See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา - วิกิพีเดีย

โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

ภาพ:ACN150Logo.jpg
LABOR OMNIA VINCIT

โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา (อังกฤษ: Assumption College Nakhonratchasima) (อักษรย่อ: อสช, ACN) เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ของจังหวัดนครราชสีมา ก่อตั้งโดยโดยมูลนิธิคณะภราดาเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1967 (พ.ศ. 2510) เป็นโรงเรียนลำดับที่ 13 ของมูลนิธิคณะภราดาเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย

โรงเรียนอัสสัมชัญ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 3 ถนน เซนต์เมรี่ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา เป็นโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะภราดาเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำเนิดและดำเนินการสอนสืบเนื่องมา โดยนักบุญหลุยส์ มารี กรีญอง เดอ มงฟอร์ต ได้สถาปนาขึ้น ในปี ค.ศ. 1705 (พ.ศ. 2248) ณ ประเทศฝรั่งเศส มีจุดมุ่งหมายแรกเริ่มที่จะสอนให้เยาวชนอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น และมีหลักศาสนาเป็นแนวทางให้ประพฤติตนเป็นคนดี เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นก่อนประถมศึกษา ถึง มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมุ่งมั่นพัฒนาเยาวชนไทยให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของนักบุญหลุยส์มารี กรีญอง เดอ มงฟอร์ต

ในปี พ.ศ. 2509 คณะภราดาเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ได้รับเชิญจากมุขนายก อาแลน วังกาแวร์ แห่งสังฆมณฑลจังหวัดนครราชสีมา ให้มาเปิดโรงเรียนสายสามัญขึ้นในจังหวัดนครราชสีมา โดยยกที่ดินให้ดำเนินการ 51 ไร่ 26.5 ตารางวา ณ บ้านเลขที่ 3 ถนนเซนต์เมรี่ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการให้เปิดการสอนได้เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2510 ในสมัย ภราดาอำนวย ปิ่นรัตน์ ดำรงตำแหน่งอธิการเจ้าคณะแขวงประเทศไทย ซึ่งท่านได้แต่งตั้งให้ ภราดาซีเมออน เปอร์ติโต เป็นอธิการคนแรกในปีดังกล่าวโรงเรียนเริ่มเปิดสอน 8 ห้องเรียน มีครู 13 คน และนักเรียน 330 คน

ปีการศึกษา 2512 ภราดาอารมณ์ วรศิลป์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอธิการคนต่อมา โรงเรียนได้ขยายชั้นเรียนมาเป็น 21 ห้องเรียน มีครู 25 คน และนักเรียน 684 คน ในสมัยของภราดาอารมณ์ วรศิลป์ ได้มีการก่อสร้างโรงอาหารเสร็จสมบูรณ์และเริ่มก่อสร้างอาคารเรียนที่ 2

ในปีการศึกษา 2515 ในสมัยของท่านอธิการ ภราดาเลอชัย ลวสุต ได้ขยายชั้นเรียนเป็น 28 ห้อง มีครู 40 คน และนักเรียน 1,092 คน ได้สร้างอาคารเรียนที่ 2 ( อาคารคาเบรียล ) จนเสร็จสมบูรณ์

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2524 เป็นต้นมาโรงเรียนได้เจริญก้าวหน้าขึ้นในทุก ๆ ด้าน โดยได้รับรองวิทยฐานะในปี 2525 ได้ขยายนักเรียนครบทุกระดับชั้นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 และเริ่มรับสมัครนักเรียนหญิง ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในปี 2526 มีนักเรียนประมาณ 2,000 คน ครู 94 คน และนักเรียน 47 ห้อง

ในปีการศึกษา 2526 ในสมัยของอธิการ ภราดาสุรสิทธิ์ สุขชัย ได้มีการก่อสร้างอาคารสัพพัญญูเพื่อให้มีห้องเสริมหลักสูตร และห้องกิจกรรมต่างๆ เพื่อจะได้จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรใหม่ในสมัยนั้น งบประมาณของอาคารสัพพัญญูนั้น ได้รับความอนุเคราะห์จากมูลนิธิเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย นักเรียนและผู้ปกครองตลอดทั้งผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป

ปีการศึกษา 2547 ปัจจุบันภราดา ดร.พีระนันท์ นัมคณิสรณ์ รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน มีคณะภราดาร่วมบริหาร 2 ท่าน คือ ภราดาอนุชา การุณย์ภรต และภราดาทินกร บุญสว่าง จัดการศึกษาโดยเน้นที่การเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียนในทุกด้านด้วยวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมการเมืองและเศรษฐกิจในบรรยากาศที่เอื้อต่อการจัดการศึกษา ด้านการบริหารเน้นให้ครูมีส่วนร่วมและปฏิบัติหน้าที่ที่สอดคล้องกับจริยธรรม ส่งเสริมให้นักเรียนรับผิดชอบต่อตนเอง และทำประโยชน์เพื่อสังคม รู้จัก แสวงหา พัฒนาความรู้ด้วยตนเอง ตั้งอยู่ในกรอบแห่งวินัยในตนเอง ให้มีความวิริยะ อุตสาหะในการทำงาน

[แก้] ชื่อ "อัสสัมชัญ"

แรกเริ่มโรงเรียนของคุณพ่อกอลมเบต์ (บาทหลวงเอมิล กอลมเบต์)ได้ใช้ชื่อเป็น ภาษาฝรั่งเศส "Le College De L'Assomption" ซึ่งคุณพ่อได้ใช้ชื่อในภาษาไทยว่า "โรงเรียนอาซมซาน กอเล็ศ" แต่คนทั่ว ๆ ไปมักเรียก และเขียนผิด ๆ กันไปตามถนัด ดังนั้นในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2453 ภราดาฮีแลร์จึงได้มี จดหมายไปยังกระทรวงธรรมการ กรมคึกษา ขอเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "อาศรมชัญ" เพื่อให้เป็นภาษาไทย ตามนโยบายของทางกรมฯ วันที่ 26 กันยายน 2453 พระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ อธิบดีกรมศึกษาก็ได้ตอบกลับมา ว่า ควรเปลี่ยนเป็น"อัสสัมชัญ"เพราะได้เสียงใกล้เคียง ของเดิม และความ หมายก็คงไว้ตาม "อาศรมชัญ" ดังนั้นชื่อ "อัสสัมชัญ" จึงได้เริ่มใช้กัน ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2453 เป็นต้นมา ซึ่งคำๆนี้ให้เสียงเป็นคำไทย และ คล้ายกับภาษาอังกฤษว่า "Assumption" ซึ่งทั้งคำแปลก็เหมาะ สมที่จะเป็นชื่อ ของโรงเรียน โรงสวดกุฏิที่ถือศีลเป็นอันมากเพราะคำว่า "อัสสัมชัญ" ก็ได้แก่ ศัพท์ในภาษาบาลี มคธว่า "อัสสโม" แผลงเป็นไทยว่า "อาศรม" ซึ่งหมายความถึง "กุฏิที่ถือศีลกินพรต" ส่วนคำว่า "ชัญ" ก็ จะแยกตาม ชาติศัพท์เดิม ก็ได้แก่ ่ธาตุศัพท์ว่า"ช" ซึ่งแปลว่า เกิด และ "ญ" ซึ่งแปลว่าญาณ ความรู้ รวมความได้ว่า "ชัญ" คือที่สำหรับเกิด ญาณความรู้ ครั้นรวมสองศัพท์ มาเป็นศัพท์เดียวกันแล้ว ได้ว่า "อัสสัมชัญ" คือ "ตำแหน่งที่สำหรับระงับบาปและหาวิชาความรู้" นั่นเอง และความหมาย คำว่า อัสสัมชัญ ภาษาอังกฤษ แปลว่า แม่พระได้รับเกรียติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายละวิญญาณ ซึ่งตรงกับวันที่ 15 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันหยุดของโรงเรียนอัสสัมชัญ ทุกปี

ตึกสัพพัญญู
ตึกสัพพัญญู

[แก้] สิ่งปลูกสร้างภายในโรงเรียน

1. ตึกอัสสัมชัญ(2510) เป็นตึกสีขาว 2 ชั้น เป็นตึกแรกสุดของโรงเรียน เป็นตึกที่จะเห็นได้เมื่อเข้าไปในบริเวณโรงเรียน เป็นที่ทำการของแผนกธุรการ และการเงิน,ประชาสัมพันธ์ บนชั้น 2 เป็นห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1,2 ห้อง internet และห้องสมุดครู

2. ตึกมงฟอร์ต (2519) เป็นตึก 2 ชั้นสีขาว มีรูปปั้นนักบุญหลุยส์มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต อยู่หน้าตึก ตึกมงฟอร์ต เป็นตึกเรียนหลักของระดับชั้น ม.ปลาย ด้านล่างเป็นแผนกปกครอง และ Stationery เชื่อมต่อกับตึกสัพพัญญู และ ศาลารุ่น 5

3. ตึกคาเบรียล (2515) เป็นตึก 3 ชั้น เป็นอาคารเรียนของระดับ ม.ต้น และบางส่วนของ อัสสัมชัญแผนกประถม

4. ตึกสัพพัญญู (2526) เป็นตึก 5 ชั้น ชั้นล่างเชื่อมต่อกับ ตึกมงฟอร์ต และทางชั้น 2เชื่อมต่อกับตึกคาเบรียล ปัจจุบันชั้นล่าง ของตึกสัพพัญญู เป็นห้องพักครู แผนกวิชาการฝ่ายมัธยม ห้องโสต ชั้นอื่นๆ เป็นห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา ฟิสิกส์ และเคมี ห้องปฏิบัติการทางภาษา ชั้นบนสุดเป็นห้องประชุม นอกจากนี้ ชั้นใต้ดินของตึกสัพพัญญูยังใช้เป็นห้องสมุดอีกด้วย

5. ตึกหิรัญญสมโภช (2534) เป็นที่ทำการของแผนกอนุบาล และห้องพยาบาล รวมทั้งแผนกประถมบางส่วน

6. ตึกสมาคมศิษย์เก่า (2535) เป็นตึกที่อยู่หน้าสุดของโรงเรียน เป็นที่ทำการของ สมาคมศิษย์เก่า สมาคมผู้ปกครองและครู

7. ยิมเนเซียม ซีเมออน (2540) ตั้งชื่อเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ ภราดา ซีเมออน เปอร์ติโต้ เป็นโรงยิมขนาดใหญ่ ใช้ประกอบศาสนกิจและใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ ด้วย

8. หอพักเซนต์หลุยส์ (2539) ใช้เป็นหอพักของนักเรียนประจำชาย

9. สระว่ายน้ำอัสสัมชัญ (2544) เป็นสระว่ายน้ำขนาด 25 เมตร และชั้นล่างเป็น Minimart

10. ตึกอาแลง วังกาแวร์ (2546) เป็นอาคารเรียนและที่ทำการของ แผนก English Program ทุกระดับชั้น

[แก้] ความหมายของตราประจำโรงเรียน

เครื่องหมายโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมามีลักษณะ เป็นตราโล่ (Arm)สีแดงคาดสีขาวตรงกลาง
มีตัวอักษร ACN สีน้ำเงินไขว้กันอยู่ตรงกลาง และปีคริสต์ศักราช 1967 สีนำเงินอยู่ใต้ตัวอักษร ซึ่งเป็นปีที่ก่อตั้งโรงเรียน

ความหมาย
ตราโล่ คือ เครื่องป้องกันศาสตราวุธทั้งปวง
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญในการต่อสู้อุปสรรคต่างๆ
ACN ย่อมาจาก ASSUMPTION COLLEGE NAKHONRATCHASIMA

สีที่ปรากฏบนโล่ยังเตือนใจให้รำลึกถึงชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์


[แก้] บุคคลที่มีชื่อเสียงที่จบจากโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

  • แสงชัย อภิชาติธนพัฒน์ - ประธานกรรมการบริษัท ฟาติมาบรอดคาสติ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
  • สส.บุญจง วงไตรรัตน์ (ACN 2355) - สส.นครราชสีมา (พรรคไทยรักไทย)
  • ธำรงศักดิ์ หงษ์ขุนทด - อัยการจังหวัดบุรีรัมย์
  • วุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย (ACN 1577) - อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา
  • นิพนธ์ เสงี่ยมศักดิ์ (ACN 352) - นักเขียนการ์ตูน(นิค ขายหัวเราะ)


[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -