จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โยฮันเนส บราห์ม (Johannes Brahms 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2376 - 3 เมษายน พ.ศ. 2440 พ.ศ. 2440) เป็นคีตกวีและวาทยกรชาวเยอรมัน หลายคนยกย่องเขาในฐานะทายาททางดนตรีของเบโทเฟน และซิมโฟนีบทแรกของเขาได้รับการยกย่องจาก ฮันส์ ฟอน บูดโลว ว่าเป็นซิมโฟนีบทที่ 10 ของเบโทเฟน
[แก้] ชีวประวัติและผลงาน
โยฮันเนสเกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2376 (ค.ศ. 1833) ที่นครฮัมบูร์กประเทศเยอรมนี
บิดาของบราห์มเป็นนักเล่นคอนทราเบสและยังเป็นครูดนตรีคนแรกของเขาอีกด้วย บราห์มได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถมากอันโดดเด่นเกินวัย สนใจเครื่องดนตรีทุกประเภท ครูดนตรีคนสำคัญของเขาได้แก่เอ็ดวาร์ด มาร์กเซ็น ได้สอนเขาอย่างตั้งอกตั้งใจ ด้วยความหวังที่ว่าเขาจะกลายเป็นนักเปียโนเอกในอนาคต โดยได้สนอเทคนิคการเล่นของ บาค โมซาร์ท และเบโทเฟน ซึ่งกลายเป็นที่จดจำของบราห์มไปตลอด โดยมิได้ทำลายพรสวรรค์ทางการสร้างสรรค์ของศิษย์
ความสามารถทางการเล่นเปียโนของเขาได้ทำให้เขาได้รับเกียรติเซ็นสัญญาเป็นนักดนตรีอาชีพครั้งแรก ที่ผับแห่งหนึ่งในนครฮัมบูร์ก ตั้งแต่มีอายุได้เพียงสิบสามปี
ในปีพ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) บราห์มได้ออกตระเวนเปิดการแสดงกับเพื่อนนักไวโอลิน ชื่อเอ็ดวาร์ด เรเมนยี ซึ่งทำให้เขามีโอกาสได้พบกับนักไวโอลินชื่อดังแห่งยุค โยเซ็ฟ โยอาคิม ผู้ซึ่งประทับใจฝีมือของบราห์มมาก และยังได้แนะนำให้เขาได้รู้จักกับ ฟร้านซ์ ลิซท์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งชูมันน์ กับภรรยา คลาร่า ชูมันน์ ซึ่งเขาได้สนิทสนมด้วยเป็นอย่างดี อิทธิพลของชูมันน์ที่มีต่องานของบราห์มนั้นใหญ่หลวงนัก
ระหว่างปี พ.ศ. 2400 (ค.ศ. 1857) ถึง พ.ศ. 2402 (ค.ศ. 1859) เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะนักร้องประสานเสียงประจำวังของเจ้าชายแห่งเด็ตโมลด์ ในช่วงเวลานี้เองที่เขาได้ประพันธ์เซเรนาดสำหรับออเคสตร้าสองบท และคอนแชร์โต้สำหรับเปียโนชื้นแรก
ปีพ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1862) เขาได้เดินทางกลับสู่นครเวียนนา ชื่อเสียงในฐานะนักดนตรีของเขาเพิ่มขึ้น และได้รับการยกย่องให้เป็น ทายาททางดนตรีของเบโทเฟน เพลงสวดเรเคียมของเขาเป็นเครื่องพิสูจน์คำกล่าวนั้นได้เป็นอย่างดี ี ในปีพ.ศ. 2413 (ค.ศ. 1870) เขาได้พบกับวาทยกรฮันส์ ฟอน บูโลว ผู้ซึ่งมีอุปการะคุณต่องานดนตรีของบราห์มเป็นอย่างมากในภายหลัง
ในปีพ.ศ. 2419 (ค.ศ. 1876) บราห์มได้แต่งซิมโฟนีบทแรกสำเร็จ ได้รับการขนานนามว่าเป็นซิมโฟนีบทที่ 10 ของเบโทเฟน ตามคำกล่าวของบูโลว จากนั้นก็มีงานประพันธ์สำหรับวงออเคสตร้าตามมาจำนวนมาก ซิมโฟนีสามบท คอนแชร์โตสำหรับไวโอลิน คอนแชร์โตหมายเลขสองสำหรับเปียโน จนกระทั่งถึงผลงานเอกในช่วงบั้นปลายชีวิต นั่นก็คือบทเพลงสำหรับคลาริเน็ท
งานของบราห์มได้รับอิทธิพลหลากหลาย โดดเด่นด้วยศาสตร์แห่งconterpoint และ โพลีโฟนี ความงดงามของบทเพลงที่เขาประพันธ์อยู่ที่รู)แบบคลาสสิกที่ถูกแต่งแต้มด้วยความถวิลหาของยุคโรแมนติก แต่ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สีสันทางดนตรีอันบรรเจิด ท่วงทำนองที่สร้างสรรค์ และจังหวะทำให้ประหลาดใจด้วยการสอดประสานกัน
เป็นผลงานส่วนตัวของบราห์มที่เปี่ยมด้วยคุณภาพ ซึ่งเราอาจนึกว่าจะเข้าใจยากเมื่อแรกได้ยิน แต่เราก็จะเข้าถึงได้และขาดมันไม่ได้ในที่สุด
นับเป็นหนึ่งในคีตกวีคนสำคัญของประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตก ศพของโยฮันเนส บราห์มได้ถูกฝังไว้ที่สุสานกลางแห่งนครเวียนนา ในส่วนของนักดนตรีคนสำคัญผู้ล่วงลับ
[แก้] ผลงานหลักๆ
[แก้] สำหรับวงออเคสตร้า
- เซเรนาด โอปุสที่ 11 และโอปุสที่ 16
- ซิมโฟนีหมายเลข 1 ในบันไดเสียง เอไมเนอร์ โอปุสที่ 68
- ซิมโฟนีหมายเลข 2 ในบันไดเสียง ดีเมเจอร์ โอปุสที่ 75
- ซิมโฟนีหมายเลข 3 ในบันไดเสียง เอเมเจอร์ โอปุสที่ 90
- ซิมโฟนีหมายเลข 4 ในบันไดเสียง อีไมเนอร์ โอปุสที่ 98
- เพลงโหมโรงสำหรับเทศกาลทางการศึกษา โอปุสที่ 81
- เพลงโหมโรงโศกนาฏกรรม โอปุสที่ 81
- วาริเอชั่นจากหัวข้อของเฮย์เด้น โอปุสที่ 56
- ระบำฮังการี
[แก้] คอนแชร์โต้
- คอนแชร์โต้สำหรับเปียโน หมายเลข 1 โอปุสที่ 15
- คอนแชร์โต้สำหรับเปียโน หมายเลข 2 โอปุสที่ 83
- คอนแชร์โต้สำหรับไวโอลิน โอปุสที่ 77
- ดัลเบิ้ลคอนแชร์โต้สำหรับไวโอลิน และเชลโล่ โอปุสที่ 102
[แก้] แชมเบอร์มิวสิค
- ควินเต็ต สำหรับคลาริเน็ทและเครื่องสาย โอปุสที่ 115
- ทริโอ สำหรับ คลาริเน็ท เชลโล่ และเปียโน โอปุสที่ 114
- เซ็กเต็ตสำหรับเครื่องสาย หมายเลข 1 โอปุสที่ 18
- เซ็กเต็ตสำหรับเครื่องสาย หมายเลข 2 โอปุสที่ 36
- โซนาต้าสำหรับคลาริเน็ตและเปียโน โอปุสที่ 120
- โซนาต้าสำหรับไวโอลินและเปียโน โอปุสที่ 100 โอปุสที่ 108
- โซนาต้าสำหรับเชลโล่และเปียโน หมายเลข 2 โอปุสที่ 99
- ควินเต็ตสำหรับเครื่องสาย หมายเลข 1 โอปุสที่ 88
- ควินเต็ตสำหรับเครื่องสาย หมายเลข 2 โอปุสที่ 111
- ควอเต็ตสำหรับเครื่องสาย หมายเลข 1 และหมายเลข 2 โอปุสที่ 51
- ควอเต็ตสำหรับเครื่องสาย หมายเลข 3 โอปุสที่ 67
- ควอเต็ตสำหรับเปียโนและเครื่องสาย หมายเลข 1 โอปุสที่ 25 หมายเลข 2 โอปุสที่ 26 และหมายเลข 3 โอปุสที่ 60
[แก้] ดนตรีสำหรับขับร้อง
- เรเคียมเยอรมัน โอปุสที่ 45
- Magelone Romanzen (เพลงโรแมนซ์สิบห้าบทแห่งมาเจโลน) โอปุสที่ 33 ; Zigeurnerlieder (เพลงยิปซี), Volskieder (เพลงพื้นบ้าน)
- Rinaldo โอปุสที่ 50
- เพลงขับร้องสี่บท โอปุสที่ 121
- ราปโซดีสำหรับ contralto และออเคสตร้า โอปุสที่ 53
- ทำนองเพลงอีกมากมาย
[แก้] ดนตรีสำหรับบรรเลงเปียโน
บราห์ม ได้แต่งเพลงบรรเลงเปียโนไว้เพียง 12 ชิ้น จากแคตตาล็อกผลงานทั้งหมดรวมกว่า 122 ชิ้น
- โซนาต้าสำหรับเปียโน หมายเลข 1 โอปุสที่ 1
- โซนาต้าสำหรับเปียโน หมายเลข 3 ในบันไดเสียง เอฟไมเนอร์ โอปุสที่ 5
- บาลาดสำหรับเปียโน โอปุสที่ 10
- วาริเอชั่น กับ ฟูเก้ จากหัวข้อของเฮย์เด้น โอปุสที่ 24
- วาริเอชั่น กับ ฟูเก้ จากหัวข้อของปากานีนี โอปุสที่ 35
- เพลงวอลซ์ 16 บท โอปุสที่ 39
- ราปโซดี โอปุสที่ 76
- ราปโซดีสำหรับเปียโน โอปุสที่ 79
- บทเพลงสำหรับเปียโน โอปุสที่ 116 และโอปุสที่ 117
- บทเพลงหกชิ้นสำหรับเปียโน โอปุสที่ 118 และ 119
บราห์มยังได้ประพันธ์เพลงจำนวนหนึ่งไว้สำหรับบรรเลงด้วยเปียโนสี่มือ :
[แก้] ผู้ถ่ายทอดผลงานของบราห์มที่มีชื่อเสียง
- วาทยากร : Carl Schuricht, Bruno Walter, Karel Ančerl, Wilhelm Furtwängler, Arturo Toscanini, Claudio Abbado, Herbert von Karajan
- นักเปียโน : Wilhelm Backhaus, Julius Katchen, Claudio Arrau, Rudolf Serkin, Maurizio Pollini, Radu Lupu
- นักไวโอลิน : Ginette Neveu, Nathan Milstein, Christian Ferras, Josef Suk, Itzhak Perlman
- แชมเบอร์มิวสิค : วงควอเต็ต แห่ง Wienerkonzerthaus, วงควอเต็ตBusch วงควอเต็ตแห่งบูดาเปสต์ วงควอเต็ตAmadeus, วงควอเต็ตAlban Berg
- นักร้องเดี่ยว : Kathleen Ferrier, Hans Hotter, Dietrich Fischer-Dieskau, Jorge Chaminé, Thomas Quastoff, Alexander Kipnis
[แก้] มีเดีย
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
|
โยฮันเนส บราห์ม เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ โยฮันเนส บราห์ม ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |