เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ | |
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 15
|
|
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง สมัยที่ 1 : 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 - 21 ธันวาคม พ.ศ. 2521 สมัยที่ 2 : 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 - 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 (ลาออก) |
|
สมัยก่อนหน้า | ธานินทร์ กรัยวิเชียร |
---|---|
สมัยถัดไป | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ |
|
|
เกิด | 17 ธันวาคม พ.ศ. 2460 |
ถึงแก่อสัญกรรม | 23 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (86 ปี) |
สมรสกับ | คุณหญิงวิรัตน์ ชมะนันทน์ |
ลายมือชื่อ |
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ (17 ธันวาคม พ.ศ. 2460 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2546) อดีตนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติ
พลเอกเกรียงศักดิ์เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2460 เป็นบุตรของนายแจ่ม กันนางเจือ ชมะนันทน์ สมรสกับคุณหญิงวิรัตน์ ชมะนันทน์
[แก้] การศึกษา
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย โรงเรียนปทุมคงคา จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จนสำเร็จการศึกษาในปี 2483 ในระหว่างรับราชการทหารได้ศึกษาต่อที่ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก โรงเรียนเสนาธิการทหารบกแห่งสหรัฐอเมริกา วิทยาลัยกองทัพบก และ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 5
[แก้] ราชการทหาร
ในช่วงที่รับราชการทหาร พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์เคยร่วมรบในสมรภูมิเกาหลีรุ่นแรก ในตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารราบ ผลัดที่ 3 สร้างเกียรติภูมิอย่างมาก จนหน่วยใต้บังคับบัญชาได้ฉายาว่า "กองพันพยัคฆ์น้อย" (ปัจจุบันแปรสภาพเป็นกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์) ภายหลังกลับจากสงครามก็เข้าประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด เติบโตในสายเสนาธิการมาเป็นลำดับจนเป็นพลเอก และดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดจนเกษียณอายุราชการ
[แก้] ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินภายใต้ การนำของ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ผลงานสำคัญในช่วงที่พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ดำรงตำแหน่งคือการปรับปรุงสัมพันธภาพกับประเทศเพื่อนบ้านอันประกอบด้วย ประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า รวมทั้งพลเอก เกรียงศักดิ์ ได้เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน และสหภาพโซเวียต เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจทั้งสอง ทำให้ไทยมีความสัมพันธ์ทางการทูตและการค้ากับทั้งสองประเทศแน่นแฟ้นขึ้น นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งหน่วยงานสำคัญ ๆ เพิ่มขึ้นอีกหลายหน่วยงาน เช่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นต้น
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยแถลงกลางสภา ฯ เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 อันมีสาเหตุเนื่องมาจากการที่รัฐบาลตัดสินใจเพิ่มราคาค่าน้ำมันตามราคาตลาดโลก ซึ่งทำให้หลายฝ่ายได้รับความเดือดร้อนและโจมตี หลังจากนั้นได้ยุติบทบาททางการเมือง โดยไม่ข้องเกี่ยวกับวงการเมืองอีก แต่อย่างไรก็ตามในเหตุการณ์กบฏวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 พลเอกเกรียงศักดิ์ถูกต้องสงสัยว่าอาจมีส่วนรู้เห็นหรือสนับสนุนการกบฏดังกล่าว
พลเอกเกรียงศักดิ์ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2546 รวมอายุได้ 86 ปี โดยในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่นั้น ภาพที่ติดตาของพลเอกเกรียงศักดิ์ คือ การทำพะแนงเนื้อใส่บรั่นดีระหว่างออกเยี่ยมประชาชนตามที่ต่าง ๆ อันเป็นสูตรของพลเอกเกรียงศักดิ์เอง
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] อ้างอิง
- หนังสือรัฐประหาร 19 กันยา '49 เรียบแต่ลึก โดย สำนักพิมพ์มติชน
สมัยก่อนหน้า: ธานินทร์ กรัยวิเชียร |
นายกรัฐมนตรีไทย 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 |
สมัยถัดไป: พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ |
|
||
---|---|---|
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา · พระยาพหลพลพยุหเสนา · แปลก พิบูลสงคราม · ควง อภัยวงศ์ · ทวี บุณยเกตุ · เสนีย์ ปราโมช · ควง อภัยวงศ์ (สมัยที่ 2) · ปรีดี พนมยงค์ · ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ · ควง อภัยวงศ์ (สมัยที่ 3) · แปลก พิบูลสงคราม (สมัยที่ 2) · พจน์ สารสิน · ถนอม กิตติขจร · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ถนอม กิตติขจร (สมัยที่ 2) · สัญญา ธรรมศักดิ์ · เสนีย์ ปราโมช (สมัยที่ 2) · คึกฤทธิ์ ปราโมช · เสนีย์ ปราโมช (สมัยที่ 3) · ธานินทร์ กรัยวิเชียร · เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ · เปรม ติณสูลานนท์ · ชาติชาย ชุณหะวัณ · อานันท์ ปันยารชุน · สุจินดา คราประยูร · อานันท์ ปันยารชุน (สมัยที่ 2) · ชวน หลีกภัย · บรรหาร ศิลปอาชา · ชวลิต ยงใจยุทธ · ชวน หลีกภัย (สมัยที่ 2) · ทักษิณ ชินวัตร · สุรยุทธ์ จุลานนท์ · สมัคร สุนทรเวช |
|
||
---|---|---|
เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ · ชุบ กาญจนประกร · สุรินทร์ เศรษฐมานิต · อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ · ทินกร พันธ์กระวี · ดำรง ลัทธพิพัฒน์ · บัญญัติ บรรทัดฐาน · เล็ก นานา · ประจวบ ไชยสาส์น · เจริญ คันธวงศ์ · อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ · สง่า สรรพศรี · ประยุทธ ศิริพานิชย์ · ไพจิตร เอื้อทวีกุล · พิศาล มูลศาสตรสาทร · สุวัจน์ ลิปตพัลลภ · ยิ่งพันธ์ มนะสิการ · สุวิทย์ คุณกิตติ · อาทิตย์ อุไรรัตน์ · สนธยา คุณปลื้ม · พินิจ จารุสมบัติ · เชษฐา ฐานะจาโร · กร ทัพพะรังสี · ประวิช รัตนเพียร · ยงยุทธ ยุทธวงศ์ · วุฒิพงศ์ ฉายแสง |
|
||
---|---|---|
แปลก พิบูลสงคราม · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ถนอม กิตติขจร · ทวี จุลละทรัพย์ · กฤษณ์ สีวะรา · สงัด ชลออยู่ · กมล เดชะตุงคะ · เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ · เสริม ณ นคร · สายหยุด เกิดผล · อาทิตย์ กำลังเอก · สุภา คชเสนี · ชวลิต ยงใจยุทธ · สุนทร คงสมพงษ์ · สุจินดา คราประยูร · เกษตร โรจนนิล · วรนาถ อภิจารี · วัฒนชัย วุฒิศิริ · วิโรจน์ แสงสนิท · มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ · สำเภา ชูศรี · ณรงค์ ยุทธวงศ์ · สุรยุทธ์ จุลานนท์ · สมทัต อัตตะนันทน์ · ชัยสิทธิ์ ชินวัตร · เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ · บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ |
|
||
---|---|---|
เจ้ากรมทหารบก | ||
เจ้ากรมยุทธนาธิการ | ||
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม | ||
ผู้บัญชาการทหารบก |
พระยาพหลพลพยุหเสนา · แปลก พิบูลสงคราม · พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต · อดุล อดุลเดชจรัส · ผิน ชุณหะวัณ · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ถนอม กิตติขจร · ประภาส จารุเสถียร · กฤษณ์ สีวะรา · บุญชัย บำรุงพงศ์ · เสริม ณ นคร · เปรม ติณสูลานนท์ · ประยุทธ จารุมณี · อาทิตย์ กำลังเอก · ชวลิต ยงใจยุทธ · สุจินดา คราประยูร · อิสระพงศ์ หนุนภักดี · วิมล วงศ์วานิช · ประมณฑ์ ผลาสินธุ์ · เชษฐา ฐานะจาโร · สุรยุทธ์ จุลานนท์ · สมทัต อัตตะนันทน์ · ชัยสิทธิ์ ชินวัตร · ประวิตร วงษ์สุวรรณ · สนธิ บุญยรัตกลิน · อนุพงษ์ เผ่าจินดา |