ธงชาติเซเชลส์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การใช้ | ธงพลเรือน ธงเรือพลเรือน ธงราชการ และ ธงเรือรัฐบาล |
สัดส่วนธง | 1:2 |
ประกาศใช้ | 18 มิถุนายน พ.ศ. 2539 |
ธงชาติเซเชลส์ ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ [[18 มิถุนายน], พ.ศ. 2539 เป็นลักษณะแถบเฉียง5แถบมี5สีคือ สีนำเงิน สีเหลือง สีแดง สีขาว และ สีเขียว โดยแต่ละสีมีความหมายดังนี้คือ
- สีนำเงิน หมายถึง มหาสมุทรอินเดีย ที่โอบล้อมรอบหมู่เกาะเซเชลล์.
- สีเหลือง หมายถึง แสงจากดวงพระอาทิตย์ที่ส่องสว่างบนหมู่เกาะกับการมีชีวิตที่สดใส และ อีกนัยหนึ่งหมายถึงแหล่งแร่ธาตุตามธรรมชาติที่มั่งคั่ง
- สีแดง หมายถึง การปฏิวัติ ความรักชาติ และ ความก้าวหน้าที่นำสังคมไปสู่สังคมที่เท่าเทียมกัน มีความยุติธรรม
- สีขาว หมายถึง ความถูกต้องยุติธรรมในสังคม และ ความสมัครสมานสามัคคี รักใคร่ปรองดองของคนในชาติ
- สีเขียว หมายถึง พืชพรรณธัญญาหารที่อุดมสมบูรณ์ และ การเกษตรกรรมซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศ
เมื่อรวมความหมายของสีธงชาติทั้ง5เข้าด้วยกันแล้ว จะหมายถึง ความรักสมัครสมานสามัคคี และ ความฝันที่ใฝ่สูง ทะเยอทะยาน และ อนาคตอันความก้าวหน้าของชาวเซเชลส์
ธงชาติต้นแบบของเซเชลล์ ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อประเทศเป็นอิสรภาพจากสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2519 ในปี พ.ศ. 2520 เมื่อประธานาธิบดีคนแรกของเซเชลล์ เจมส์ แมนแชมผู้นำพรรคเดโมแครต ถูกล้มล้างโดย ฟรานส์-อัลเบิตร์ เรเน่ โดยมีการเปลี่ยนธงชาติในทันทีเมื่อเข้ารับตำแหน่ง โดยใช้ธงชาติผืนที่2 มีพื้นธงสีแดง-เขียว มีแถบเล็กสีขาวมีความคดเคียวคล้ายเกลียวคลื่น โดยออกแบบให้คล้ายธงประจำ พรรคเซเชลล์ พีเพิล ยูไนเต็ด ปาร์ตี้
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
ธงชาติเซเชลส์ เป็นบทความเกี่ยวกับ ธง หรือธงชาติ ขององค์กรหรือรัฐต่างๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ธงชาติเซเชลส์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |