ลัทธิสโตอิก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลัทธิสโตอิก (อังกฤษ: Stoicism) คือแนวคิดทางปรัชญาแห่งเฮลเลนิสติก ก่อตั้งโดยนักปรัชญาชาวกรีกชื่อ เซโน แห่ง ซิติอุม (Zeno of Citium พ.ศ. 210 - พ.ศ. 279) ในเอเธนส์ ซึ่งได้แพร่หลายเป็นอย่างมากไปทั่วกรีก และจักรวรรดิโรมัน
เนื้อหา |
[แก้] คำสอนหลัก
ลัทธิสโตอิก สอนว่าการควบคุมตนเองให้ปลอดจากการเกาะติดและจากอารมณ์กวนใจ บางครั้งแปลได้ว่าเป็นเส้นแบ่งความพอใจเท่ากันในความปีติหรือความเจ็บปวดที่เป้นการช่วยให้คนกลายเป็นนักคิดที่โปร่งใส เสมอต้นเสมอปลายไม่ลำเอียง ข้อดีของลัทธิสโตอิกได้แก่การช่วยปรับปรุงสภาพจิตของตัวบุคคลให้ดีขึ้น
คุณธรรม เหตุผลและกฎธรรมชาติ เป็นตัวชี้นำสำคัญ ลัทธิสโตอิกมีความเชื่อว่า ความเชี่ยวชาญในการควบคุมกัมมภาวะ (passion) และอารมณ์สามารถเอาชนะความไม่ร่วมแนว(discord) ของโลกภายนอกและจะได้รับความสุขสันติในตัวของบุคคลนั้นๆ เอง ลัทธิสโตอิก เชื่อว่ากัมมภาวะเป็นตัวบิดเบือนความจริง และว่าการมุ่งค้นหาความจริงคือคุณธรรม นักปราชญ์ชาวกรีก เช่นคลีนเทส ชรายซิบปุส และนักปราชญ์ชาวโรมันในสมัยต่อมาเช่น ซิเซโร,มาร์คัส ออเรลิอุส, คาโตผู้เยาว์, ดิโอ ชรายโซสตอม และอีปิเตตุส ทีช่วยสัมพันธ์เชื่อมโยงกับลัทธิสโตอิก ในกรณีของซิเซโร ควรเน้นให้เห็นว่าในขณะที่เขาใช้ลัทธิสโตอิกร่วมในบางส่วน แต่เขาก็ไม่ใช่ชาวสโตอิกแต่เป็นพวกคตินิยมสรรผสาน (ecletics) ปรัชญาสโตอิกจะมีความเปรียบต่างกับลัทธิบูชาความสำราญ (Epicureanism) อย่างเห็นได้ชัด
ลัทธิสโตอิก กลายเป็นปรัชญญาที่ได้รับความนิยมอยู่ในแนวหน้าระหว่างพวกปัญญาชนผู้มีการศึกษาในสมัยจักรวรรดิเกรโก-โรมันถึงระดับที่ "ผู้สืบทอดของอเล็กซานเดอร์ยอมสารภาพว่าตนเองเป็นพวกสโตอิก" ตามคำกล่าวของกิลเบิร์ต เมอร์เรย์
[แก้] ประวัติ
ลัทธิสโตอิก เริ่มปรากฏในเอเธนส์ในยุคเฮลเลนิก ประมาณ พ.ศ. 242 โดยการเริ่มต้นของเซโน แห่ง ซิติอุม ซึ่งทำการสอนในสโตอา พออิไคล์ (เฉลียงประดับภาพเขียน) อันมีชื่อเสียง ที่ซึ่งกลายเป็นชื่อของลัทธิในเวลาต่อมา หัวใจของคำสอนของเซโนอยู่ที่ว่ากฎของศีลธรรมอยู่คู่กับธรรมชาติ ในช่วงเริ่มต้นเผยแพร่ ลัทธิสโตอิกโดยทั่วไปยังเป็นเพียงขบวนการกลับสู่ธรมชาติที่ต้านการเชื่อโชคลางและสิ่งต้องห้าม ปรัชญญาของการไม่ร่วมแนวยังเกี่ยวพันถึงความเจ็บปวดและความโชคร้าย รวมทั้งความมีชีวิตและความตาย เซโนมักท้าทายข้อห้าม ธรรมเนียมและประเพณี คำสอนอีกอย่างหนึ่งของลัทธิสโตอิกได้แก่การเน้นให้ทุกคนมีความรักในทุกสิ่ง
[แก้] จริยธรรมและคุณธรรมของลัทธิสโตอิก
ลัทธิสโตอิกโบราณถูกมองอย่างเข้าใจผิด เนื่องจากการใช้คำนี้ได้มาจากการแปลความหมายที่ไม่ถูกต้องในยุคปัจจุบันซึ่งไม่ตรงกับความหมายโบราณ คำว่าสโตอิกถูกตีความหมายเพี้ยนไปเป็นว่าหมายถึง ความไร้อารมณ์ หรือ ไร้ความเจ็บปวด ลัทธิสโตอิกสอนอิสรภาพจากกัมมภาวะโดยอาศัยอิงตามหลักของเหตุผล ซึ่งความจริงแล้ว ลัทธิสโตอิกไม่ได้มุ่งไปที่การดับอารมณ์ เพียงแต่เป็น การหลีกเลี่ยงการเสียอารมณ์ โดยการพัฒนาทักษะในการชั่งใจที่โปร่งใส และสร้างความสงบภายในด้วยการฝึกตรรกะ การไตร่ตรองและการเข้าถึงสมาธิ
[แก้] การใช้คำสโตอิกในปัจจุบัน
คำว่า "สโตอิก" ในสมัยใหม่มักใช้หมายถึงคนที่ไม่มีอารณ์ในความเจ็บปวด ไม่รู้สึกถึงความปีติ ความเศร้าโศก หรือความร่าเริง เช่นการใช้ในสมัยใหม่ว่าหมายถึง "บุคคลผู้ซึ่งสามารถกดเก็บอารมณ์และมีความอดทน"
[แก้] อ้างอิง
- H.D. Amos and A.G.P. Lang, "พวกกรีกหายไปใหนหมด"
- Gilbert Murray, ปรัชญาสโตอิก (1915) , p.25. ประวัติศาสตร์ปรัชญาตะวันตก โดยเบอร์แทรนด์ รัสเซิลล์, (1946).
- Harper, Douglas (November 2001). พจนานุกรมศัพทมูลวิทยา - Stoic. Retrieved on September 2, 2006.[1]
- Baltzly, Dirk (2004-12-13). สารานุกรมปรัชญาของสแตนฟอร์ด - Stoicism. Retrieved on September 2, 2006. [2]
[แก้] ดูเพิ่ม
- ลัทธิซีนิก จากวิกิพีเดียอังกฤษ
- ลัทธิสโตอิกสมัยใหม่ จากวิกิพีเดียอังกฤษ
- กัมมภาวะสโตอิก จากวิกิพีเดียอังกฤษ
|
|
---|---|
ก่อนโสกราตีส • เธลีส • โสกราตีส • เพลโต • อริสโตเติล • เอพิคิวเรียน • ลัทธิสโตอิก • โพลตินัส • พีร์โร • ออกัสตินแห่งฮิปโป • โบอีเทียส • อัลฟาราบี • แอนเซล์มแห่งแคนเทอเบอรี • ปีแยร์ อาเบลา • อะเวร์โรอีส • ไมมอนิดีส • โทมัส อควีนาส • แอลเบอร์ทัส แมกนัส • ดันส์ สโกตัส • รามอง ยูย์ • วิลเลียมแห่งออกคัม • โจวันนี ปีโก เดลลา มีรันโดลา • มาร์ซีลีโอ ฟีชีโน • มิเชล เดอ มงตาญ • เรอเน เดส์การตส์ • โทมัส ฮอบส์ • แบลส ปาสกาล • บารุค สปิโนซา • จอห์น ล็อก • นีโกลา มาลบรองช์ • กอทท์ฟรีด ไลบ์นิซ • จัมบัตติสตา วีโก • ชูเลียง โอเฟรย์ เดอ ลา เมตรี • จอร์จ บาร์กลีย์ • มองเตสกิเออร์ • เดวิด ฮูม • วอลแตร์ • ชอง-ชาก รุสโซ • เดนี ดีเดโร • โยฮันน์ แฮร์เดอร์ • อิมมานูเอิล คานท์ • เจเรอมี เบนทัม • ฟรีดิช ชไลเออร์มาเคอร์ • โยฮันน์ กอทท์ลีบ ฟิคเทอ • G.W.F. เฮเกิล • ฟรีดิช ฟอน เชลลิง • ฟรีดิช ฟอน ชเลเกิล • อาเธอร์ โชเพนเฮาเออร์ • เซอเรน เคียร์เคอกอร์ • เฮนรี เดวิด ทอโร • ราล์ฟ วอลโด เอเมอร์สัน • จอห์น สจวร์ต มิลล์ • คาร์ล มาร์กซ • มีฮาอิล บาคูนิน • ฟรีดิช นีทเชอ • วลาดีมีร์ โซโลวีฟ • วิลเลียม เจมส์ • วิลเฮล์ม ดิลเทย์ • C. S. เพิร์ซ • กอทท์ลอบ เฟรเก้ • เอดมุนด์ ฮุสเซิร์ล • อองรี แบร์ซง • แอนสท์ คัสซิเรอร์ • จอห์น ดิวอี • เบนาเดตโต โกรเช • โคเซ ออร์เตกา อี กัสเซต • แอลฟริด นอร์ท ไวต์เฮด • เบอร์ทรานด์ รัสเซิลล์ • ลุดวิก วิทท์เกนสไตน์ • แอนสท์ บลอค • เกออร์ก ลูคัช • มาร์ติน ไฮเดกเกอร์ • รูดอล์ฟ คาร์นาพ • ซีโมน แวย • มอรีซ แมร์โล-ปงตี • ฌอง ปอล ซาร์ตร์ • ไอย์น แรนด์ • ซีโมน เดอ โบวัวร์ • จอร์จ บาไตลล์ • ธีโอดอร์ อดอร์โน • มักซ์ ฮอร์คไฮเมอร์ • ฮานนาห์ อเรนดท์ • กอร์เนลีอุส กาสโตรีอาดิส
|