ธงชาติอินเดีย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
-
สำหรับธงอื่นที่มีชื่อสามารถแปลได้ว่า "ธงไตรรงค์" ดูที่ ธงไตรรงค์ (แก้ความกำกวม)
ธงชาติอินเดีย นิยมเรียกว่า "ติรังคา" (ภาษาฮินดี : तिरंगा, : คำนี้เป็นคำเดียวกับคำว่า "ไตรรงค์" ซึ่งเป็นชื่ออีกอย่างของธงชาติไทย แปลว่า "สามสี") มี 3 สี 3แถบ สีแสดอยู่บนสุด หมายถึงความกล้าหาญ เสียสละ สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์ สีเขียว หมายถึงความศรัทธาและความอุดมสมบูรณ์
เนื้อหา |
[แก้] ธงทหาร
- ธงรัฐนาวี ใช้ธงราชนาวีอังกฤษแบบกากบาทเซนต์จอร์จ แต่มุมบนซ้ายฝั่งคันธงมีธงชาติอินเดียขนาด 1 ใน 4 ส่วนของธงใหญ่แทนที่ธงยูเนียนแจ็ก มีตราแผ่นดินสีเหลืองวางที่กลางกากบาท
- ธงประจำกองทัพบก ใช้ธงราชนาวีอังกฤษพื้นแดง แต่มุมบนซ้ายฝั่งคันธงมีธงชาติอินเดียขนาด 1 ใน 4 ส่วนของธงใหญ่แทนที่ธงยูเนียนแจ็ก ส่วนด้านล่างขวาฝั่งปลายธงมีรูปดาบไขว้ใต้ตราแผ่นดิน
- ธงประจำกองทัพอากาศ ใช้ธงราชนาวีอังกฤษพื้นสีฟ้า แต่มุมบนซ้ายฝั่งคันธงมีธงชาติอินเดียขนาด 1 ใน 4 ส่วนของธงใหญ่แทนที่ธงยูเนียนแจ็กส่วนด้านล่างขวาฝั่งปลายธงมีรูปเป้าหน้าวัวตามสีของธงชาติ
[แก้] ประวัติศาสตร์ธงชาติอินเดีย
ธงชาติอินเดียในสมัยอาณานิคมอังกฤษ ใช้ธงเรือหลวงอังกฤษมีตราแผ่นดินแห่งจักรวรรดิอินเดียของอังกฤษที่ส่วนปลายธง คือ ตราดาราแห่งภารตะ ซึ่งมีลักษณะดาวใหญ่สีเงิน 5 แฉกล้อมรอบด้วยรัศมีที่เปล่งออกมา
[แก้] แนวทางการปฏิบัติเมื่อธงมีสภาพเก่าและขาดวิ่นชำรุดของธงชาติอินเดีย
ธงชาติอินเดียเมื่อมีสภาพเก่าและขาดวิ่นชำรุดควรทำลายด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- นำไปฝังลงในพื้นดิน
- นำไปถ่วงให้จมลงแม่น้ำคงคา
- นำไปเผาไฟในที่รโหฐานให้เป็นเศษผงแล้วทำตามวิธีที่ 1 หรือวิธีที่ 2
[แก้] ดูเพิ่ม
ธงชาติอินเดีย เป็นบทความเกี่ยวกับ ธง หรือธงชาติ ขององค์กรหรือรัฐต่างๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ธงชาติอินเดีย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |