที่พึงศึกษาและวิเคราะห์วิจารณ์ให้ประจักษ์ชัดขึ้น ทั้งนี้ก็เพราะ แนวความคิดของเขาในเรื่องของธรรมชาติมนุษย์นั้นแสดงชัดในรูปแบบใหม่ เต็มไปด้วยกลิ่นไอของเครื่องจักรกลอันเป็นผลมาจากการฟื้นฟูทางวิทยาศาสตร์และวิทยาการในสมัยนั้น เราจะไม่อาจเข้าใจเขาได้อย่างชัดเจน หากไม่เข้าใจถึงวิธีการ (means) ที่ฮอบส์นำมาใช้คือ เรขาคณิต (Geometry) ด้วยเหตุนี้จะพิจารณาถึงที่มาและลักษณะของเรขาคณิตตามสมควร และเราจะได้เห็นเองในเวลาต่อไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างเรขาคณิตกับปรัชญาการเมืองโดยเฉพาะของฮอบส์เป็นปัญหาชวนฉงนดังที่กล่าวไว้ข้างต้น 1.2 แก่นสารของเรขาคณิต Geometry (เรขาคณิต) มาจากภาษากรีก ซึ่งแยกศัพท์ได้เป็น Geo แปลว่า Earth หรือแผ่นดิน ส่วน metry แปลว่า Measure หรือการวัด เมื่อนำมารวมกันเป็น Geometry จึงได้ความหมายเป็นว่า การวัดแผ่นดิน หรือพื้นโลกนั่นเอง ต้นกำเนิดของเรขาคณิตในอดีต เกิดขึ้นเสมือนวิชาสามัญบรรดามีทั้งหลายในมวลมนุษย์ ตามภาษิตที่ว่า Need is the mother of all Inventions หรือความจำเป็น เป็นบ่อเกิดแห่งการประดิษฐ์คิดค้นทั้งหลาย เรขาคณิตเกิดขึ้นครั้งแรกในอียิปต์โบราณ ซึ่งประสบภาวะแม่น้ำไนล์ท่วมท้นฝั่งอยู่เสมอ ชาวอียิปต์จึงจำต้องสำรวจพื้นที่ตลอดจนจัดรูปอาณาเขตก็คือ “การวัดแผ่นดิน” ดังกล่าวนั่นเอง เรขาคณิตในยุคนี้จัดเป็น Empirical Geometry ที่ขึ้นอยู่กับการสังเกตและการทดลอง ตัวเลขหยาบ ๆ เพื่อประโยชน์ในการัดรูปเรขาคณิตชนิดต่าง ๆ ถัดมาจากชาวอียิปต์ ชาวบาบิโลเนียซึ่งอาศัยอยู่แถมลุ่มน้ำ ยูแฟรติส และไทกริส ก็นำวีการวัดแผ่นดินดังกล่าวมาใช้ในเรื่องการสร้างรถม้าของเขา ซึ่งต้องแบ่งวงกลมออกเป็น 4 ส่วนหรือ 6 ส่วนเท่า ๆ กัน ต้องมีการแบ่งมุมออกเป็น 360 องศา ให้1องศาเท่ากับ60ลิปดา และ 1ลิปดาเท่ากับ60 ฟิลิปดา รวมไปถึงการเริ่มใช้ค่า (พาย) เท่ากับ 3 เหมือนกับพวกฮีบรูด้วย ปัจจุบันเราใช้ค่า = 22/7 หรือ 3.1414 ในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล ทาลีส (Thales) ชาวกรีกบิดาแห่งคณิตศาสตร์เริ่มประยุกต์ Empirical Geometry มาใช้ในการศึกษา มุมยอด (Vertical Angles) ที่เท่ากัน มุมที่ฐานที่เท่ากันของสามเหลี่ยมหน้าจั่ว และการแบ่งวงกลมโดยอาศัยเส้นผ่าศูนย์กลาง อาจจะเรียกเรขาคณิตยุคนี้ด่า เป็นเรื่องว่าด้วยเส้นต่าง ๆ โดยใช้การให้เหตุผลทางตรรกวิทยาเป็นเครื่องมือสำคัญ แต่เดิมมาการศึกษาเรขาคณิตเน้นหนักอยู่ในเรื่องปรัชญาของเรขาคณิต มิได้มุ่งเน้นกันที่เรขาคณิตประยุกต์กันมากนัก ล่วงมาถึงในสมัยกรีกนี้เองที่ เรขาคณิตในฐานะของแขนงวิชาที่เก่าแก่ที่สุดหนึ่งสนสามสาขาของคณิตศาสตร์ อีก 2 สาขาคือ พีชคณิตและวิเคราะห์ (Algebra & analysis) เริ่มจะมีความเป็นคณิตศาสตร์จริงจังขึ้นโดยมีการเริ่มศึกษาถึงคุณสมบัติของพื้นที่และปริมาตร ซึ่งพวกกรีกพัฒนามาจากอียิปต์ เรียกกันว่าเรขาคณิตสาธิต หรือ Demonstration Geometry โดยมีพื้นฐานอยู่ที่ว่าคุณสมบัติต่าง ๆ ของเรขาคณิตสัมพันธ์กันและกันด้วยเหตุผลทางตรรกวิทยา จุดที่พึงสนใจที่สุดในความก้าวหน้าของปรัชญาคณิตศาสตร์ของกรีก น่าจะอยู่ที่ความคิดของ “เซโน” (Zeno) ผู้พยายามกล่าวถึงการเคลื่อนไหว (Motion) ว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้และไม่มีอยู่จริง เขาอ้างว่า ในขณะที่ลูกธนูวิ่งฝ่าอากาศมาสู่เป้าหมายนั้น อันที่จริงในแต่ละส่วนของเวลา ลูกธนูนั้นล้วนมีตำแหน่งอยู่ ณ แห่งใดแห่งหนึ่งด้วยกันทั้งสิ้น กล่าวง่าย ๆ ก็คือ หากธนูพุ่งผ่านอากาศมาสู้เป้าหมายซึ่งอยู่ห่างจากผู้ยิง 300 ฟุต ใช้เวลาไปถึงเป้าหมาย 3 วินาที จะเห็นว่าใน 1 วินาที ลูกธนูยืนอยู่เป็นตำแหน่งแรกของลูกธนูนั้น เมื่อเวลา 1/100 วินาทีแรกของ 3 วินาที ความคิดทำนองนี้ Aristotle เองก็เคยอธิบายไว้ใน Physics ของเขาเช่นกัน ความคิดของเซโนเช่นนี้ ทำให้เขาได้รับการกล่าวขานว่าเป็น Parologist ซึ่งกินเวลาอีกราวกว่าสองพันปี ที่ Paul Tannery และ Bertrand Russell จะแสดงความเห็นด้วยต่อทฤษฎีของเซโนอย่างจริงจัง และได้ให้กำเนิดทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่าทฤษฎี Continuum เป็นสิ่งที่ต่อเนื่องติดพันโดยแยกกันไม่ออก ยิ่งไปกว่านั้นในเวลาต่อมา นักคณิตศาสตร์กรีกเลยเชื่อกันว่าจะไม่มีทางมีศาสตร์แห่งเรขาคณิตได้ หากไม่ทำลายแนวความคิด (Concept) แห่งความลึกลับของอนันตภาวะ (infinity) คือความไม่มีขอบเขต และ fixed infinitesimals คือความไม่มีที่สิ้นสุดถาวร เสียก่อนให้จงได้ อย่างไรก็ตาม ถัดมาจาก เซโนแล้ว ไม่มีใครอีกเลยในช่วงเวลาของกรีกที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดเกี่ยวเนื่องกับเรขาคณิตยิ่งไปกว่า ยูคลิต (Euclid) ยุคลิด (Euclid or Euklcides) แห่งอเล็กซานเดรีย เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวกรีกมีชีวิตอยู่ราว 300 ปีก่อนคริสตกาล ในสมัยของพระเจ้า พโตเลมีที่ 1 จากปี 306-283 ก่อนคริสตกาล เชื่อกันว่าเขาได้รับการศึกษาจากโรงเรียนคณิตศาสตร์ในอเล็กซานเดรียในช่วงเวลาดังกล่าว นามของยูคลิดคงอยู่คู่กับเรขาคณิตตลอดมาในฐานะของบิดาแห่งเรขาคณิต ทั้งที่ในแง่ของเนื้อหาแล้วเขาเป็นประโยชน์ต่อเรขาคณิตน้อยมาก แต่คุณค่าสูงส่งของเขาอยู่ที่การรวบรวมงานทางเรขาคณิตจากอียิปต์โบราณและอื่น ๆ นับพัน ๆ ปีมาจัดระเบียบอย่างเป็นระบบ รวมทั้งเพิ่มพูนบางสิ่งบางอย่างของตนเข้าไปด้วยในหนังสือเรืองนามของเขาชื่อ Elements ที่ได้เรียบเรียงของ Hippocrates ในราว 500 ปีก่อนคริสตกาล Elements เขียนขึ้นในรวม 330-320 ปีก่อนคริสตกาล มี 13 เล่มด้วยกัน 6 เล่มแรก และ 3 เล่มสุดท้าย ว่าด้วย Plane คือระนาบและระดับ และ Solid Geometry คือเรขาคณิตแขนงหนึ่งที่ว่าด้วยรูปทรง เล่มที่ 7, 8 และ 9 ว่าด้วยเลขคณิต และเล่มที่ 10 ว่าด้วย Irrational คือที่ไม่สมเหตุสมผลหรือเลขที่ไม่ลงตัว Elements ของยูคลิด เป็นหนังสือตำราเรขาคณิตที่ถูกใช้มาตลอดกาลอันยาวนานกว่าสองพันปี โดยเกือบจะไม่ได้แก้ไขอะไรมากนัก และก็ยังใช้เป็นตำราเรขาคณิตมาในโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน ได้มีการแปล Element เป็นภาษาละตินกันในราวปี ค.ศ. 1482 และแปลเป็นภาษาอื่นอีกจำนวนหนึ่งต่อจากนั้นมาอีก 88 ปี คือในปี ค.ศ. 1670 Sir Henry Billingsley จึงแปล Elements จากภาษาอาหรับเป็นภาษาอังกฤษอีกทอดหนึ่ง Elements ของยูคลิดนี้เองที่เป็นพื้นฐานความคิดในทางเรขาคณิตของนักปรัชญาชาวยุโรป ตลอดมา โดยเฉพาะ โธมัส ฮอบส์ ซึ่งจะนำมาศึกษาเป็นพิเศษ เราจึงควรจะพิจารณาให้ละเอียดน้อยเกี่ยวกับเรขาคณิตแบบยุคลิด
1.2.1 (Euclidean Geometry) เรขาคณิตแบบยูคลิด (1.2.1.1) Euclidean Geometry แบ่งใหญ่ ๆ ได้ 2 ชนิดคือ (1) Plane Euclidean Geometry ซึ่งศึกษาพื้นที่, พื้นราบและความเกี่ยวข้องระหว่างรูปต่าง ๆ ซึ่งอยู่บนพื้นราบ ในการพิสูจน์เราอาจจะสรุปได้ว่ารูป 2 รูปนั้นคล้ายกัน (Similar) มีพื้นที่ที่เท่ากัน (Equal) หรือเท่ากันทุกประการ (Congruent) เรขาคณิตแขนงนี้มีพื้นฐานอยู่บน “Axiom” คือความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์ 5 ประการ และ “Postulates” 5 ประการ ซึ่งถือกันว่าเป็นสิ่งที่จริงด้วยตัวของมันเอง (Self-evident truth) (2) Solid Euclidean Geometry เป็นการศึกษารูป 3 มิติ กล่าวคือ ศึกษาจากสิ่งที่เป็นจริง เช่นกล่องสีเหลี่ยมหากใช้ Plan Geometry คือเรขาคณิตภาคที่ว่าด้วยรูปแบบหรือระนาบ ศึกษาเราจะได้เพียงความกว้าง, ความยาม และพื้นที่ ซึ่งในทางปฏิบัติ กล่องสี่เหลี่ยมนั้น ยังทรงไว้ซึ่งประมาตร (Volumes) และความสูงหรือความลึกอีกด้วย (Height or Depth) ถ้าโลกของเรากลมแต่แบนราบ เรขาคณิตของยูคลิดทั้งสองแบบก็เพียงพอที่จะใช้ ในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาก็คือ โลกของเรานั้นกลมจริงแต่หาได้แบนราบไม่ หากทรงอยู่ (exists) ในรูปของทรงกลม (Sphere) ในเวลาต่อมาถึงได้มี (Spherical Geometry) คือเรขาคณิตทรงกลม ทั้งนี้ก็เพราะ ในเรขาคณิตปรกติ (Plan & Solid Geometry) เส้นตรงเป็นเส้นที่สั้นที่สุด แต่ใน Spherical Geometry คือเรขาคณิตทรงกลม นั้นเส้นที่สั้นที่สุดคือ เส้นที่เชื่อมจุดสองจุดบนส่วนโค้งเล็กของวงกลมวงใหญ่ ในกรณีของโลก วงกลมใหญ่คือเส้นศูนย์สูตรนั่นเอง (โปรดเปรียบเทียบระหว่างแผนที่กับลูกโลก อันเป็นตัวแทนของ Plane Geometry กับ Spherical Geometry (1.2.1.2) เรขาคณิต (โดยเฉพาะของยูคลิด) มีหน้าที่ดังนี้คือ (1) มีหน้าที่ในการสรรค์สร้างความรู้ใหม่ ๆ โดยอาศัยการให้เหตุผลทางตรรกวิทยาในความมีเหตุผล (2) การประยุกต์แนวคิดทางเรขาคณิตเข้าไปใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง เพราะแนวของเรขาคณิตนั้นเป็นการศึกษาถึงข้อพิสูจน์ ของความสัมพันธ์ ของรูปต่าง ๆ ซึ่งประกอบไปด้วย จุด, เส้น และพื้นที่เป็นต้น อาจจะกล่าวได้ว่า การประยุกต์เอาเรขาคณิตไปใช้นั้น ใช้ได้ในแขนงวิชาการต่าง ๆ เช่นดาราศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์, การเดินเรือ, ฟิสิกส์และวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อเราได้ทราบถึงประวัติความเป็นมา แบบชนิด และหน้าที่ของเรขาคณิตเฉพาะที่จำเป็นแล้ว ก็จะได้กล่าวถึงบางสิ่งซึ่งสำคัญในเรขาคณิต แต่บางคราวผู้ศึกษาก็อาจจะมองข้ามไปบ้างเหมือนกัน เวลาพูดถึง “เรขาคณิต” เรามักนึกถึงรูปสามเหลี่ยมบ้าง วงกลมบ้าง หรือสี่เหล่ยมบ้าง แล้วมีเส้นต่าง ๆ ตัดกัน หากถอยหลังไปถึงเวลาที่เป็นนักเรียนมัธยม รูปแบบขอเรขาคณิตจะประกอบด้วย รูป สิ่งที่กำหนดให้ (Given) สิ่งที่จะต้องพิสูจน์ (Preve that) และการพิสูจน์ (Proof) ซึ่งจะต้องประกอบด้วย ข้อความ (Statements) และเหตุผล (Reasons) เหตุผลเหล่านี้ก็ได้มาจากทฤษฎี (Theorems) บ้างหรือสิ่งที่กำหนดให้บ้าง เมื่อเราพิสูจน์ได้ตามที่โจทย์ต้องการก็เป็นอันสุดกระบวนการของเรขาคณิตข้อนั้น ซ.ต.พ. (ซึ่งต้องพิสูจน์ หรือ Q.E.D) แต่น้อยคนนักที่จะมองเห็นว่าการพิสูจน์แบบเรขาคณิตนั้นแท้จริงเป็นข้อความต่าง ๆ ที่ยืนยันว่า Proposition คือข้อความที่ต้องพิสูจน์หรือโจทย์ นั้นเป็นจริง ข้อความเหล่านี้ พัฒนามาทีละน้อยเป็นขั้น ๆ ด้วยการให้เหตุผลทางตรรกวิทยา อันมีปัจจัยสำคัญ 5 ประการต่อไปนี้เป็นมูลฐาน (1) Primitive Terms หรือคำดั้งเดิม อันได้แก่ จุดและเส้นตรงต่าง ๆ ซึ่งเข้าใจได้โดยไม่ต้องใช้เหตุผล และก็คงไว้โดยไม่ต้องขยายความ แต่ก็อาจจะให้ความหมายตามลักษณะของมันเองได้ เช่น จุด นั้นมีตำแหน่งแต่ไม่มีขนาดในขณะที่ เส้นตรง มีความยาวแต่ไม่มีความกว้าง เป็นต้น (2) Undefined Relations หรือความสัมพันธ์ที่ไม่จำต้องอธิบาย เช่น คุณสมบัติของการที่จุด ๆ หนึ่ง “อยู่บน” เส้นตรงเส้นหนึ่ง หรือการกล่าวว่า จุด B “อยู่ระหว่าง” จุด A และจุด C เป็นต้น (3) Definitions หรือนิยาม ซึ่งเราสร้างขึ้นโดยอาศัย Primitive terms และ undefined Relations เช่นเมื่อเส้นตรงเส้นหนึ่งอยู่บนเส้นตรงอีกเส้นหนึ่ง และทำให้มุมประชิดสองมุมเท่ากันแต่ละมุมเรียกว่าเป็นมุมฉาก และเส้นตรงดังกล่าวเรียกว่าเส้นตั้งฉาก (4) Assumptions หรือสมมุติฐานขึ้นต้น ซึ่งประกอบด้วย Axioms คือความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์ และ Postulates คือเป็นสิ่งที่จริงด้วยตัวของมันเอง อันเป็นข้อความที่ “ตั้งเอาไว้” (Assume) ว่าเป็นจริง สำหรับ Axiom นั้นมีความหมายได้หลายสถาน เช่น ความจริงซึ่งชัดเจนจนกระทั่งยอมรับกันได้โดยไม่ต้องพิสูจน์ เป็นสัจจะในตัวของมันเอง (Self-Evident Truths) หรือในบางแห่ง Axiom อาจหมายถึง Proposition คือโจทย์ในการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งต้องถือว่าเป็นจริงด้วยตัวของมันเอง ไม่ต้องพิสูจน์ต่อไปอีก หรือหมายถึง ข้อความขึ้นมูลฐานของระเบียบวิชาทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งอาจพัฒนาให้กลายเป็นสมมุติฐาน กฎเกณฑ์ หรือทฤษฎีต่อไปได้ ส่วน Postulates นั้นบางทีมองแทบไม่เห็นข้อแตกต่างจาก Axioms ทั้งที่อันที่จริงนั้น Postulate กับ Axioms หาใช่สิ่งเดียวกันไม่ ในคติของยูคลิด Postulate คือเป็นสิ่งที่จริงด้วยตัวของมันเอง เกิดขึ้นเพื่อให้การสร้างรูปเรขาคณิตด้วยไม่บรรทัดและวงเวียน (อันเป็นเครื่องมือที่สมัยนั้นใช้อยู่เพียงสองสิ่ง) เป็นสิ่งที่กระทำได้ Postulates ที่ปรากฏในเรขาคณิตได้แก่ ก. เส้นตรงอาจลากได้จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ข. เส้นตรงเส้นใด ๆ อาจต่อให้ยาว ออกไปได้ ค. วงกลมอาจจะสร้างได้เสมอ โดยมีจุดใดจุดหนึ่งเป็นจุดศูนย์กลาง และมีรัศมีเป็นเท่าใดก็ได้ Postulates เป็น Proposition โจทย์สังเคราะห์ (Synthethic Proposition) ในขณะที่ Axioms เป็น Proposition โจทย์วิเคราะห์ (Analytic Proposition) ซึ่งการปฏิเสธ Axioms เป็นสิ่งที่ไร้สติ (Absurd) เพราะ Axiom เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับความคิด ซึ่งเป็นจริงด้วยตัวของมันเอง ยิ่งกว่านั้น Axiom ยังทำหน้าที่เป็นหลักการอันกำหนดขึ้นแห่งการให้เหตุผลด้วย สิ่งสำคัญที่พึงสังเกตไว้ ณ ที่นี้ก็คือ เมื่อ Postulates ของเราเป็นสิ่งที่ยึดถือว่าจริงและ Axiom ก็เป็นสิ่ง ซึ่งเห็นจริงอยู่แล้ว ข้อความอาศัย Axiom และ Postulates ดังกล่าวก็จะจริงตามไปด้วย ตามหลักตรรกวิทยาความมีเหตุผลนั่นเอง (5) Theorems หรือ ทฤษฎีซึ่งพัฒนาการมาจากการใช้ Primitive Terms, Undefined Relation, Definitions และ Assumptions ดังกล่าวเป็นจริง และหลังจากทฤษฎีดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของความรู้ ซึ่งเราจะนำไปใช้พิสูจน์ปัญหาต่าง ๆ ได้ ทฤษฎีเรขาคณิตจึงเป็นแต่เพียงความจริง และความจริงเท่านั้นที่เป็นตัวยึดทฤษฎีไว้กับระบบทั้ง ๆ ที่มาของทฤษฎีนั้นเป็นเพียงสมมุตฐาน ซึ่งได้รับการยอมรับว่าอยู่นอกเหนืออาณาจักรแห่งความจริงและเท็จ ด้วยลักษณะดังกล่าวนี้เอง คณิตศาสตร์ โดยเฉพาะเรขาคณิตจึงอาจจะเรียกได้ว่าเป็นระบบซึ่งเห็นจริงอยู่แล้ว (Axiomatized System) เท่าที่ได้กล่าวมาแล้ว เป็นแก่นสาระสำคัญของเรขาคณิตของยูคลิด ซึ่งวิธีการที่ใช้ในเรขาคณิตนี้ เราจะไปพิจารณากันว่า ฮอบส์ นำมาใช้ในการสร้างรัฐาธิปัตย์ของเขาได้อย่างไร
1.3 Leviathan ของ ฮอบส์ วิธีการที่ฮอบส์ใช้สร้าง Leviathan หรืออำนาจสูงสุดในรัฐขึ้นมาได้ โดยอาศัยเหตุผลอย่างชาญฉลาดจนเป็นเหตุให้แทบจะไม่มีใครในยุคของเขายอมรับ Leviathan ได้เลย โดยเฉพาะทางศาสนจักรเรียกหนังสือเล่มนี้ว่าเป็น “หนังสือที่พระราชาคณะจะไม่ยอมให้มีอยู่อีกต่อไป 1.3.1 เรขาคณิตและปรัชญาการเมือง เนื่องจากบทความนี้พยายามจะชี้ให้เห็นความผูกพันระหว่างฮอบส์กับเรขาคณิต จึงน่าจะได้อ่านคำวิพากษ์ฮอบส์ในเรื่องนี้โดย Aubreys ผู้เรืองนามในศตวรรษที่ 17 เสียก่อน “เขาอายุ 40 ปีก่อนจะสนใจเรขาคณิตโดยบังเอิญ เพราะเข้าไปอยู่ในห้องสมุดสุภาพบุรุษ (Gentleman’s Library) และหนังสือของยูคลิดคือ Elements เปิดหราอยู่ในหน้า 47 El. Libril. ฮอบส์อ่านข้อความในนั้น “นี้เป็นไปไม่ได้ เพราะ, ให้ตายเถอะ!” (เขามักจะสบถอย่างหนักแน่นเสมอ) ฮอบส์อ่านคำอธิบายซึ่งนำเขากลับไปยัง proposition โจทย์อันหนึ่ง ซึ่งอ้างถึงอีกอันหนึ่ง ซึ่งเขาก็บังเอิญได้อ่านด้วย นี่เองทำให้เขารักเรขาคณิตขึ้นมา” Bertrand Russell เขียนถึงฮอบส์ในเรื่องเกี่ยวกับ เรขาคณิตว่า “เขายังคิดผิด ๆ ว่าตนเองเป็นนักเรขาคณิตที่เก่งกาจ และคิดว่าค้นพบวิธีการทำวงกลมให้เป็นสี่เหลี่ยม เขาถกปัญหานี้กับศาสตราจารย์ในวิชาเรขาคณิตแห่งฮ็อกส์ฟอร์ด ชื่อ Wallis อย่างโง่ ๆ และในที่สุดศาสตราจารย์ก็ทำให้ฮอบส์ดูเป็นตัวตลกไป” ถ้าเราจะมองดูฮอบส์อย่างเป็นธรรม เขาเองไม่ได้เกิดมาเป็นนักคณิตสาสตร์เขาเดียงแต่แสวงหาวิธีการ ที่จะทำให้ศาสตร์ของเขาได้รับการยอมรับ และในเมื่อสมัยนั้นเพิ่งจะผ่านยุคของ ฟรานซิส เบคอนมา วิทยาศาสตร์ในระยะเริ่มต้นจึงเป็นที่สนใจของคนทั่วไป การที่ฮอบส์พยายามทำเรขาคณิตมาใช้ในทางปรัชญานั้นไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร แต่ก็เป็นสิ่งที่มีคุณค่า และเป็นความชาญฉลาดที่น่าชมในการรู้จักใช้ศาสตร์ต่าง ๆ แบบประยุกต์ (Applied Science) นอกจากนั้นที่เขานิยมเรขาคณิตก็เพราะ นิสัยส่วนตัวของฮอบส์ก็คือการโจมตีคู่ต่อสู้ให้พ่ายแพ้อย่างหมดรูป และดูเหมือนว่าเขาจะใช้เรขาคณิตเป็นเครื่องมืออันวิเศษเพื่อสัมฤทธิ์ประโยชน์นี้ ให้แก่ตนเองได้อย่างงดงาม ในเรขาคณิตนั้น การจะพิสูจน์อะไรได้ จะต้องมีสิ่งแรกสุดคือโจทย์ หรือ Given เสียก่อน Given ในกรณีของฮอบส์ก็คือ สภาวะที่เป็นจริงในอังกฤษเวลานั้นนั่นเอง จากประวัติของฮอบส์ เราทราบว่าเขาผ่านช่วงแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของอังกฤษในยุคของพระเจ้าชาร์ลสที่หนึ่งซึ่งถูก โอลิเวอร์ ครอมเวลกับพวกนิยมฝ่ายรัฐสภาประหาร ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายรัฐสภา กับฝ่ายกษัตริย์ ซึ่งคุกรุ่นมานานระเบิดขึ้นในช่วงชีวิตของเขา เหตุการณ์นี้ได้เปลี่ยนสภาพที่เป็นอยู่ในอังกฤษให้กลายเป็นสภาพที่ฮอบส์รังเกียจยิ่ง คือสภาพสงครามกลางเมืองนั่นเอง เราอาจสรุปสภาพของอังกฤษในยุคสมัยนั้นได้ว่า “ชีวิตทางเศรษฐกิจของประเทศ ประสบกับหายนะอันเป็นผลของสงครามกลางเมือง คนนับพันต้องล้มละลาย, งานสาธารณะหยุดชะงักถ้าไม่ถูกทำลายลงไปด้วย ไร่นานับพัน ๆ เอเคอร์ต้องเหี่ยวแห้ง ไม่มีใครเก็บเกี่ยว แทบจะไม่มีใครเคารพกฎหมายเลย, อาชญากรรมและความรุนแรงทวีขึ้นทั่วไปทั้งการฆาตกรรม วางเพลิง และปล้นสะดมกลายเป็นเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวัน เหล่านี้ล้วนเป็นสัญลักษณ์ของสังคมที่พิการและความเสื่อมโทรมของอารยธรรม” ก่อนที่จะพิสูจน์ได้เราจะต้องมีเครื่องมือในเรขาคณิตของยูคลิดนั้น “เครื่องมือ” ที่ใช้ได้แก่ทฤษฎีและ Axiom ต่าง ๆ ก่อนกำเนิดของ Leviathan ฮอบส์ก็สร้าง Axiom ต่าง ๆ ขึ้นก่อน ซึ่งเราได้พิจารณากันในหัวข้อแก่นสารเรขาคณิตไปแล้วว่าเป็นความจริงที่ประจักษ์อยู่ในตัว ฮอบส์ได้เริ่มค้นหนังสือของเขาจากการให้คำจำกัดความ (Definitions) ต่าง ๆ เพราะเขากล่าวว่า “วิธีเดียวที่จะรู้ได้ก็โดยอาศัยนิยาม” นิยามนั้นประกอบด้วยเรื่องต่าง ๆ เช่น ความรู้สึก, คำพูด, ความคิด, เหตุผล, อำนาจ, คุณค่า, เกียรติยศ, ศาสนา และเรื่องต่าง ๆ แล้วจึงได้กฎเกณฑ์ซึ่งเราถือว่าเป็นทั้ง Axioms และ Postulates คือธรรมชาติของมนุษย์และกฎแห่งธรรมชาติ (Nature of Man & Law of Nature) 1.3.2 ธรรมชาติของมนุษย์ ฮอบส์กล่าวว่า ธรรมชาติสร้างมนุษย์มาให้เท่ากันทั้งในทางร่างกายและจิตใจ เขาให้เหตุผลว่า ในด้านร่างกายนั้นแม้คนที่อ่อนแอที่สุด ก็มีกำลังเพียงพอที่จะกำจัดคนที่แข็งแรงที่สุด ไม่ด้วยอาวุธก็โดยการร่วมมือกับผู้อื่น ส่วนในด้านจิตใจ ฮอบส์กล่าวว่าความรอบคอบก็คือประสบการณ์ ซึ่งถ้าให้เวลาเท่า ๆ กันทุกคนก็จะมีสิ่งนี้ได้ เมื่อโดยธรรมชาติมนุษย์เท่ากันเช่นนี้ ก็ทำให้เกิดความเสมอภาคในความหวังที่จะได้ตามที่ตนต้องการเหมือน ๆ กัน และเพราะต้องการของสิ่งเดียวกันเช่นนี้ จึงเกิดความขัดแย้งกันขึ้นและกลายเป็นศัตรูที่จะทำลายล้างกันลงไป ซึ่งสาเหตุหลักที่มนุษย์ต้องต่อสู้ขัดกันรุนแรงก็ได้แก่การแข่งขัน ความหวาดระแวงรู้สึกว่าตนเองไม่มีความปลอดภัย และเพื่อชื่อเสียงบารมี ความขัดแย้งลักษณะนี้ จะชักพามนุษย์ไปอยู่ในภาวะธรรมชาติซึ่งเป็นสภาพที่ไม่มีสังคม คงอยู่ก็แต่ความกลัวและหวาดระแวง ภัยอันตรายจากความตายที่น่าสยอง ชีวิตมนุษย์ก็โดดเดี่ยว ยากจน โสโครก หฤโหด และสั้น ภาวะแบบนี้ ฮอบส์เห็นว่ามนุษย์แต่ละคนอยู่ในสภาพสงครามซึ่งกันและกันไม่มีใครเป็นพวกเป็นมิตรกับใคร ต่างมุ่งหมายจะทำลายล้างกันลงไปให้จงได้ เขาเรียกสภาพดังกล่าวว่า “War of every man against every man” มนุษย์จึงมีสิทธิตามธรรมชาติ (Rights of Nature) ซึ่งหมายถึงว่าตามธรรมชาตินั้นทุก ๆ คนมีเสรีเต็มที่ที่จะปกป้องรักษาชีวิตของตนเองให้ดีที่สุด โดยจะเลือกใช้วีใด ๆ ก็ย่อมได้ทั้งสิ้น จากธรรมชาติดังกล่าวของมนุษย์ ฮอบส์ได้กล่าวถึงกฎแห่งธรรมชาติ (Natural Laws) อันเป็นกฎทั่วไปที่เราจะรู้ได้ด้วยการใช้เหตุผลมีไว้เพื่อปรามมนุษย์มิให้ทำการใดอันเป็นภัยต่อตนเอง กฎแห่งธรรมชาตินี้มีอยู่ด้วยกัน 19 ข้อ เป็นกฎที่มั่นคงถาวร เปี่ยมไปด้วยนิรันดรภาพอย่างสมบูรณ์ ใจจำนวนทั้ง 19 ข้อนี้ มีกฎธรรมชาติที่เป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดอยู่สองประการคือ ประการแรก มนุษย์ทุกคนจะพยายามสร้างสันติภาพ และมีความหวังในสันติภาพเสมอ หากไม่อาจจะพบสันติภาพได้ ก็จะต้องแสวงหา ต้องมีความยึดมั่นในสันติภาพ พยายามสร้างขึ้นให้คงไม้ไม่ว่าจะต้องสูญเสียสักเพียงไร ประการที่สอง เพราะเพื่อสันติภาพ มนุษย์สามารถจะป้องกันตนเอง ๆ ได้เมื่อเห็นสมควร ยอมสละสิทธิของเขาต่อสรรพสิ่งและพึงใจกับเสรีภาพต่อผู้อื่นเสมือนกับที่เขายอมให้ผู้อื่นมีเสรีภาพเหนือตัวเขาเอง ซึ่งในข้อนี้เขานำมาจากบทบัญญัติของคริสต์ศาสนาที่ว่า “จงปฏิบัติต่อผู้อื่นเสมือนที่ต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อท่าน” ส่วนกฎธรรมชาติข้ออื่น ๆ ก็ได้แก่ มนุษย์ควรจะต้องมีความยุติธรรม จะต้องมีความกตัญญู ไม่ควรจะดูถูกผู้อื่น เห็นความสำคัญของความเสมอภาค เป็นต้น และเพราะเหตุผลที่ว่า มนุษย์มีสิทธิตามธรรมชาติดังกล่าว กับภาวะสงครามกลางเมืองในอังกฤษยุคนั้นฮอบส์จึงมุ่งประสงค์อย่างมากที่จะหาทางให้มนุษย์ยุติสงครามต่อกันเสีย และยอมรับในอำนาจสูงสุดขององค์อธิปัตย์ หากที่กล่าวมานี้คือโจทย์เรขาคณิต หน้าที่ที่จะพิสูจน์ต่อไป ก็คือ การพิสูจน์ว่าการมีองค์อธิปัตย์หรือการยอมรับอำนาจสูงสุดในรัฐเท่านั้นจะแก้ปัญหาความขัดแย้งนี้ลงไปได้ จากภาคแรกของหนังสือเรื่อง Leviathan อันเป็นเรื่องว่าด้วยมนุษย์ทั้งหมดนั้น (Of Man) เราอาจจะสรุปลงเป็นทฤษฎีต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการพิสูจน์ได้ดังต่อไปนี้ ก. ทฤษฎีที่ 1 มนุษย์นั้นกระทำกิจการต่าง ๆ เพราะภวตัณหา (Appetite) และวิภวตัณหา (Aversion) เท่านั้น” ฮอบส์สร้างทฤษฎีนี้ขึ้นมาก็ด้วยความเชื่อของเขาในเรื่อง “จักรวาลกลไก” (Mechanical Universe) ซึ่งหมายถึงว่าจักรวาลและสิ่งต่าง ๆ ในโลกล้วนมีเป้าหมายและ “เคลื่อนไหว” อยู่ด้วยกันทั้งนั้น การเคลื่อนไหวซึ่งเกิดขึ้นเพราะธรรมชาติ (vital motion) นี้เกิดขึ้นโดยเป็นปฏิกิริยากับสิ่งที่มากระตุ้น ตัวอย่างเช่น การมองเห็นวัตถุเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในสายตาของฮอบส์ก็เพราะ มีวัตถุเป็นตัวกระตุ้นอยู่ จักรวาลในทัศนะของฮอบส์จึงเป็นจักรวาลที่มีเป้าหมายและโคจรไปตลอดเวลา (ซึ่งจะโดยบังเอิญหรือไม่ก็ตาม นักดาราศาสตร์ปัจจุบันก็ยอมรับกันถึงเรื่องนี้อยู่) เมื่อเป็นเช่นนี้ การเคลื่อนไหวของมนุษย์อันเป็นระบบย่อยในจักรวาล จะเป็นไปเพราะธรรมชาติ เช่น การหายใจ การย่อยอาหาร รวมทั้งเป็นไปเพราะความสมัครใจ (Voluntary Motions) เช่น การไป การพูด เป็นต้น สิ่งผลักดันให้มนุษย์มีการกระทำต่าง ๆ ก็คือ ภวตัณหา อันหมายถึงความต้องการต่าง ๆ เช่นความอยากเป็นโน่นอยากเป็นนี่ ความรัก เป็นต้น ส่วนวิภวตัณหานั้นก็คือความไม่ต้องการเป็นโน่นเป็นนี่ เช่นความเกียจ ความเศร้า เป็นต้น ข. ทฤษฎีที่ 2 “กิจการอันเกิดโดยสมัครใจต่าง ๆ ของมนุษย์ ผ่านการคิดคำนวณล่วงหน้าแล้วว่ากระทำลงไปแล้วจะได้รับผลตอบแทนอย่างไรบ้าง” ฮอบส์กล้ากล่าวเช่นนี้ด้วยเขาเห็นว่า มนุษย์นั้นต่างจากสัตว์ในจุดที่สำคัญที่สุดก็ตรงที่ เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นเขาจะสนใจในผลที่จะตามมาของเหตุการณ์นั้น ๆ ทันที ค. ทฤษฎีที่ 3 “การเคลื่อนไหว (Motions) ภายในตัวมนุษย์เป็นปฏิกิริยาสนองตอบต่อการเคลื่อนไหวจากภายนอก” ฮอบส์กล่าวว่า เมื่อมีแสงหรือสี (หรือวัตถุ) ก็จะมีผลต่อสายตา เสียงก็จะทำให้หูได้ยิน และ “ชีวิตนั้นหาใช้อะไรอื่นไม่นอกจากการเคลื่อนไหว และจะอยู่โดยปราศจากความต้องการ หรือความกลัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งปราศจากความรู้สึกไม่ได้ และความต้องการต่าง ๆ ของมนุษย์นี้ ยังมีลักษณะจำเพราะคือมนุษย์อาจจะมีความต้องการต่างชนิดกันก็ได้ และความต้องการของแต่ละคนนั้นมีระดับไม่เท่ากัน เช่นนาย ก. เป็นคนติดบุหรี่ ก็ย่อมต้องการบุหรี่สูบมากกว่านาย ข. ซึ่งสูบก็ได้ไม่สูบก็ได้มาก นอกจากนั้นความต้องการบางชนิดเกิดจาก ลักษณะทางกายภาพของมนุษย์เอง เช่นความต้องการอาหารเป็นต้น แต่ความต้องการต่าง ๆ จะคงดำรงอยู่ตราบที่มนุษย์ยังมีชีวิต ง. ทฤษฎีที่ 4 “เป้าหมายแท้จริงของมนุษย์คือ ความสุขในอนาคต ทฤษฎีอาจอธิบายได้ว่า เป้าหมายของมนุษย์เกิดขึ้นก็เพราะมนุษย์มีความต้องการตลอดเวลา “ (ตามทฤษฎีที่ 3) และมนุษย์นั้นเมื่อจะทำการใด ๆ ก็คิดล่วงหน้าแล้วว่า จะได้อะไรตอบแทน (ทฤษฎีที่ 2) และโดยธรรมชาติของมนุษย์ย่อมไม่ปรารถนาความทุกข์มาใส่ตน ดังนั้นเป้าหมายอันแท้จริงก็คือ ความสุขในอนาคตนั่นเอง จ. ทฤษฎีที่ 5 “อำนาจเป็นหนทางที่จะได้มาซึ่งความสุขในอนาคต” ฉ. ทฤษฎีที่ 6 “อำนาจนั้นอาจจำแนกได้เป็นสองประเภท คือ - อำนาจตามธรรมชาติ หรืออำนาจดั้งเดิม (Natural or Original Power) เป็นสิ่งที่มีอยู่กับร่างกายหรือจิตใจมนุษย์ เช่น กำลัง ความรอบคอบ ศิลปะ และความรักเสรีภาพเป็นต้น - อำนาจที่เป็นพาหะหรือเครื่องมือ (Instrumental Power) ซึ่งได้มาโดยโชคหรือสิ่งต่าง ๆ เช่น ความรุ่มรวม ชื่อเสียง มิตรสหาย ซึ่งล้วนเป็นเครื่องมือที่จะเพิ่มพูนอำนาจให้แก่บุคคลยิ่ง ๆ ขึ้นอีกเท่านั้น ช. ทฤษฎีที่ 7 “มนุษย์ทุกคนล้วนแสวงหาอำนาจทั้งสิ้น” (จะเลิกแสวงหาก็ต่อเมื่อหมดลมหายใจเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะ เมื่อมนุษย์ต่างจากสัตว์ในทฤษฎีที 2 ที่สามารถจะคาดเดาว่าตนต้องการ “อะไร” เละ “อะไร” นั้นจะต้องเป็นสิ่งที่ดีในอนาคต (ทฤษฎีที่ 4) ก็ในเมื่อ ทฤษฎีที่ 5 กล่าวว่า อำนาจเป็นวีการที่จะได้มาซึ่งความสุขในอนาคต ดังนั้นจึงได้ทฤษฎีที่ 7 นี้ว่ามนุษย์นั้นจะไม่มีวันหยุดแสวงหาอำนาจเป็นอันขาด ซ. ทฤษฎีที่ 8 “อำนาจของแต่ละบุคคลจะขัดแย้งและต่อต้านกับผลจากอำนาจของบุคคลอื่น” ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุว่า มนุษย์นั้นล้วนต้องการความสุขในอนาคต (Future Goods) และก็ใช้อำนาจเป็นหนทางแสวงหาด้วยกันทั้งสิ้น (ทฤษฎีที่ 5 ) ความขัดกันและต่อต้านกันเองจึงเกิดขึ้นได้ ฌ. ทฤษฎีที่ 9 จากเหตุผลในทฤษฎีที่ 8 “วิธีเดียวที่มนุษย์จะทำการให้สำเร็จประโยชน์ตามที่ตนมุ่งหมายไว้นั้นจะกระทำได้ก็โดยมีอำนาจเหนือผู้ที่ขัดแย้งกับตนเอง” ญ. ทฤษฎีที่ 10 “คุณค่าของมนุษย์นั้น ก็คือราคาของคนนั่นเอง และราคาของคนนั้นขึ้นอยู่กับการใช้อำนาจเท่านั้น” ฮอบส์ให้เหตุผลว่า ราคาของมนุษย์นั้นไม่ใช่ตนเองเป็นผู้กำหนด แต่ผู้ที่ติดต่อสัมพันธ์กับตน (ซึ่งรวมถึงผู้ที่ขัดแย้งกับตนด้วย) เป็นผู้กำหนด เพราะคุณค่าที่แท้จริงอยู่ที่การที่ผู้อื่นยอมรับตนเองได้เพียงไร และการที่เขาจะตีค่าราคาของเรานั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้นั้น “สามารถ”ใช้อำนาจเหนือมนุษย์อื่นได้เพียงไร ฎ. ทฤษฎีที่ 11 ความต้องการของคนบางคนไม่มีขอบเขตจำกัดและความต้องการเหล่านั้น คงอยู่เสมอไปจะสิ้นสุดลงก็เมื่อหมดลมหายใจแล้วเท่านั้น เหตุที่เป็นเช่นนี้ ฮอบส์ให้เหตุผลว่า “เพราะเขาไม่อาจจะมั่นใจในอำนาจและการดำรงชีวิตที่เป็นสุขที่เขามีอยู่ในปัจจุบันโดยไม่ต้องแสวงหาอำนาจเพิ่มเติม ดังนั้นความอยากของมนุษย์จึงทวีขึ้นไปเรื่อย ๆ และไม่มีอะไรมาจำกัดความต้องการนี้ได้ ฏ. ทฤษฎีที่ 12 “ความปรารถนาในอำนาจที่ปราศจากขอบเขตนี้เองกลายเป็นอันตรายต่อมนุษย์” เพราะเหตุว่า เมื่อแรกก็ปรารถนาอำนาจเพื่อให้สำเร็จวัตถุประสงค์ของตนเท่านั้นแต่แล้วก็ต้องการมีอำนาจเหนือมนุษย์อื่น ๆ เพราะการแข่งขันทวีสูงขึ้น แข่งกันร่ำรวย แข่งกันออกคำสั่งขึ้นจะนำไปสู่ ความไม่พอใจ ความเป็นศัตรูและสงครามวิถีทางของผู้ชนะที่จะกระทำต่อผู้แพ้ก็คือ การฆ่า กำหลาบ กดหัว ขับไล่ผู้ที่อ่อนแอและสู้ตนไม่ได้ ในภาวะเช่นนี้หากจะมีสังคม สังคมนั้นก็จะเป็นสังคมที่มีแต่การแก่งแย่งแข่งดีให้ได้อำนาจ สภาพเช่นนี้เป็นสภาพที่ฮอบส์กล่าว่าจะต้องเกิดขึ้นในภาวะธรรมชาติของมนุษย์คือ “สงครามของมนุษย์ทุกคนต่อทุก ๆ คน” (War of every man against every man) เป็นความขัดแย้งที่ไม่มีการแบ่งเป็นพวกเป็นฝ่าย แต่ต้องเป็นศัตรูกันและกันตลอดไป มนุษย์ในสภาพเช่นนี้ ฮอบส์กล่าวว่า “ไม่มีทั้งศิลปะหรือ ศาสตร์แห่งอักษร ไร้สภาพสังคมและที่เลวร้ายที่สุดก็คือ ความหวาดระแวงที่มอยู่ทั่วไป ภยันตรายจากความตายอันเหี้ยมโหด ส่วนชีวิตมนุษย์นั้น ก็โดดเดี่ยว ยากจน โสโครก หฤโหด และไม่ยืนยาว ในสภาพเช่นนี้ ทุก ๆ คนจะทำอะไรก็ได้ เพราะไม่มีมาตาฐานแห่งความยุติธรรม ฮอบส์แสดงเหตุผลว่า “ก็ในเมื่อไร้อำนาจอธิปไตย ก็ไม่มีกฎหมาย และเมื่อไร้กฎหมายก็ไม่มีความยุติธรรม ฐ. ทฤษฎีที่ 13 “มนุษย์ที่มีอารยะจะต้องผละจากสภาพตามธรรมชาติดังกล่าว” ทั้งนี้ก็เพราะมนุษย์มีเป้าหมายที่แท้จริงอยู่ที่ความสุขในอนาคต (ตามทฤษฎีที่ 4 ) และสภาพธรรมชาตินั้นเป็นสภาพที่มนุษย์ทราบดีว่ามีแต่ความโหดร้ายปราศจากความสุขโดยสิ้นเชิง มนุษย์โดยธรรมชาติก็จะต้องหาทางออกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฮอบส์ยังกล่าวอีกว่า “จากความจำเป็นของธรรมชาติดังกล่าวนี้เอง ทำให้มนุษย์ต้องการ Bonum Sibi หรือสิ่งที่ดีมีประโยชน์ต่อตนเอง และหลีกเลี่ยงสิ่งอันเป็นโทษ แต่ศัตรูร้ายกาจสุดแสนของธรรมชาติก็คือ ความตาย ซึ่งจะลิดรอนมนุษย์จากอำนาจที่ตนมีอยู่และก่อความเจ็บปวดทางกายอย่างเหลือแสนแก่มนุษย์ด้วย” ฑ. ทฤษฎีที่ 14 “วิธการในอันที่จะผละหนีจากสภาพธรรมชาติดังกล่าว คือโดยการสละสิทธิตามธรรมชาติของตนเองหลายประการ เว้นแต่สิทธิในการปกปักรักษาตนเองจาก ความตาย การบาดเจ็บ และการจับกุมคุมขัง” การสละสิทธิตามธรรมชาติดังกล่าวนั้น จะต้องกระทำพร้อม ๆ กัน ทุกคนในสังคมทั้งนี้ก็เพราะหากไม่ทำพร้อม ๆ กันทุกคน คนที่ไม่ยอมสละสิทธิตามธรรมชาติก็ยังไม่สิทธิตามธรรมชาติที่จะทำลายมนุษย์คนอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้ภาวะธรรมชาติแห่งสงครามของมนุษย์ไม่หมดไป และถ้าคนอื่น ๆ ไม่ยอมสละสิทธิตามธรรมชาติของตนลงแล้ว คนที่ยอมสละสิทธิดังกล่าวก็รังแต่จะตกเป็นเหยื่อของคนอื่นเท่านั้น ดังนั้นวิธีเดียวที่จะพ้นจากภาวะธรรมชาติคือทุกคนจะต้องหยุดทุกอย่างพร้อม ๆ กันและสละสิทธิตามธรรมชาติพร้อม ๆ กน การสละสิทธิตามธรรมชาติพร้อม ๆ กันนี้ มนุษย์เรียกว่า “สัญญา” ซึ่งเป็นสัญญาที่มนุษย์กระทำระหว่างกันและกระทำขึ้นพร้อม ๆ กันในการระงับยับยั้งการใช้สิทธิตามธรรมชาติ และสัญญานี้จะต้องเป็นที่ยอมรับกันทั้งหมดในมวลมนุษย์ด้วย และการรักษาสัญญานี้เป็นหลักการแห่งเหตุผล ซึ่งมนุษย์นั้นได้ถูกห้ามโดยกฎธรรมชาติมิให้ทำการอันเป็นอันตรายแก่ชีวิตของตนเองอยู่แล้ว ฒ. ทฤษฎีที่ 15 “สัญญาที่กระทำกันนี้ จะต้องเป็นสัญญาที่สละสิทธิมอบอำนาจให้มีอำนาจร่วม (Common Power) ที่ทรงอานุภาพเหนือมนุษย์ทุกรูปทุกนาม” ทั้งนี้ฮอบส์กล่าวว่า “สัญญาที่ไร้ดาบ ก็เป็นเพียงแต่คำกล่าวเท่านั้น และคำพูด ลม ๆ แล้ง ๆ ก็ไม่มีผลอำนาจใดจะปกป้องมนุษย์ได้เลย” ณ. ทฤษฎีที่ 16 “Leviathan หรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐจะต้องคุ้มครองรักษามนุษย์ในรัฐ” Leviathan นี้จะเป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลก็ได้และไม่ได้เป็นคู่สัญญาของมนุษย์หากแต่มนุษย์สละสิทธิของตนให้แก่ Leviathan ในจุดนี้อาจจะเห็นกระบวนการประชาธิปไตยในมโนคติของฮอบส์ก็ได้ กล่าวคือ มนุษย์เท่าเทียมกันแต่เดิมตามธรรมชาติของมนุษย์ที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว คนที่เสมอกันมาตกลงพร้อมใจกันเองว่าจะหยุดพฤติกรรมเก่า ๆ (คือสภาพที่เป็นอยู่ในภาวะธรรมชาติ) การตกลงใจนั้นกรทำอย่างเสรีและด้วยเสียงเอกฉันท์ (Unanimous) เพราะทุกคนต้องหยุดพร้อม ๆ กันทั้งหมดและก็ได้มอบอำนาจนั้นให้แก่ Leviathan ซึ่งทุกคนตกลงยินยอมพร้อมใจด้วยเสียงข้างมาก (Majority) ดังนั้นจากจุดนี้อาจถือได้ว่าฮอบส์เองก็เริ่มต้นจากประชาธิปไตยเช่นกัน สำหรับหน้าที่หลักของ Leviathan นั้นก็ได้แก่การปกปักรักษาความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งความปลอดภัยหรือ “Safety” นี้มิได้หมายถึงเฉพาะการรักษาชีวิตหากรวมไปถึงสิ่งดีงามต่าง ๆ ในชีวิตซึ่งมนุษย์ที่อาศัยความอุตสาหะสามารถจะหามาได้โดยไม่กระทบกระเทือนรัฐนั้น ๆ ทฤษฎีต่าง ๆ ยังอาจจะรวบรวมได้อีกมาก แต่ทั้ง 16 ทฤษฎีที่กล่าวมานี้ก็เพียงพอแล้วที่จะนำมาใช้เป็นเครื่องมือโดยอาศัยเรขาคณิตเป็นวิธีการในการพิสูจน์ถึงที่มาของรัฐอธิปัตย์ต่อไป (ทั้ง 16 ทฤษฎีเป็นที่มาของรัฐอธิปัตย์)
ทฤษฎีแห่งความต้องการของมนุษย์ของฮอบส์ได้เชื่อมทฤษฎีทั่วไปแห่งการเคลื่อนไหวจากความต้องการกับทฤษฎีทางศิลธรรมและการเมืองคือ มนุษย์มีเป้าหมายที่แท้จริงอยู่ที่ความสุขในการสละเรื่องส่วนตัวพร้อม ๆ กัน เรียกว่า “สัญญา” กระทำขึ้นพร้อม ๆ กัน และให้ตัวแทนมนุษย์เป็น Leviathan หรือผู้มีอำนาจสูงสุดในการระงับยับยั้งใช้สิทธิตามความต้องการที่ไม่เป็นประโยชน์ของมนุษย์ เขาได้นำเสนอ Leviathan โดยการเชื่อมศัพท์ต่าง ๆ ที่เขานิยาม เช่น ความรู้สึก, คำพูด, ความคิด, เหตุผล, อำนาจ, และเรื่องต่าง ๆ ขึ้นกับการแสดงถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายต่อวัตถุในรูปของความต้องการ (Appetite) และความไม่ต้องการ (Aversion) เขานำเสนอทฤษฎีแห่งตัณหา (Passions) ซึ่งเป็นความอยากต่ออำนาจและความกลัว เพื่ออธิบายถึงการยอมรับหลักการทางศีลธรรมและความจำเป็นที่ต้องมีสังคม (Civil Society) ซึ่งล้วนเป็นการใช้ Deductive Method คือการคาดคะเนตามหลักเหตุผล จากทฤษฎีแห่งการเคลื่อนไหว (ทฤษฎีที่ 1) จนสามารถสร้าง Leviathan ขึ้นมาให้ทรงอานุภาพเหนือมวลมนุษย์ดังที่ได้ใช้เรขาคณิตพิสูจน์ให้เห็นแล้วในตาราง การใช้วิธีการของเรขาคณิต (Geometrical Approach) ในแบบที่ฮอบส์ใช้นั้น เป็นการนำเหตุผลทางการตรรกวิทยามาใช้อย่างมีระเบียบและยากจะโต้เถียงได้ หนังสือ Novum organum ของ Francis Bacon หรือ Discourse on Method ของ Descartes อันยืนยันถึงความเท่ากันของมวลมนุษย์ในความมีเหตุผลและย้ำให้เห็นว่าหากมนุษย์ใช้วิธีการ ที่ถูกต้องก็ย่อมเรียนรู้ความลับของธรรมชาติได้ ทั้งสอบยอมรับกันว่าจะต้องมีวิธี (Method) ในการนี้ Leviathan ของฮอบส์ก็ยืนยันในเรื่องนี้และแสดงความเชื่อชัดเจนว่าความรู้และประสบการณ์ เป็นที่มาของอำนาจ (ทฤษฎีที่ 6) หรือ “เป้าหมายของความรู้คือ อำนาจ” และการได้มาซึ่งความรู้จะต้องมีวิธี Leviathan ตามทฤษฎี 16 ข้อ มีความเป็นตัวของตัวเองด้วยการนำแนวคิดนี้มาประยุกต์เข้ากับสังคม, มนุษย์และธรรมชาติ โดยทันทีพร้อม ๆ กัน โดยเริ่มจากการศึกษาธรรมชาติของมนุษย์และการติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์ ด้วยพื้นฐานที่ว่า มนุษย์ต่างจากสัตว์ และด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงพูดกันได้และในการจะเข้าใจการเมือง “ฮอบส์คิดว่า มนุษย์ต้องมีทฤษฎีแห่งคำพูด (Theory of Speech) ที่ทรงประสิทธิภาพ กำเนิดของรัฐมีขึ้นมาได้ก็เพราะปัจเจกบุคคลมารวมกันเข้าก่อให้เกิดรัฐที่มีเหตุผล และเกี่ยวข้องกับสมาชิกตามความต้องการและสัญญาซึ่งสมาชิกทั้งหมดร่วมกันให้ไว้ที่กล่าวไว้ในทฤษฎี 16 ข้อ Leviathan ของโธมัส ฮอบส์ แบ่งหนังสือของเขาออกเป็นสี่ภาคคือ ภาคที่ 1 “ว่าด้วยมนุษย์” ซึ่งเป็นเรื่องที่เราได้กล่าวถึงมาแล้วที่เกี่ยวกับทฤษฎี 16 ข้อ ภาคที่ 2 “ว่าด้วยจักรภพ” (Common-Wealth) ซึ่งเบอร์ทรันด์ รัสเซล กล่าวว่า “จบลงด้วยความหวังที่จะมีเจ้าสักองค์หนึ่งมาอ่านส่วนนี้ แล้วก็กลายเป็นองค์อธิปัตย์ ซึ่งนับว่าเป็นความหวังที่เป็นไปได้ง่ายกว่าที่เพลโตเคยหวัวไว้ในการมีราชาปราชย์” ภาคที่ 3 “ว่าด้วยจักรภพคริสเตียน” ซึ่งอธิบายถึงข้อจำกัดของศาสนจักร และความจำเป็นที่ศาสนจักรต้องพึ่งฝ่ายอาณาจักร โดยเน้นหนักในพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์มีอำนาจในการตัดสินใจนำศาสนาที่เหมาะสมมาใช้ ภาคที่ 4 “ว่าด้วยอาณาจักรแห่งความมืด” ส่วนเป็นเป็นการวิจารณ์ศาสนจักรแห่งโรมโดยตรง ฮอบส์โจมตีการที่ศาสนจักรพยายามให้อำนาจทางจิตวิญญาณอยู่เหนืออำนาจรัฐ จากภาคสอง Leviathan ได้ถือกำเนิดขึ้นมาแล้ว และหากจะมีผู้ใดใคร่โจมตีคัดค้านฮอบส์ในเรื่องเหล่านี้ ก็ต้องเผชิญกับเหตุผลที่มั่นคงยากที่จะหาจุดอ่อนได้ด้วยเหตุผลที่ว่า ฮอบส์ใช้วิธีการทางเรขาคณิตเป็นหลัก เพราะยูคลิดได้ให้เหตุผลมาตามลำดับในทฤษฎียูคลิดทฤษฎีที่ 1 ที่ว่ามุมบนเส้นตรงรวมกันได้สองมุมฉากเท่ากับ 180 สิ่งที่เห็นจริงอยู่แล้ว (Axiom) เช่นใช้ทฤษฎีที่ 3 ว่าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน มุมตรงกันข้ามจะเท่ากัน และอื่น ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ในการพิสูจน์ทฤษฎีที่ 13 และ 14 ว่าด้วยเส้นขนานยูคลิดจึงดูแล้วมีเหตุไร้ข้อบกพร่อง มีเหตุมีผล ในทำนองเดียวกัน ภาคที่สอง, สาม และสี่ของฮอบส์ก็มีเหตุผลมั่นคง ตราบกระทั่งเราเริ่มสงสัยส่วนหนึ่ง (Of Man) ในภาคแรก ก็คือ การเริ่มสงสัยในจุดเริ่มต้นที่ว่าด้วยมนุษย์
เราจะพิจารณาหนังสือ Leviathan ภาคแรก จะเห็นว่า
บทที่ 1 ฮอบส์เริ่มพูดถึง Sense หรือความรู้สึกโดยเขากล่าวไว้ว่า “เกี่ยวกับความคิดของมนุษย์นั้น, ข้าพเจ้าจะเริ่มพิจารณามันไปทีละอย่างและก็จะรวมกันเป็นขบวน ซึ่งต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน” ฮอบส์ว่า ความรู้สึกเป็นความคิดดั้งเดิมของมนุษย์ และกล่าวว่าการที่มนุษย์จะรู้สึกได้นั้นเป็นเพราะ ความเคลื่อนไหว (Motions) ของสิ่งภายนอกมากระทบอวัยวะที่รองรับความรู้สึกต่าง ๆ กันออกไป กล่าวง่าย ๆ เมื่อดวงตาของเราจะ “รู้สึก” ว่าเห็นสิ่งไรได้ก็ต้องมี “สิ่งนั้น” อยู่ก่อนแล้วถ่ายทอดมาสู่ดวงตา ดวงตาจึงเห็นได้ ซึ่งจากรากฐานเหล่านี้เองซึ่งอาจเห็นว่าไม่ได้สัมพันธ์กับปรัชญาการเมืองโดยตรง กลายเป็นรากฐานที่มั่นคง และก่อทฤษฎีที่หนึ่งที่ว่า มนุษย์กระทำการต่าง ๆ เพราะภวตัณหาต่าง ๆ บทที่ สอง ของ Leviathan ฮอบส์กล่าวถึงมโนภาพ (Imaginations) ความจำ (Memory) และกล่าวถึงความจำในเรื่องต่าง ๆ เรียกกันว่า ประสบการณ์ (Experience) บทที่ สาม เขาพูดถึงผลหรือขบวนของมโนภาพ (of the Consequence or train of Imaginations) ในบทนี้ก็มีการกล่าวถึง ความรอบคอบ (Prudence) และเริ่มจะพิจารณาความเหมือนและแตกต่างระหว่างมนุษย์และสัตว์ เช่น “ความรอบคอบหาใช่สิ่งที่แบ่งแยกคนออกจากสัตว์ไม่” บทที่ สี่ ก็พูดถึง “คำพูด” (of Speech) ซึ่งฮอบส์ถึงกับกล่าวว่า “หากไม่มีการพูด-การสนทนาในหมู่มนุษย์แล้ว ก็จะไม่มีรัฐ, สังคม, สัญญา หรือสันติภาพและมนุษย์ก็จะไม่ต่างอะไรจากสิงโต, หมี หรือสุนับป่าแต่อย่างใด” ในบทที่ หนึ่ง ถึงบทที่ สี่ เขาได้ให้ “นิยาม” ของคำต่าง ๆ ซึ่งล้วนเป็นความคิดเห็นของเขา (opinion) ฮอบส์ชี้ให้เห็นว่า นิยาม (Definitions) สำคัญอย่างยิ่ง “มนุษย์เริ่มให้ความสำคัญแก่คำพูดของตนเอง, ซึ่งการให้ความสำคัญนี้เรียกว่า นิยาม” และ “จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบนิยามของผู้เขียนคนก่อน ๆ เสียก่อน เพราะหากนิยามผิดขึ้นมาก็จะยิ่งทำให้ความบกพร่องมีมากขึ้น บทที ห้า ฮอบส์ยังให้คำจำกัดความในเรื่องเหตุผลและวิทยาศาสตร์ จึงจับเรื่องการกระทำของมนุษย์ ปรัชญาการเมืองของฮอบส์ไม่ผิดจากเรขาคณิตของยูคลิดเลย เพราะทุกสิ่งล้วนขึ้นอยู่กับจุดเริ่มต้นของการพูดถึงสิ่งต่าง ๆ มีข้อสังเกตที่น่าสนใจอยู่ประการหนึ่งก็คือ ในวิชาเรขาคณิตนั้นต่างไปจากคณิตศาสตร์แขนงอื่น ๆ อย่างมากตรงที่ ส่วนใหญ่เรขาคณิตเรามีคำตอบที่ถูกต้องในตัวอยู่แล้ว สิ่งที่เรขาคณิตกระทำก็คือ พิสูจน์คำตอบนั้น ๆ เป็นความจริง โดยหาเหตุผลมาบรรจุไปเป็นขั้น ๆ เท่านั้น คนส่วนใหญ่กล่าวถึง โธมัส ฮอบส์ในฐานะเป็นอัจฉริยะบุรุษแห่งอำนาจเผด็จการ เป็นผู้สร้างองค์อธิปัตย์ที่ทรงอำนาจสูงสุด แต่มีสักกี่คนที่จะฉุกคิดว่า Leviathan ของฮอบส์ ถือกำเนิดขึ้นมาจากจุดเริ่มต้นที่เสมอภาคและเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ ในตารางข้อ 17 ข้างต้น การสละสิทธิของสมาชิกในชุมชนนั้นต้องกระทำ “พร้อม ๆ กัน” ไม่ว่าคนนั้นจะอ่อนแอ, แข็งแรง, มีอาวุธหรือไม่มีอาวุธ ไม่เช่นนั้นคนแข็งแรงผู้ยอมวางอาวุธก็จะตกเป็นเหยื่อของกลุ่มคนอ่อนแอที่ไม่ยอมวางอาวุธ การหยุดพร้อม ๆ กันในอีกมุมหนึ่งก็คือ การหยุดวงจรปรกติของสังคม เพื่อจะเปลี่ยนไปสู่ระบบที่ดีกว่า คือใช้ สัญญาสังคม เป็นเครื่องมือในการยึดกุมและสร้างสรรค์สังคม สัญญาสังคมของฮอบส์สร้างขึ้นในบรรยากาศแห่งความเสมอภาพสมบูรณ์ เพราะทุก ๆ คนอยู่ในภาวะเดียวกันคือ หยุดนิ่ง (Static) จึงไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบใครแต่อย่างใด รวมทั้งการที่ฮอบส์ถือว่าธรรมชาติของมนุษย์เท่าเทียมกันทั้งร่างกายและจิตใจ ในขณะที่ฮอบส์สร้าง Leviathan ขึ้นมา เขาสร้างมันขึ้นจากลักษณะประชาธิปไตย เพราะองค์อธิปัตย์นี้มิได้ถือกำเนิดจากอำนาจเทวสิทธิ์ (Divine Rights) หรือ อำนาจมหัศจรรย์อื่น ๆ อันเป็นที่เชื่อถือกันอยู่ในเวลานั้น แต่ Leviathan ของฮอบส์มีที่มาจากเหลุผลอันเป็นสิ่งที่มนุษย์ธรรมดาสามัญพอจะเข้าใจกันได้ ในสิ่งซึ่งเข้าใจได้นั้นก็เป็นสิ่งที่มนุษย์อาจจะพูดถึงหรือวิพากษ์วิจารณ์ได้เช่นกัน และในท้ายที่สุดนั้น Leviathan ก็ถือกำเนิดขึ้นมาจากการตกลงใจร่วมกันของมนุษย์ในสังคมนั้น เป็นสัญญาที่กระทำโดยมีมนุษย์ทุกคนในสังคมเป็นคู่สัญญา มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน (Political Participation) ซึ่งการณ์เช่นนี้เป็นลักษณะสำคัญยิ่งของประชาธิปไตย (Democracy) และที่สำคัญก็คือ โธมัส ฮอบส์ คิดถึงเรื่องนี้ก่อน John Locke หรือ Jean Jacques Rousseau เสียด้วย จึงไม่เป็นการประหลาดที่โธมัส ฮอบส์ จะคู่ควรกับการถูกยกย่องในฐานะของนักคิดทางการเมืองที่มีอิทธิพลยิ่งใหญ่คนหนึ่งตลอดมา (สมบัติ จันทรวงศ์, 2521 : หน้า 54-64, 69-85, 89-93) 1.4. ข้อความที่คัดมาจากหนังสือของฮอบส์
ข้อความที่มาจากหนังสือ Leviathan ของฮอบส์จะนำมาแต่ละตอนของบทที่ 1,2,5 ในภาคแรก และบทที่ 46 ในภาค 4 ในบทที่ 1,2,5 จะเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับมนุษย์ ส่วนบทที่ 46 ในภาค 4 จะเกี่ยวกับศาสนจักร ทั่งหมดที่นำข้อความในหนังสือ Leviathan มาจากหนังสือ ปรัชญาตะวันตกของ จำนงค์ ทองประเสริฐ มีรายละเอียดต่อไปนี้
บทที่ 1 เรื่องความรู้สึก
“ในเรื่องเกี่ยวกับความคิดของมนุษย์นี้ ตอนแรกข้าพเจ้าจะได้พิจารณาเป็นเอกฐาน (singular) แล้วต่อไปจึงจะพิจารณาเป็นชุด ๆ หรือแบบที่เกี่ยวข้องเป็นเหตุเป็นผลกันและกัน เมื่อว่าเป็นแบบเอกฐานแล้ว ความคิดทุก ๆ ความคิดย่อมเป็นตัวแทนหรือเป็นการปรากฏตัวแห่งคุณภาพบางอย่างหรือเป็นสหสมบัติอื่น ๆ ของเทห์ที่ปราศจากเรา ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปเรียกว่า วัตถุ หรืออารมณ์ อารมณ์ชนิดใดที่มากระทบนัยน์ตา หู และส่วนอื่น ๆ แห่งร่างกายมนุษย์ และการทำงานต่าง ๆ กัน ย่อมก่อให้เกิดสิ่งที่ปรากฏตัวต่าง ๆ กันด้วย
บ่อเกิดแห่งความคิดทั้งปวงนั้นก็คือ สิ่งที่เราเรียกว่า ประสาทสัมผัส (อายตนะภายใน) (เพราะไม่มีสร้างมโนภาพใด ๆ ในจิตของมนุษย์ซึ่งในตอนแรกเกิดจากอวัยวะ ที่เป็นประสาทสัมผัสอย่างสิ้นเชิงหรือเป็นบางส่วน) ส่วนความคิดที่เหลือเกิดจากความคิดเดิมนั้น... สาเหตุที่ทำให้เกิดความรู้สึกเทห์คือ เทห์ภายนอกหรืออารมณ์ (วัตถุ) ซึ่งประทับลงบนอายตนะภายใน แต่ละอายตนะ จะโดยตรง เช่นในกรณีลิ้มรสและสัมผัสทางกาย หรือโดยอ้อม เช่นในกรณีเห็นรูป ได้ยินเสียง และได้กลิ่น อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม ซึ่งการประทับแบบโดยอาศัยประสาท และโดยอาศัยเส้นสายและเยื่อของร่างกาย เป็นสื่อกลายอันสืบต่อเข้าไปในภายในสมอง และหัวใจ ย่อมก่อให้เกิดการต้านทานหรือการประทับตอบ หรือความพยายามของหัวใจในอันที่จะมอบส่งตัวเอง ความพยายามชนิดใด ๆ เพราะสืบต่ออออกไปภายนอกจึงดูเหมือนจะเป็นวัตถุบางอย่างในภายนอก “การดูเหมือน” หรือ “ความคิดที่เกิดขึ้นชั่วขณะหนึ่ง” (fancy) ก็คือสิ่งที่มนุษย์เรียกว่า ความรู้สึก และสำหรับตาจะเห็นก็ต่อเมื่อมี “สี” หรือ “แสง” สำหรับหูก็ต่อเมื่อมี “เสียง” สำหรับจมูกก็ต่อเมื่อมี “กลิ่น” สำหรับลิ้นและเพดานปาก ก็ต่อเมื่อมี “รส” และสำหรับร่างกายส่วนที่เหลือก็ต่อเมื่อมี “ความร้อน” ความหนาว ความแข็ง ความอ่อน” และคุณสมบัติอื่น ๆ ทำนองนั้น ดังที่เราทราบโดยอาศัย “ความรู้สึก” สิ่งทั้งปวงที่คุณภาพเรียกว่า “สิ่งที่สามารถรู้ได้ โดยประสาทสัมผัส” ย่อมมีอยู่ในอารมณ์ที่ก่อให้เกิดสิ่งเหล่านั้น แต่ก็มีความเคลื่อนไหวของวัตถุต่าง ๆ อีกมากหลายที่จะทำให้วัตถุนั้นประทับลบนอวัยวะสัมผัสของเราต่าง ๆ กัน ในตัวเราที่อารมณ์ได้ประทับลงมานั้น มันก็มิได้เป็นอะไรเลยนอกจากความเคลื่อนไหวที่ต่างกันเท่านั้น (เพราะความเคลื่อนไหวมิได้ก่อให้เกิดอะไรนอกจากความเคลื่อนไหวเลย) แต่การปรากฏตัวของอารมณ์เหล่านั้นในตัวเรา ย่อมเป็นความคิดที่เกิดขึ้นชั่วแวบหนึ่ง การตื่นกับการฝันก็อย่างเดียวกันนั่นเอง และการประทับ การดู หรือการกระทบที่นัยน์ตาย่อมทำให้เราได้รับแสงสว่าง หรือการกระทบที่หูย่อมก่อให้เกิดเสยงดังติด ๆ กันเข้าไปในหูฉันใดเทห์ทั้งหลายที่เราเห็นหรือได้ยิน ย่อมก่อให้เกิดสิ่งในทำนองเดียวกันโดยการกระทำที่รุนแรงแม้จะสังเกตเห็นไม่ได้ก็ตามฉันนั้น เพราะถ้าหากสีและเสียงเหล่านั้นอยู่ในเทห์หรืออารมณ์ที่ก่อให้เกิดสีและเสียง สีและเสียงเหล่านั้นก็ย่อมไม่รุนแรงต่อเทห์ หรืออารมณ์เช่นโดยอาศัยกระจก และในเสียงก้องโดยอาศัยการสะท้อนเสียงที่เราเห็นว่ามันเป็นอย่างนั้นเลย สิ่งที่เราทราบสิ่งที่เราเห็นย่อมอยู่ในที่หนึ่ง สิ่งที่ปรากฏจริง ๆ อยู่ในอีกที่หนึ่งและแม้ในระยะทางไกลบางระยะ สิ่งทีแท้จริงคืออารมณ์นั่นแหละ ย่อมดูเหมือนว่าปกคลุมไปด้วยความคิดชั่วขณะที่มันก่อให้เกิดมีขึ้นในตัวเรา ถึงกระนั้นอารมณ์ก็ยังคงเป็นอย่างหนึ่ง จินตภาพหรือความคิดชั่วแวบก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง ดังนั้นในทุกกรณี ประสาทสัมผัสจึงไม่มีความสำคัญอะไร นอกจากเป็นความคิดชั่วขณะดั้งเดิมที่เกิด เพราะการกระทบนั่นคือโดยอาศัยการที่สิ่งภายนอกเคลื่อนไหวอยู่ที่นัยน์ตา หูและอวัยวะอื่น ๆ แต่สำนักปรัชญาต่าง ๆ ตามมหาวิทยาลัยทั้งหลายในคริสตจักร ซึ่งถือตำราของอริสโตเติลเป็นหลังได้สอนไปอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือ สำหรับเรื่อง “การเห็น” สิ่งที่ถูกเห็นย่อมส่ง “ชนิดต่าง ๆ ที่เห็นได้” “การแสดงที่เห็นได้” “สิ่งที่ปรากฏ” (apparition) หรือ “โฉมหน้า” (aspect) หรือ “สิ่งที่มองเห็น” ไปรอบด้านการรับสิ่งเหล่านั้นเข้ามาสู่ตา เรียกว่า “การเห็น” สำหรับเรื่อง “การได้ยิน” นั้น สิ่งที่ถูกได้ยินจะส่ง “ชนิดต่าง ๆ ที่ได้ยิน” นั่นคือ “โฉมหน้าที่ได้ยินได้” หรือ “สิ่งที่ได้ยินได้ที่มองเห็น” (audible being seen) ออกมา ซึ่งเมื่อเข้ามาสู่หู ก็เรียกว่า “การได้ยิน” สำหรับเรือง “การเข้าใจ” ก็ทำนองเดียวกัน สิ่งที่เราเข้าใจย่อมส่ง “ ชนิดที่จะรู้ได้” นั่นคือ “สิ่งที่รู้ได้ที่มองเห็น (intelligible being seen) ออกมาซึ่งเมื่อมาสู่ความเข้าใจย่อมทำให้เราเข้าใจ ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าข้อนี้เป็นการรังเกียจ การใช้สิ่งที่เป็นสากลทั้งหลาย แต่เพราะข้าพเจ้าจะพูดถึงสำนักงานของสิ่งที่เป็นสากลทั้งหลายในคอมมอนเวลต์ในภายหลัง ข้าพเจ้าจึงต้องยอมให้ท่านเห็นในทุกโอกาส โดยวิธีที่จะแก้ไขสิ่งทั้งหลายในสิ่งที่เป็นสากลเหล่านั้น ซึ่งในบรรดาสิ่งที่เป็นสากลเหล่านั้น ความถี่ของคำพูดที่ไม่สำคัญ นับว่าเป็นประการหนึ่ง...” บทที่ 2 เรื่องจินตนาการ “ข้อที่ว่าเมื่อสิ่งหนึ่งยังคงวางอยู่เฉย ๆ มันจะวางอยู่เฉย ๆ ตลอดไป นอกเสียจากจะมีอะไรมารบกวนมันเท่านั้น นั่นเป็นความจริงที่ไม่มีใครสงสัย แต่ข้อที่ว่าเมื่อสิ่งหนึ่งเคลื่อนไหวเป็นนิรันดร นอกจากจะมีอะไรไปทำให้มันหยุดเคลื่อนไหวนั้น แม้จะเป็นเหตุผลอย่างเดียวกัน (นั่นคือ ไม่มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงตัวเองได้) นั่นมิใช่จะเป็นเรื่องที่จะยอมรับกันได้ง่าย ๆ เลยเพราะมนุษย์โดยตนเองแล้วย่อมเป็นเครื่องวัดมิเพียงมนุษย์อื่น ๆ เท่านั้น แต่ทว่ายังเป็นเครื่องวัดสิ่งอื่น ๆ ทั้งปวงด้วย และเพราะมนุษย์พบว่าตัวเองขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไปหาความทุกข์และความเฉี่อยชา (lassitude) และคิดว่าทุก ๆ สิ่งก็เคลื่อนไหวช้าลงเช่นกัน และแสวงหาการพักย่อมตามใจสมัคร มีเดียงไม่กี่คนที่พิจารณาเห็นว่ามันไม่อาจเป็นความเคลื่อนไหวอื่น ๆ บางอย่าง ซึ่งตัวเขาเองพบว่ามีความปรารถนาจะพักผ่อนอยู่ จากข้อนี้เองที่สำนักต่าง ๆ ได้กล่าวว่า เทห์หนัก ๆ ย่อมตกลงมาเพราะคามปรารถนาจะพักผ่อน และเพื่อรักษาธรรมชาติของตนไว้ในที่นั้น ซึ่งนับว่าเป็นที่ที่เหมาะสมกับมันอย่างที่สุด โดยยกให้รักษาอภิจฉา (appetite) และความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ดีไว้ (ซึ่งมากกว่าที่มนุษย์มี) เพื่อจะได้ไม่ปลุกสิ่งทั้งหลายขึ้นมาอย่างเฉาโฉด ทันทีที่เทห์ตกอยู่ในความเคลื่อนไหว มันจะเคลื่อนไหวเป็นนิรัดร (นอกเสียจากจะมีอะไรมาขัดขวางมันไว้) และอะไรก็ตามที่มาขัดขวางมัน ย่อมไม่อาจขัดขวางในทันที แต่ทว่าต้องขัดขวางในกาละ และทำให้ได้ในกรณีเรื่องน้ำ แม้ว่าลมจะหยุดพัก อีกนานทีเดียวกว่าคลื่นจะหยุดนิ่งได้ ข้อนี้ฉันใด ในเรื่องความเคลื่อนไหวในส่วนต่าง ๆ ภายในของมนุษย์ในเมื่อเราเห็น ฝันไป ฯลฯ ก็ฉันนั้น เพราะหลังจากที่อารมณ์ได้ผ่านไปแล้วหรือตาได้ปิดลงแล้ว เราก็ยังคงมีจินตภาพของสิ่งที่เราได้เห็นมาแล้วอยู่ แม้ว่ามันจะไม่ชัดเจนแจ่มแจ้งเหมือนตอนที่เรามองเห็นมันจริง ๆ ก็ตาม และนี้คือสิ่งที่พวกละตินเรียกว่า “จินตนาการ” (Imagination) จากภาพที่สร้างขึ้นในคราวที่เห็น และบ่งถึงสิ่งเดียวกันกับความรู้สึกอื่น ๆ ทั้งปวง แม้จะไม่สมบูรณ์นักก็ตาม แต่พวกกรีกเรียกว่า “ความคิดฝัน” (Fancy) ซึ่งบ่งถึง “การปรากฏ” (appearance) และเหมาะสมกับความรู้สึกหนึ่งเช่นเดียวกับที่เหมาะสมกับความรู้สึกอีกอย่างหนึ่ง คือจินตนาการ (IMAGINATION) เพราะฉะนั้นจึงไม่มีอะไรนอกจาก “ความรู้สึกที่ค่อย ๆ สลายไป” และมีอยู่ในมนุษย์และสิ่งที่มีชีวิตอื่น ๆ ทั้งในเวลาหลังและในเวลาตื่น ความเสื่อมแห่งความรู้สึกในตัวมนุษย์ขณะที่ตื่นอยู่นั้น มิได้เป็นความเสื่อมแห่งความเคลื่อนไหวที่เกิดในความรู้สึกเลย เป็นเพียงการปิดบังความเสื่อมไว้เท่านั้น ดุจดังแสงอาทิตย์บดบังแสงดงดาวหมดฉะนั้นความจริงในเวลากลางวันมิใช่ว่าดวงดาวจะส่องแสงน้อยกว่าในเวลากลางคืนเลย แต่เพราะในบรรดาการกระทบ (ผัสสะ) ต่าง ๆ ที่ ตา หู และอวัยวะอื่น ๆ ของเราได้รับจากเทห์ (อารมณ์) ภายนอกนั้น สิ่งที่กระทบมากกว่าเพื่อนย่อมเป็นสิ่งที่เราสามารถรู้สึกได้ ฉะนั้น เมื่อแสงอาทิตย์แรกกล้ามากก็เลยเป็นเหตุทำให้เรามองไม่เห็นแสงแห่งดวงกาวเลย และวัตถุใด ๆ ที่เคลื่อนออกไปพ้นจากสายตาของเรา แม้ความตราตรึงของมันยังจะคงเหลืออยู่ในตัวเรา แต่เมื่อมีวัตถุอื่นๆ เข้ามาสู่สายตาเราอยู่เรื่อย ๆ จินตนาการถึงสิ่งที่ล่วงมานานแล้วก็จะค่อย ๆ เลือนรางไปทุกที เช่นเดียวกับเสยงของคนในเวลากลางวันฉะนั้นเมือดูผลลัพธ์ก็จะมีว่า ยิ่งได้เห็นภาพหรือได้รับอารมณ์ทางอื่น ๆ มาแล้วนานเท่าใด จินตนาการก็ยิ่งเลือนรางไปมากเท่านั้น เพราะความเปลี่ยนแปลงแห่งร่างกายของมนุษย์ที่มีอยู่ตลอดเวลาย่อมทำลายส่วนต่าง ๆ ซึ่งในความรู้สึกแล้วถูกทำให้เคลื่อนไหวไปตามกาละ ดังนั้นระยะห่างแห่งกาลเวลาและสถานที่ย่อมมีผลต่อเราอย่างเดียวกัน เพราะถ้าหากอยู่ในที่ไกลมาก สิ่งที่เรามองเห็นจะไม่ชัดและจะไม่มีความแตกต่างกันแห่งส่วนต่าง ๆ ที่เล็ก ๆ เลยและเสียงก็จะเบาลงและฟังได้ไม่ชัดฉันใด เมื่อกาลเวลาผ่านไปนาน จินตนาการถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้วก็จะเลือนรางมากไปฉันนั้น เช่นเราย่อมสูญเสีย (ลืม) เมืองต่าง ๆ ที่เราเห็นมาแล้ว โดยเฉพาะถนนต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก และในบรรดากิริยาการทั้งหลาย เราก็จะสูญเสียเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะไปมากมาย “ความรู้สึกที่กำลังสูญเสยไป” นี้ เมือเราแสดงออกซึ่งสิ่งนั้นเอง [ข้าพเจ้าหมายถึงตัวความคิดฝัน (fancy) เอง] เราก็เรียกว่า “จินตนาการ” (Imagination) ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่เมื่อเราแสดงออกซึ่ง “ความเสื่อม” และบ่งว่า ความรู้สึกกำลังสลายไปและเป็นอดีต เราเรียกว่า “ความจำ” (Memory) ดังนั้น “จินตนาการ” กับ “ความจำ” จึงเป็นเพียงสิ่งหนึ่งและสิ่งเดียวกันนั่นเอง แต่เพราะการพิจารณาต่างกันจึงได้ชื่อต่าง ๆ กัน ความจำที่มีมากมายหรือความจำสิ่งต่าง ๆ หลาย ๆ สิ่งได้เรียกว่า ประสบการณ์ (Experience) อนึ่ง จินตนาการเฉพาะถึงสิ่งต่าง ๆ ที่อายตนะภายในได้รับรู้มาก่อนจะทั้งหมดในทันที หรือเป็นบางส่วนหลาย ๆ ครั้งก็ตามอย่างแรก (ซึ่งเป็นการสร้างจินตภาพถึงวัตถุทั้งมวล) จัดว่าเป็น จินตนาการธรรมดา (Simple Imagination) ดังเช่นคนคนหนึ่งสร้างจินตนาภาพถึงคนหนึ่ง ปรือ ถึงม้าตัวหนึ่งที่เขาได้เคยเห็นมาก่อนเป็นต้น อีกอย่างหนึ่งเป็น จินตนาการแบบผสม (Compounded Imagination) เช่นจากการเห็นคนคนหนึ่งในกาละหนึ่ง และการเห็นม้าตัวหนึ่งในอีกกาลหนึ่ง แล้วเราก็เข้าใจสิ่งที่เป็นครึ่งม้าครึ่งคน (Centaur) อย่างม้ารีศ ขึ้นในจิตใจของเรา ดังนั้นเมื่อคนเราผสมภาคแห่งบุคคลของตนเองเข้า กับสภาพแห่งการกระทำของอีกคนหนึ่ง ดังเช่นในเมื่อคนเราสร้างจินตภาพตนเองเป็นเฮอร์คิวลิส หรือเป็นพระเจ้านับว่าสมบูรณ์แต่ทว่าเป็นเรื่องที่จิตประดิษฐ์ขึ้น ทั้งยังมีจินตนาการอื่น ๆ เกิดขึ้นในตัวมนุษย์อีก (แม้ว่าจะเกิด) จากความตรึงใจอย่างใหญ่หลวงในประสาทสัมผัสก็ตาม อย่างเช่นจากการดูดวงอาทิตย์ ความตรึงใจย่อมทิ้งจินตภาพของดวงอาทิตย์ให้อยู่ในนัยน์ตาของเราได้ต่อมาอีกนานทีเดียว และจากการจดจ่ออยู่กับภาพทางเรขาคณิตเป็นเวลานานและอย่างมากมาย ในที่มืดคนเรา (แม้ว่าตื่นอยู่) ก็ย่อมมิจินตภาพของเส้นและมุมติดตาอยู่ได้ ซึ่งเป็นความคิดฝัน (fancy) ชนิดหนึ่งที่ไม่มีชื่อโดยเฉพาะดุจเป็นสิ่งที่มิได้เข้ามาสู่เรื่องการสนทนาของมนุษย์เราตามปรกติเลย จินตนาการของพวกที่หลับ ก็คือจินตนาการที่เรียกว่า ความฝัน (Dreams) และความฝันเหล่านี้ (ก็คล้ายกับจินตนาการอื่น ๆ ทั้งปวง) ได้เคยมีมาก่อนแล้ไม่ทั้งหมดก็เป็นบางส่วน และเพราะในประสาทสัมผัสมันสมองและประสาทซึ่งเป็นอวัยวะสัมผัสที่จำเป็น ซึ่งถูกทำให้หมดสติไปในเวลาหลับนั้น การกระทำของอารมณ์ภายนอกไม่สามารถทำให้เคลื่อนไหวได้โดยง่ายเลย ในเวลาหลับจึงไม่อาจมจินตนาการใด ๆ ได้ และดังนั้นก็ไม่มีความฝัน นอกจากสิ่งที่ดำเนินการจากการกระเพื่อมแห่งส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายมนุษย์ซึ่งส่วนต่าง ๆ ในภายในโดยเหตุที่มีความสัมพันธ์กับสมองและอวัยวะอื่น ๆ เมื่อไม่มีอารมณ์มากระทบย่อมเคลื่อนไหวไปอย่างเดิม ส่วนจิตนาการที่เคยมีมาก่อนก็จะปรากฏ ดุจดังว่าคนคนนั้นกำลังตื่นอยู่ นอกจากว่าอวัยวะสัมผัสจะถูกทำให้ชาไปเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่มีอารมณ์ใหม่ที่อาจเป็นใหญ่ เหนืออวัยวะสัมผัสและทำให้อวัยวะสัมผัสมืดมนไปด้วยความจรึงใจที่รุนแรงยิ่งกว่าความฝันในเวลาที่ประสาทสัมผัสสลาย ก็จำเป็นจะต้องแจ่มแจ้งยิ่งกว่าความคิดในเวลาที่เราตื่น และดังนั้นจึงมีผลว่ามันเป็นเรื่องที่ยาก และโดยอาศัยความคิดเป็นจำนวนที่มาก ไม่อาจจะแยกได้ว่าเป็นความรู้สึกหรือความฝันกันแน่ สำหรับข้าพเจ้า เมื่อข้าพเจ้าพิจารณาว่าในความฝันข้าพเจ้าไม่ค่อยได้คิดถึงบุคคล สถานที่ วัตถุ และการกระทำ หรือคิดประติดประต่อกนยาว ๆ อย่างเดียวกับ เมื่อข้าพเจ้าคิดถึงในเวลาที่ตื่น ทั้งมิได้จดจำความคิดหรือความฝันดังในเวลาอื่น ๆ และเพราะเวลาตื่นข้าพเจ้ามักสังเกตเห็นความเฉาโฉดแห่งความคิดในเวลาตื่นของตัวเอง ข้าพเจ้าจึงพอใจมากที่เมื่อตื่น ข้าพเจ้าก็ทราบว่า ข้าพเจ้ามิได้ฝันมาว่าในตอนที่ข้าพเจ้าฝัน ข้าพเจ้าจะคิดว่าข้าพเจ้าตื่นก็ตาม... จินตนาการที่ถูกสร้างให้มีขึ้นในตัวมนุษย์ (หรือในสัตว์อื่น ๆ ที่มีความสามารถจะสร้างจินตนาการได้) โดยอาศัยคำพูด หรือนิมิตที่จงใจอื่น ๆ นั่นคือสิ่งที่โดยทั่ว ๆ ไปเราเรียกว่า ความเข้าใจ (understanding) และเป็นสิ่งที่ธรรมดาสามัญทั้งแก่มนุษย์และสัตว์ เพราะสุนัขย่อมจะเข้าใจเสียงเรียกที่เรียกมันเป็นปรกติ หรือจำฝีเท้าของนายมันได้ และสัตว์อื่น ๆ ก็ทำนองเดียวกัน การเข้าใจซึ่งเป็นธรรมดาสามัญสำหรับมนุษย์นั้นเป็นความเข้าใจไมใช่เฉพาะแห่งเจตจำนงของเขาเท่านั้น แต่ทว่าแห่งการสร้างมโนภาพและความคิดของเขาโดยอาศัยสิ่งที่ตามมาภายหลัง หรือคำอรรถาธิบายแห่งชื่อของสิ่งต่าง ๆ ในรูปการยืนยัน การปฏิเสธ และคำพูดแบบอื่น ๆ ...” บทที่ 5 เรื่องเหตุผล และวิทยาศาสตร์
“เมื่อมนุษย์คาดคะเนโดยไม่ใช้คำพูด ซึ่งเราอาจทำได้เฉพาะในบางสิ่ง (เช่นในเวลาที่เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราก็เดาเอา ถึงสิ่งที่มีมาก่อน และสิ่งที่จะติดตามมาในภายหลังได้) ถ้าหากสิ่งที่เขาคิดว่าจะติดตามมา มิได้ติดตามมาจริง หรือสิ่งที่เขาคิดว่ามีมาก่อน แต่มิได้มีมาก่อนอย่างที่คิด นี่เรียกว่า ความเคลื่อนคลาด (ERROR) ซึ่งแม้แต่บุคคลที่สุขุมรอบคอบที่สุดก็มักจะหนีไม่พ้น แต่เมื่อเราให้เหตุผลเป็นคำพูดเกี่ยวกับนัยทั่ว ๆ ไป และต่อสู้กับการอนุมานทั่ว ๆ ไปซึ่งผิด แม้ตามธรรมดาเราจะเรียกว่า ความคลาดเคลื่อน แต่ความจริงเป็น ความโฉดเขลา (Absurdity) หรือคำพูดที่ไม่มีความหมายอะไรเพราะความคลาดเคลื่อนเป็นเพยงความเข้าใจผิด ในการสันนิษฐานว่าบางสิ่งบางอย่างเป็นสิ่งที่ล่วงมาแล้ว หรือเป็นสิ่งที่จะมาถึงเท่านั้น ซึ่งแม้ว่ามันจะมิได้เป็นสิ่งที่ล่วงมาแล้ว หรือมิใช่เป็นสิ่งที่จะมาถึง แต่ก็ยังไม่มีความไม่อาจเป็นไปได้ใด ๆ ที่จะค้นพบไม่ได้ แต่เมื่อเรายืนยันโดยทั่ว ๆ ไป ทั้ง ๆ ที่เป็นการยืนยันที่ถูกต้อง แต่ความอาจเป็นไปได้ของการยืนยันนั้นอาจเป็นสิ่งที่เข้าใจไม่ได้ก็เป็นได้ และคำพูดที่เราเข้าใจก็ไม่มีอะไรนอกจากเสียงและสิ่งที่เราเรียกว่า “โฉดเขลา” “ไม่สำคัญ” และ “ไม่มีความหมายอะไร” เท่านั้น และเพราะฉะนั้น ถ้าหากคนคนหนึ่งควรจะพูดกับข้าพเจ้าถึงเรื่อง “รูปสี่เหลี่ยมที่กลม” หรือ “ขนมปังเกิดในเนยแข็ง” หรือ “เนื้อสารที่ไม่ใช่วัตถุ” หรือ “ทาสที่เป็นเสรี” “เจตจำนงเสรี” หรือ “สิ่งที่เป็นเสรี” อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากเป็นเสรีจากการเป็นสิ่งที่ถูกสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ปิดกั้นไว้ละก็ ข้าพเจ้าก็ไม่ควรกล่าวว่า เขาทำคลาดเคลื่อนเพียงแต่ว่าคำพูดของเขาได้ความหมาย นั่นคือเป็นคำพูดที่เฉาแดเท่านั้น
ข้าพเจ้าได้เคยกล่าวมาก่อนแล้วว่า มนุษย์วิเศษเหนือสัตว์อื่น ๆ ทั้งปวงในความสามารถด้านนี้ เมื่อมนุษย์เข้าใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม เขามักชอบถามถึงผลของมัน และถามถึงผลที่เขาจะได้รับและบัดนี้ ข้าพเจ้าขอเพิ่มความวิเศษอย่างเดียวกันขั้นอื่นให้อีก นั่นคือ มนุษย์อาจใช้ถ้อยคำทำให้ผลต่าง ๆ ที่เขาพบลดลมมาเป็นกฎทั่ว ๆ ไปซึ่งเรียกว่า Thoeremes หรือ Aphorisms ได้ นั่นคือมนุษย์อาจให้เหตุผลหรือตั้งปัญหาขึ้นไม่เฉพาะในด้านจำนวนเท่านั้น แต่ทว่าในสิ่งอื่น ๆ ทั้งปวงที่เราอาจเพิ่มให้แก่สิ่งอื่นหรือตัดทอนมาจากอีกสิ่งหนึ่งได้ แต่เอกสิทธิ์นี้อาจถูกระงับไปโดยอีกเอกสิทธิ์หนึ่งได้ และนั่นคือโดยเอกสิทธ์เกี่ยวกับความเฉาโฉด ซึ่งไม่มีสิ่งที่มีชนิดใด ๆ นอกจากมนุษย์เท่านั้นที่มีและในบรรดามนุษย์ทั้งหลาย มนุษย์ที่มีอาชีพในทางปรัชญานั่นแหละที่เป็นพวกที่เฉาโฉดที่สุด เพราะเป็นความจริงอย่างที่สุดที่ว่า ซิเซโรกล่าวถึงมนุษย์เหล่านั้นไว้ในที่ใดที่หนึ่งอยู่บ้าง และเป็นความจริงอย่างที่สุดที่ว่าไม่อาจมีสิ่งที่เฉาโฉดเช่นนั้นเลย นอกจากเราอาจพบอยู่ในหนังสือของพวกปรัชญาเมธีเท่านั้น และเหตุผลย่อมสำแดงให้ปรากฏ เพราะไม่มีแม้แต่คนเดียวที่เริ่มต้นการให้เหตุผล (ratiocinalism) ของเขาจาดบทนิยามหรือจากคำอธิบายถึงชื่อต่าง ๆ ที่พวกเขาใช้เลย ซึ่งนับว่าเป็นวิธีหนึ่งที่เคยใช้เฉพาะในวิชาเรขาคณิตเท่านั้น ซึ่งทำให้บทสรุปไม่มีใครโต้แย้งได้ สาเหตุแรกที่ทำให้เกิดบทสรุปที่เฉาโฉด ข้าพเจ้ายกให้แก่ความต้องการวิธีการ ซึ่งในกรณีนั้น พวกเขาไม่ได้เริ่มต้นการให้เหตุผลจากบทนิยามความหมาย นั่นคือมิได้เริ่มต้นจากนัยสำคัญแห่งถ้อยคำต่าง ๆ ที่ตกลงยุติกันแล้ว ดุจดังว่าพวกเขาทำบัญชีโดยไม่รู้จักจำนวนเลข 1, 2, 3 เลย ฉะนั้น และเมื่อเทห์ทั้งปวงเข้ามาสู่การพิจารณาที่ต่าง ๆ กัน การพิจารณาเหล่านี้ซึ่งมีชื่อต่าง ๆ กัน ความเฉาโฉดต่าง ๆ กัน ย่อมดำเนินการจากความสับสน และการที่ชื่อของมัน ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างไม่เหมาะสมไปหาการยืนยัน และเพราะฉะนั้น สาเหตุที่สองแห่งการยืนยันที่เฉาโฉด ที่ข้าพเจ้ายกให้แก่การตั้งชื่อ “เทห์” ให้แก่ “สหสมบัติ” หรือตั้งชื่อ “สหสมบัติ” ให้แก่ “เทห์” ดังที่พวกเขาปฏิบัติเมื่อเขากล่าวว่า “ศรัทธาได้แพร่ไป” หรือ ศรัทธาได้รับการดลใจ” ในเมื่อเราไม่อาจ “เท” หรือ “สูดหายใจ” เอาอะไรเข้าไปในสิ่งใด ๆ ได้เลยนอกจากเทห์เท่านั้น และว่า “การกินที่” เป็น “เทห์” และว่า “ปีศาจ” เป็น “เจตภูต” เป็นต้น สาเหตุประการที่สาม ข้าพเจ้ายกให้แก่การตั้งชื่อ “สหสมบัติ” ของ “เทห์ที่ปราศจากเรา” ให้แก่ “สหสมบัติ” แห่ง “ร่างกาย” ของเราเอง ดังที่เขาปฏิบัติเมื่อเขากล่าวว่า “สีอยู่ในร่างกาย เสียงอยู่ในอากาศ ฯลฯ เป็นต้น สาเหตุประการที่สี ข้าพเจ้ายกให้แก่การตั้งชื่อ “เทห์” ให้แก่ “ชื่อต่างๆ” และ “คำพูดต่าง ๆ” ดังที่พวกเขาปฏิบัติเมื่อกล่าวว่า “มีสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นสากล” “สิ่งที่มีชีวิตเป็นวิเสสชาติ” หรือ “สิ่งทั่ว ๆ ไปเป็นวิเสสชาติ” ฯลฯ สาเหตุประการที่ห้า ข้าพเจ้ายกให้แก่การตั้งชื่อ “สหสมบัติ” ให้แก่ “ชื่อ” และ “คำพูดต่าง ๆ” ดังที่พวกเขาปฏิบัติเมื่อกล่าวว่า “ธรรมชาติของสิ่งสิ่งหนึ่งก็คือการนิยามความหมายของสิ่งนั้น คำสั่งของมนุษย์ก็คือเจตจำนงของเขา” เป็นต้น สาเหตุประการที่หก ข้าพเจ้ายกให้แก่ คำอุปมา (Metaphors) คำเปรียบเทียบ (Tropes) และภาพทางวาทศาสตร์อื่น ๆ แทนที่จะใช้คำพูดธรรมดาล้วน ๆ เพราะแม้จะเป็นการถูกต้องตามกฎหมายที่จะกล่าวโดยใช้คำพูดแบบธรรมดาสามัญทั่ว ๆ ไป เช่น “ทางนี้ไป หรือนำมายังที่นี้ หรือนำไปยังที่นั้น สุภาษิตกล่าวอย่างนี้หรือกล่าวอย่างนั้น” (ทั้ง ๆ ที่ทางไปไม่ได้ หรือสุภาษิตกล่าวอย่างนี้หรือกล่าวอย่างนั้น” (ทั้ง ๆ ที่ทางไปไม่ได้ หรือสุภาษิตพูดไม่ได้) แต่ในการให้เหตุผลหรือแสวงหาความจริง เราจะไม่ยอมรับรองคำพูดเช่นนั้นก็ตาม สาเหตุประการที่เจ็ด ข้าพเจ้ายกให้แก่ชื่อที่มิได้บ่งถึงอะไรเลย เพียงแต่ได้ศึกษาเล่าเรียนด้วยการท่องจำมาจากโรงเรียน เช่น “ที่เป็นสมมุติฐาน ที่เปลี่ยนรูปเนื้อสาร ที่รวมรูปเนื้อสาร นิรันดร-บัดนี้” และถ้อยคำที่อวดโวทำนองนั้นของพวกครูอาจารย์ สำหรับผู้ที่พอจะสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ได้ไม่เป็นการง่ายนักที่จะตกไปสู่ความเฉาโฉดใด ๆ นอกจากว่าเพราะเรื่องราวเยิ่นเย้อมากไปหน่อยเท่านั้น ซึ่งบางทีอาจทำให้เขาลืมสิ่งที่เขากล่าวมาก่อน เพราะตามธรรมดาแล้ว มนุษย์ทั้งปวงก็มีเหตุผลคล้าย ๆ กัน และให้เหตุผลได้ดี ถ้าหากเขามีหลักการที่ดี เพราะใครเล่าที่โง่ ที่ทั้ง ๆ ที่ทำเรขาคณิตผิดแล้วยังยืนกรานในสิ่งที่ผิด ๆ นั้น ในเมื่ออีกคนหนึ่งได้ตรวจพบ และบอกความคลาดเคลื่อนของเขาให้เขาทราบ?...” บทที่ 46 ในภาค 4 เรื่องอาณาจักรแห่งความมืด “บัดนี้การดำเนินมาหาหลักการแห่งปรัชญาที่ไร้สาระเฉพาะบางอย่างซึ่งเกิดมาจากภาวะสากลทั้งหลายและจากภาวะที่เป็นสากลนั้นก็ไปสู่ศาสนจักร ส่วนหนึ่งก็จากอริสโตเติล และอีกส่วนหนึ่งก็จากความมืดมนอนธกาลแห่งความเข้าใจ ในเบื้องแรกข้าพเจ้าจะพิจารณาถึงหลักการของภาวะสากลทั้งหลาย มี Philosophia Prime บางอย่างที่ปรัชญาอื่น ๆ ทั้งปวงจะต้องอาศัย และเมื่อว่าโดยหลักการแล้วก็ประกอบด้วยนามหรือฉายา เช่นนั้นในการกำหนดขอบเขตนัยต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ดุจดังว่าประกอบด้วยสิ่งอื่น ๆ ทั้งปวงที่เป็นสากลที่สุด ซึ่งการกำหนดขอบเขตย่อมทำหน้าที่เพื่อหลีกเลี่ยงความกำกวม และการให้เหตุผลเป็นสองนัย และโดยทั่ว ๆ ไปเรียกว่าการนิยามความหมาย เช่นการนิยามความหมายของเทห์ กาละ เทศะ สสาร รูปฟอร์ม สารัตถะสำคัญ สิ่งของ เนื้อสาร สหสมบัติ อำนาจ การกระทำ กำหนดได้ กำหนดไม่ได้ ปริมาณ คุณภาพ ความเคลื่อนไหว กิริยาการ กิเลส และคำอื่น ๆ ที่แตกต่างกันออกไปอันจำเป็นต้องใช้อธิบายการสร้างมโนภาพของมนุษย์ เกี่ยวกับธรรมชาติและการให้กำเนิดเทห์ต่าง ๆ การยุติความหมายของสิ่งที่ในสำนักต่าง ๆ ทั้ง ๆ ไปเรียกว่า อภิปรัชญาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งแห่งปรัชญาของอริสโตเติลที่มีหัวเรื่องว่า Metaphysics และคำต่าง ๆ ทำนองนั้น เพราะมันบ่งถึง หนังสือที่เขียนหรือที่วางเค้าเรื่องตามปรัชญาธรรมชาติของท่าน แต่สำนักต่าง ๆ ถือว่าเป็น หนังสื่อเรื่องปรัชญาที่พ้นธรรมชาติ เพราะคำว่า metaphysics ย่อมมีความหมายทั้งสองอย่างนี้อยู่ในตัว และความจริงเรื่องที่เขียนไว้ในหนังสือนั้น ส่วนใหญ่เอามาผสมกับเหตุผลตามธรรมชาติไม่ได้ นั่นคือใครก็ตามที่คิดว่ามีอะไรบางอย่างที่จะต้องเข้าใจโดยอาศัยอภิปรัชญานั้น จำต้องคิดว่าอภิปรัชญาเป็นเรื่องที่พ้นธรรมชาติแน่ จากอภิปรัชญาเหล่านี้ซึ่งผสมกับคัมภีร์ เพื่อก่อให้เกิดสำนักเทววิทยาขึ้นมานั้นเราได้ทราบว่า มีสารัตถะสำคัญบางอย่างที่แยกออกจากเทห์ทั้งหลาย ซึ่งพวกเขาเรียกว่า abstract essences, and substantial forms อยู่ในโลกเพราะการแปลความหมายของ คำพูดที่ไม่รู้เรื่อง (jargon) ก็จำเป็นต้องมีอะไรบางอย่างที่ยิ่งกว่าความตั้งใจธรรมดาสามัญในที่นี้ อนึ่ง ข้าพเจ้าต้องขออภัยต่อผู้ที่ข้าพเจ้ามิได้เอามาใช้กับการพรรณนาชนิดนี้เพื่อเอาตัวข้าพเจ้าเองไปใช้กับสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ในโลก (ข้าพเจ้ามิได้หมายเฉพาะโลกนี้ซึ่งเป็นเด่นเหนือผู้ที่รักโลกคือ โลกียชน แต่ทว่าหมายถึง จักรวาล นั่นคือ มวลของสิ่งทั้งปวงที่มีเป็น” เป็นสิ่งที่มีรูป คือเป็นเทห์ และมีหลายมิติ คือมีความกว้าง ยาว และหนา (ลึก) ส่วนต่าง ๆ ของเทห์ก็คล้าย ๆ เทห์เอง คือมีมิติต่าง ๆ เหมือนกัน และดังนั้น ทุก ๆ ส่วนของจักรวาลก็ย่อมเป็นเทห์ และสิ่งที่ไม่เป็นเทห์ก็ย่อมไม่เป็นส่วนหนึ่งแห่งจักรวาล และเพราะว่าจักรวาลเป็นสิ่งทั้งปวง สิ่งที่ไม่เป็นส่วนหนึ่งแห่งจักรวาลย่อม “ไม่เป็นอะไรเลย” (no thing) และดังนั้นก็ย่อม “ไม่มีอยู่ ณ ที่ใดทั้งสิ้น” (no where) จากข้อนี้ก็มิได้มีผลติดตามมาว่าเจตภูตทั้งหลาย ไม่เป็นอะไรเลย (no thing) เพราะเจตภูตก็มีมิติ และดังนั้นก็ย่อมเป็น เทห์ จริง ๆ แม้ว่าในคำพูดทั่ว ๆ ไปเราจะให้ชื่อแก่เทห์ทำนองนั้น เช่นว่าเป็นสิ่งที่เห็นได้ หรือสามารถสัมผัสได้ นั่นคือมีความขุ่นทึบอยู่บ้าง แต่สำหรับเจตภูตทั้งหลาย เขาเรียกกันว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีรูร่าง ซึ่งเป็นชื่อที่มีเกียรติมากกว่า และดังนั้นจึงน่าจะถือว่าเป็นคุณสมบัติของพระผู้เป็นเจ้ามากกว่า สิ่งในพระผู้เป็นเจ้านั้นเราไม่เห็นว่าจะมีคุณสมบัติอะไรที่จะแสดงธรรมชาติของพระองค์ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ได้ดีที่สุดเลย แต่เราจะพิจารณาสิ่งที่แสดงออกซึ่งความปรารถนาของเราที่จะยกย่องพระองค์ให้ดีที่สุด บัดนี้การที่จะทราบว่าเอาหลักอะไรมาพูดว่ามี สารัตถะสำคัญที่เป็นนามธรรม (essences abstract) หรือ รูปฟอร์มที่เป็นเนื้อสาร (substantial forms) นั้น เราจะต้องพิจารณาสิ่งที่คำทั้งหลายบ่งถึงอย่างสมบูรณ์ด้วย การใช้คำต่าง ๆ ก็คือการลงทะเบียนความคิดและการสร้างมโนภาพแห่งจิตของเราให้แก่ตัวเราเอง และทำให้ปรากฏแก่ผู้อื่นนั่นเอง ในบรรดาคำต่าง ๆ เหล่านั้น บางคำเป็นชื่อของสิ่งต่าง ๆ ที่เราเข้าใจ เช่นชื่อของเทห์ทุกชนิดที่ทำงานอยู่ในประสาทสัมผัส และทิ้งภาพตรึงใจไว้ในจินตนาการ ส่วนคำอื่น ๆ เป็นชื่อของตัวจินตนาการเอง นั่นคือของอุดมคติ หรือมโนภาพของสิ่งทั้งปวงที่เราเห็นหรือที่ที่เราระลึกได้ และบางคำก็เป็นชื่อของชื่อทั้งหลายหรือของคำพูดชนิดต่าง ๆ เช่นคำว่า “สากล ยืนยัน คัดด้าน” เป็นชื่อของชื่อต่าง ๆ และคำว่า “การนิยาม ความหมาย การยืนยัน การคัดค้าน ถูก ผิด ปรัตถานุมาน คำถาม ข้อเสนอ ข้อตกลง” เป็นชื่อของคำพูดบางแบบ บางคำก็ทำหน้าที่แสดงให้เห็นผลที่เกิดตามมา หรือการที่ชื่อหนึ่งเป็นปฏิปักษ์กับอีกชื่อหนึ่ง ดังเช่นเมื่อพูดว่า “มนุษย์เป็นเทห์ชนิดหนึ่ง” เขาย่อมมีความตั้งใจว่าชื่อว่า “เทห์” จำเป็นจะต้องเป็นผลที่สืบมาจากชื่อว่า “มนุษย์” เช่นเดียวกับชื่ออื่น ๆ อีกมากมายเป็นชื่อของ “มนุษย์” อย่างเดียวกัน ซึ่งผลจะแสดงออกมาให้ปรากฏก็โดยการเอาคำว่า มนุษย์ กับเทห์มารวมกัน โดยใช้ค่า “เป็น” เป็นคำเชื่อมต่อ และเราใช้กริยา “เป็น” ฉันใด ละตินก็ใช้กริยา est และอังกฤษใช้กริยา is ฉันนั้น ชาติอื่น ๆ ทั้งปวงในโลกจะมีคำคำหนึ่งที่ตอบปัญหานี้ได้หรือไม่ ข้าพเจ้าบอกไม่ได้ แต่ข้าพเจ้าแน่จ่า ชาติต่าง ๆ เหล่านั้นไม่ต้องการคำนั้น เพราะการเอาคำสองคำมาจัดให้เข้าระเบียบอาจทำหน้าที่บ่งถึงผลที่ติดตามมาได้ ถ้าหากมันเป็นธรรมเนียม เช่นคำว่า is, be หรือ are เป็นต้น และถ้าหากว่าเป็นเช่นนั้น ก็จะมีภาษาหนึ่งที่ไม่มีคำกริยาใด ๆ ที่จะสามารถตอบคำ est is หรือ be ได้ ทั้งผู้ที่เอาคำกริยานั้นมาใช้คงยังมีวิสัยสามารถที่จะอนุมานสรุป หรือให้เหตุผลทุกชนิดไม่น้อยกว่าชาวกรีกและชาวละตินแม้แต่เพียงขี้เล็บเลย แต่แล้วคำอะไรเล่าที่เกิดมาจากคำเหล่านี้คือ “ภาวะ สารัตถะสำคัญ ที่เป็นสารัตถะสำคัญ ความเป็นสารัตถะสำคัญ” (entity, essence, essential, essentiality) ที่เกิดมาจากกริยา is (est) และคำอื่น ๆ อกมากมายที่เกิดจากคำเหล่านี้ ที่เอามาใช้จนเป็นธรรมดาสามัญมากที่สุดเท่าที่เป็นอยู่? เพราะฉะนั้นจึงไม่มีชื่อใด ๆ ของสิ่งทั้งหลายเลย นอกจากนิมิตที่ทำให้เราทราบ ที่เราทราบผลที่ติดตามมาของชื่อหนึ่ง หรือคุณสมบัติของอีกชื่อหนึ่ง เช่นเมื่อเราพูดว่า “มนุษย์, เป็น, เทห์ที่มีชีวิต” เรามิได้หมายถึงว่า “มนุษย์” เป็นสิ่งหนึ่ง “เทห์ที่มีชีวิต” เป็นอกสิ่งหนึ่งและ “เป็น” เป็นสิ่งที่สามเลย แต่หมายถึงว่า “มนุษย์” กับ “เทห์ที่มีชีวิต” เป็นสิ่งเดียวกัน เพราะผลที่ติดตามาที่ว่า “ถ้าหากเขาเป็นมนุษย์ เขาก็เป็นเทห์ที่มีชีวิต” ย่อมเป็นผลที่ติดตามมาที่ถูกต้อง เพราะมีคำว่า “เป็น” บ่งถึงว่าสองอย่างนั้นเป็นอย่างเดียวกัน แต่เพื่อวัตถุประสงค์อะไรเล่า (ที่บางคนอาจกล่าว) ที่มีความละเอียดประณีต (subtility) เช่นนั้นอยู่ในงานของธรรมชาตินี้ ในเมื่อข้าพเจ้ามิได้แสร้งทำอะไรเลยนอกจากสิ่งที่จำเป็นสำหรับคำสอนเรื่องการปกครองและความเชื่อฟังเท่านั้น? ด้วยวัตถุประสงค์ข้อนี้แหละที่มนุษย์จะไม่ต้องเดือดร้อนที่จะถูกใช้ไปในทางที่ผิด ๆ อีกต่อไป โดยอาศัยคำสอนเรื่อง “สารัตถะสำคัญที่แยก ๆ กัน” ซึ่งเขียนขึ้นโดยอาศัยปรัชญาที่ไร้สาระของอริสโตเติลนี้แหละที่คงทำให้พวกเขาเลิกเชื่อฟังกฎหมายของประเทศด้วยชื่อที่ว่างเปล่า เช่นเดียวกับที่คนทำให้นกตกใจทิ้งคอนไป เพราะเสื้อธรรมดา หรือไม้งอ ๆ ฉะนั้น เพราะเหตุผลข้อนี้เอง เมื่อคนตายลงหรือถูกนำไปฝัง เขาจึงกล่าวว่าดวงวิญญาณของคนผู้นั้น (คือชีวิตของเขา) อาจเดินแยกไปจากร่างกายเขาได้ และอาจมองเห็นตามหลุมฝังศพได้ในเวลากลางคืน โดยอาศัยเหตุผลอย่างเดียวกันนี้ พวกเขาจึงกล่าวว่า รูป สี และกลิ่นของชิ้นขนมปังย่อมมีภาวะ ในเมื่อเขาพูดว่าไม่มีขนมปัง และด้วยเหตุผลอย่างเดียวกันนั่นเอง พวกเขาได้กล่าวว่า ศรัทธาและปัญญา และคุณธรรมอื่น ๆ บางทีก็ “หลั่งไหล” มาสู่มนุษย์ บางทีก็ “พัด” จากสวรรค์มาสู่มนุษย์ ดุจดังว่าสิ่งที่ดีงามและคุณความดีของเขาอาจกระจัดกระจายไปได้ฉะนั้น และมีสิ่งอื่น ๆ อีกมากมายที่ทำหน้าที่ให้สิ่งต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับอำนาจอธิปไตยของประเทศอื่น ๆ น้อยลง เพราะใครเล่าจะพยายามเชื่อฟังกฎหมาย ถ้าหากเขาหวังให้ความเชื่อถือหลั่งไหล หรือพัดเข้ามาสู่ตัวเขาเอง หรือใครเล่าจะไม่เชื่อพระที่อาจสร้างพระผู้เป็นเจ้าได้ มากกว่าที่จะเชื่ออำนาจอธิปไตยของพระ วิ่งกว่าที่จะเชื่อพระผู้เป็นเจ้าเองเสียอีก? หรือใครเล่าที่กลัวผีจะไม่เคารพผู้ที่ทำน้ำมนต์ไล่ผีออกไปจากตัวเขาได้อย่างที่สุด? และข้อนี้คงจะเพียงพอสำหรับที่จะแสดงตัวอย่างแห่งความคลาดเคลื่อนที่ถูกนำเข้าไปในศาสนจักรจาก “entities” และ “essences” ของอริสโตเติลซึ่งเขาอาจรู้ว่าเป็นปรัชญาที่ผิด ๆ แต่เขียนว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่สอดคล้องต้องกันกับศาสนาและกับความกลัวโชคชะตาของโสคราเตส...” (จำนง ทองประเสริฐ, 2514 : หน้า 538-573)
คำต่าง ๆ ในข้อความของหนังสือ Leviathan ของโธมัส ฮอบส์นั้นจะให้ความหมายของคำบางคำให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งคงไว้ในสาระสำคัญตามในข้อความของหนังสือ Leviathan จะมีคำต่าง ๆ ดังนี้ 1. กาละ หมายถึง เวลา 2. จินตภาพ " ภาพที่เกิดจากความนึกคิดหรือที่คิดว่าควรจะเป็นเช่นนั้น 3. เฉาโฉด " โง่, เซ่อ, โง่เขลา 4. เทห์ " รูป, มีตัวตน 5. นิมิต " สร้างดัดแปลง, เครื่องหมายล, สิ่งที่ทำให้เกิดผล 6. นิรันดร " ตลอดไปไม่เว้นว่าง, ติดต่อกันตลอดไป 7. ผัสสะ " การกระทบ, การถูกต้อง, การรับรู้ 8. มโนภาพ " ความคิดเห็นเป็นภาพขึ้นในใจ 9. วาทศาสตร์ " วิชาว่าด้วยศิลปะในการใช้ถ้อยคำสำนวน โวหารให้ประทับใจ 10. สห (สะหะ) " ด้วยกัน, พร้อม, ร่วม, ร่วมกัน 11. อนุมาน " คาดคะเนตามหลักเหตุผล 12. อภิจฉา " ความทะเยอทะยาน, ความกระวนกระวาย 13. อายตนะ " เครื่องรู้และสิ่งที่รู้ เช่น ตา เป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่รู้ 14. อุดมคติ " จินตนาการที่ถือว่าเป็นมาตรฐานแห่งความดี, ทางใดทางหนึ่ง ที่มนุษย์ถือว่าเป็นเป้าหมายแห่งชีวิตของตน 15. เอกฐาน " ลักษณะเฉพาะ 16. metaphysics " ปรัชญาที่เกี่ยวกับความจริงในธรรมชาติ หรือเป็นวิชาผี เวทมนตร์ คาถา มี 2 ความหมาย 17. Philosophia Prime " ปรัชญาเริ่มแรก (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2525 ; NEW MODEL ENGLISH-THAI DICTIONARY, 2534)
2. งานแปล Thucydides ของโธมัส ฮอบส์ ฮอบส์ได้แปลผลงาน Thucydides ที่มีชื่อเรื่องว่า History of the Peloponnesian (ประวัติสงครามคาบสมุทรเปโลป็อนเนซุส) ฮอบส์ได้แปลในปี ค.ศ. 1628 ซึ่งทูคีดีเด็ส เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกเกิดที่ อาเทน และจะกล่าวถึงในเนื่อหาดังต่อไปนี้ ยุคทองของเอเธนส์ ในสมัยศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาลนี้ ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยุคทองของอารยธรรมกรีก” เพราะเป็นสมัยที่วัฒนธรรมที่ถือว่ามีอิทธิผลอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์โลก อยู่ในระยะฟื้นฟูและรุ่งเรืองมากที่สุด โดยมีเอเธนส์เป็นรัฐนำและเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมนี้ด้วย การที่เอเธนส์เป็นรัฐผู้นำเพราะ ก.เอเธนส์มีผู้นำหลายคน และคนสำคัญ เช่น อารีสทิดีส (Artistides) เป็นผู้นำในการจัดตั้ง สหพันธ์เดเลียน (Delian League) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านการรุกรานของเปอร์เชีย ไซมอน(Cimon) ซึ่งเป็นผู้ขับไล่กองทัพเปอร์เชียจากบริเวณฝั่งทะเลดี และเปริคลิส (Pericles) ซึ่งเป็นผู้นำของเอเธนส์ที่ทำให้เอเธนส์กลายเป็น “โรงเรียนของเฮลลัส” ไปด้วย ข.ความเจริญทางการค้าทำให้เอเธนส์กลายเป็นรัฐที่มั่งคั่ง ค. เอเธนส์กลายเป็นรัฐผู้นำของสมาพันธ์เดลอส (Con federacy of Delos) ซึ่งแม้สงครามระหว่างกรีซกับเปอร์เชียจะสิ้นสุดลงแล้ว สมาชิกทั้งมวลก็ยังคงถูกบังคับให้รวมอยู่ในสมาพันธ์ และจะต้องส่งเงินบำรุงสมาพันธ์ไปเอเธนส์ โดยให้เอเธนส์มีสิทธิเต็มที่ในการใช้จ่ายเงินจำนวนนั้นในนามสมาพันธ์ การจ่ายค่าบำรุงสมาพันธ์นั้น ใช้วิธีกำหนดจำนวนเรือ และค่าธรรมเนียม แต่ต่อมานครรัฐบางแห่งก็พอใจส่งเงินมากกว่าเรือ และมีนครัฐเป็นจำนวนมากที่มิได้ส่งผู้แทนมาเข้าประชุม ซึ่งเท่ากับเป็นการแสดงว่านครรัฐเหล่านั้นได้มอบการดำเนินการธุรกิจต่าง ๆ ให้แก่ตนอย่างสิ้นเชิง แต่ก็มีนครรัฐหลายแห่งที่ปฏิเสธการส่งเรือและเงินมาช่วยสมาพันธ์ ซึ่งเอเธนส์ถือว่าเป็นการกบฏ จึงส่งกองทัพไปปราบปรามเป็นการสั่งสอนให้เชื่อฟัง คลังทรัพย์สมบัติของสมาพันธ์ย้ายจากเกาะเดลอสไปยังเอเธนส์ ศาลของนครรัฐต่าง ๆ ต้องขึ้นต่อศาลสูงเอเธนส์ และสมัชชาเอเธนส์จัดภารกิจต่าง ๆ โดยมิได้หารือนครรัฐอื่น ๆ แต่ผลดีที่ปรากฏก็คือสามารถขับเปอร์เชียออกไปนอกน่านน้ำทะเลอีเจียนหมด และช่วยให้นครรัฐต่างยังคงมีการปกครองแบบประชาธิปไตย ด้วยเหตุนี้สามพันธ์เคลอสจึงกลายเป็นจักรวรรดิ มีเอเธนส์เป็นหัวหน้า ดินแดนที่มิได้เข้ารวมอยู่ในสมาพันธ์ที่มีเพียงเกาะ 3 เกาะ คือ เลสบอส เดลอส และซามอสเท่านั้น (1) การแข่งขันระหว่างเอเธนส์และสปาร์ตา ในขณะที่เอเธนส์กำลังเจริญก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ นั้น สปาร์ตาก็เฝ้ามองอยู่อย่างใกล้ชิด แม้กระทั่งเมื่อสมาพันธ์เดลอส ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของเอเธนส์ สปาร์ตาก็ได้จัดตั้งสมาพันธ์เปลอปอนเนเชีน (Peloponesian League) ขึ้นมาบ้าง โดยมีสปาร์ตาเป็นรัฐผู้นำ ด้วยเหตุนี้สปาร์ตาจึงกลายเป็นรัฐผู้นำทางบก ในขณะที่เอเธนส์เป็นรัฐผู้นำทางทะเล รัฐทั้งสองต่างก็ยึดถือแบบการปกครองที่ไม่เหมือนกัน เอเธนส์มีการปกครองแบบประชาธิปไตย ในขณะที่สปาร์ตาปกครองในแบบคณาธิปไตย และมีรัฐที่เริ่มมอำนาจทางทะเลเป็นคู่แข่งของเอเธนส์ในด้านการค้าแถบเมดิเตอร์เรเนียนก็คือ คอรินท์ (Corinth) ซึ่งเป็นรัฐสมาชิกของสมาพันธ์เปลอปอนเนเชียนด้วย ความพินาศของเอเธนส์ ในปี 461 ก่อนคริสตกาล ก็เกิดสงครามระหว่างเอเธสน์และสปาร์ตา หลังจากการสู้รบชั่วระยะหนึ่งก็มีการพักรบชั่วคราวในปี 445 ก่อนคริสตกาล และเริ่มสงครามใหม่อกครั้งหนึ่งในปี 431 ก่อนคริสตกาล และเริ่มสงครามใหม่อีกครั้งหนึ่งในปี 431 ก่อนคริสตกาล และจบลงด้วยการที่เอเธนส์ต้องพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาด หลังจากที่เกิดสงครามไม่นานนักก็เกิดโรคระบาดในเอเธนส์ ทำให้ประชาชนเสียชีวิตถึง 1 ใน 3 รวมทั้งเพริคลีสเองด้วย(429 ปีก่อนคริสตกาล) ในขณะที่ความพยายามที่จะต่อสู้เพื่อชัยชนะทางทะเล เอเธสน์ก็เปิดการรบกับพันธมิตรของสปาร์ตา คือ ซีราคิวส์ (Syracuse) ทางตอนใต้ของอิตาลี เอเธนส์เป็นฝ่ายแพ้และต้องประสบความสูญเสียครั้งใหญ่ทั้งในด้านอำนาจทางทะเล และการสูญเสียกำลังคน ในที่สุดด้วยความช่วยเหลือของชาวเปอร์เซียน สปาร์ตาก็สามารถเอาชนะเอเธนส์ในการรบครั้งสุดท้ายที่ อีกอสโปตามี เอเธสน์ถูกยึดครองกำแพงเมือง (ติดต่อกรีซและเมืองท่าเรือไพเรอัส (Piraeus) ถูกทำลายล) อำนาจและอิทธิพลของเอเธนส์ก็สิ้นสุดลงแต่เพียงนั้น (2) สปาร์ตาและธีบีส์กลายเป็นรัฐผู้นำ ตั้งแต่ปี 404-371 ก่อนคริสตกาล สปาร์ตาก็กลายเป็นรัฐผู้นำของกรีซ โดยปรกติรัฐสปาร์ตาจะให้ความสนับสนุนและส่งเสริมพวกชนชั้นสูงทำให้พวกชนชั้นต่ำเกิดความไม่พอใจ และธีบีส์ก็เป็นรัฐแรกที่ทำการปฏิวัติต่อต้านกฎเกณฑ์ของรัฐสปาร์ตาภายใต้การนำของแม้ทัพผู้สามารถคือ อีพามินอนดัส (Epaminondas) พวกธีบิส์ก็สามารถเอาชนิสปาร์ตาได้ในการรบที่เลอัคทรา ในปี 371 ก่อนคริสตกาล อย่างไรก็ตาม ธีบีส์ก็มีชัยชนะอยู่ไม่นานนัก ก็สิ้นอำนาจลงอีกครั้งหนึ่งในการรบกับสปาร์ตาและเอเธสน์ที่มันทิเนีย (Mantinea) ในปี 362 ก่อนคริสตกาล (อัธยา โกมลกาญจน, 2515 : หน้า 79-82 ; กิรติ บุญเจือ, 2522 : หน้า 124)
3. หนังสือ Behemoth ของโธมัส ฮอบส์
ฮอบส์ได้เขียนวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ของรัฐสภาอันยาวนานและสงครามกลางเมือง ในหนังสือสำคัญคือ Behemoth ได้แต่งขึ้นในปี ค.ศ. 1668 จะกล่าวถึงสาระสำคัญในหนังสือ Behemoth ดังจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ Behemoth เป็นเนมิกนามอันตั้งให้กับรัฐสภาอันยาวนาน (Long Parliament) ที่ครอมแวลเคยเป็นสมาชิกและถูกครอมแวลทำลายลง เบเฮมอทก็เป็นชื่อสัตว์ร้ายในทะเล แต่ไม่มีอำนาจเท่าเลวิเอทันซึ่งในพระคัมภีร์เก่านั้นเป็นชื่อพญากุมภีล์ที่พลังน้อยกว่าแต่ก็หยิ่งยโสจนพยายามแย่งเป็นนายสัตว์ ถึงกับขัดขืนต่อพญากุมภีล์ โดยที่พญากุมภีล์มีหนังหนา และมีเกล็ดเรียงกันโดยตลอด ย่อมอาจสามารถป้องกันมิให้สัตว์เล็กสัตว์น้อยเหล่านั้นกำเริบมาต่อสู้ได้ ฮอบส์ต้องการจะชี้ให้เห็นว่าคามมักใหญ่ใฝ่สูงในอันที่คิดจะยึดอำนาจรัฐนั้นในรัฐที่ปกครองแบบพญากุมภีล์ นอกจากจะเป็นไปไม่ได้แล้วยังทำลายตัวเองอีกด้วย ใครก็ตามถ้ารู้จักคิดให้รอบคอบแล้ว จะลงความเห็นเป็นอันหนึ่งที่ประกอบไปด้วยผู้มีอำนาจดังเลวิเอทัน ใครที่คิดจะกำจัดอำนาจอันนั้น เท่ากับเป็นการบ้าคลั่งอย่างใหญ่หลวงนั้นเอง ในหนังสือ Behemoth ฮอบส์พยายามพิสูจน์ว่าเหตุโดยตรงที่ก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองนั้นเพราะพระเจ้าแผ่นดินมิได้ใช้พระราชอำนาจอย่างเด็ดขาดเต็มที่ หากยอมประนีประนอมกับรัฐสภา โดยอนุญาตให้รัฐสภาออกกฎหมายห้ามยุบสภา นี้เป็นเหตุให้สภามีอำนาจมากขึ้นจนทัดเทียมพระราชอำนาจ ผลก็คือ ประเทศมีนาย 2 นาย คือพระราชากับรัฐสภา ซึ่งฮอบส์ถือว่าในกรณีเช่นนี้ประเทศไม่มีนายที่แท้จริงเอาเลย ทั้งนี้เพราะฮอบส์ถือว่าอำนาจอธิปไตยนั้นถ้าแบ่งแยกเสยแล้วก็เท่ากับถูกทำลายลงนั้นเอง เมื่อประเทศชาติปราศจากอำนาจที่แท้จริงก็เลยบังเกิดผู้รู้ เกจิอาจารย์ ที่อ้างศาสนาและอุดมการณ์ต่าง ๆ กัน ว่าควรปกครองโดยแนวนั้นแนวนี้ เพื่อให้เป็นรัฐคริสเตียนในอุดมคติ ฮอบส์เห็นว่า นี้แลคือทางแห่งความหายนะ ยิ่งมีหลายทัศนะยิ่งแสดงออกมา ผู้คนยิ่งสับสนมาก ฮอบส์เห็นว่า ศาสนาของบ้านเมืองต้องเป็นหลักมีกฎหมายรองรับให้ทุกคนประพฤติปฏิบัติตาม พูดตามภาษาสมัยใหม่ก็คือกฎหมายและระเบียบประเพณี (law and order) เป็นสิ่งดีงาม รัฐว่าอะไรดี ราษฎรต้องเห็นดีตามด้วย พูดอย่างอิศรญาณภาษิตก็ต้องว่า ของสิ่งใดเจ้าว่างามต้องตามเจ้า ใครเลยเล่าจะไม่งามตามเสด็จ การปล่อยให้คนเรียกร้องต้องการอะไรต่ออะไร จนท้าทายกฎหมายและระเบียบแบบแผนของบ้านเมืองนั้น ฮอบส์เห็นว่าเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย ที่รัฐไม่ควรยินยอมเพราะคนพวกนี้อ้างว่ารู้ดกว่าผู้ปกครองรัฐ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ที่อวดว่ารู้ดีก็เพราะไปอ้างถึงมโนคติส่วนตัว ความฝันส่วนตัว หาไม่ก็อคติส่วนตัวแล้วเลยแปลพระคัมภีร์ไปให้เข้าข้างตัวพวกนี้ไม่แต่ก่อทุกข์ภัยให้กับตนเองเท่านั้น หากยังเป็นพวกที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายสำหรับส่วนรวมอีกด้วย ถ้าเขาพวกนี้ยึดชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อันเป็นสถาบันหลักไว้ แล้ทำตามผู้ปกครองรัฐ คือผู้ที่ควบคุมสถานะทางเศรษฐกิจ และการเมืองไว้ เขาก็จะหาความสุขได้ในรัฐ โดยเขาพวกนี้ไม่จำจะต้องมีส่วนได้ส่วนเสียในการปกครองด้วยเลย เพราะผู้ที่ปกครองรัฐอยู่นั้น มีอำนาจวาสนาบารมีเกินคนพวกนี้อยู่แล้ว (ส. ศิวรักษ์, 2546 : หน้า 93-95)
4. งานแปลมหากาพย์ Iliad and Odyssey ของโธมัส ฮอบส์ Iliad และ Odyssey เป็นผลงานของ โฮเมรุส (The Homeric Epics) ซึ่งเป็น 2 มหากาพย์ที่โด่งดัง ฮอบส์ได้แปลมหากาพย์ของ โฮเมรุส ในปี ค.ศ. 1675จนสมบูรณ์ ในมหากาพย์ Iliad นั้นกล่าวถึงสงครามระหว่างกรีกและทรอย หรือที่เรียกว่าสงครามโทรจัน โฮเมรุสเริ่มเรื่องด้วยการกล่าวถึงพระนางเฮเลนพระราชินีของกษัตริย์สปาร์ตาในกรีกถูกเจ้าชายปารีสพระโฮรสของกษัตริย์กรุงทรอยพาหนี ชาวกรีกจึงแก้แค้นทำสงครามกับทรอย ใช้เวลาในการทำสงครามประมาณ 10 ปี จบลงโดยฝ่ายกรีกเป็นฝ่ายชนะด้วยเล่ห์เหลี่ยมทำเป็นยอมแพ้ล่าทัพกลับและทิ้งม้าไม้ตัวใหญ่ไว้ให้เป็นของขวัญ ชาวทรอยดีใจพากันฉลองชัยจนลืมตัว ตกดึกทหารกรีกที่ซ่อนตัวอยู่ในท้องม้าไม้ก็ออกมาเปิดประตูให้พรรคพวกชาวกรีกเข้าไปเผากรุงทรอยเรียบ ในการรบครั้งนี้เทพเจ้ากรีกแบ่งข้างกันสนับสนุน ส่วนในมหากาพย์ Odyssey เป็นเรื่องราวการผจญภัยท่องทะเลของ โอดิสเซอุส หรือ อูลิสเซ็ส (Odysseus or Ulysses) ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์หนึ่งของกรีกที่ยกทัพไปตีกรุงทรอย ภายหลังที่กรุงทรอยถูกยึดครอง เพื่อกลับบ้านเดิมที่ อิธาคา (Ithaca) เป็นเกาะทะเลไอโอเนียน (Ionian Sea) นอกชายฝั่งทางทิศตะวันตกของกรีก ขากลับหลงทางท่องทะเลอยู่ 10 ปี กว่าจะกลับเมืองได้ เขาต้องผจญกับผู้ที่คิดจะยึดอำนาจและขับไล่เขาออกจากเมือง (อัธยา โกมลกาญจน, 2515 : หน้า 43-44 ; กิรติ บุญเจือ, 2522 : หน้า 289-310)
Pofik เรียบเรียง ถ้าเนื้อหาขาดหายไปก็ขออภัยด้วยครับ ส่วนผลงายของโธมัส ฮอบส์อื่นยังหาไม่ได้ครับ