พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา | |
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 1
|
|
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง สมัยที่ 1: 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2475 (ลาออก) สมัยที่ 2: 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 - 1 เมษายน พ.ศ. 2476 (ลาออก) |
|
สมัยก่อนหน้า | ไม่มี |
---|---|
สมัยถัดไป | พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) |
|
|
เกิด | 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
ถึงแก่อสัญกรรม | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 (64 ปี) ปีนัง ประเทศมาเลเซีย |
สมรสกับ | คุณหญิงมโนปกรณนิติธาดา (นิตย์ สามเสน) |
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย ชื่อเดิมว่า "ก้อน หุตะสิงห์" เกิดวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนายฮวด กับนางแก้ว หุตะสิงห์ สมรสกับคุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดา (นิตย์ สามเสน) ท่านถึงอสัญกรรม ณ ปีนัง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 รวมอายุได้ 64 ปีเศษ
เนื้อหา |
[แก้] การศึกษา
- วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ)
- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- โรงเรียนอัสสัมชัญ
- โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม (เนติบัณฑิตสยาม)
- The Middle Temple (เนติบัณฑิต) ประเทศอังกฤษ
[แก้] ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
- สมัยที่ 1 : 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2475 (คณะรัฐมนตรี คณะที่ 1)
- สมัยที่ 2 : 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 - 1 เมษายน พ.ศ. 2476 (คณะรัฐมนตรี คณะที่ 2)
- สมัยที่ 3 : 1 เมษายน พ.ศ. 2476 - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 (คณะรัฐมนตรี คณะที่ 3)
[แก้] บทบาททางการเมือง
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นผู้ที่จบการศึกษาวิชากฎหมายระดับเนติบัณฑิต จากประเทศอังกฤษ เป็นข้าราชการผู้ที่ได้ชื่อว่ามือสะอาด ไม่เคยมีเรื่องด่างพร้อยมาตลอดชีวิตการรับราชการ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ท่านได้รับเลือกจากคณะราษฎรโดยนายปรีดี พนมยงค์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ ด้วยหวังว่าท่านจะเป็นคนกลางประสานความเข้าใจระหว่างกลุ่มผู้นิยมการปกครองแบบเก่า และกลุ่มผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง
หลังจากมีกรณีเรื่อง "สมุดปกเหลือง" เค้าโครงเศรษฐกิจที่ร่างโดยนายปรีดี ขึ้นถวายให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวินิจฉัย ซึ่งพระองค์ท่านไม่เห็นชอบด้วย ก่อให้เกิดความแตกแยกกันในหมู่สมาชิกคณะราษฎร ข้าราชการ ขุนนาง และบุคคลในสภา ฯ พระยามโนปกรณ์ ฯ เองก็ไม่เห็นชอบด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับนี้ ประกอบกับได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกคณะราษฎรกลุ่มทหารที่นำโดย พระยาทรงสุรเดช ท่านจึงได้ใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีปิดสภา พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา รวมทั้งได้เนรเทศนายปรีดี พนมยงค์ ให้กลับไปยังประเทศฝรั่งเศส และออกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์เป็นฉบับแรกด้วย ซึ่งเรียกกันว่าท่านกระทำรัฐประหารด้วยการใช้ ปากกาด้ามเดียว ท่ามกลางความไม่พอใจของกลุ่มคณะราษฎรที่สนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์
เหตุการณ์ความขัดแย้งเหล่านี้ ได้บานปลายนำไปสู่การรัฐประหารในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2476 ที่ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎรได้รัฐประหารคณะรัฐบาลของท่าน และเนรเทศท่านไปยังปีนังด้วยรถไฟ พร้อมกับเรียกตัวนายปรีดีกลับมาจากฝรั่งเศส ซึ่งพระยามโนปกรณ์นิติธาดาก็ได้ใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ที่ปีนัง ตราบจนถึงแก่อสัญกรรม
[แก้] ลำดับเหตุการณ์
- 27-28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีมติแต่งตั้งพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดในการบริหาร เทียบเท่ากับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน
- 9 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ลาออก
- 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่ง
- 1 เมษายน พ.ศ. 2476 แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
- 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
[แก้] ผลงานที่สำคัญ
- พ.ศ. 2461 ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจาก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาราชการในพระองค์[1]
[แก้] ดูเพิ่ม
- รายชื่อบุคคลสำคัญของไทย
- รัฐประหารในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2476
- รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- ประวัติที่เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล
- ประวัติที่เว็บไซต์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ประวัติที่เว็บไซต์สถานทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ประวัติที่เว็บไซต์รัฐสภาสำหรับเยาวชน-ยุวชนรัฐสภา
สมัยก่อนหน้า | พระยามโนปกรณ์นิติธาดา | สมัยถัดไป | |||
---|---|---|---|---|---|
ไม่มี |
|
พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา |
|
||
---|---|---|
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา · พระยาพหลพลพยุหเสนา · แปลก พิบูลสงคราม · ควง อภัยวงศ์ · ทวี บุณยเกตุ · เสนีย์ ปราโมช · ควง อภัยวงศ์ (สมัยที่ 2) · ปรีดี พนมยงค์ · ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ · ควง อภัยวงศ์ (สมัยที่ 3) · แปลก พิบูลสงคราม (สมัยที่ 2) · พจน์ สารสิน · ถนอม กิตติขจร · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ถนอม กิตติขจร (สมัยที่ 2) · สัญญา ธรรมศักดิ์ · เสนีย์ ปราโมช (สมัยที่ 2) · คึกฤทธิ์ ปราโมช · เสนีย์ ปราโมช (สมัยที่ 3) · ธานินทร์ กรัยวิเชียร · เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ · เปรม ติณสูลานนท์ · ชาติชาย ชุณหะวัณ · อานันท์ ปันยารชุน · สุจินดา คราประยูร · อานันท์ ปันยารชุน (สมัยที่ 2) · ชวน หลีกภัย · บรรหาร ศิลปอาชา · ชวลิต ยงใจยุทธ · ชวน หลีกภัย (สมัยที่ 2) · ทักษิณ ชินวัตร · สุรยุทธ์ จุลานนท์ · สมัคร สุนทรเวช |
|
||
---|---|---|
เสนาบดีกรม พระคลังมหาสมบัติ |
||
เสนาบดีกระทรวง พระคลังมหาสมบัติ |
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสิริธัชสังกาศ · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย · พระยาสุริยานุวัตร · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ · พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม · พระยาโกมารกุลมนตรี · พระยามโนปกรณ์นิติธาดา |
|
รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลัง |
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา · เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ · พระยามานวราชเสวี · พระยาพหลพลพยุหเสนา · พระยาไชยยศสมบัติ · ปรีดี พนมยงค์ · เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ · ควง อภัยวงศ์ · เล้ง ศรีสมวงศ์ · ดิเรก ชัยนาม · พระยาศรีวิสารวาจา · วิจิตร ลุลิตานนท์ · พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย · พระยาโทณวณิกมนตรี · แปลก พิบูลสงคราม · พระมนูภาณวิมลศาสตร์ · หลวงวิจิตรวาทการ · นายวรการบัญชา · พจน์ สารสิน · เสริม วินิจฉัยกุล · โชติ คุณะเกษม · สุนทร หงส์ลดารมภ์ · บุญมา วงศ์สวรรค์ · สมหมาย ฮุนตระกูล · เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ · บุญชู โรจนเสถียร · สุพัฒน์ สุธาธรรม · เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ · อำนวย วีรวรรณ · สุธี สิงห์เสน่ห์ · ประมวล สภาวสุ · วีรพงษ์ รามางกูร · บรรหาร ศิลปอาชา · พนัส สิมะเสถียร · ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ · สุรเกียรติ์ เสถียรไทย · บดี จุณณานนท์ · ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ · ทนง พิทยะ · โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ · สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ · สุชาติ เชาว์วิศิษฐ · ปรีดิยาธร เทวกุล · ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ · สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี |