แอมเพอร์แซนด์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
-
บทความนี้เกี่ยวกับเครื่องหมายวรรคตอน สำหรับซิงเกิลเพลง ดูที่ แอนด์
แอมเพอร์แซนด์ |
---|
& |
เครื่องหมายวรรคตอน |
กิลเลอเมต ( « » ) |
การแบ่งคำ |
มหัตถสัญญา |
การพิมพ์ทั่วไป |
แคเรต ( ^ ) |
การพิมพ์เฉพาะทาง |
กรณฑ์ ( √ ) |
เครื่องหมายไทย |
โคมูตร ( ๛ ) |
แอมเพอร์แซนด์ (&) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า เครื่องหมายแอนด์ คือสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนคำว่า and ในภาษาอังกฤษ มาจากการรวมอักษรของคำในภาษาละติน et แปลว่า "และ"
[แก้] ที่มาของชื่อ
คำว่า แอมแพอร์แซนด์ (ampersand) มีที่มาจากการสะกดผิดของวลี "and per se and" แปลว่า "และ ซึ่งสัญลักษณ์นี้ใช้แทนตัวมันเองว่า และ"[1] สำหรับชาวสกอตเรียกสัญลักษณ์นี้ว่า เอเพอร์แชนด์ (epershand) ซึ่งมีที่มาจาก "et per se and" แปลได้เป็นความหมายเดียวกัน
และมีข่าวลืออีกอย่างหนึ่งกล่าวว่า คำว่า แอมแพอร์แซนด์ มาจากผู้ประดิษฐ์คนหนึ่งที่ชื่อว่า ลินัส แอมเพอร์ (Linus Amper) จึงทำให้เกิด แอนด์ของแอมเพอร์ หรือ แอมเพอร์ส แอนด์ (Amper's And) และอ่านเพี้ยนกันมาเป็น แอมเพอร์แซนด์ ในปัจจุบัน[2]
[แก้] ประวัติ
สัญลักษณ์แอมเพอร์แซนด์สามารถพบได้ในเอกสารยุคโรมันโบราณตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 1 มาร์คุส ทุลลิอุส ทิโร (Marcus Tullius Tiro) ผู้เป็นเลขานุการของซิเซโร (Cicero) มา 36 ปี ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่ประดิษฐ์แอมเพอร์แซนด์ขึ้นใช้เป็นครั้งแรก[3] สัญลักษณ์ในระยะแรกเป็นอักษร E และ T ตัวใหญ่ที่เขียนติดกัน เมื่อเวลาผ่านไปสัญลักษณ์ถูกเขียนให้โค้งมนและต่อเนื่องมากขึ้น เป็นแอมเพอร์แซนด์แบบอิตาลิก (ตัวเอียง)
จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 ศิลปะการคัดลายมือ (calligraphy) เริ่มแผ่ขยายในโลกตะวันตก ผู้เขียนหนังสือด้วยการคัดลายมือตั้งใจที่จะใช้แอมเพอร์แซนด์ในการบีบย่อคำให้สั้นลง เพื่อให้งานของพวกเขาสามารถทำได้ง่ายขึ้น ในยุคนี้แอมเพอร์แซนด์จึงถูกบีบให้มากกว่าเดิมจนเป็นตัวอักษรแบบโรมันตามรูป
[แก้] อ้างอิง
- ^ The ampersand. Adobe Fonts.
- ^ http://www.word-detective.com/052003.html#ampersand
- ^ The History of Court Reporting. National Court Reporters Association.
แอมเพอร์แซนด์ เป็นบทความเกี่ยวกับ ภาษา หรือ ตัวอักษร ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ แอมเพอร์แซนด์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ภาษา |