ขงเบ้ง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขงเบ้ง | |
---|---|
|
|
นายกรัฐมนตรีแห่งรัฐจ๊ก | |
เกิด | พ.ศ. 724 |
ถึงแก่กรรม | พ.ศ. 777 (อายุ 53 ปี) |
ชื่อ | |
อักษรจีนตัวย่อ | 诸葛亮 |
อักษรจีนตัวเต็ม | 諸葛亮 |
พินอิน | Zhūge Liàng |
สำเนียงจีนกลาง | ขงหมิง |
สำเนียงจีนฮกเกี้ยน | ขงเบ้ง |
ชื่ออื่นๆ | จูกัดเหลียง (ชื่อที่แท้จริง) ฮกหลง (มังกรหลับ, 臥龍先生) |
ขงเบ้ง (ภาษาจีนกลาง : ขงหมิง) หรือ จูกัดเหลียง (จูเก๋อเลี่ยง) (ค.ศ. 181—234) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่น ของจีน หรือสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากหากว่าตามประวัติศาสตร์ ขงเบ้กเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งรัฐจ๊ก กับทั้งยังเป็นนักการเมือง นักการทูต วิศวกร นักวิชาการ และได้ชื่อว่าเป็นนักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่ โดยเป็นผู้คิดค้นหมั่นโถว ธนูไฟ โคมลอย และระบบชลประทาน
เนื้อหา |
[แก้] ชื่อ
- ชื่อแต่เกิดคือ — จูกัดเหลียง (หรือ จูเก๋อเลี่ยง)(จีนตัวเต็ม: 諸葛亮, จีนตัวย่อ: 诸葛亮, พินอิน: Zhūge Liàng) ชื่อว่า Liàng และนามสกุล Zhūge
- ชื่อที่ผู้อื่นเรียกด้วยความเคารพ — ขงเบ้ง (孔明, พินอิน: Kǒngmíng)
- นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่น เช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍)
[แก้] ขงเบ้งในวรรณกรรม
ในวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก ขงเบ้งถูกยกย่องว่าหยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร ได้รับฉายาจากบังเต็กกงว่า "ฮกหลง" หมายถึง มังกรซุ่ม หรือ มังกรหลับ จากคำแนะนำของชีซีทำให้เล่าปี่ต้องมาเชิญด้วยตัวเองถึงสามครั้งสามครา มีความรู้เป็นเลิศ รับใช้ราชวงศ์เล่าถึง 2 ชั่วอายุคน ภายหลังเล่าปี่ตาย ได้ฝากฝัง เล่าเสี้ยน ให้ดูแลแต่ไม่อาจสำเร็จได้ เพราะพระเจ้าเล่าเสี้ยนหูเบา เชื่อแต่คำยุยงของขันทีฮุยโฮ ยกทัพไปปราบปรามชาวม่าน และได้สู้รบกับวุยก๊กหลายครั้ง
ขงเบ้ง (Zhuge Liang -(Kong Ming)) (ค.ศ. 181-234) มีชื่อจริงว่า จูเก๋อเหลียง โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น
ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี สื่อกวงเหวียน เมิ่งกงเวย และซุยเป๋ง และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีและซุยเป๋งเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย
ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี โดยเล่าปี่ต้องมาคาราวะขงเบ้งถึงกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เมื่อขงเบ้งอายุได้เพียง 26 แต่ระยะแรกนั้น ขงเบ้งมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว ขงเบ้งก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง
ขงเบ้ง ยามออกศึก จะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนห่านเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า
ขงเบ้ง เป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยขงเบ้งมีฐานะเป็นเสนาบดีใหญ่ (เสิงเสี้ยน) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก เนื่องจากความอ่อนแอของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ขงเบ้งประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 5 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิต ขงเบ้งเจ็บออด ๆ แอด ๆ เสมอ ๆ ขงเบ้งสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี(ขงเบ้งฉบับการ์ตูนบอกว่าสิ้นอายุเมื่อตอน 52 ปี) บนรถม้ากลางสนามรบ ก่อนสิ้นชีพ ขงเบ้งได้ตรวจดวงชะตาตนเองแล้วรู้ว่า ใกล้ดับ จึงทำพิธีต่อชะตาอายุ แต่พิธีต้องล่มกลางคัน เมื่ออุยเอี๋ยน ทหารคนหนึ่งวิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามา จนตะเกียงน้ำมันดับลง พระเจ้าเล่าเสี้ยนโศกเศร้าเสียพระทัยมาก ศพของขงเบ้งถูกฝังอยู่ที่เชิงเขาเตงกุนสัน ปากทางเข้าเสฉวน
ภายหลังจากที่ขงเบ้งสิ้นชีวิตไปแล้ว 29 ปี เมื่อเตงงายแม่ทัพของวุยก๊กได้ยกทัพผ่านมาทางเขาเหยียดฟ้าปากทางเข้าเมืองเสฉวนอีกทาง ได้พบกับป้อมค่ายที่ร้างบนเขา ซึ่งปราศจากทหารดูแลเมื่อขงเบ้งสิ้นชีวิตไปแล้ว ซึ่งขงเบ้งทำนายว่า ในอนาคตข้างหน้าจะมีแม่ทัพของวุยก๊กยกทัพผ่านทางนี้ จึงให้เฝ้าระวังไว้ และเมื่อจงโฮยแม่ทัพวุยก๊กอีกคนที่ยกทัพผ่านมาทางเขาเตงกุนสัน นอนหลับไปฝันเห็นว่า ขงเบ้งมาเข้าฝันว่า เมื่อยกทัพเข้าเสฉวนได้แล้ว ขอให้ไว้ชีวิตราษฎร ซึ่งจูกัดเอี๋ยนบุตรชายของขงเบ้งที่เป็นแม่ทัพคนหนึ่งของจ๊กก๊กได้เข้าต่อต้านทัพวุยและก็เสียชีวิตพร้อมบุตรชายตัวเองในครั้งนี้ด้วย
ปัจจุบัน มีศาลเจ้าขงเบ้งและเล่าปี่ กวน อู เตียวหุย และบรรดาขุนพลของจ๊กก๊ก ที่เมืองเฉินตู มณฑลเสฉวน ซึ่งได้รับการบูรณะในปีที่ 11 ของรัชสมัยจักรพรรดิคังซีของราชวงศ์ชิง
[แก้] สุดยอดผลงานดีเด่นของขงเบ้ง
- กลเผาทุ่งพกบ๋อง ทำลายทัพของแฮหัวตุ้นที่มาโจมตี
- เบื้องหลังความสำเร็จของยุทธนาการที่เซ็กเพ้ก ทำลายทัพกำลังพลเป็นล้านของโจโฉหมดสิ้น นำหุ่นฟางไปลวงระดมธนูมาจากฝ่ายโจโฉ ขึ้นแท่นเรียกลมอ่านโองการบัญชาฟ้าดิน วางกลซุ่มดักตีทัพโจโฉยามแตกพ่าย
- อุบายยึดเกงจิ๋วและหัวเมืองสำคัญทั้งหลายโดยใช้อุบายยืมกำลังจากง่อก๊กเข้าตีลวงแล้วจึงส่งกำลังเข้ายึดโดยไม่ต้องลงทุน
- แก้อุบายจิวยี่จนเล่าปี่ได้ซุนฮูหยิน
- อุบายลวงจิวยี่ มันสมองสำคัญของง่อก๊กจนกระอักเลือดตาย
- อุบายให้เตียวสงมอบแผนที่เสฉวน
- เคลื่อนทัพเข้ายืดแคว้นเสฉวนของเล่าเจี้ยงเพื่อสร้างสถานภาพสามก๊ก
- เจริญสัมพันธไมตรีกับง่อก๊กหลังจากพระเจ้าเล่าปี่สวรรคต ซึ่งก่อนหน้านี้เล่าปี่ได้เคลื่อนทัพหลวงบุกรุกง่อก๊กเพื่อแก้แค้นให้กับกวนอู ซึ่งในครั้งนั้น ทำให้พระเจ้าเล่าปี่สูญเสียแม่ทัพเตียวหุย และยังถูกลกซุนเผาทัพหลวงจนมอดใหม่หมดสิ้น
- สยบเบ้งเฮ็ก ทำให้ทางใต้สงบ โดยไม่ต้องกังวลกับการบุกทางเหนือฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น
- ออกอุบายปล่อยข่าวลือทำให้พระเจ้าโจยอยปลดสุมาอี้ออกจากตำแหน่งทางการเมืองเพื่อไม่ให้ต่อกรกับจ๊กก๊กได้
- บุกกิสานครั้งที่หนึ่ง สามารถเคลื่อนทัพบุกยึดเทียนซุยและอันติ้งได้ด้วยอุบาย พร้อมทั้งได้ยอดทหารอย่างเกียงอุยมาเป็นขุนศึกคู่ใจด้วย
- ในยามคับขันครั้งหนึ่ง หลังจากเสียเกเต๋ง ขงเบ้งต้องถอยทัพใหญ่กลับเซงโต๋ แต่ต้องขนถ่ายเสบียงกลับจากเมืองเล็กๆที่เสเสีย ภายในเมืองเสเสียมีแต่เสบียงกับทหารเพียงแค่สองพันห้าร้อยคน ในขณะที่กองทัพสุมาอี้มีกองทัพเรือนแสนยกมาประชิดกำแพงเมือง ขงเบ้งทำกลลวง เปิดประตูเมือง ลดธงทิวลง และขึ้นเล่นพินจีนบนกำแพงเมือง ลวงทัพสุมาอี้ ทำให้สุมาอี้ลังเลที่จะยกทัพบุกเข้าในเมืองเพราะกลัวขงเบ้งซุ่มทัพโจมตี ครั้งนี้เป็นการแสดงอัจฉริยภาพของขงเบ้งในการแก้ปัญหายามคับขันถึงชีวิตได้อย่างยอดเยี่ยมถึงแม้จะมีความเสี่ยงมากก็ตาม
- ในการบุกกิสานครั้งที่สาม ใช้เนินไม้แปลกสร้างกองทัพผีทำกลลวงทัพสุมาอี้จนแม้แต่ยอดขุนพลเตียวคับยังไม่กล้าบุก จนสามารถตีได้ค่ายใหญ่ของสุมาอี้ เปิดทางเข้าสู่กิสานได้เต็มตัว
- สร้างโคยนต์ม้ากลขึ้นใช้ลำเลียงเสบียงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการบุกกิสานในการบุกกิสานครั้งที่ 5
- ลวงทัพสุมาอี้ให้ออกรบ โดยซุ่มกำลังไว้ที่ช่องเขาระหว่างทาง ทำการเผาทัพสุมาอี้ในการบุกกิสานครั้งที่ 6 ในครั้งนี้สุมาอี้ สุมาสู และสุมาเจียว บุตรทั้งสองของสุมาอี้ เกือบต้องมาสิ้นชีวิตที่ช่องเขานี้ แต่คงเป็นบุญญาพินิหารของตระกูลสุมาที่จะต้องให้กำเนิดพระมหากษัตริย์ที่สามารถรวบรวมสามก๊กให้เป็นหนึ่งได้ ทำให้ฝนตกลงมาสามพ่อลูกตระกูลสุมาจึงหนีรอดไปได้
- ก่อนขงเบ้งสิ้นชีวิตในการบุกกิสานครั้งที่ 6 นี้เองได้วางกลลวงสุมาอี้เพื่อทำให้กองทัพเคลื่อนกลับเซงโต๋ได้อย่างปลอดภัยโดยให้นำหุ่นไม้ของขงเบ้งขึ้นนั่งบนรถประจำตัวโดยในตรงนี้ บางฉบับกล่าวว่าขงเบ้งให้นำเอาศพของตนเองขึ้นนั่งบนรถ แล้วให้เกียงอุยเป็นทัพหลัง เมื่อเห็นทัพสุมาอี้เคลื่อนใกล้วเข้ามาตามตีก็ให้เข็นรถออกไปให้สุมาอี้เห็นทำให้สุมาอี้ที่เคยโดนกลลวงจนเกือบโดนเผาตายไม่กล้ายกทัพตามตีต่อเพราะคิดว่าขงเบ้งยังมีชีวิตอยู่และเกรงกลัวจะต้องกลของขงเบ้ง และยังให้เตียวหงี กับม้าต้ายทำกลลวงกบฏอุยเอี๋ยนจนสามารถสังหารอุยเอี๋ยนได้ระหว่างทางกลับเซงโต๋นั่นเอง
[แก้] ครอบครัว
- บิดา จูกัดกุย(จูกัดฟอง)
- พี่ชาย จูกัดกิ๋น
- น้องชาย จูกัดกุ๋น (ในฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน)ใช้ชื่อว่า จูกัดกิ๋นเช่นเดียวกับพี่ชายคนโต)
- ภรรยา นางอุ๋ยซี
- พ่อตา อองเสงหงัน
- บุตร จูกัดเจี๋ยม
- หลานปู่ จูกัดสง
- หลานอา จูกัดเก๊ก ลูกชายของจูกัดกิ๋น
[แก้] ความสัมพันธ์
เล่าปี่ให้ความเคารพขงเบ้งมากตั้งแต่ที่ขงเบ้งยังอาศัยอยู่ที่เขาโงลังกั๋ง และมาหาขงเบ้งถึง 2 ครั้งแต่ไม่พบ และได้พบในการเยือนกระท่อมครั้งที่ 3 เล่าปี่พยายามขอร้องให้ขงเบ้งเป็นกุนซือจนขงเบ้งต้องใจอ่อนให้กับความอ่อนน้อมของเล่าปี่ยอมเป็นกุนซือให้เล่าปี่ เล่าปี่นับถือขงเบ้งเป็นอาจารย์ ยอมรับความคิดเห็นของขงเบ้งเสมอมา ส่วนขงเบ้งก็จงรักภักดีต่อเล่าปี่ในฐานะกุนซือ แม้จะมีใครมาเกลี้ยกล่อมให้มาอยู่ฝ่ายอื่น(เช่นจูกัดกิ๋นพี่ชายของตน เกลี้ยกล่อมให้มาอยู่ข้างซุนกวน) แต่ขงเบ้งก็ไม่ยอมอ่อนน้อมต่อผู้อื่นยกเว้นเล่าปี่เพียงผู้เดียว และอยู่ช่วยเล่าปี่จนเล่าปี่ได้เป็นฮ่องเต้แห่งจ๊กก๊ก ถึงแม้ต่อมาพระเจ้าเล่าปี่สวรรคต แต่ขงเบ้งก็ยังคอยช่วยเหลือพระเจ้าเล่าเสี้ยนผู้เป็นโอรสของพระเจ้าเล่าปี่ ด้วยความภักดี
ในช่วงแรกๆ ที่ขงเบ้ง มาอยู่ด้วยกับเล่าปี่ กวนอูยังไม่นับถือในตัวขงเบ้งนัก เพราะขงเบ้งอายุยังน้อย และเล่าปี่คอยปรนนิบัติขงเบ้งจนเกินควรนัก แต่เมื่อขงเบ้งได้ใช้แผนเผากองทัพแฮหัวตุ้นที่ทุ่งพกบ๋อง กวนอูก็ศรัทธาในสติปัญญาของขงเบ้งทันที ขงเบ้งไว้ใจกวนอูมาก ในตอนที่ขงเบ้งไปช่วยเล่าปี่ตีเสฉวน ขงเบ้งได้ฝากเมืองเกงจิ๋วให้กวนอูดูแล
ความสัมพันธ์ระหว่างขงเบ้งและเตียวหุยเป็นลักษณะคล้ายกับความสัมพันธ์กับกวนอู ดังเช่นว่าเมื่อขงเบ้ง มาอยู่ด้วยกับเล่าปี่ เตียวหุยยังไม่นับถือในตัวขงเบ้งนัก เพราะขงเบ้งอายุยังน้อย และเล่าปี่คอยปรนนิบัติขงเบ้งจนเกินควรนัก ดังเช่นกวนอู จนถึงขณะจะเผาบ้าน และทำร้ายจูกัดกุ๋นน้องชายของขงเบ้ง และโจว คนใช้ของขงเบ้งเลยทีเดียว แต่ในภายหลังก็ยอมรับในฝีมือของขงเบ้งอย่างเต็มใจ
ขงเบ้งไว้วางใจจูล่งมาก ซึ่งตัวขงเบ้งเองนั้นยกย่องว่าเป็นเหมือนแขนข้างหนึ่งของตนเลยทีเดียว โดยที่ขงเบ้งใช้จูล่งในการรบหลายสิบครั้ง ตั้งแต่ศึกดรั้งแรกที่พกบ๋อง น้ำท่วมแปะโห ศึกยุทธนาวีเซ็กเพ็ก ช่วยอาเต๊า ปราบเบ้งเฮ็กอ๋องแห่งม่าน และอื่นๆอีกมากมาย เมื่อจูล่งเสียชีวิตถึงกับบอกว่าจูล่งตายแล้วเสมือนแขนข้าหักไปข้างหนึ่ง
บังทองเป็นเพื่อนสนิทของขงเบ้งตั้งแต่สมัยเรียน โดยที่สุมา-เต็กโช ปราชญ์ในสมัยนั้นยกย่อง 2 คนนี้ว่า เป็นดัง มังกรซุ่ม-ฮกหลง และ หงส์ดรุณ-ฮองซู ซึ่งฮองซูคือบังทองนี่เอง ตัวขงเบ้งยังยกย่องว่าบังทองฉลาดกว่าตน 10 เท่า ในครั้งที่จิวยี่ตายขงเบ้งได้ไปพบกับบังทองเพื่อชักชวนไปทำงานกับเล่าปี่ เมื่อบังทองได้รับราชการกับเล่าปี่ และได้เป็นทัพหน้าในการตีเมืองเสฉวน ระหว่างการรบ ขงเบ้งได้ส่งจดหมายมาเตือนเล่าปี่ว่า ดาวศุกร์ขึ้นเหนือเมืองลกเสีย เป็นลางว่าจะเกิอันตรายกับแม่ทัพคนสำคัญ เล่าปี่จะยกทัพกลับ แต่บังทองคิดว่าขงเบ้งอิจฉาที่ตนกำลังจะได้ผลงาน จึงห้ามมิให้เล่าปี่ถอยทัพกลับ จนในที่สุดบังทองจึงเสียชีวิตที่เนินหงส์ร่วง เมื่อขงเบ้งทราบข่าวการตายของบังทองก็ร้องไห้อาลัยในตัวบังทอง
จิวยี่กับขงเบ้งได้ร่วมมือกันวางอุบายเผาทัพเรือโจโฉที่เซ็กเพ็ก แต่จิวยี่จึงคิดกำจัดขงเบ้งอยู่ตลอดเวลา คิดว่าขงเบ้งต้องเป็นภัยต่อกังตั๋ง จึงพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อกำจัดขงเบ้ง แต่ขงเบ้งก็รู้ทันทุกครั้ง จิวยี่แค้นใจมากจนกระอักเลือดตาย ในงานศพจิวยี่ ขงเบ้งได้ไปร้องไห้แสดงความอาลัยอาวรณ์ต่อจิวยี่
[แก้] สิ่งประดิษฐ์ของขงเบ้ง
ขงเบ้งนอกจากจะเป็นยอดนักวางแผนแล้วยังเป็นยอดนักประดิษฐ์อีกด้วย สิ่งประดิษฐ์ส่วนใหญ่ของขงเบ้งใช้เพื่อการสงคราม มีดังต่อไปนี้
- หน้าไม้กล สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ถูกใช้หลังจากขงเบ้งตายไปแล้ว ขงเบ้งเพียงออกแบบเท่านั้น และนำแบบร่างให้เกียงอุยไปจัดการทำ กล่าวกันว่าหน้าไม้นี้สามารถยิงได้ครั้งละ 10 ดอก
- โคยนตร์ ขงเบ้งประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในการขนส่งเสบียง
- โคมลอย ใช้สำหรับบอกตำแหน่งทางการทหาร เรียกกันทั่วไปว่า โคมขงเบ้ง(Konming lantern)
[แก้] ข้อมูลอื่น ๆ
นับแต่โบราณกาล ที่ปรึกษาทางการเมืองที่ปราดเปรื่องมักจะมีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน ที่ปรึกษาทางการเมืองที่อาจเทียบเคียงได้กับขงเบ้งมีดังนี้ คือ
1. หลี่ซือ ในรัชกาลจิ๋นซีฮ่องเต้
2. เตียวเหลียง ที่ปรึกษาของเล่าปัง ซึ่งมีบทบาทในการสถาปนาราชวงศ์ฮั่นของฮั่นโกโจฮ่องเต้
3. ขวันต๋ง (กว่านจ้ง) กว่านจ้ง ชื่อรอง จิ้งจ้ง เป็นชาวอิ่งซ่าง เมื่อครั้งยังหนุ่มเคยทำการค้ากับเป้าซูหยา มักแบ่งกำไรไปมากกว่าและเคยออกความคิดเห็นผิดพลาดทำให้เป้าซุหยาขาดทุน เมื่ออายุมากขึ้นรับราชการก็ไม่ประสบความสำเร็จ เคยรบแพ้ในการศึกหลายครั้ง ต่อมาอยู่กับกงจื่อจิว เป้าซุหยาอยู่กับกงจื่อเสี่ยวไป๋ จิวกับเสี่ยวไป๋แย่งกันเป็นเจ้านครรัฐ กว่านจ้งเคยยิงธนุใส่เสี่ยวไป๋แต่พลาดไปถูกตะขอเข็มขัด ต่อมาเสี่ยวไป๋ได้เป็นเจ้านครรัฐคือ ฉีหวนกง ฉีหวนกงทำตามคำแนะนำของเป้าซูหยา ละความแค้นส่วนตัว ตั้งกว่านจ้งเป็นมนตรีบริหารราชการ กว่านจ้งทอดถอนใจกล่าวว่า “ผู้ให้กำเนิดข้าคือบิดามารดา ผู้รู้ใจข้าคือเป้าซูหยา” คนยุคหลังเรียกรวมกันว่า “กว่านเป้า” หลังจากกว่านจ้งกุมอำนาจก็ดำเนินการปฏิรูปการปกครอง เตรียมกองทัพสำรอง พัฒนาการผลิต การค้า และการออมทรัพย์ นครรัฐฉีมั่งคั่งขึ้นอย่างรวดเร็ว กำลังทหารเข้มแข็ง ราษฏรมีความเป็นอยู่ดี “ยุ้งฉางบริบูรณ์ย่อมรู้การประเพณี กินอยู่อุดมย่อมแจ้งในเกรียติและความอัปยศ” วัฒนธรรมต่างๆเจริญก้าวหน้าขึ้น กว่านจ้งชูนโยบาย “เทิดทูนกษัตริย์ขจัดอนารยชน” ทำให้นครรัฐฉีเกรียงไกร 681 ปีก่อน ค.ศ. นครรัฐฉีเอาชนะนครรัฐลู่ได้ ทั้งสองนครรัฐทำสัญญากันที่เคอ เฉามั่วขุนศึกรัฐลู่จับตัวฉีหวนกงได้ บังคับให้ฉีหวนกงคืนดินแดนที่ตีจากนครรัฐลู่ไป ต่อมากว่านจ้งขอให้ฉีหวนกงทำตามสัญญา เป็นการแสดงแก่เจ้านครรัฐว่าเป็นผู้รักษาวาจาสัตย์ 679 ปีก่อน ค.ศ. เหล่าเจ้านครรัฐประชุมกับนครรัฐฉีที่เจิน ฉีหวนกงได้รับการยกย่องเป็นเดชาธิราช 663 ปีก่อน ค.ศ. นครรัฐฉียกพลขึ้นเหนือรบกับซานหญงเพื่อช่วยนครรัฐเยียน 665 ปีก่อน ค.ศ. ยกพลไปปราบรัฐฉู่ในข้อหามิถวายหญ้าบรรณาการแก่กษัตริย์โจว(เป็นหญ้าที่ใช้กรองสุราเอ ากากออกในพิธีเซ่นไหว้) 661 ปีก่อน ค.ศ. ฉีหวนกงประชุมกับเหล่าเจ้านครรัฐที่ขุยชิว สองครั้ง พระเจ้าโจวเซียงหวางส่งราชทูตมาเข้าร่วมด้วย และรับรองฐานะเดชาธิราชของนครรัฐฉี 648 ปีก่อน ค.ศ. กว่านจ้งยกพลไปรบต่อต้านหญงตี๋ให้โจวหวาง เมื่อรบชนะเข้าเฝ้าโจวหวางด้วยฐานะขุนนางชั้นล่าง กว่านจ้งดูแลกิจการนครรัฐสี่สิบปี 645 ปีก่อน ค.ศ. ก็ล้มป่วยและเสียชีวิตลง ก่อนตายได้ขอให้ฉีหวนกงตั้งรัชทายาทเพื่อป้องกันความวุ่นวานภายใน นับแต่นั้นนครรัฐฉีก็ใช้ระเบียบที่กว่านจ้งตั้งไว้ จึงคงความเข้มแข็งได้เป็นเวลานาน
4. งักเย่(เล่ออี้) เล่ออี้นั้น เป็นชาวแคว้นเว่ย เมื่อครั้งที่ เอี้ยนเจาหวาง ประกาศหาตัวผู้มีควาสามารถนั้น เล่ออี้คือหนึ่งในผู้ที่มาเข้าด้วยกับแคว้นเอี้ยน ขณะนั้นแคว้นเอี้ยนเป็นแคว้นเล็กซึ่งโดนแคว้นฉี ซึ่งเป็นแคว้นใหญ่รุกรานอยู่เป็นประจำ เมื่อเล่ออี้ได้เข้ามาแคว้นเอี้ยนแล้ว ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นถึงแม่ทัพใหญ่ 286 ปีก่อนค.ศ. แคว้นฉีทำลายแคว้นซ่ง ทำให้แคว้นอื่น ๆต่างพากันหวาดหวั่นไปทั่ว ดังนั้นแคว้นฉินจึงริเริ่มความคิดให้แคว้นฉิน ฉู่ เว่ย เจ้า หาน เยียน ทั้งหมด 6 แคว้นรวมกำลังกันยกทัพไปโจมตีแคว้นฉี หลังจากสหพันธ์หกทัพตีทัพฉีพ่ายแล้ว เนื่องจากเกิดความขัดแย้งภายในกันเอง ห้าแคว้นจึงสลายทัพกลับแคว้นตน แต่ทัพเยียนกลับบุกแคว้นฉีต่อไปภายใต้การนำของเล่ออี้ ไม่นานทัพเยียนก็ตีเมืองหลินจือ อันเป็นเมืองหลวงของแคว้นฉีแตก ฉีหมิ่นหวาง (กษัตริย์แคว้นฉี) หลบหนีไปยังเมืองจวี่ และถูกขุนพลแคว้นฉู่สังหารตาย ด้วยความดีความชอบครั้งนี้ ทำให้เล่ออี้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นชางกั๋วจวิน (เจ้าเมืองชาง) เล่ออี้อยู่ในแคว้นฉี 5 ปี ตีเมืองแตกไป 70 กว่าเมือง แคว้นฉีหลงเหลือเพียงเมือง จวี่ และเมือง จี๋ม่อ 2 เมืองเท่านั้นที่ไม่ถูกตีแตก เมื่อเล่ออี้ ตีแคว้นฉีแตก เถียนตานซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ฉีและคนในตระกูลหลบหนีไปยังเมืองอานผิง เมื่อเมืองอานผิงแตก เขาก็ได้ใช้ให้คนในตระกูลหักปลายเพลารถให้หมด แล้วใช้เหล็กหุ้มแทน ทำให้รถทนทานและแล่นได้สะดวกขึ้น จึงรอดจากการถูกทหารเยียนจับเป็นเชลยไปได้ เดินทางมุ่งตะวันออกสู่เมืองจี๋ม่อ เจ้าเมืองจี๋ม่อตายในสงคราม เถียนตานถูกยกให้เป็นขุนพล รบป้องกันจี๋ม่อจากแคว้นเยียน เยียนฮุ่ยหวางครองราชย์ เถียนตานได้ยินข่าวว่าเล่ออี้เกิดการขัดแย้งกับเยียนฮุ่ยหวาง ก็จัดการส่งสายลับไปยุให้แตกกัน ทำให้เยียนฮุ่ยหวางส่งฉีเจี๋ยไปเป็นแม่ทัพใหญ่แทนเล่ออี้ เล่ออี้จึงต้องหลบหนีไปยังแคว้นจ้าว หลังจากเล่ออี้จากไปแล้ว ระเบียบวินัยของทหารแคว้นเยียนเปลี่ยนเป็นหย่อนยาน ปล้นสะดมไปทั่ว ชาวแคว้นฉี่พากันลุกฮือขึ้นต่อต้าน ขุนพลแคว้นฉี เถียนตาน ฉวยโอกาสที่ทัพเยียนเกิดความวุ่นวายวางแผนตีทัพเยียนพ่ายที่เมืองจี๋ม่อภายใต้การสนั บสนุนของชาวบ้านแคว้นฉี ทัพเยียนแตกพ่ายยับเยินล่าถอยกลับไป ทัพฉีชิงเอาเมืองที่ถูกตีไปทั้งหมดกลับคืนมาได้
5. เกงสง (หลี่ว์ซ่าง) หลี่ว์ซ่าง มีอีกนามหนึ่งว่าเจียงซ่าง อีกชื่อว่าจื่อหยา(คือเจียงจื่อหยาในพงศาวดารห้องสิน) เป็นชาวตงไห่ เล่ากันว่า หลี่ว์ซ่างตกปลาอยู่ริมแม่น้ำเว่ย เผอิญโจวเหวินหวางออกมาล่าสัตว์จึงพบเข้า ทั้งสองสนทนากันเป็นที่ถูกคอ โจวเหวินวางกล่าวกับหลี่ว์ซ่างว่า ปู่ของพระองค์จะมีปราชญ์มายังโจวและช่วยให้โจวรุ่งเรือง เห็นทีว่าหลี่ว์ซ่างจะเป็นปราชญ์ผู้นั้น นับแต่นั้นเรียกหลี่ว์ซ่างว่า “ไท่กงวั่ง” หรืออีกนาม หลี่ว์วั่ง ต่อมาชนรุ่นหลังเรียกว่า เจียงไท่กง โจวเหวินหวางตั้งหลี่ว์ซ๋างเป็นพระราชครู หลี่ว์ซ่างสอนให้โจวเหวินหวางปกครองโดยธรรมเพื่อชนะใจราษฎร จากนั้นก็เสนอให้ยกทัพไปล้มมี่ซวี เฉี่ยนอี่ ฉง และนครรัฐอื่นๆ ขยายพื้นที่ออกไปเรื่อยๆ ทำให้พื้นที่ตกเป็นของโจวถึงสองในสาม ต่อมาโจวเหวินหวางสิ้น โจวอู่หวางตั้งหลี่ว์ซ่อเป็น “ซือซ่างฟู่” (ซือซ่างเป็นตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ ฟู่เป็นคำยกย่อง” ปีถัดมา ทัพโจวเคลื่อนขบวน หลี่ว์ซางประกาศว่า หากผู้ใดไปถึงช้าจะถูกประหาร เมื่อทัพโจวมาถึงท่าเมิ่งจิน เหล่าเจ้าผู้ครองแคว้นต่างๆก็ยกพลมาช่วยโดยมิได้นัดหมาย ท่านเมิ่งจินจึงได้ชื่อว่าเป็น “ท่าสัมพัทธมิตร” เป็นจุดประกาศว่าเอาใจออกห่างซางมาขึ้นด้วยโจว ครั้งนี้โจวอู่หวางยกทัพกลับโดยมิได้รบจริง สองปีต่อมาหลี่ว์ซ่างและจีตั้น เสอนให้โจวอู่หวางกรีธาทัพไปปราบซาง ก่อนเดินทางมีการทำนายด้วยหญ้าและกระดองเต่า ผลคือเคราะห์มากกว่าโชค ขุนนางทั้งหลายพากันวิตก หลี่ว์ซางร้องด่าว่า “กระดองแห้งหญ้าเหี่ยวจะรู้โชคชะตาได้อย่างไร” ว่าแล้วก็โนของทำนายทิ้งและยกพลไปก่อน ทำให้โจวอู่หวางตัดสินพระทัยเด็ดขาดและเชื่อมั่นในการศึก ทัพโจวโรมรันกับทัพซางที่ทุ่งมู่เหยี่ย หลี่ว์ซ่างนำทหารหาญไปท้ารบกับซางด้วยตนเอง โจวอู่หวางยกทัพใหญ่ตามมา โจ้วหวางเผาพระองค์สวรรคต ราชวงศ์ซางล่มสลาย ความชอบในการศึกษาของหลี่ว์ซ่างเป็นที่สรรเสริญของชาวโจว มีบทกวีสือทอดมาจนถึงปัจจุบัน ครั้นสถาปนาแผ่นดินสำเร็จ หลี่ว์ซ่างก็ทูลขอให้โจวอู่หวางถ่อมพระองค์ระมัดระวัง เห็นแก่คุณธรรมเหนือผลประโยชน์ ปกครองบ้านเมืองโดยเมตตาธรรม โจวอู่หวางเห็นว่าหลี่ว์ซ่างมีความชอบมาก จึงตั้งให้หลี่ซ่างครองนครรัฐฉี ( อยู่ในมณฑลซานตง ) ต่อมาในรัชกาลพระเจ้าโจวเฉิงหวาง หลี่ว์ซ่างก็ได้ช่วยจีตั้นหรือโจวกงปราบกบฏ อู่เกิง โจวเฉิงหวางจึงมีพระราชโองการให้นครรัฐฉีมีอำนาจในการปราบเจ้าผู้ครองนครรัฐที่มีควา มผิด นับแต่นั้นนครรัฐฉีก็เริ่มเข็มแข็ง หลี่ว์ซ่างปกครองนครรัฐฉีอย่างดี ให้รางวัลและลงโทษชัดเจน ทั้งพัฒนาการประมง เกลือและหัตถกรรม ทำให้นครรัฐฉีมีฐานะมั่งคั่ง เล่ากันว่าหลี่ซ่างอายุยืนถึงร้อยกว่าปี หลังถึงแก่กรรมแล้วศพฝังไว้ที่เฮ่าจิง (ทิศตะวันตกของเมืองซีอานมณฑลส่านซีในปัจจุบัน ) ใกล้กับสุสานโจวอู่หวาง
6. จางเหลียง มีชื่อรองว่า จื่อฝัง เป็นชาวเฉินฟู่ บรรพบุรุษเป็นอัครมหาเสนาบดีของรัฐหานถึงห้าชั่วคนจนถึงรุ่นบิดาของจางเหลียง ต่อมาฉินกลืนกินหกนครรัฐ จางเหลียงต้องการล้างแค้นจึงหามือสังหารไปโยนลูกตุ้มตีรถพระที่นั่งของฉินสื่อหวง ที่ปั๋วซา แต่พระเจ้าฉินสื่อหวงอยู่รถอีกคันหนึ่ง แผนการจึงล้มเหลว มือสังหารฆ่าตัวตาย ส่วนจางเหลียงหนีไปถึงเซี่ยพี เล่ากันว่า ขณะอยู่ที่เซี่ยพี จางเหลียงได้ตำราพิชัยสงครามไท่กงจากผู้เฒ่าเสื้อเหลือง นับแต่นั้นก็ค้นคว้าตำรานั้นถึงสิบปี ทั้งได้รู้จักกับเซี่ยงปั๋ว ซึ่งหนีมาอยู่เซี่ยพีพอดี เซี่ยงปั๋วผู้นี้เป็นอาของเซี่ยวอวี่ ซึ่งต่อมาเป็นฉู่ป้าหวาง ครั้นเกิดกบฎเฉินเซิ่ง จางเหลียงรวบรวมสมัครพรรคพวกได้ร้อยกว่าคน เตรียมเข้าร่วมกับกองทัพกบฎ ได้พบหลิวปังที่อำเภอหลิว จึงเข้าด้วยกับหลิวปัง ต่อมาเซี่ยงอวี่ตั้งบุตรเจ้านครรัฐหานเป็นหานหวาง ให้จางเหลียงเป็นสมุหนายกของหานหวาง แต่ไม่นานจางเหลียงก็กลับมาอยู่ด้วยกับหลิวปังอีก และตามหลิวปังเคลื่อนทัพสู่นครเสียนหยาง เมื่อทัพหลิวปังมาถึงด่านเหยากวาน จางเหลียงเสนอว่า แม่ทัพรัษาด่านเดิมเป็นคนฆ่าสัตว์ อาจล่อได้ด้วยผลประโยชน์ ให้หลิวปังเสียบธงไว้ทั่วเขาเป็นการลวง พร้อมกันนั้นก็ส่งคนเอาเพชรนิลจินดาไปให้ นายทหารรักษาด่านตกลงยอมจำนน จางเหลียงก็กลับเสนอให้ฉวยโอกาสที่ทัพฉินคลายความระมัดระวังบุกเข้าโจมตี หลิวปังยกทัพอ้อมด่านเหยากวาน ตีทัพฉินแตกที่หลายเถียน เคลื่อนสู่นครเสียนหยาง ฉินหวางจื่ออิงยอมสยบ พระราชวังฉินอันหรูหราทำให้หลิวปังหวั่นไหว คิดจะเข้าเสพสุขด้วยสมบัติและหญิงงาม แม่ทัพฝานไคว่คัดค้าน หลิวปังก็ไม่เชื่อ จางเหลียงจึงกล่าวว่า “ราชสำนักฉินไร้คุณธรรม ท่านเพิ่งมาถึงที่นี่และกำจัดโจรชั่วได้ ไม่ควรรีบเสพสุข คำตรงระคายหูดีต่อการกระทำ ยาขมขื่นคอดีต่อโรค ความเห้นของฝานไคว่นั้นชอบแล้ว” หลิวปังจึงตัดสินใจตั้งค่ายริมแม่น้ำป้าสุย ทั้งเลิกกฎหมายทารุณของราชวงศ์ฉิน ให้มีกฎหมายเบื่องต้นเพียงสามข้อ และส่งพลรักษาด่านหันกู่กวานไว้ ไม่นาน เซี่ยงอวี่ก็ยกพลจำนวนมหาศาลเข้าด่านได้ ครั้นมาถึงหงหมินก็คิดจะกำจัดหลิวปังเสีย ตกดึกเซี่ยงปั๋วลอบไปเตือนจางเหลียงให้หนีไป จางเหลียงไม่ยอมทิ้งหลิวปังทั้งพาเซี่ยงปั๋วไปพบหลิวปัง หลิวปังขอให้เซ่ยงปั๋วพูดกับเซี่ยงอวี่ให้ วันต่อมาเซี่ยงอวี่เชิญหลิวปังไปร่วมงานเลี้ยงตอนกลางวัน หมายจะกำจัดหลิวปังเสีย แต่จางเหลียงและขุนศึกคนอื่นๆช่วยจนหลิวปังพ้นอันตราย แม่เสร็จเรื่องจางเหลียงตามหานหวางกลับไป ต่อมาหานหวางถูกเซี่ยงอวี่ฆ่าตาย จางเหลียงจึงกลับมาอยู่กับหลิวปังอีก จางเหลียงร่ายกายอ่อนแอ มีโรคมาก ทั้งหน้าตาคล้ายสตี ระหว่างที่ฉู่และฮั่นแย่งชิงความเป็นใหญ่แม้มิได้ออกศึก แต่ก็ช่วยบอกอุบายจนรบชนะหลายครั้ง หลังสงครามหลิวปังยกย่องจางเหลียงว่า “วางอุบายในกระโจม กำหนดชัยชนะห่างไกลพันลี้” ตั้งจางเหลียงเป็นหลิวโหว หลิวนั้นเป้นสถานที่ที่สองข้าเจ้าได้พบกันเป็นครั้งแรก จางเหลียงเองก็กล่าวว่า อาศัยลิ้นสามนิ้วเป็นครูของจักรพรรดิ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์และศํกดินา นับเป็นความสำเร็จสูงสุดแล้ว จางเหลียงไม่ยึดติดในลาภยศ เมื่อแผ่นดินสงบก็หวังจะได้บำเพ็ญพรต แต่เนื่องจากมีความชอบในการช่วยให้รัชทายาทหลิวอิ๋งรักษาตำแหน่งได้มั่นคง หลี่ว์โฮ่วหรือพระนางหลี่ว์จึงซาบซึ้งบุญคุณยิ่ง เมื่อพระเจ้าฮั่นเกาจู่สวรรคต หลี่ว์โฮ่วก็ยิ่งวางพระทัยจางเหลียง ไม่ยอมให้จากราชสำนักไป จางเหลียงถึงแก่กรรมในปีที่สอง แห่งรัชกาลพระนางหลี่ว์ (186 ปีก่อน ค.ศ.)
7. โซจิ๋น เตียวยี่ นักปราชญ์ และวาทศิลป์ในยุคเลียดก๊ก