สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือเรียกอย่างทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibians) เป็นสัตว์ที่อยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดหรือขน หายใจด้วยเหงือก ปอด ผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ส่วนใหญ่ตัวผู้จะมีถุงลมปากเพื่อใช้ส่งเสียงร้องเรียกตัวเมีย ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม
ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลา อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ เช่น กบ คางคก อึ่งอ่าง เขียด
สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในหน้าแล้งใน
ช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน สัตว์พวกนี่ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งมันจะหายใจไม่ได้และอาจตายได้ เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู้กระแสโลหิต ระยะนี้มันจะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้าๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่
สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเป็นสัตว์เลือดเย็น เช่น เดียวกับสัตว์พวกปลา กินแมลง และ หนอนที่ยังมีชีวิตอยู่