เปรม ติณสูลานนท์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ | |
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 16
|
|
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง สมัยที่ 1 : 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 - 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 (ยุบสภา) สมัยที่ 2 : 30 เมษายน พ.ศ. 2526 - 4 สิงหาคม พ.ศ. 2529 (ยุบสภา) สมัยที่ 3 : 5 สิงหาคม - 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 (ยุบสภา) |
|
สมัยก่อนหน้า | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
---|---|
สมัยถัดไป | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ |
|
|
เกิด | 26 สิงหาคม พ.ศ. 2463 (อายุ 87 ปี) ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา |
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (26 สิงหาคม พ.ศ. 2463 — ) ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ นายกรัฐมนตรีของไทยคนที่ 16 ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี 3 สมัย ระหว่างปี พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2531และเป็นนายกรัฐมนตรีตามคำเชิญของรัฐสภาที่ครองอำนาจยาวนานที่สุด ทั้งนี้เพราะกฎหมายไทยในสมัยนั้นไม่ได้กำหนดให้รัฐสภาต้องเลือกนายกรัฐมนตรี จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
บุคลิกส่วนตัวพลเอกเปรมเป็นคนพูดน้อย ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย จะให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนน้อยมาก จนถูกหนังสือพิมพ์ในขณะนั้นเรียกขานว่า เตมีย์ใบ้ [1]
หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรม เป็นองคมนตรี ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2541 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี
เนื้อหา |
ประวัติ
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เกิดที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นบุตรชายคนรองสุดท้อง จากจำนวน 8 คน ของรองอำมาตย์โทหลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ต้นตระกูลติณสูลานนท์ กับนางวินิจทัณฑกรรม(ออด ติณสูลานนท์) สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา สงขลา ในหมายเลขประจำตัว 167 และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2480 จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเทคนิคทหารบก รุ่นที่ 5 สังกัดเหล่าทหารม้า (โรงเรียนนี้ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2477 ต่อมาคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า)
พลเอกเปรม จบการศึกษาหลักสูตรพิเศษโรงเรียนเทคนิคทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2484 และเข้ารบในสงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ที่ ปอยเปต กัมพูชา จากนั้นเข้าสังกัดกองทัพพายัพ ภายใต้การบังคับบัญชาของหลวงเสรีเริงฤทธิ์ ทำการรบในสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่าง พ.ศ. 2485-2488 ที่เชียงตุง
ภายหลังสงคราม พลเอกเปรมรับราชการอยู่ที่อุตรดิตถ์ และได้รับทุนไปศึกษาต่อที่โรงเรียนยานเกราะของกองทัพบกสหรัฐ ที่ ฟอร์ตน็อกซ์ มลรัฐเคนตักกี พร้อมกับพลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ และพลเอกวิจิตร สุขมาก เมื่อ พ.ศ. 2495 แล้วกลับมารับตำแหน่งรองผู้บัญชาการโรงเรียนยานเกราะ ต่อมามีการจัดตั้งโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า ที่จังหวัดสระบุรี
พลเอกเปรมได้รับพระบรมราชโองการเป็นผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า ยศพลตรี เมื่อ พ.ศ. 2511 ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า นี้เอง ที่เป็นที่มาของชื่อที่เรียกแทนพลเอกเปรมอย่างกว้างขวางว่า ป๋า หรือ ป๋าเปรม เนื่องจากท่านมักเรียกแทนตัวเองต่อผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าว่า "ป๋า" และเรียกผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าอย่างเอ็นดูและเป็นกันเองว่า "ลูก" ที่เรียกติดปากกันมาจนถึงปัจจุบัน [2]
พลเอกเปรม ย้ายไปเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 2 ดูแลพื้นที่ภาคอีสาน ในปี พ.ศ. 2516 และเลื่อนเป็นแม่ทัพภาคทึ่ 2 ดูแลพื้นที่ภาคอีสานเมื่อ พ.ศ. 2517 ได้เลื่อนยศเป็นพลเอก ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2520 และเลื่อนเป็นผู้บัญชาการทหารบก ในปี พ.ศ. 2521
ตำแหน่งทางการเมือง
ในปี พ.ศ. 2502 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พลเอกเปรมได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จากนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ และวุฒิสมาชิก ช่วง พ.ศ. 2511 - 2516 ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร
พลเอกเปรมเข้าร่วมการรัฐประหารในประเทศไทย 2 ครั้ง ซึ่งนำโดยพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ล้มรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 ล้มรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร
พลเอกเปรม รับตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นครั้งแรกในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่องในรัฐบาลนั้น ในช่วงปลายรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ควบคู่กับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก
ในช่วงนั้น พลเอกเปรมได้รับการยอมรับจากหลายฝ่าย หลังจากพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 สภาผู้แทนราษฎรทำการหยั่งเสียงเพื่อหาตัวผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเลือกพลเอกเปรม โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของไทย
ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
สมัยที่ 1
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 42 : 3 มีนาคม 2523 - 29 เมษายน 2526 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 19 มีนาคม 2526 เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบกับการเสนอให้ยืดอายุการใช้บทเฉพาะกาลของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มีการเลือกตั้งในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2526
สมัยที่ 2
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 43 : 30 เมษายน 2526 - 4 สิงหาคม 2529 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2529 เนื่องจากรัฐบาลแพ้เสียงในสภา ในการออกพระราชกำหนดการขนส่งทางบก มีการเลือกตั้งในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529
สมัยที่ 3
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 44 : 5 สิงหาคม 2529 - 3 สิงหาคม 2531 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 29 เมษายน 2531 เนื่องจากเกิดปัญหาขึ้นในพรรคประชาธิปัตย์ เกิดกลุ่ม 10 มกรา ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นเอกเทศภายในพรรค กลุ่ม 10 มกรา นี้ลงมติไม่สนับสนุนพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ที่รัฐบาลเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภา จนทำให้พระราชบัญญัติไม่ผ่านการเห็นชอบ พรรคประชาธิปัตย์แสดงความรับผิดชอบโดยการถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล พลเอกเปรมจึงประกาศยุบสภา มีการเลือกตั้งในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2531
ในช่วงปลายรัฐบาลพลเอกเปรม ขณะที่กำลังจะมีการเลือกตั้ง มีกระแสการคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 จากกลุ่มนักวิชาการ
ภายหลังการเลือกตั้ง ในคืนวันที่ 27 กรกฎาคม 2531 หัวหน้าพรรคการเมืองที่จะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพรรคชาติไทยเป็นแกนนำ ได้เข้าพบพลเอกเปรมที่บ้านพัก เพื่อเชิญให้มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 แต่พลเอกเปรมปฏิเสธ ต่อมาในวันที่ 4 สิงหาคม 2531 จึงได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ (ยศขณะนั้น) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 17
หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรม เป็นองคมนตรี ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2541 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี
บทบาทในวิกฤตการณ์การเมืองและการรัฐประหาร พ.ศ. 2549
หลังการทำรัฐประหาร พ.ศ. 2549 มีนักวิชาการกล่าวหาพลเอกเปรมว่ามีความเกี่ยวข้องกับ วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 ที่นำไปสู่ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549[3] ซึ่งในเวลาพลบค่ำวันที่ 19 กันยายน ช่วงเดียวกับที่กำลังทหารหน่วยรบพิเศษจาก จ.ลพบุรี ได้เคลื่อนกำลังเข้ากรุงเทพฯ พลเอกเปรม ได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว[4] นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า พลเอกเปรมเป็นผู้สั่งการให้ทำรัฐประหารโดยนั่งบัญชาการอยู่ที่บ้านสี่เสาร์เทเวศร์ [5]
ในเวลาต่อมา ยังเป็นที่กล่าวหาอีกว่า พลเอกเปรม อาจมีบทบาทสำคัญ ในการเชิญ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารบก และอดีตลูกน้อง มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมไปถึง การแต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี และ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ อีกด้วย จนกระทั่ง นักวิจารณ์ บางคน ถึงกับกล่าวว่า สภาฯ ชุดนี้ เต็มไปด้วย "ลูกป๋า" [6][7][8]
ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวว่า พลเอกเปรมเป็นบุคคลที่มีบทบาททางการเมือง ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549[9] และมีบทวิเคราะห์จากสำนักข่าว XFN-ASIA ระบุในเว็บไซต์ นิตยสารฟอร์บ ว่า พลเอกเปรมเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการเมืองไทย พร้อมทั้งได้สนับสนุนให้ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน จากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร[10] อย่างไรก็ตามรัฐบาลคณะทหาร ได้อ้างว่า พลเอกเปรมไม่เคยมีบทบาททางการเมือง[11]
วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 นปก. นับพันคน รวมตัวประท้วงหน้าบ้านของพลเอกเปรม เพื่อเรียกร้องให้ลาออกจากตำแหน่งประธานองคมนตรี เนื่องจากเชื่อว่ามีบทบาททางการเมือง เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าสลายการชุมนุม มีการยิงแก๊สพริกไทยแล้วล้อมรถบรรทุก 6 ล้อติดเครื่องขยายเสียงของแกนนำ ผู้ชุมนุมขว้างปาขวดพลาสติกและขวดแก้วใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ เกิดการปะทะกันชุลมุนวุ่นวาย เจ้าหน้าที่และผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บหลายคน ด้านแยกสี่เสาเทเวศร์ กลุ่ม นปก.ส่วนหนึ่งทุบทำลายซุ้มตำรวจจราจรและทุบรถส่องไฟและกระจายเสียงของตำรวจที่จอดไว้ รวมทั้งปล่อยลมยางรถยนต์[12] ในวันต่อมา พลเอกสนธิ พลเอกสุรยุทธ และคณะรัฐมนตรี ได้ไปเยี่ยมพลเอกเปรม เพื่อขอโทษที่ยอมให้มีการประท้วง[13][14]
ชีวิตส่วนตัว
พลเอกเปรม ชื่นชอบดูการแข่งขันกีฬา โดยเฉพาะกีฬามวยและฟุตบอล มักเปิดโอกาสให้นักกีฬาเข้าพบเพื่อคารวะ และให้กำลังใจ ก่อนจะเดินทางไปแข่งขันในต่างประเทศอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังชื่นชอบการร้องเพลง ระยะหลังได้ฝึกหัดเล่นเปียโนกับ ณัฐ ยนตรรักษ์ และประพันธ์เพลงเป็นงานอดิเรก พลเอกเปรมมีผลงานเพลงบันทึกเสียงจำหน่าย บรรเลงดนตรีโดย กองดุริยางค์ทหารบก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดต่าง ๆ ดังนี้[15]
- พ.ศ. 2518 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ
- พ.ศ. 2521 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ. 2525 เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 และ เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2531 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[16]
- พ.ศ. 2531 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์
- พ.ศ. 2533 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 1 (เสนางคะบดี)
- พ.ศ. 2539 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นปฐมดิเรกคุณาภรณ์
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ^ ถอดรหัสป๋า เปิดปาก 3 ฝ่ายต้องคุยกันเอง
- ^ วีรชาติ ชุ่มสนิท, 24 นายกรัฐมนตรีไทย, ออลบุ๊คส์พับลิสชิ่ง, 2549 ISBN 974-94-55398
- ^ Kate McGeown, Thai king remains centre stage, BBC News, 21 September 2006
- ^ The Nation, Coup as it unfolds, 20 September 2006
- ^ onopen.com หลังฉากพันธมิตร หลังวันรัฐประหาร และหลังรัฐบาลสุรยุทธ์ กับ สุริยะใส กตะศิลา
- ^ The Australian, Thailand's post-coup cabinet unveiled, 9 October 2006
- ^ The Nation, NLA 'doesn' t represent' all of the people, 14 October 2006
- ^ The Nation, Assembly will not play a major role, 14 October 2006
- ^ Asia Sentinel, Could Thailand be Getting Ready to Repeat History?, 2 April 2007
- ^ Former Thai PM Prem Tinsulanonda had key role in coup - analysts
- ^ Bangkok Post, UDD aims to damage monarchy, 25 July 2007
- ^ ไทยโพสต์, ลุยม็อบจับแกนนำนปก.ปะทะเดือดตร.สลาย3รอบหมายรวบหัวไม่สำเร็จ, 23 กรกฎาคม 2550
- ^ Bangkok Post, Six protesters held, 23 uly 2007
- ^ The Nation, PM says sorry to Prem over mob violence, July 2007
- ^ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ จาก เวปไซต์องคมนตรี
- ^ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ (จำนวน ๑๔ ราย), หน้า ๑๐๕, ตอน ๙๕ ง ฉบับพิเศษ, ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๑, หน้า ๒
แหล่งข้อมูลอื่น
- ชีวประวัติ พลเอกเปรม จาก เว็บสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
สมัยก่อนหน้า: พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
นายกรัฐมนตรีไทย 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 |
สมัยถัดไป: พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ |
เหตุการณ์หลัก | ลำดับเหตุการณ์ | บุคคลหลัก | |||
---|---|---|---|---|---|
จุดเริ่มต้น เหตุการณ์หลัก
การเลือกตั้ง |
คณะรัฐประหาร/รัฐบาลทหาร (คปค./คมช.)
กลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหาร |
|
||
---|---|---|
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา · พระยาพหลพลพยุหเสนา · แปลก พิบูลสงคราม · ควง อภัยวงศ์ · ทวี บุณยเกตุ · เสนีย์ ปราโมช · ควง อภัยวงศ์ (สมัยที่ 2) · ปรีดี พนมยงค์ · ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ · ควง อภัยวงศ์ (สมัยที่ 3) · แปลก พิบูลสงคราม (สมัยที่ 2) · พจน์ สารสิน · ถนอม กิตติขจร · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ถนอม กิตติขจร (สมัยที่ 2) · สัญญา ธรรมศักดิ์ · เสนีย์ ปราโมช (สมัยที่ 2) · คึกฤทธิ์ ปราโมช · เสนีย์ ปราโมช (สมัยที่ 3) · ธานินทร์ กรัยวิเชียร · เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ · เปรม ติณสูลานนท์ · ชาติชาย ชุณหะวัณ · อานันท์ ปันยารชุน · สุจินดา คราประยูร · อานันท์ ปันยารชุน (สมัยที่ 2) · ชวน หลีกภัย · บรรหาร ศิลปอาชา · ชวลิต ยงใจยุทธ · ชวน หลีกภัย (สมัยที่ 2) · ทักษิณ ชินวัตร · สุรยุทธ์ จุลานนท์ · สมัคร สุนทรเวช |
|
||
---|---|---|
เจ้ากรมทหารบก | ||
เจ้ากรมยุทธนาธิการ | ||
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม | ||
ผู้บัญชาการทหารบก |
พระยาพหลพลพยุหเสนา · แปลก พิบูลสงคราม · พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต · อดุล อดุลเดชจรัส · ผิน ชุณหะวัณ · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ถนอม กิตติขจร · ประภาส จารุเสถียร · กฤษณ์ สีวะรา · บุญชัย บำรุงพงศ์ · เสริม ณ นคร · เปรม ติณสูลานนท์ · ประยุทธ จารุมณี · อาทิตย์ กำลังเอก · ชวลิต ยงใจยุทธ · สุจินดา คราประยูร · อิสระพงศ์ หนุนภักดี · วิมล วงศ์วานิช · ประมณฑ์ ผลาสินธุ์ · เชษฐา ฐานะจาโร · สุรยุทธ์ จุลานนท์ · สมทัต อัตตะนันทน์ · ชัยสิทธิ์ ชินวัตร · ประวิตร วงษ์สุวรรณ · สนธิ บุญยรัตกลิน · อนุพงษ์ เผ่าจินดา |
|
|
---|---|
กองทัพภาคที่ 1 |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน · พระยาเสนาภิมุข · หม่อมเจ้าพันธุประวัติ เกษมสันต์ · พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์สิทธิ สุทัศน์) · พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์ · พระยากฤษณรักษ์ · พระยาอินทรชิต · พระยาพิชัยสงคราม · กาจ กาจสงคราม · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ถนอม กิตติขจร · ประภาส จารุเสถียร · วิชัย พงศ์อนันต์ · ชลอ จารุกลัส · กฤษณ์ สีวะรา · อรรถ ศศิประภา · สำราญ แพทยกุล · อ่อง โพธิกนิษฐ์ · เกรียงไกร อัตตะนันทน์ · ประเสริฐ ธรรมศิริ · ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา · อำนาจ ดำริกาญจน์ · เทพ กรานเลิศ · ปิ่น ธรรมศรี · วศิน อิศรางกูร ณ อยุธยา · อาทิตย์ กำลังเอก · พัฒน์ อุไรเลิศ · พิจิตร กุลละวณิชย์ · วัฒนชัย วุฒิศิริ · ศัลย์ ศรีเพ็ญ · ไพบูลย์ ห้องสินหลาก · ชัยณรงค์ หนุนภักดี · เชษฐา ฐานะจาโร · บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์ · วินิจ กระจ่างสนธิ์ · นิพนธ์ ภารัญนิตย์ · ทวีป สุวรรณสิงห์ · สมทัต อัตตะนันทน์ · พรชัย เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา · ประวิตร วงษ์สุวรรณ · ไพศาล กตัญญู · อนุพงษ์ เผ่าจินดา · ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
กองทัพภาคที่ 2 |
หลวงวีระโยธา · หลวงสวัสดิ์สรยุทธ · ไสว ไสวแสนยากร · ครวญ สุทธานินทร์ · สนิท สนิทยุทธการไทยยานนท์ · หลวงสวัสดิ์ฤทธิรณ · ชลอ จารุกลัส · กฤษณ์ สีวะรา · จิตต์ สุนทรานนท์ · ธงเจิม ศังขวณิช · จำลอง สิงหะ · พโยม พหุลรัต · สวัสดิ์ มักการุณ · เปรม ติณสูลานนท์ · แสวง จามรจันทร์ · ลักษณ์ ศาลิคุปต · พักตร์ มีนะกนิษฐ · พิศิษฐ์ เหมะบุตร · อิสระพงศ์ หนุนภักดี · วิมล วงศ์วานิช · ไพบูลย์ ห้องสินหลาก · อารียะ อุโฆษกิจ · อานุภาพ ทรงสุนทร · สุรยุทธ์ จุลานนท์ · เรวัต บุญทับ · สนั่น มะเริงสิทธิ์ · เทพทัต พรหโมปกรณ์ · ชุมแสง สวัสดิสงคราม · เหิร วรรณประเสริฐ · สุเจตน์ วัฒนสุข · สุจิตร สิทธิประภา |
กองทัพภาคที่ 3 |
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ · วีระ วีระโยธา · หลวงสวัสดิ์สรยุทธ · หลวงจุลยุทธยรรยง · ครวญ สุทธานินทร์ · ผ่อง บุญสม · ประพันธ์ กุลพิจิตร · อรรถ ศศิประภา · อ่อง โพธิกนิษฐ · สำราญ แพทยกุล · ประสาน แรงกล้า · ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา · สมศักดิ์ ปัญจมานนท์ · สีมา ปาณิกบุตร · พร้อม ผิวนวล · เทียบ กรมสุริยศักดิ์ · รวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์ · ชัยชนะ ธารีฉัตร · ศิริ ทิวะพันธุ์ · ไพโรจน์ จันทร์อุไร · ยิ่งยส โชติพิมาย · สุรเชษฐ เดชาติวงศ์ · ถนอม วัชรพุทธ · สมหมาย วิชาวรณ์ · วัธนชัย ฉายเหมือนวงศ์ · อุดมชัย องคสิงห · พิชาญเมธ ม่วงมณี · สพรั่ง กัลยาณมิตร · จิรเดช คชรัตน์ |
กองทัพภาคที่ 4 |
สัณห์ จิตรปฏิมา · ปิ่น ธรรมศรี · จวน วรรณรัตน์ · หาญ ลีนานนท์ · วันชัย จิตจำนงค์ · วิศิษย์ อาจคุ้มวงษ์ · ยุทธนา แย้มพันธ์ · กิตติ รัตนฉายา · ปานเทพ ภูวนารถนุรักษ์ · ปรีชา สุวัณณะศรี · ณรงค์ เด่นอุดม · วิชัย บัวรอด · ทรงกิตติ จักกาบาตร์ · พงษ์ศักดิ์ เอกบรรณสิงห์ · พิศาล วัฒนะวงค์คีรี · ขวัญชาติ กล้าหาญ · องค์กร ทองประสม · วิโรจน์ บัวจรูญ · กสิกร คิรีศรี |