สำริด
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำริด หรือ ทองสำริด (บางครั้งเขียน สัมฤทธิ์) หมายถึง โลหะประสมทองแดงชนิดหนึ่ง ที่มีคุณลักษณะแปรผันหลากหลาย ปกติมีดีบุกเป็นส่วนประกอบหลัก แต่บางครั้งก็มีธาตุอื่นๆ เช่นฟอสฟอรัส, แมงกานีส, อะลูมิเนียม หรือ ซิลิกอน สำริดเป็นโลหะที่แข็งแรง และเหนียว และมีการใช้งานอย่างกว้างขวางในทางอุตสาหกรรม และมีความสำคัญเป็นพิเศษในสมัยโบราณ จนนักโบราณคดีเรียกยุคหนึ่งว่า ยุคสำริด
[แก้] ประวัติ
การใช้สำริดนับว่ามีนัยสำคัญต่ออารยธรรมใดๆ ก็ตามที่ใช้โลหะนี้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ อาวุธ เกราะ และวัสดุก่อสร้างต่างๆ เช่น แผ่นประดับอาคาร ที่ทำมาจากสำริดล้วนมีความแข็งกว่า และทนทานกว่าหินและทองแดง (Chalcolithic) ที่เคยใช้กันมา การใช้ในสมัยแรกๆ บางครั้งสารหนูในธรรมชาติที่ไม่บริสุทธิ์ก็มีส่วนสร้างโลหะประสมธรรมชาติที่ยอดเยี่ยมขึ้นมา เรียกว่า "arsenical bronze"
สำริดที่มีส่วนประกอบดีบุกสมัยแรกสุดนั้น เริ่มมีการใช้เมื่อ 4 พันปีก่อนคริสตกาล ในภูมิภาคซูซา (Susa) ในประเทศอิหร่าน และบางพื้นที่ในลูริสถาน (Luristan) ประเทศอิหร่าน และเมโสโปเตเมีย ประเทศอิรัก
ขณะที่ทองแดงและดีบุกนั้นสามารถเกิดขึ้นอยู่ด้วยกันตามธรรมชาติ แต่ทว่าแร่ดิบทั้งสองนี้ไม่ค่อยจะพบอยู่ด้วยกัน (แม้จะพบในแหล่งแร่โบราณแห่งหนึ่งในประเทศไทย และแห่งหนึ่งในประเทศอิหร่าน แต่ก็นับเป็นตัวอย่างที่หาได้ยาก) งานสำริดที่สร้างขึ้นอย่างจริงจังจึงมีผลต่อให้เกิดการค้าเสมอมา ความจริงแล้ว นักโบราณคดีคาดว่า การค้าดีบุกที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคเหล็ก ในยุโรปนั้น แหล่งดีบุกที่สำคัญคือเกาะเกรตบริเตน
สำริด เป็นบทความเกี่ยวกับ เคมี ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ สำริด ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เคมี |