See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
อาหม - วิกิพีเดีย

อาหม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อาหม
จำนวนประชากรทั้งหมด

868,030 คน

ดินแดนที่ให้การรับรองชาติพันธุ์
Flag of อินเดียประเทศอินเดีย 868,000 คน [1]
Flag of บังกลาเทศ บังกลาเทศ 30 คน [2]
ภาษา
ภาษาอัสสัม ภาษาเบงกาลี ภาษานาคา และภาษาอดี
ศาสนา
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

อาหม หรือ ไทอาหม มีประวัติที่สำคัญไม่น้อย เป็นประวัติแห่งการต่อสู้ของชาติไท ต่อสู้เพื่อตั้งราชอาณาจักรไทเพื่อดำรงรักษาราชอาณาจักรที่ตั้งไว้ และเพื่อรักษาความเป็นชาติไท ไทอาหมได้ทำการต่อสู่ถึง 6 ศตวรรษ นับแต่ตั้งอาณาจักรลงได้ ในดินแดนอัสสัม เวลานี้ คำว่า อัสสัม นั้นนักค้นคว้าได้อธิบายอย่างเดียวกันว่า มาจากเชื้อชาติไทพวกนี้ ที่เรียกว่า"อาหม" ชาวอาหมเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งซึ่งอาศัยในรัฐอัสสัมของประเทศอินเดีย เดิมใช้ภาษาอาหม ในกลุ่มภาษาย่อยไทพายัพ ซึงเป็นภาษาในกลุ่มภาษาคำ-ไต ตระกูลภาษาไท-กะได แต่ชาวอาหมในปัจจุบันนั้นหันไปใช้ภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียนแล้ว ชาวอาหมในปัจจุบันมีจำนวนทั้งหมด 745,000 คน ซึ่งมากกว่าชาวไทกลุ่มอื่นที่อพยพมายังอัสสัมที่นับรวมกันเพียงแค่ 2 แสนคนหรือมากกว่านั้น

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

ราว พ.ศ. 1763 ใกล้เคียงกับสมัยที่ตั้งอาณาจักรสุโขทัย ชาวไทพวกหนึ่ง ชื่อว่า "อาหม" ได้อพยพเข้ามาในดินแดนนี้ โดยข้ามภูเขาปาดไก่ทางเหนือของพม่า ไทพวกนี้มาจากอาณาจักรไทโบราณอาณาจักรหนึ่ง เรียกว่า "ปง" คือโมกอง (เมืองกอง) ในพม่าทางเหนือ และเริ่มประวัติศาสตร์อาหมเมื่อ พ.ศ. 1796 เมื่อสุกาฟ้า ปฐมบรมราชวงศ์อาหมได้วางรากฐานในอาณาจักรของพระองค์ ช่วงแรกของชาวอาหมนั้นอพยพมาตามตำนานกล่าวไว้ว่ามีประชากร 9,000 คน รวมทั้งสตรี และเด็ก

ไทอาหมเป็นไทพวกเดียวกับไทยใหญ่ เมื่อแรกเข้าไป ได้ตั้งภูมิลำเนาลงที่ นามรูป และได้พบชนเจ้าของถิ่นสองข้างข้างหนึ่งคือ ชุติยะซึ่งครองทางตะวันออกของแม่น้ำสุพรรณสิริ อีกข้างหนึ่งมาจากโมราน ยึดครองพื้นที่แม่น้ำทิขุ และแม่น้ำทิหิง พวกไทอาหมต้องพิพาทกับพวกโมราน และราว พ.ศ. 1779 ไทยอาหมจึงตั้งเมืองหลวงที่อภัยปุระ ต่อมาอีก ๒๐ ปีก็ขยายตัวออกไปตั้งเมืองใหม่ชื่อ ชารายเทโว เป็นเมืองหลวงแรกแห่งอาณาจักรอาหม เมื่อย้ายเมืองหลวงไปที่อื่น ก็ยังให้ความสำคัญแก่ชารายเทโว พระศพของกษัตริย์จะถูกฝังที่เมืองนี้ เวลาอาหมรบชนะ ก็จะตัดหัวของข้าศึกมาฝังที่ชารายเทโว

[แก้] พงศาวดาร

ชาวไทอาหมเป็นพวกที่รู้หนังสือ จึงมีตำนานพงศาวดารเป็นของตนเอง ตำนานเล่มนี้เรียกว่าบุราณจี (Ahom Buranji อ่านว่า อาหม บุราณจี ) เป็นเอกสารที่ช่วยให้ศึกษาประวัติศาสตร์ของไทอาหมได้ดี และส่วนใหญ่บุราณจีนั้นจะเขียนด้วยภาษา และอักษรอาหม ซึ่งคาดว่าชาวอาหมอ่านไม่ออกตั้งแต่ 200-400 ปีที่แล้ว ในพงศาวดารนี้ก็จะมีเรื่องเกี่ยวกับนิยายการสร้างโลก ประวัติต้นตระกูลกษัตริย์อาหม ประเพณี และวัฒนธรรม รวมไปถึงพระราชประวัติของกษัตริย์อาหมในแต่ละพระองค์

[แก้] วัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา

ไทอาหมเป็นชาวไทที่ไม่ได้รับพระพุทธศาสนาเพราะอพยพมาก่อน แต่ถือลัทธิเคารพบูชาบรรพชนยิ่งกว่าไทพวกอื่น บรรพชนที่ตายไปแล้วจะกลายเป็นเทพารักษ์คุ้มครองรักษาบ้านเรือน ครอบครัว บูชาเทวไท และเลงดอน (พระอินทร์) ต่อมาในชั้นหลังไทอาหมได้รับศาสนาฮินดู เนื่องจากเข้าไปอยูใต้อิทธิพลของอินเดีย ซึ่งต่อมาเมื่อสูญเสียสถานะในการปกครอง ชาวอาหมจึงกลายเป็น วรรณะจัณฑาล ซึ่งต่อมา ชาวอาหมในหมู่บ้านบอราโจโหกี ชาวอาหมฮินดูจึงเริ่มหันไปนับถือพระพุทธศาสนากันมากขึ้น เพื่อลดปัญหาเกี่ยวกับวรรณะ โดยมีนายทนุราม โกกอย เป็นชาวไทอาหมคนแรกที่เปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา โดยปฏิบัติศาสนกิจกันที่วัดทิสังปานี ในหมู่บ้านทิสังปานี ของชาวไทคำยัง

ปัจจุบัน ชาวอาหมยังนับถือศาสนาฮินดูอย่างเติมรูปแบบ คือ นับถือร้อยละ 98.36% แต่ก็มีนับถือศาสนาพุทธ แต่มีความแตกต่างกัน คือ กลุ่มชาวอาหมที่อยู่ใกล้ชายแดนภูฏานก็จะนับถือแบบวัชรยาน ส่วนชาวอาหมที่อาศัยใกล้กับพม่าก็จะนับถือพุทธเถรวาทแบบพม่า แค่ร้อยละ 0.17% ส่วน อีก 1.44% นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งมีอิทธิพลรอบด้านตั้งแต่รัฐนาคาแลนด์ รัฐตรีปุระ รัฐเมฆาลัย เป็นต้น

[แก้] ประเพณี

ประเพณีปารทะ (Parda) ไม่มีผู้รู้จัก และเหล่าสตรี ซึ่งแม้จะอยู่ในราชตระกูล ก็ไปไหนมาไหนโดยไม่ต้องใช้ผ้าคลุมศีรษะ การมีสามีหรือภรรยาพร้อมกันหลายคนเป็นของธรรมดา การแต่งกายนั้นคนจนจะใช้ผ้าเนื้อหยาบ พันไว้บนศีรษะผืนหนึ่ง อีกผืนหนึ่งอยู่ที่เอว และผืนที่สามใช้พาดไหล่ คนมั่งมีจะสวมเสื้อนอกอีกตัวหนึ่ง ชนชั้นสูงบางคนนอนบนเตียงไม้ต่ำๆ เรียกว่า ชาร์ปอย (Charpoy) แต่คนสามัญนอนกับพื้น คนมั่งมีจะนั่งเสลี่ยงสัณฐานประหลาด เมื่อจะขี่ช้างก็ใช้เก้าอี้ชนิดหนึ่งแทนกูบ และการขายช้างถือว่าเป็นอาชญากรรมร้ายแรง

ชาวอาหมนิยมกินใบพลู และหมากเป็นอย่างยิ่ง และชำนาญในการเรื่องการทอผ้าไหม ปักลวดลายต่างๆ สลักท่อนไม้ให้กลายเป็นหีบ ถาด ที่นั่ง เก้าอี้ได้อย่างสวยงาม และนิสัยแปลกๆชองชาวอาหมคือจะกลัวม้า ทหารม้าเพียงคนเดียวจะทำให้ทหารอาหมแตกกระเจิงได้ และมีคำพูดว่า คนม้า แปลว่า คนไม่ดี คนเลว คนชั่ว เป็นต้น

[แก้] ภาษา

ชาวอาหม คือคนไทกลุ่มหนึ่งที่อพยพมาในดินแดนนามรูป ฉะนั้นภาษาของชาวอาหมคือภาษาไทขนานหนึ่ง ซึ่งจะแตกต่างจากภาษาไทยของเรานิดหน่อย และภาษาอาหมก็มีอักษรอาหมอีกด้วย แต่ใช่ว่าปัจจุบันจะมีคนใช้สื่อสาร เพราะเมื่ออาหมตกอยู่ในวงล้อมของประเทศอินเดียวัฒนธรรมของชนกลุ่มใหญ่ วัฒนธรรมภาษาจึงถูกทำลาย แม้แต่เอกภาษาชาวอาหมรู้หลายภาษา แต่ยังอ่านภาษาอาหมไม่ได้ ในปัจจุบันมีผู้อ่านภาษาอาหมได้ไม่กี่คน ชาวอาหมส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้ภาษาอัสสัม ซึ่งเป็นภาษาแขนงหนึ่งของภาษาฮินดี แต่มีชาวอาหมที่โกหาติพูดและอ่านภาษาฮินดีไม่ได้ก็มี ชาวอาหมพูดภาษาอัสสัม 675,000 คน ภาษาเบงกาลี 8,100 คน ภาษานาคา 1,600 คน และภาษาอดิ 1,200 คน

[แก้] คำบรรยายเกี่ยวกับชาวอาหม

บุคลิกลักษณะของชาวอาหมนั้น ตามพงศาวดารของยุคราชวงศ์โมกุล แห่งอินเดียในยุคนั้น โดยฟาติยะ อิบริยะ ซึ่งติดตามไปกับกองทัพอิสลามซึ่งรบกับอาหม เมื่อ พ.ศ. 2200 ได้บรรยายลักษณะของชาวอาหมไว้ว่า

"ชาวอาหมมีรูปร่างล่ำสัน ชอบทะเลาะวิวาท กระหายเลือด ปราศจากความเมตตา ชั่วช้า ทรยศ ในเรื่องความโกหกหลอกลวง ไม่มีใครใต้ดวงอาทิตย์จะสู้พวกอาหมได้ สตรีอาหมมีรูปร่างเล็กแบบบาง ผมยาว ผิวละเอียดอ่อนเกลี้ยงเกลา มือเท้าเล็กเรียว ดูไกลๆสวย แต่ช่วงขาไม่ได้ส่วนสัด ถ้าดูใกล้ยิ่งน่าเกลียด ชาวอาหมโกนศีรษะ โกนหนวดเครา ภาษาที่พูดคือภาษาพื้นเมืองไทใหญ่"

ผู้เขียนตำนานอีกคนหนึ่งนามว่า อาลัมกิรนามะ ก็เขียนไว้ว่า

"ชาวอาหมไม่มีศีลธรรม ไม่มีศาสนาประจำชาติ ทำอะไรตามใจตนเองโดยไม่มีกฏเกณฑ์ เห็นว่าการกระทำของตนถูกต้องเสมอ ลักษณะท่าทางของชาวอาหมส่อให้เห็นพลกำลัง และความทรหดอดทน ซ่อนกิริยา และอารมณ์อันโหดร้ายทารุณเอาไว้ข้างใน ชาวอาหมอยู่เหนือชนชาติอื่นๆในด้านกำลังกาย และความทนทาน เป็นชาติขยันขันแข็ง ชอบสงคราม อาฆาตจองเวร ตลบแตลง และหลอกลวง ปราศจากคุณธรรม ความเมตตากรุณา ความเป็นมิตร ความสุภาพ เมล็ดพืชแห่งความอ่อนโยน และมนุษยธรรม ไม่ได้หว่านลงในดินแดนของชนชาตินี้เลย"

[แก้] ชาวอาหมที่มีชื่อเสียง

  • โปรบิน โกกอย (Probin Gogoi) รัฐมนตรีรัฐบาลแห่งรัฐอัสสัม
  • โจเกนดรา เอ็น พูคาน (Jogendra N. Phukan) นักวิชาการอิสระ และอาจารย์มหาวิทยาลัยกูวาฮาติ
  • บุษบา โกกอย (Busba Gogoi) นักวิชาการอิสระ และเลขาธิการสมาคม Ban OK Pub Lik Mioung Tai.
  • นาเกน ฮาซาริกา (Naken Harzarika) นักวิชาการอิสระ
  • ทนุราม โกกอย ชาวอาหมพุทธคนแรก และผู้นำชาวพุทธอัสสัม

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

  • งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย ของ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ
  • ประวัติศาสตร์ชนชาติไท ของ กัญญา ลีลาลัย
  • วารสารเมืองโบราณ
ภาษาอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -