สุลต่านสุลัยมานแห่งจักรวรรดิออตโตมัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
- ดูความหมายอื่น สุลต่านสุลัยมาน เจ้าเมืองสงขลา
สุลต่านสุลัยมานแห่งจักรวรรดิออตโตมัน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
สุลต่านสุลัยมานแห่งจักรวรรดิออตโตมัน หรือ สุลต่านสุลัยมานมหาราช (ภาษาอังกฤษ: Suleiman the Magnificent; ภาษาอังกฤษตุรกีออตโตมัน: سليمان “Sulaymān”; ภาษาตุรกี: Süleyman หรือมักจะเป็น Kanuni Sultan Süleyman) (6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1494 - 5/6 กันยายน ค.ศ. 1566) ทรงเป็นประมุขราชวงศ์ออสมันแห่งจักรวรรดิออตโตมันระหว่างปี ค.ศ. 1520 ถึง ปี ค.ศ. 1566
สุลต่านสุลัยมานเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ วันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1494 ที่ทราบซอน ในประเทศตุรกี ทรงเป็นพระราชโอรสในสุลต่านเซลิมที่ 1 และ ฮาฟซา ฮาทุน (Hafsa Hatun) ทรงเสกสมรสกับร็อกเซลานา และทรงครองราชย์ระหว่างวันที่ ค.ศ. 1520 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1566 ที่ Szigetvár ในฮังการี
สุลต่านสุลัยมานทรงเป็นสุลต่านองค์ที่ 10 และเป็นสุลต่านที่ทรงราชย์นานที่สุดของจักรวรรดิออตโตมัน เป็นเวลา 46 ปี ทรงเป็นที่รู้จักกันทางตะวันตกว่า “Suleiman the Magnificent”[1] และทางตะวันออกว่า “ผู้ให้กฎหมาย” (the Lawgiver) หรือในภาษาตุรกี “Kanuni” และ ภาษาอาหรับ “القانونى” (al‐Qānūnī) เพราะพระราชกรณียกิจในการปฏิรูประบบกฎหมายของจักรวรรดิออตโตมัน สุลต่านสุลัยมานทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์สำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ของยุโรปทรงปกครองจักรวรรดิออตโตมันและทรงมีอำนาจอันยิ่งใหญ่ทางทหารและเศรษฐกิจ สุลต่านสุลัยมานทรงเป็นผู้นำทัพด้วยพระองค์เองในชัยชนะต่อเบลเกรด โรดส์ และ ฮังการีเกือบทั้งหมดก่อนที่จะมาจบลงที่การล้อมกรุงเวียนนาเมื่อปี ค.ศ. 1529 ทรงผนวกดินแดนตะวันออกกลาง (เมื่อทรงมีข้อขัดแย้งกับเปอร์เชีย) และดินแดนส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของแอฟริกาจนถึงแอลจีเรีย ภายใต้การปกครองของพระองค์อำนาจทางทะเลครอบคลุมตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงมหาสมุทรอินเดีย[2]
พระราชกรณียกิจหลักในการปกครองคือการที่ทรงเปลื่ยนแปลงระบบกฎหมายที่เกี่ยวกับสังคม การศึกษา ภาษี และกฏหมาอาญา กฎหมายของสุลต่านสุลัยมาน (Kanuns) เป็นกฎหมายที่ใช้ต่อมาในราชอาณาจักรเป็นเวลาอีกหลายร้อยปีหลังจากเสด็จสวรรคต
นอกจากจะยังทรงเป็นกวีฝีปากเอกและช่างทองฝีมือดีแล้วก็ยังทรงเป็นผู้อุปถัมภ์วัฒนธรรม สมัยของพระองค์เป็น “ยุคทอง” ของจักรวรรดิออตโตมันในทางวรรณคดี ศิลปะ และ สถาปัตยกรรมด้วย[3]
สุลต่านสุลัยมานทรงเสกสมรสกับร็อกเซลานา สตรีในฮาเร็มผู้กลายมาเป็นฮูร์เร็มสุลต่านผู้มีอิทธิพลและมีชื่อเสียงพอพอกับสุลต่านสุลัยมานเอง หลังจากสุลต่านสุลัยมานสวรรคตเมื่อปีค.ศ. 1566 พระราชโอรส สุลต่านเซลิมที่ 2 ก็ขึ้นครองราชย์สืบต่อมา
เนื้อหา |
[แก้] เบี้องต้น
สุลต่านสุลัยมานเสด็จพระราชสมภพที่ทราบซอนริมฝั่งทะเลดำในประเทศตุรกีประมาณวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1494[4] เมื่อพระชนมายุได้ 7 พรรษาได้ทรงถูกส่งไปศึกษาวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วรรณคดี ศาสนวิทยา และการยุทธศาสตร์ที่โรงเรียนในพระราชวังท็อพคาปิ (Topkapı Palace) ในกรุงอิสตันบูล เมื่อยังหนุ่มทรงทำความรู้จักกับพาร์กาลิ อิบราฮิม ปาชา (Pargalı İbrahim Pasha) ผู้เป็นทาสผู้ต่อมาเป็นที่ปรึกษาที่ทรงไว้วางใจที่สุด[5] ตั้งแต่พระชนมายุได้ 17 พรรษาสุลต่านสุลัยมานทรงได้รับแต่งให้เป็นเจ้าเมืองคาฟฟา (ทีโอโดเซีย) ต่อมาซารุคาน (มานิซา, ตุรกี) และ เอเดิร์น (เอเดรียโนโพล) ระยะหนึ่ง[6] เมื่อสุลต่านเซลิมที่ 1พระราชบิดาเสด็จสวรรคตเมื่อปี ค.ศ. 1520 สุลัยมานก็กลับมาอิสตันบุลและขึ้นครองราชย์ต่อมาเป็นสุลต่านองค์ที่ 10 บาร์โทโลมิโอ คอนทารินิราชทูตจากรัฐอาณาจักรเวนิสบรรยายสุลต่านเซลิมสองสามอาทิตย์หลังจากขึ้นครองราชย์ว่าเป็นผู้ “มีอายุ 25 ปี, สูงแต่ก้องแก้ง และผิวบาง พระศอยาวไปเล็กน้อย พระพักตร์แหลม พระนาสิกแคบยาว ทรงพระมัสสุบางๆ และมีพระเคราเล็กน้อย; แต่กระนั้นก็ทรงมีพระลักษณะที่น่าดูแม้ว่าผิวจะออกซีดขาว ทรงมีชื่อว่าเป็นผู้ปรีชาสามารถ โปรดการศึกษาเล่าเรียน และทุกคนตั้งความหวังจะทรงเป็นประมุขผู้มึคุณธรรมในการปกครอง”[7] นักประวัติศาสตร์บางท่านอ้างว่าเมื่อสุลต่านสุลัยมานยังทรงพระเยาว์ทรงชื่นชอบในความเป็นวีระบุรุษของอเล็กซานเดอร์มหาราช[8][9] ทรงได้รับอิทธิพลจากความคิดในการสร้างจักรวรรดิที่รวมทั้งตะวันออกและตะวันตกซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้พระองค์นำทัพไปในการเผยแพร่ราชอาณาจักรทั้งทางเอเชีย แอฟริกาและยุโรป
[แก้] การขยายดินแดน
สุลต่านสุลัยมานทรงขยายดินแดนใน
-
-
- ทวีปยุโรปตอนกลาง
- ทวีปเอเชีย
- เมดิเตอร์เรเนียนและแอฟริกาเหนือ
-
[แก้] มรดก
เมื่อสุลต่านสุลัยมานเสด็จสวรรคตจักรวรรดิออตโตมันเป็นจักรวรรดิที่มีอำนาจทางการทหารอย่างที่ไม่มีประเทศใดเทียบได้ การเศรษฐกิจที่รุ่งเรือง และแผ่นดินที่กว้างใหญ่ไพศาล[10] ดินแดนที่ทรงได้รับจากชัยชนะที่เข้ามาอยู่ในการปกครองของพระองค์คือเมืองสำคัญๆ ของศาสนาอิสลาม รวมทั้ง เมกกะ เมดินา เยรุซาเล็ม ดามัสกัส และ แบกแดด); เมืองในบริเวณคาบสมุทรบอลข่าน ไปจนถึงออสเตรียปัจจุบัน; และทางตอนเหนือของแอฟริกาเหนือ การขยายดินแดนของพระองค์ในยุโรปทำให้จักรวรรดิออตโตมันเข้ามามีอำนาจในยุโรงซึ่งเป็นการสร้างความสมดุลของประเทศมหาอำนาจในบริเวณนั้น อำนาจทางทหารของพระองค์มีความแข็งแกร่งพอที่จะทำให้ประเทศในยุโรปหวาดกลัวต่อการรุกรานของพระองค์
แต่ชื่อเสียงของสุลต่านสุลัยมานมิได้จำกัดอยู่แต่เพียงด้านการทหารเท่านั้น ชอง เดอ เทเวโนท์ (Jean de Thévenot) นักเดินทางชาวฝรั่งเศสที่เดินทางไปยังตุรกีร้อยปีหลังจากที่เสด็จสวรรคตไปแล้วยังพบว่าระบบการเกษตรกรรมในตุรกียังเป็นวิธีที่สุลต่านสุลัยมานทรงริเริ่มไว้ซึ่งเป็นผลทำให้ตุรกีมีผลผลิตทางเกษตรกรรมสูง และการจัดระบบการปกครองของรัฐบาล[11] การปฏิรูปทางการบริหารและทางกฎหมายเป็นพระระบบที่ทรงก่อตั้งเพื่อให้เป็นระบบที่ทำให้จักรวรรดิอยู่รอดต่อมาอีกเป็นเวลานานหลังจากรัชสมัยของพระองค์ ความสำเร็จนี้ “ใช้เวลาหลายชั่วคนของผู้สืบเชื้อสายของพระองค์ในการทำลาย”[12]
การทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ในด้านต่างๆ ทำให้จักรวรรดิออตโตมันในรัชสมัยของพระองค์ถือกันว่าเป็นยุคทองทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม วรรณกรรม ศิลปะ ศาสนวิทยา และปรัชญา[13][14] ในปัจจุบันภูมิทัศน์ของ ทะเลบอสฟอรัส และเมืองต่างๆ อีกหลายเมืองในตุรกียังคงเห็นร่องรอยของสถาปัตยกรรมของ มืมาร์ ซินาน (Mimar Sinan) ในบรรดาสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่สำคัญที่สุดคือ สุเหร่าสุลัยมาน (Süleymaniye Mosque) ซึ่งเป็นที่ตั้งพระบรมศพของพระองค์และ ฮูร์เร็มสุลต่าน พระศพของสองพระองค์ตั้งแยกกันภายใต้มอโซเลียม โดมติดกับสุเหร่า
[แก้] อ้างอิง
- ^ Merriman.
- ^ Mansel, 61
- ^ Atıl, 24.
- ^ Clot, 25.
- ^ Hope, Suleiman The Magnificent
- ^ Clot, 28.
- ^ Kinross, 175.
- ^ Lamb, 14.
- ^ Barber, 23.
- ^ Clot, 298.
- ^ Ahmed, 147.
- ^ Lamb, 325.
- ^ Atıl, 24.
- ^ Russell, The Age of Sultan Suleyman
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
|
|
---|---|
ทวีปเอเชีย | พ่อขุนรามคำแหงมหาราช · สมเด็จพระนเรศวรมหาราช · สมเด็จพระนารายณ์มหาราช · สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช · พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช · พระปิยมหาราช · พระภัทรมหาราช · พระเจ้าเซจงมหาราช · พระเจ้าอโศกมหาราช · พระเจ้าพรหมมหาราช · พ่อขุนเม็งรายมหาราช · เจงกีส ข่าน · พระเจ้าอโนรธามังช่อ · พระเจ้าบุเรงนอง · พระเจ้าอลองพญา · จักรพรรดิเฉียนหลง · จิ๋นซีฮ่องเต้ · ฮั่นอู่ตี้ · จักรพรรดิคังซี · พระเจ้ากนิษกะมหราช |
ทวีปยุโรป | · นโปเลียนมหาราช · จูเลียส ซีซาร์ · พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช พระจักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนมหาราช · พระเจ้าฟรีดริชมหาราช · พระเจ้าปีเตอร์มหาราช · พระเจ้าคานูทมหาราช · สมเด็จพระเจ้าอองรีที่ 4 ของฝรั่งเศส · พระเจ้าไทกราเนสมหาราช |
ทวีปแอฟริกาและตะวันออกกลาง | รามเสสมหาราช · อเล็กซานเดอร์มหาราช · สุลัยมานมหาราช · อัคบาร์มหาราช · ไซรัสมหาราช |
ดูเพิ่ม | มหาราช |
สุลต่านสุลัยมานแห่งจักรวรรดิออตโตมัน เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ สุลต่านสุลัยมานแห่งจักรวรรดิออตโตมัน ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |